ผู้เขียน หัวข้อ: ผลหารือ P4P กระทรวงสาธารณสุข รัฐบาล และแพทย์ชนบท 6 มิ.ย 2556  (อ่าน 2909 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด


ผลหารือ P4P "หมอประดิษฐ" จ่อรายงานเข้าครม. แพทย์ชนบทบอกพอใจ-รอดูท่าทีรัฐบาล
มติชน   วันที่ 06 มิถุนายน พ.ศ. 2556

วันที่ 6 มิ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล ในการหารือเพื่อหาข้อยุติปัญหาที้เกิดจากนโยบายของ รัฐมนตรีว่าการกระทรววงสาธารณสุข หรือ นโยบาย P4P ล่าสุด นายแพทย์ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ในการหารือร่วมทั้ง 3 ฝ่ายเห็นตรงกันว่า หลักการทำ P4P ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและส่งผลต่อคุณภาพการให้บริการของประชาชน โดยหนึ่งในมาตรการคือ เรื่องของเงิน และลดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคลากรแต่ละวิชาชีพ ทั้งนี้ การทำ P4P ต้องหมาะสมกับบริบทการทำงานในแต่ละพื้นที่ จึงต้องมีกติกากลางให้กับหน่วยงานเพื่อไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรม ส่วนหลักเกณฑ์รายละเอียดปลีกย่อยนั้น ต้องมาหารือร่วมกันเพื่อให้สอดคล้องกับบริบทของหน่วยบริการ โดยให้มีการจัดตั้งคณะทำงานที่มีตัวแทนจากทุกวิชาชีพด้านสาธารณสุขเข้ามา ร่วมทำงาน โดยทำหน้าที่ 2 เรื่องหลัก คือ การปรับปรุงกฎระเบียบ ในข้อที่ยังเห็นไม่สอดคล้องกับบริบทของหน่วยบริการในแต่ละพื้นที่ และการคิดมาตรการเยียวยาให้กับบุคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการที่สถานพยาบาล ที่สังกัดที่ทำ P4P หรือ สถานพยาบาลไม่ได้ทำ P4P ที่มีสาเหตุมาจากความไม่พร้อมจากการที่ส่วนกลางไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือ สนับสนุนได้ ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี หรือ ครม. และสำหรับการประชุมครั้งนี้ ข้อสรุปเบื้องต้นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะรายงานให้ครม. ได้รับทราบต่อไป
 
ด้านเกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า โดยภาพรวมพอใจกับการหารือครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะของคนไทยไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่มแพทย์ชนบทเท่านั้น เพราะจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากระบบประกันสุขภาพที่ดี มีแพทย์ที่จะทำงานอยู่ในชนบท โดยจากการเจรจาในวันนี้ถือว่าเป็นที่พอใจระดับหนึ่ง ซึ่งหลังจากนี้จะขอรอดูรายละเอียดที่รัฐมนตรีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณ สุข เสนอต่อครม. ในวันที่ 11 มิถุนายน นี้ หากไม่เป็นไปตามข้อตกลงก็จะมีการชุมนุมในวันที่ 20 มิถุนายน ที่บ้านนายกรัฐมนตรี แต่หากรัฐบาลมีความจริงใจ ทำตามข้อเรียกร้องในทุกด้านก็คงจะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ
...

"หมอประดิษฐ-แพทย์ชนบท”จูบปากเดินหน้าพีฟอร์พี
เดลินิวส์   วันพฤหัสบดีที่ 6 มิถุนายน 2556

