ผู้เขียน หัวข้อ: สูตรสำเร็จ 1+1 มากกว่า 2 เครือรพ.กรุงเทพ-พญาไท-เปาโล  (อ่าน 1158 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
เผยสูตรสู่ความสำเร็จในการบริหารจัดการจากการควบรวมกิจการเครือรพ.กรุงเทพ-พญาไท-เปาโล ยืนยันกลยุทธ์ 1+1 มากกว่า 2 ตั้งแต่การเงิน บุคลากร การตลาด วางเป้าหมายพญาไท 3 เป็น Destination Hospital ย่านฝั่งธน ปรับ Positioning เปาโลเจาะกลุ่มเป้าหมายระดับกลาง
       
       หลังการควบรวมกิจการของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ เครือพญาไท และเครือเปาโล เข้าด้วยกันส่งผลให้ธุรกิจเกิดการ Synergy อย่างเห็นได้ชัดในหลายๆ ส่วน เริ่มจาก Financial Synergy ซึ่งสามารถทำให้ประหยัดการจ่ายดอกเบี้ยได้ทันทีประมาณ 500 ล้านบาท นอกจากนี้ ทำยังให้เกิด Economy of Scale ในการจัดหาต่างๆ ทั้งยาและเวชภัณฑ์ ทำให้สามารถควบคุมต้นทุนได้ดีขึ้น รวมทั้ง การดูแลรักษาเครื่องมือและอุปกรณ์ทางการแพทย์ต่างๆ
       
       แม้กระทั่ง เรื่องห้องแล็ปที่เชี่ยวชาญเฉพาะทางก็เกิดขึ้นได้ จากเดิมต้องส่งไปใช้บริการข้างนอก นอกจากนี้ Resource Synergy เรื่องของบุคลากรโดยเฉพาะการฝึกอบรมในด้านทักษะต่างๆ จะทำอย่างไรให้ต้นทุนต่ำที่สุดแต่ต้องได้คุณภาพ แต่เรื่องที่เห็นว่าน่าจะยากที่สุดแต่ทำได้แล้วคือ Clinical Synergy ซึ่งทำออกมาดีมาก เช่น ศูนย์หัวใจ และศูนย์ฉุกเฉิน
       
       “สำหรับศูนย์หัวใจ ตามปกติจะเปิดได้ต้องใข้เวลาเตรียมตัวอย่างน้อย 1 ปี ส่วนที่ยากที่สุดคือการวางระบบคุณภาพของการรักษาพยาบาล แต่เราสามารถทำได้ภายในเวลาเพียง 4 เดือนเท่านั้น จากการใช้วิธี co-branding กับโรงพยาบาลกรุงเทพ และได้แพทย์จากโรงพยาบาลมาร่วมด้วย โดยมีการเทรนร่วมกัน เพราะทั้งสองทีมมีจุดแข็งเมื่อเทรนร่วมกันก็ได้ประโยชน์ร่วมกัน และทำให้ศูนย์หัวใจที่เปิดมาประมาณ 2 ปี เติบโตประมาณ 10%” อัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร เครือโรงพยาบาลพญาไท - เปาโล กล่าวถึงผลประโยชน์ที่ได้จากการควบรวมกิจการของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพ - พญาไท - เปาโล
       
       “ส่วนศูนย์ฉุกเฉิน เราเชื่อมโยงระบบการแพทย์ฉุกเฉินเข้าด้วยกันได้ทั้งหมด 12 โรงพยาบาล บนพื้นที่ 700 ตารางเมตรของกรุงเทพ เมื่อโทรมาเบอร์กลางสามารถรู้ได้ทันทีว่าผู้ป่วยอยู่ตำแหน่งไหน รถพยาบาลที่ใกล้ที่สุดของเครือข่ายอยู่ที่ไหน และมีการใช้ระบบจีพีเอสที่ทันสมัย ประเด็นคือทำอย่างไรให้ถึงผู้ป่วยเร็วที่สุด แต่การร่วมมือด้านการแพทย์ฉุกเฉิน ต้องทำควบคู่กับภาครัฐและมูลนิธิต่างๆ เริ่มตั้งแต่การฝึกคนซึ่งขาดแคลน ไม่ว่าจะเป็นพนักงานขับรถก็ต้องรู้จักการช่วยชีวิต ฯลฯ เพราะเมื่อใครมีศักยภาพมากขึ้นจะเป็นที่พึ่งให้อีกคน”
       
       การมีศูนย์ฉุกเฉินหรือ BES (Bangkok Emergency Service) ซึ่งในย่านฝั่งธนโรงพยาบาลพญาไท 3 เป็นตัวแทนของเครือ นอกจากมีเครื่องมือกับรถที่ทันสมัย ยังมีแพทย์เฉพาะทางฉุกเฉินอยู่ประจำรถ ไม่ใช่แพทย์ทั่วไป การมีหมอกับเครื่องมือที่พร้อมทำให้ช่วยคนไข้ได้ ณ ที่เกิดเหตุ ตามหลักการ “นำโรงพยาบาลไปถึงคนไข้” และศักยภาพของรถพยาบาลต้องใกล้เคียงห้องฉุกเฉินของโรงพยาบาลมากที่สุด
       
