ผู้เขียน หัวข้อ: คณะแพทย์ไม่ใช่คณะที่เด็กสมัยนี้อยากเรียนมากที่สุดอีกต่อไป  (อ่าน 1796 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
เส้นทางสู่เสื้อกาวน์

ไม่ เพียงสมมติฐานว่าเด็กๆ สมัยนี้เลือกเรียนหมอน้อยลงหรือเปล่า ? แต่เทรนด์การเลือกเรียนมหาวิทยาลัยยังออกมาตอกย้ำอีกว่า โอนเอียงไปทางสายศิลป์มากขึ้น แถมยังมีโพล

บอกว่าอาชีพที่ทำเงินมากที่สุดในยุคนี้ไม่ใช่หมอ

เหล่านี้คือกระแสข่าวที่ออกมาให้เรารู้สึกหวั่นใจว่า อนาคตบ้านเราจะไม่มีเด็กๆ อยากจะเป็นหมอแล้วหรือไร ???

ใน เวลานี้มีว่าที่นักเรียนแพทย์ รหัส 52 ของโรงเรียนแพทย์ในกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) กำลังเตรียมก้าวเข้าสู่รั้วสถาบันกันไปแล้ว เราจึงไปเปิดดูข้อมูลกันสักนิด แล้วก็พบว่าในปี 2551 จำนวนนักเรียนที่สมัครสอบคัดเลือกบุคคลเข้าศึกษาหลักสูตรแพทยศาสตรบัณฑิต และหลักสูตรทันตแพทยศาสตรบัณฑิต ในปีการศึกษา 2552 ผ่านระบบรับตรงมียอดผู้สมัคร จำนวน 24,857 คน จากปีที่ผ่านมามีผู้สมัคร 22,000 คน ซึ่งมากกว่าปีที่ผ่านมา 2,000 คน เลยทีเดียว

จากการพูดคุยกับ รองศาสตราจารย์แพทย์หญิงนันทนา

ศิริ ทรัพย์ รองเลขาธิการ กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย หัวหน้าภาควิชานิติเวชศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และผู้อำนวยการศูนย์ทดสอบทางวิชาการแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ก็ช่วยยืนยันสถิติดังกล่าวได้เป็นอย่างดี

"จำนวนเด็กสอบแพทย์สูงขึ้น ทุกปี จำนวนนักเรียนที่สอบเข้าแพทย์สูงขึ้นอาจจะเป็นเพราะช่วง 2 ปีหลังกลุ่มสถาบันแพทย์ฯ เรารวมเอาคณะทันตแพทย์เข้าไว้เพื่อเป็นการลดภาระของนักเรียนและผู้ปกครอง ลดปัญหาในการมอบตัวเข้าศึกษา

ซ้ำซ้อนหลายสถาบันในปีการศึกษาเดียวกัน อันเป็นเหตุให้มีการสละสิทธิ์ และมีที่นั่งว่างในแต่ละสถาบัน"

แต่ ถ้าหากเข้าใจกันว่าเด็กไม่อยากเป็นหมอเพราะกลัวการฟ้องร้องแล้วหันไปเรียน เป็น "หมอความ" ตามข่าวที่เคยเห็นกันมานั้น อาจารย์หมอนันทนาให้ความเห็นว่า

" เด็กออกไปเหมือนเราปล่อยนกออกไปบิน โรงเรียนคือสถานที่สร้างภูมิคุ้มกัน แต่ปัจจุบันเชื้อโรคก็แข็งแรงมาก เราเองก็สร้างไม่ไหวเหมือนกัน สำหรับคดีฟ้องร้องแพทย์นั้น กับเด็กนักเรียนที่กำลังเตรียมสอบแล้ว คงไม่มีเด็กคนไหนวิตกจริตว่าเรียนแพทย์ไม่ดี แล้วไปเรียนนิติฯดีกว่า ดิฉันว่านี่เป็นเรื่องไกลตัวเด็กมาก เราขยายปัญหามากไป ของบางอย่างต้องสร้างแรงจูงใจ คนทำถูกต้องควรจะยกย่องชมเชยกันมากกว่าคนที่ทำผิดทำไม่ดีก็ไม่ต้องสนใจ แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เด็กที่สอบแพทย์ได้แล้วสละสิทธิ์ก็มี แต่เขาสละสิทธิ์เพราะสอบติดโครงการพิเศษ และโครงการปกติ ต้องเลือกเอาโครงการใดโครงการหนึ่ง หรือบางคนอาจจะสอบติดทุนโท-เอก แต่ที่สละสิทธิ์ก็มีน้อย และถ้าเลือกสละสิทธิ์ไปสู่อาชีพอื่นที่เขามีโอกาส"