สุรนันทน์” หย่าศึก “หมอประดิษฐ-แพทย์ชนบท” ยอมผ่อนปรน รพ.ไม่พร้อมทำพีฟอร์พีให้ชะลอไปก่อน ตั้ง “ดร.คณิต”กำหนดหลักเกณฑ์กลาง ก่อนดำเนินการ 1 ต.ค.56 ด้าน “หมอเกรียง”ประกาศชัยชนะ พอใจภาพรวมเจรจา
วันนี้ (6 มิ.ย.)  ที่ทำเนียบรัฐบาล นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ทำหน้าที่เป็นคนกลางในการเจรจาหาทางออกกรณีความขัดแย้งระหว่างเครือข่ายความ เป็นธรรมในระดับสุขภาพ นำโดย นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กับ นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข โดยเฉพาะประเด็นการจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน (พีฟอร์พี) ใช้เวลากว่า 4 ชม.
นายสุรนันทน์ แถลงว่า ดีใจที่มีการคุยกัน ซึ่งคงไม่จบในวันเดียว เพราะไม่ได้มีแค่เรื่องเงิน แต่มีเรื่องศักดิ์ศรีด้วย ส่วนรายละเอียดขอให้ไปคุยนอกรอบ เวทีนี้ยังเปิดอยู่หากจำเป็นก็ยินดี ซึ่ง นพ.ประดิษฐต้องไปทำงานต่อโดยตั้งคณะทำงานหรือคณะกรรมการมีตัวแทนจากทุกภาค ส่วนมาคุยกันด้วยบรรยากาศแบบนี้และควรกำหนดระยะเวลา เพราะนายกฯไม่อยากให้ใช้เวลานาน อะไรที่ต้องเยียวยา ชดเชย ทาง รมว.สาธารณสุขจะไปดำเนินและรายงานให้ ครม.ทราบในการประชุมสัปดาห์หน้า
นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข กล่าวว่า ฟอร์พีไม่ใช่ยาสามัญประจำบ้าน คงต้องมีการปรับปรุงแก้ไขให้เหมาะสมแต่ละพื้นที่ ที่ผ่านมากติกาหลายข้ออาจทำให้หน่วยบริการไม่พร้อมไม่เข้าใจจึงเห็นพ้องต้อง กันว่า ถ้าหน่วยบริการไม่พร้อมทำในขณะนี้สามารถชะลอได้ แต่วันที่ 1 ต.ค.2556 น่าจะดำเนินการได้ แต่เพื่อขจัดปัญหาในการดำเนินการน่าจะมีคณะทำงานมาปรับปรุงแก้ไขกติกาเป็น กติกากลางระหว่างนี้หากมีผู้ได้รับผลกระทบจะต้องเยียวยาให้รวมถึงหน่วย บริการที่ไม่ทำพีฟอร์พี ตนจะตั้งคณะทำงาน 1 ชุดประกอบด้วยแพทย์จาก รพ.ทุกระดับพิจารณาให้แล้วเสร็จภายใน 2 เดือน หวังว่าต่อจากนี้จะคุยกันด้วยเหตุผลพัฒนาพีฟอร์พีที่มีประสิทธิภาพ สอดคล้องกับแต่ละพื้นที่ โดยไม่มีทิฐิ
นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า พอใจในภาพรวมการเจรจา ถือเป็นชัยชนะของประชาชนทุกคน ทั้งนี้มีการรับปากว่าจะมีมาตรการเยียวยาโดยใช้หลักเกณฑ์เดียวกับค่าตอบแทน ฉบับที่ 4 และ 6 ย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เม.ย. หลังจากนี้จะจัดทำระเบียบฉบับใหม่ให้สอดคล้องกับระเบียบเดิมและเพิ่มความ เป็นธรรมในกลุ่มวิชาชีพต่าง ๆ มี ดร.คณิต แสงสุพรรณ เป็นประธาน คิดว่าไม่น่าเกิน 2 เดือน ส่วนพีฟอร์พีให้ขึ้นอยู่กับความสมัครใจ โดยก่อนวันที่ 1 ต.ค.นี้ต้องทำหลักเกณฑ์ให้ รพ.อยากทำ ส่วนจะเคลื่อนไหวต่อหรือไม่ขอดูมติ ครม.ก่อน ด้าน นพ.อารักษ์ วงศ์วรชาติ ผอ.รพ.สิชล จ.นครศรีธรรมราช กล่าวว่า ข้อเรียกร้องให้ปลด นพ.ประดิษฐยังคงอยู่แต่ให้เป็นดุลยพินิจนายกฯ

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ภายหลังการเจรจาเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพได้หารือกันต่อ โดยบางคนยังข้องใจในการยอมรับมติดังกล่าว ถึงกับพูดว่า ดูเหมือนพวกเราสลายม็อบด้วยตัวพวกเราเองจนแกนนำต้องอธิบายให้เข้าใจว่ายัง ต้องมีการติดตามรายละเอียดที่จะเข้า ครม.ต่อไป.
...

มติ3ฝ่ายตั้งทีมดูp4p-เยียวยาคน
มติร่วม 3 ฝ่าย ตั้งคทง.จัดทำหลักเกณฑ์ p4p ให้สอดคล้องบริบทหน่วยบริการ - ออกมาตรการเยียวยาบุคลากร 'แพทย์ชนบท' ยันเดินหน้าปลด 'หมอประดิษฐ'

