ผู้เขียน หัวข้อ: ดัน"เกษียณ 70"ครู-หมอ (24กพ2553) ข่าวสด  (อ่าน 2033 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
ดัน"เกษียณ 70"ครู-หมอ (24กพ2553) ข่าวสด
« เมื่อ: 24 กุมภาพันธ์ 2010, 18:21:38 »
ไอ เดีย"มาร์ค"-โอ๋ขรก. สั่งทำบำเหน็จตกทอด

"มาร์ค "โปรยยาหอมข้าราชการพนักงานรัฐวิสาหกิจและลูกจ้างของรัฐ พร้อมเพิ่มสวัสดิ การและปรับปรุงบำเหน็จตกทอดให้ และให้ขรก.ที่ทำงานครบ 20 ปีถ้าลาออกมีบำเหน็จได้ ผุดไอเดียขยายเวลาเกษียณอายุราชการจาก 60 ปี เป็น 70 ปี ในสาขาที่ขาดแคลน เช่น ครู และแพทย์เป็นต้น

เมื่อเวลา 08.00 น. วันที่ 23 ก.พ. ที่ทำเนียบรัฐบาล ชมรมเจ้าหน้าที่ของรัฐแห่งประเทศไทย นำโดยนายชินภัทร ปันยารชุน ประธานชมรมเจ้าหน้าที่ของรัฐแห่งประเทศไทย พร้อมคณะ เข้าพบนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี เพื่อขอบคุณที่ครม.เห็นชอบระเบียบกระทรวงการคลังว่าด้วยบำเหน็จลูกจ้าง (ฉบับที่ 8) พ.ศ.2552 พร้อมยื่นหนังสือเรื่องสวัสดิการหลังเกษียณอายุราชการลูกจ้างประจำของส่วน ราชการ โดยขอให้เพิ่มเติมสิทธิค่ารักษาพยาบาล เพิ่มเติมบำเหน็จตกทอด 15 เท่าของเงินเดือน และขอให้ปรับปรุงพ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ. 2494 รับราชการ 20 ปี ลาออกขอมีสิทธิ์เลือกรับบำนาญ

นายกฯ กล่าวว่า ตั้งแต่เข้ามารับหน้าที่เป็นประธานก.พ.สิ่งแรกที่ขอให้ทางก.พ.ช่วยดู คือปัญหาสถานะเจ้าหน้าที่ของรัฐในรูปแบบต่างๆ เพราะปัจจุบันมีทั้งข้าราชการ ลูกจ้าง พนักงานราชการ และกรณีของลูกจ้างที่มีทั้งลูกจ้างประจำและลูกจ้างชั่วคราว ที่มีทั้งการจ้างรายเดือน รายวัน รายชั่วโมงหรือจ้างเหมา ซึ่งทุกกลุ่มยังมีปัญหาไม่ลงตัว ทั้งในเรื่องของสิทธิและสถานะต่างๆ ก็พยายามแก้ไข เช่น กรณีลูกจ้างก็เข้าไปดูแลเรื่องประกันสังคมแล้ว หรืออย่างกรณีของลูกจ้างประจำ กระทรวงการคลังก็ได้เห็นชอบ มาตรการการรับเหน็จเป็นรายเดือน แต่ก็ยังมีความประสงค์ต้องการให้ปรับปรุงสิทธิเพิ่มเติมทั้งเรื่องบำเหน็จตก ทอด และสิทธิที่เกี่ยวข้องกับการรักษาพยาบาล ซึ่งได้ส่งเรื่องให้กระทรวงการคลังพิจารณาแล้ว ส่วนการปรับปรุงหรือแก้ไข พ.ร.บ.บำเหน็จบำนาญข้าราชการ พ.ศ.2494 นั้นก็จะพิจารณาดูให้