ใน ปีนี้จะเห็นได้ชัดว่าการสอบคัดเลือกเข้าศึกษาต่อระดับมหาวิทยาลัยนั้นมีความ เปลี่ยนแปลง และแน่นอนว่าจะต้องมีผลต่อการสอบคัดเลือกเข้าเรียนแพทย์ในปีต่อไป นั่นคือข้อสอบที่สำนักทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) จัดขึ้นใหม่ คือการจัดสอบความถนัดทั่วไป (General Aptitude Test หรือ GAT) และความถนัดเฉพาะด้านวิชาการ (Professional A Aptitude Test หรือ PAT) เพื่อใช้เป็นคะแนนในการนำไปสอบระบบกลางการรับนิสิต นักศึกษา หรือแอดมิชชั่นกลางในปี 2553 แทนแบบทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติขั้นสูง (A-NET)

เมื่อไม่มี A-NET แล้ว ดังนั้นทางกลุ่มสถาบันแพทย์ฯ เลือกที่จะจัดสอบด้วยตัวเองโดยไม่ใช้คะแนน GAT และ PAT มาเป็นองค์ประกอบในการคัดเลือก แล้วเปลี่ยนเป็นการสอบวิชาสามัญ และให้ค่าน้ำหนักวิชาสามัญ 70% แบ่งเป็นวิทยาศาสตร์ 40% คณิตศาสตร์ 20% ภาษาอังกฤษ 20% ภาษาไทย 10% และสังคมศึกษา 10% และยังมีการจัดสอบวิชาเฉพาะมีค่าน้ำหนัก 30% ประกอบด้วยการทดสอบศักยภาพในการเรียนรู้ และการประเมินแนวคิดจริยธรรม

รศ. พ.ญ.นันทนากล่าวว่า "กสพท.เราเลือกสอบรวมกันเพื่อลดปัญหาตรงนี้ และก็มีคำถามว่าทำไมเราไม่เชื่อระบบกลางของประเทศชาติ เพราะเรารู้จักไม่มากพอ การสอบแข่งขันนั้นตัดกันที่จุด ไม่ใช่ที่คะแนน เป็นจุดทศนิยม และจะพบว่าแค่จุดเดียวก็พลิกชีวิตแล้ว ในขณะที่เทสต์ทุกตัวจะมี Variation ดังนั้นการสอบครั้งเดียว และข้อสอบเดียวกันจะทำให้ให้ความยุติธรรมกับนักเรียนมากกว่า กสพท.ก็เลยไม่ขอเลือกใช้ GAT-PAT ในการคัดเลือกเข้าเรียนต่อแพทย์"

" แพทย์วัดแค่ความรู้อย่างเดียวไม่พอ มีคุณสมบัติหลายอย่างต้องวัด วัดไม่ได้แค่เนื้อหาวิชา ต้องวัดความถนัดด้วย อันที่จริงแล้วเราอยากมีเวลามากพอที่จะสังเกตพฤติกรรม แต่บังเอิญยังทำไม่ได้ การวัดความถนัดคือวัดความสามารถในการวิเคราะห์ ให้เหตุผล สรุปความ เชื่อมโยงความคิด สังเคราะห์ได้ เพราะคนไข้มาหาหมอด้วยอาการมากมาย แต่คนไข้จะไม่บอกว่า...คุณหมอคะ หนูเจ็บคอ เจ็บทอนซิล ปวดไซนัส...ดังนั้นหมอต้องเป็นคนที่รวบรวมข้อมูล ตั้งสมมติฐาน หักล้าง สรุป แล้วหาข้อมูลสนับสนุนเพื่อวินิจฉัยว่าคนไข้เป็นอะไร อีกทั้งหมอต้องมีความจำ จริงอยู่ที่ทุกอย่างเปิดตำราได้ แต่เราต้องมี core content ในตัว ไม่ใช่ว่าคนไข้มาแล้ว หมอขอเปิดตำราดูก่อน ดังนั้นก็ต้องรู้จักที่จะสรุปใจความ เก็บข้อมูล จับใจความ ถ้าจำไม่ได้ก็ไม่ได้เลย นอกจากจะจำได้แล้ว ก็ต้องมีความเร็ว มีความสามารถในการประเมินด้านมิติสัมพันธ์ด้วย"