       นอกจากนี้ ยังมี “รถมอเตอร์แลนซ์” เพื่อไปให้ถึงก่อนอย่างรวดเร็ว มีระบบสื่อสาร “เทเลเมดิซิน” เช่น สามารถส่งข้อมูลต่างๆ เพื่อวางระบบการผ่าตัดได้ในระหว่างเดินทาง เมื่อมาถึงเข้าห้องผ่าตัดได้ทันทีโดยไม่ต้องเข้าห้องฉุกเฉิน ขณะที่โรงพยาบาลมีหมอหัวใจประจำตลอด 24 ชั่วโมง
       
       อย่างไรก็ตาม ภายในปีนี้จะขอการรับรองมาตรฐาน CAMPTS ( The Commission on Accreditation of Medical Transport Systems) ซึ่งเป็นมาตรฐานการแพทย์ฉุกเฉินระดับโลก และที่กำลังทำอยู่ในตอนนี้คือ JCI (Joint Accreditation International ) ซึ่งเป็นมาตรฐานการรับรองคุณภาพโรงพยาบาลที่ได้รับการยอมรับระดับโลกเช่นกัน เพื่อรองรับคนไข้ต่างชาติได้ดีขึ้น โดยเฉพาะกลุ่ม health tourism และกลุ่มบริษัทประกันชีวิตต่างชาติ ที่ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ โดยจะได้ทีมของเครือโรงพยาบาลกรุงเทพมาช่วยเป็นที่ปรึกษา และคาดว่าจะได้รับการรับรองในปีหน้า ซึ่งจะเลือกขอการรับรองเฉพาะแห่งที่จะเป็นศูนย์กลางได้จริงๆ เพราะมีค่าใช้จ่ายในการทำมาตรฐานค่อนข้างสูง
       
       สำหรับโรงพยาบาลพญาไท 3 ในวันนี้เป็น flagship ของฝั่งธน และเป็น Destination Hospital สามารถรักษาโรคยากๆ ได้เพราะมีศูนย์แพทย์เฉพาะทางครบทุกสาขา เช่น ศูนย์หัวใจ ศูนย์สมองและระบบประสาท ศูนย์ส่องกล้องทางเดินอาหารและโรคตับ ฯลฯ และสามารถเปิดเป็น One Stop Service เพื่อให้บริการที่สะดวกรวดเร็ว
       
       นอกจากนี้ โรงพยาบาลเปาโล นวมินทร์ เมื่อได้รับการช่วยเหลือจากทีมของโรงพยาบาลกรุงเทพเพียง 3 เดือน เพื่อวางระบบทำให้สามารถใช้เครื่องฉายรังสีที่ราคาสูงมากและไม่ได้ใช้งานเพราะก่อนหน้านี้ไม่กล้าใช้ และยังช่วยให้ค่าใช้จ่ายด้านการรักษาของคนไข้ถูกลงจนทุกคนสามารถเข้าถึงได้การฉายรังสีได้ แม้กระทั่งกลุ่มที่ใช้สิทธิประกันสังคม นี่คือผลต่อเนื่องจากการควบรวมกิจการ ทำให้เรามีศักยภาพเพิ่มขึ้นในราคาที่ถูกลง
       
       Marketing Synergy จากการที่เมื่อก่อนทุกโรงพยาบาลพยายามแข่งกันทำการตลาดต่างประเทศและทำอะไรที่เหมือนๆ กัน แต่เมื่อมีการควบรวม ทำให้โฟกัสได้มากขึ้น แยกกลุ่มเป้าหมายและบริหารจัดการได้ชัดขึ้น เช่น การวางตำแหน่งเครือโรงพยาบาลกรุงเทพเป็นระดับ "ซูเปอร์พรีเมี่ยม" เครือพญาไทเป็นระดับ "พรีเมี่ยม" ในคอนเซ็ปต์ International Quality for Thai ขณะที่ เครือเปาโลจะกลับไปเน้นเป็นระดับ "แมส" ของคนไทยจริงๆ รองรับคนไข้ระดับกลางและมีโซนรับกลุ่มประกันสังคม จากเดิมซึ่งพยายามจะทำให้เป็นพรีเมี่ยม
       
       “การเลือกปรับโพสิชั่นนิ่งใหม่ เพราะมองว่าเมื่อวันนี้เราเป็นเบอร์หนึ่ง ถ้าไม่ดูแลคนให้ครบทุกกลุ่มไม่ได้ เราต้องตอบรับทุกกลุ่มเป้าหมาย สำหรับเปาโลเมื่อเราปรับตัวแน่นอนว่าจำนวนคนไข้ย่อมจะมากขึ้น วิธีทำธุรกิจมีหลายอย่าง ขอให้เรากำหนดเป้าหมายให้ชัดเจนว่าต้องการอะไร”

ASTVผู้จัดการออนไลน์    20 พฤษภาคม 2556