คมชัดลึก  6 มิถุนายน 2556

               เมื่อเวลา 10.00 น. วันที่ 6 มิถุนายน ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล มีการหารือโต๊ะกลมร่วมกันของ 3 ฝ่ายเพื่อหาข้อยุติเกี่ยวกับปัญหาอขัดแย้งในกระทรวงสาธารณสุข โดยเฉพาะเรื่องการจ่ายค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน หรือพีฟอร์พี(Pay for Performance :P4P) ประกอบด้วย นายสุรนันท์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี ในฐานะตัวแทนนายกรัฐมนตรี ,นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) นพ.ณรงค์ สหเมธาพัฒน์ ปลัดสธ. ฝ่ายกระทรวงสาธารณสุข และฝ่ายเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบสุขภาพ อาทิ ชมรมแพทย์ชนบท สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม กลุ่มคนรักหลักประกันฝ่ายละ 15 คน โดยใช้เวลานานกว่า 4 ชั่วโมง ซึ่งมีทั้งการเจรจาโต๊ะใหญ่ และกลุ่มย่อยระหว่างการรับประทานอาหาร
                ในเวลา 14.00 น. นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สธ. กล่าวหลังเสร็จสิ้นการหารือว่า 3 ฝ่าย มีมติร่วมให้มีการจัดตั้งคณะทำงานที่มีตัวแทนจากทุกวิชาชีพด้านสาธารณสุข เข้ามาร่วมทำงาน โดยทำหน้าที่ 2 เรื่องหลัก คือ 1.ปรับปรุงกฎระเบียบ ในข้อที่ยังเห็นไม่สอดคล้องกับบริบทของหน่วยบริการในแต่ละพื้นที่ และ 2. คิดมาตรการชดเชย เยียวยาให้กับบุคลากรที่ได้รับผลกระทบจากการที่สถานพยาบาลที่สังกัดทำพีฟอร์ พี หรือสถานพยาบาลไม่ได้ทำพีฟอร์พีที่มีสาเหตุจากความไม่พร้อมจากการที่ส่วน กลางไม่สามารถเข้าไปช่วยเหลือสนับสนุนได้ โดยการเยียวยาชดเชย ซึ่งเป็นไปตามมติคณะรัฐมนตรี(ครม.)ที่ระบุให้มีการเยียวยาผู้ได้รับผลกระทบ แต่จะไม่ครอบคลุมบุคคลากรที่ต่อต้านการทำพีฟอร์พี
                นพ.ประดิษฐ กล่าวต่อว่า สำหรับกลุ่มแพทย์ชนบทเข้าใจตรงกันว่า การคัดค้านเกิดจากความไม่พร้อมของหน่วยบริการ ไม่ใช่การต่อต้านการทำพีฟอร์พี โดยการเยียวยาจะย้อนหลังตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน - 1 ตุลาคม 2556 ในการเยียวยาจะเป็นลักษณะของการชดเชยส่วนต่างค่าตอบแทนเมื่อเทียบระหว่าง เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเดิมกับการจ่ายแบบพีฟอร์พี คาดว่า คณะทำงานจะใช้เวลาดำเนินการ 2 เดือน ทั้งนี้ ตนจะนำรายละเอียดของการหารือร่วมกันรายงานเป็นความก้าวหน้าต่อ ครม.ในการประชุมสัญจรที่จะถึงนี้
                "ระหว่างที่คณะทำงานชุดนี้ทำงาน สถานพยาบาลที่มีความพร้อมก็เดินหน้าทำพีฟอร์พีไปตามปกติ ส่วนสถานพยาบาลที่ไม่พร้อมก็ส่งรายละเอียดมายังกระทรวงฯว่าไม่พร้อมด้วย เหตุผลใด เพื่อที่กระทรวงฯจะได้เข้าไปช่วยเหลือ สนับสนุน หลังจากนั้นเมื่อกฎ ระเบียบที่มีการกำหนดโดยคณะทำงานชุดนี้แล้วเสร็จ เชื่อว่าวันที่ 1 ตุลาคม 2556 จะมีการทำพีฟอร์พีในทุกสถานพยาบาลในสังกัด จะไม่มีข้อข้องใจว่าไม่พร้อมหรือหลักเกณฑ์ไม่เหมาะสมอีก เพราะมีการปรับปรุงให้สอดคล้องกับบริบทแต่ละสถานพยาบาลแล้ว "นพ.ประดิษฐ กล่าว
                รมว.สธ. กล่าวต่ออีกว่า 3 ฝ่ายยังเห็นตรงกันว่า หลักการทำพีฟอร์พีช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานและส่งผลต่อคุณภาพการให้ บริการของประชาชน ,มีความจำเป็นที่จะต้องตรึงบุคลากรไว้ในพื้นที่ชนบท ซึ่งหนึ่งในมาตรการ คือ เรื่องเงิน ลดความเหลื่อมล้ำระหว่างบุคลากรแต่ละวิชาชีพ และการทำพีฟอร์พีต้องหมาะสมกับบริบทการทำงานในแต่ละพื้นที่หรือระดับของ หน่วยบริการ จึงต้องมีกติกากลางให้กับหน่วยงานเพื่อไม่ให้เกิดความไม่เป็นธรรม ส่วนหลักเกณฑ์รายละเอียดปลีกย่อยต้องมาหารือร่วมกับเพื่อให้สอดคล้องกับ บริบทของหน่วยบริการ
                ด้านนพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น ในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า โดยภาพรวมพอใจกับการหารือครั้งนี้ ถือเป็นชัยชนะของคนไทยไม่ใช่แค่เฉพาะกลุ่มแพทย์ชนบทเท่านั้น เพราะจะทำให้ไทยได้รับประโยชน์จากระบบประกันสุขภาพที่ดี มีแพทย์ที่จะทำงานอยู่ในชนบท โดยจากการเจรจาในวันนี้ถือว่าหลักการเป็นที่พอใจ ซึ่งหลังจากนี้จะขอรอดูรายละเอียดที่รมว.สธ.จะเสนอต่อครม. หากไม่เป็นไปตามข้อตกลงก็จะมีการชุมนุม แต่หากรัฐบาลมีความจริงใจ ทำตามข้อเรียกร้องในทุกด้านก็คงจะไม่มีการเคลื่อนไหวใดๆ
                นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าวต่อว่า สำหรับรายชื่อของคณะทำงานจะเสนอตัวแทนจากเครือข่ายเพื่อความเป็นธรรมในระบบ สุขภาพทั้ง 4 ฝ่าย ประกอบด้วย สหภาพแรงงานองค์การเภสัชกรรม เครือข่ายผู้ป่วย กลุ่มคนรักหลักประกัน และชมรมแพทย์ชนบท เพื่อหารือในหลักเกณฑ์การทำงานและจาการหารือในวันนี้ นพ.ประดิษฐมีความเข้าใจว่าขณะนี้โรงพยาบาลชุมชนไม่มีความพร้อมในการใช้หลัก เกณฑ์การทำพีฟอร์พีตามที่กระทรวงฯกำหนด ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของกระทรวงฯที่จะสร้างกติกาให้โรงพยาบาลทั้งหมด อยากทำพีฟอร์พีแบบสมัครใจ ซึ่งจะเป็นงานต่อจากนี้ที่คณะทำงานจะดำเนินการร่วมกัน
 