ส่วนเรื่องแนวข้อสอบ จะออกมาเป็นแบบไหนนั้น อาจารย์หมอบอกว่า คนใน กสพท.ยังไม่ทราบกันเลย เพราะข้อสอบนั้นออกโดยกลุ่มคนจำกัด แต่ความเชื่อถือได้ของข้อสอบนั้นมีสูง

สำหรับ คนที่อยากจะเรียนหมอ อาจารย์หมอแนะว่า ควรจะต้องมีการเตรียมตัวล่วงหน้าไว้สัก 3 ปีจะดีที่สุด เพราะสิ่งที่อาจจะเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลาคือระบบการสอบจากส่วนกลาง ดังนั้นการเตรียมพร้อมและรู้ตัวเองไว้แต่เนิ่นๆ เป็นเรื่องดีสำหรับการวางแผนสู่อนาคตที่สดใส :D

ปกติหนังสือเกี่ยว กับการเอนทรานซ์จะเป็นหนังสือแนะนำการเตรียมตัวให้กับเด็กนักเรียนกระโปรง บานขาสั้น แล้วผู้ปกครองของพวกเขาล่ะ จะเตรียมตัวอย่างไรดี? หากคิดไม่ออกลองอ่าน "เมื่อลูกสอบเข้ามหาวิทยาลัย คำแนะนำไม่ให้พ่อแม่สติแตก" โดยอาจารย์อู๋ หนังสือเล่มนี้อธิบายการเตรียมสอบเอนทรานซ์รวมไปถึงการปรับสภาพจิตใจของพ่อ แม่ก่อนที่จะสติแตกไปเพราะลุ้นไปกับลูกตัวเองด้วย อ่านสนุกด้วยภาษาสบาย แถมพกข้อคิดดีๆก่อนที่ลูกของคุณจะก้าวเข้าสู่โลกมหาวิทยาลัย (สนพ.ภาราดาบุ๊ก)

คณะยอดนิยม

ปี ที่แล้วมหาวิทยาลัยมหิดลได้เผยข้อมูลความนิยมในแต่ละคณะ โดยสุ่มตัวอย่างจากทั้งในกรุงเทพฯ และต่างจังหวัด พบว่า 5 คณะยอดนิยมของเยาวชนชาย คือคณะวิศวกรรมศาสตร์ 16.2%, คณะแพทย์ศาสตร์ 15%, คณะสถาปัตยกรรมศาสตร์ 8.4%, คณะนิติศาสตร์ 7.9%, คณะรัฐศาสตร์ 7.4%

ส่วน เยาวชนหญิงนั้น คือคณะอักษรศาสตร์ คณะศิลปศาสตร์ และคณะมนุษยศาสตร์ 20.4%,คณะนิเทศศาสตร์ วารสารศาสตร์ และคณะสื่อสารมวลชน 17.3%, คณะบัญชี 7.6%, คณะรัฐศาสตร์ 5.2%, คณะพยาบาลศาสตร์ 4.6%

ขณะที่มหาวิทยาลัยยอดนิยมจัดตามอันดับแล้ว
อันดับ 1 ตกเป็นของจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
อันดับ 2 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
อันดับ 3 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์,
อันดับ 4 มหาวิทยาลัยมหิดล,
อันดับ 5 มหาวิทยาลัย เชียงใหม่,
อันดับ 6 มหาวิทยาลัยศิลปากร,
อันดับ 7 มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ,
อันดับ 8 มหาวิทยาลัยขอนแก่น,
อันดับ 9 มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าเจ้าคุณทหารลาดกระบัง,
อันดับ 10 มหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าธนบุรี (บางมด)

ที่มา สนุก.คอม
พฤศจิกายน 2009