"ใน ภาพรวมปีที่แล้วก็เป็นปีที่รัฐบาลมีข้อจำกัดเรื่องงบประมาณมาก แต่ก็ตั้งใจว่าเรื่องของสวัสดิการความมั่นคงก็จะพยายามดำเนินการทั้งในส่วน ของเจ้าหน้าที่รัฐและประชาชน จึงผลักดันมาตรการต่างๆ และผมได้ให้สำนักงบประมาณได้รวบรวมเรื่องของเงินสวัสดิการ ทั้งหมดที่รัฐบาลดำเนินการอยู่ เพื่อทำให้อนาคตจะมีความชัดเจนมากยิ่งขึ้นว่าหลักประกันของประชาชนและภาระ ของรัฐบาลไปด้วยกันได้ เมื่อสัปดาห์ที่แล้วมีการทำตัวเลขมา ก็จะเห็นว่าเงินด้านสวัสดิการทุกด้านไม่นับรวมเงินเดือนอยู่ที่ประมาณร้อยละ 25 ของงบประมาณ ซึ่งถ้ารวมเงินเดือนก็จะอยู่ที่ร้อยละ 60-70 แต่ผมคิดว่าตัวเลขร้อยละ 25 นั้นไม่ได้สูงเกินไป เพราะคาดว่าในอนาคตงบประมาณจะต้องเป็นสัดส่วนที่เป็นค่าใช้จ่ายด้านสังคม เพิ่มสูงขึ้น ขณะที่การลงทุนด้านเศรษฐกิจคงต้องทำในรูปแบบที่ให้ภาคเอกชนเข้ามาร่วมลงทุน มากกว่า ดังนั้นทุกครั้งที่ต้องตัดสินใจในนโยบายที่เกี่ยวข้องกับสวัสดิการต้องคำนึง ถึงผลที่จะตามมา" นายกฯ กล่าว

นายอภิสิทธิ์ กล่าวว่า กรณีที่พูดถึงความต้องการที่จะให้คนที่อยู่มา 20 ปี ควรให้ลาออกเพื่อเปิดโอกาสให้คนใหม่เข้ามาหรือไม่ ขณะเดียวกันก็มีอีกกระแสเรียกร้องว่าการเกษียณอายุราชการที่ 60 ปีนั้นเร็วเกินไป เพราะปัจจุบันคนมีสุขภาพแข็งแรงดีขึ้น คนอายุ 60-70 ปีก็ยังทำงานได้ ขณะนี้ก็กำลังดูว่าในบางหน่วยงานถ้ามีความขาดแคลนด้วยอาจจะต้องขยับอายุ เกษียณจาก 60 ปีขึ้น แต่ไม่ให้ดำรงตำแหน่งฝ่ายบริหาร เช่น แพทย์ ครู ขณะนี้กำลังพิจารณาเรื่องดังกล่าว ซึ่งต้องดูให้สอดคล้องกับความเป็นจริงด้วย

นายกฯ กล่าวว่า นอกจากนี้ ยังมีเรื่องสิทธิของการรักษาพยาบาล ขณะนี้กำลังดูค่าใช้จ่าย เนื่องจากขณะนี้การจัดงบประมาณสำหรับสวัสดิการการรักษาพยาบาลในส่วนของเจ้า หน้าที่ของรัฐ งบประมาณจะตั้งอยู่ที่ 4 หมื่นล้านบาทต่อปี แต่รายจ่ายที่จ่ายจริงเนื่องจากเป็นระบบตามจ่ายภายหลังจะมีถึง 6 หมื่นล้านบาท ถ้าหารจำนวนคนที่ได้รับประโยชน์กับเงินที่ใช้จ่ายไปพบว่าเจ้าหน้าที่จะได้ เงินสูงกว่าประชาชนธรรมดา ซึ่งรัฐจัดสรรเงินต่อหัวสูงถึง 10 เท่า ถือเป็นปมปัญหาที่กำลังหาว่าเกิดจากอะไร ที่พบเบื้องต้นมี 2 ปัจจัยที่ทำให้ตัวเลขเกิดความแตกต่างคือ มีการปรับระบบการให้ค่าใช้จ่ายตัวนี้สามารถเบิกตรงได้ ทำให้การควบคุมการจ่ายยาเริ่มมีปัญหา อีกทั้งโรงพยาบาลที่จ่ายยาที่มีค่าใช้จ่ายสูงก็มีเพียง 30 กว่าโรงพยาบาลทั่วประเทศเท่านั้น อีกปัจจัยหนึ่งคือการให้บริการมีการขยายวงมากขึ้น ขนาดไปนวดก็ยังเบิกได้ จึงจำเป็นต้องสะสางปัญหาที่เกิดขึ้น

"ขณะนี้สิ่งที่น่าห่วงคือ ลูกจ้างชั่วคราว เพราะหลายหน่วยงานเลี่ยงที่จะมีตัวเลขบุคลากรประจำ จึงใช้วิธีการจ้างแบบชั่วคราว แต่ใช้เวลานานมาก ทำให้เรื่องของสิทธิมีความสับสน เช่นลูกจ้าง ในระบบจ้างเหมาก็จะมีการถกเถียงผลักภาระว่าใครจะเป็นคนออกในส่วนของประกัน สังคม ซึ่งผมจะพยายามลงไปดูในทุกเรื่องที่เกี่ยวข้อง" นายกฯ กล่าว