               "มาตรการเยียวยาต้องเป็นการใช้ประกาศหลักเกณฑ์การจ่ายเบี้ย เลี้ยงเหมาจ่ายฉบับ 4 และ6 แพทย์ชนบทจึงจะยอมรับได้ โดยจะต้องจัดทำเป็นหลักเกณฑ์ขึ้นมาใหม่อีก 1 ฉบับ เป็นฉบับที่ 10 เพื่อกำหนดให้ระหว่างการดำเนินงานของคณะทำงานใช้การจ่ายค่าตอบแทนตามฉบับ 4 และ 6 ส่วนข้อเรียกร้องที่ให้ปลดนพ.ประดิษฐออกจากรมว.สธ.ยังยืนยันข้อเรียกร้อง เดิมโดยได้มอบเอกสารเหตุผลให้นายสุรนันท์เพื่อให้นายกรัฐมนตรีรับทราบเพื่อ พิจารณา "นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
...

ประดิษฐถอย"P4P"ตั้งกก.ร่วมทุกฝ่ายแก้ปัญหา
Post Today 06 มิถุนายน 2556

"ประดิษฐ"ยอมปลดล็อค!ไม่บังคับโรงพยาบาลชุมชนใช้ P4P พร้อมตั้งกรรมการร่วมแพทย์ชนบทพิจารณาเกณฑ์ใหม่

เมื่อวันที่ 6 มิ.ย. ที่ทำเนียบรัฐบาล นพ.ประดิษฐ สินธวณรงค์ รมว.สาธารณสุข (สธ.) เปิดเผยว่า ภายหลังการหารือ ร่วมกับชมรมแพทย์ชนบท สหภาพแรงงานรัฐวิสาหกิจองค์การเภสัชกรรม (อภ.) และ ชมรมคนรักหลักประกันสุขภาพ ได้ข้อสรุปว่า จะให้โรงพยาบาลชุมชนที่ไม่พร้อมจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน ตามความสมัครใจ ซึ่งเป็นไปตามเงื่อนไขของเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายฉบับที่ 9 ก่อนหน้านี้ โดยโรงพยาบาลที่ไม่พร้อมทำ P4P สธ.จะพิจารณาเกณฑ์ในการเยียวยาย้อนหลังไปตั้งแต่ 1 เม.ย.

ทั้ง สธ. และ แพทย์ชนบท เห็นตรงกันว่าระบบค่าตอบแทน จะเกิดขึ้นเพื่อเพิ่มขวัญกำลังใจให้บุคลากรทางการแพทย์และต้องมีการเสริม สร้างรายได้ไม่ให้มีความแตกต่าง รัฐ และเอกชน โดยเฉพาะพื้นที่ที่ยากลำบาก จึงต้องมีเงินก้อนนี้ ส่วนที่ไม่ให้มีความแตกต่างกันมากในวิชาชีพ
นอกจากนี้ ยังเห็นตรงกันว่า การทำ P4P ต้องมีการออกกติกากลาง ไม่ให้มีความแตกต่าง โดยแต่ละพื้นที่ต้องทำเอง ถ้าเป็นยาสามัญ เป็นไปไม่ได้ เช่น กติกาทางการเมือง ต้องไม่ให้โรงพยาบาลติดลบ อย่างไรก็ตาม สธ.ยังเห็นว่า P4P เป็นประโยชน์ และจะต้องทำภายในวันที่ 1 ต.ค.นี้ 

อย่างไรก็ตาม จะมีการตั้งคณะกรรมการร่วมกัน ระหว่าง สธ. โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป และโรงพยาบาลชุมชน โดยคณะกรรมการ จะต้องมีส่วนร่วมจากผู้มีส่วนได้เสีย และจะไม่ใช้เสียงส่วนใหญ่ในการตัดสินใจ โดยหวังว่า 4 เดือนข้างหน้าจะเป็นไปด้วยเหตุและผล และจะปรับปรุงแก้ไขกติกาให้สอดคล้องความเป็นจริง ความเป็นไปได้เท่านั้น ยืนยันว่า จะให้การเยียวยาเฉพาะโรงพยาบาลที่ไม่พร้อมเท่านั้น ไม่นับรวมโรงพยาบาลที่ต่อต้านระบบ

ขณะที่ นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวว่า ถือว่าแพทย์ชนบท และเครือข่ายฯ ประสบความสำเร็จในเวทีเจรจาวันนี้ เนื่องจากรมว.สธ. ยอมชะลอการใช้ P4P ออกไป และให้เป็นไปตามความสมัครใจมากกว่าที่จะบังคับ ขณะเดียวกัน ก็มีการเปิดโอกาสให้แพทย์ชนบทเข้าไปมีส่วนร่วมในการพิจารณาเกณฑ์อีกครั้ง

ส่วนปัญหาเรื่องระบบร่วมจ่ายในระบบหลักประกันสุขภาพนั้น ทางรมว.สธ. ได้ปฏิเสธแนวคิดนี้ เช่นเดียวกับ การตั้งคณะกรรมการพิจารณาปัญหาในอภ.  รมว.สธ. ได้ยอมับให้มีตัวแทนของภาคประชาชน ขึ้นมาสะสางปัญหาร่วมกัน จึงถือว่าข้อสรุปในเวทีวันนี้ค่อนข้างน่าพอใจ
ทั้งนี้ จะใช้มาตรการเยียวยาขึ้นมาใหม่ โดยใช้ เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายรูปแบบเดิมเป็นฐาน โดยนายคณิศ แสงสุพรรณ ผู้ทรงคุณวุฒิด้านระบบการเงินการคลัง สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) จะร่างมาตรการเยียวยาให้เร็วที่สุด โดยใช้เวลาภายใน 1-2 เดือนนี้ ส่วนปัญหา P4P ได้ข้อสรุปว่า หากโรงพยาบาลใดจะเข้าร่วม ต้องเป็นไปโดยสมัครใจ ต่างจากการบังคับให้ทำก่อนหน้านี้ ส่วนวิชาชีพหรือโรงพยาบาลใดที่ต้องการจะทำ ก็สามารถดำเนินการได้ โดยสธ.ไม่มีสิทธิที่จะบังคับให้ทำ

ขณะที่ นายสุรนันทน์ เวชชาชีวะ เลขาธิการนายกรัฐมนตรี กล่าวว่า นพ.ประดิษฐ จะเสนอผลการประชุมร่วมกันในวันนี้ เข้าสู่ที่ประชุมคณะรัฐมนตรี ในวันที่ 11 มิ.ย. นี้ทันที ขณะเดียวกัน รมว.สธ. จะมีการตั้งคณะกรรมการในเรื่องนี้ให้เร็วที่สุด เพื่อลดข้อขัดแย้ง

...