ผู้เขียน หัวข้อ: 54ผอ.รพ.ล่าชื่อ คัดค้านพีฟอร์พี ซัดทำ‘แตกแยก’  (อ่าน 1448 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
54 ผู้อำนวยการโรงพยาบาล 4 จังหวัดในอีสานออกแถลงการณ์ค้าน P4P จี้ “หมอประดิษฐ” ให้ รพ.สมัครใจเลือกเองหากเห็นดี ชี้จะสร้างความแตกแยก ในขณะที่ รพ.ชุมชนต้องการความสามัคคีสูง สอนระบบสุขภาพไทยซับซ้อน ผู้บริหารต้องเข้าใจความแตกต่าง
เมื่อวันอาทิตย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชน 4 จังหวัดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ประกอบด้วย จังหวัดขอนแก่น, ร้อยเอ็ด, มหาสารคาม และกาฬสินธุ์ จำนวน 54 ราย ได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และการใช้ค่าตอบแทนตามภาระงาน (P4P) ในโรงพยาบาลชุมชน
โดยรายชื่อของผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนแนบท้ายแถลงการณ์นั้น แบ่งเป็น ผอ.โรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายจังหวัดขอนแก่น คือ 1.นพ.จักรภพ ป้อมนภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเขาสวนกวาง 2.นพ.พิสฤษฏ์ พิทักษ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชนบท 3.นพ.วิโรจน์ เลิศพงศ์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลซำสูง 4.นพ.วิชัย อัศวภาคย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลน้ำพอง 5.นพ.ประยูร โกวิทย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านไผ่ 6.นพ.บุญชัย ตระกูลขจรศักดิ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบ้านฝาง 7.นพ.เตือน สายบัวทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเปือยน้อย 8.นพ.วีระชัย วรรณสารเมธา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพล 9.นพ.นิรันดร มณีกานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพระยืน 10.นพ.วิวรรธน์ วิมาลัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูผาม่าน 11.นพ.ภิภพ สิริเพาประดิษฐ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลภูเวียง 12.นพ.ครรชิต เจิมจิตรผ่อง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลมัญจาคีรี 13.พญ.อารีย์ ดวงดี ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแวงน้อย 14.นพ.พรพล เหล่าวิทวัส ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแวงใหญ่ 15.นพ.พีรพงศ์ นิลพัฒ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสีชมพู 16.นพ.ชุมพจน์ วรธรากุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองเรือ 17.นพ.เกษม ภัทรฤทธิกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองสองห้อง และ 18.นพ.อภิสิทธิ์ ธำรงวรางกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอุบลรัตน์
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายจังหวัดร้อยเอ็ด ประกอบด้วย 19.นพ.สำเร็จ โพดาพล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเกษตรวิสัย 20.นพ.ชูชัย เต็มธนะกิจไพศาล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจตุพักตรพิมาน 21.นพ.ชนากร ศรีษะภูมิ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลจังหาร 22.นพ.กัมปนาท โกวิทางกูร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธวัชบุรี 23.นพ.พงษ์เฉลย พลอยวิเลิศ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลปทุมรัตน์ 24.นพ.อดิศร วัฒนวงสิงห์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพนมไพร 25.นพ.สุพัฒน์พงศ์ สิงห์ยะบุศย์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพธิ์ชัย 26.นพ.วัชรชัย รัตนแสง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพนทราย 27.นพ.นิวัติ บัณฑิตพรรณ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโพนทอง 28.นพ.อรรณพ รัตนวรรณชัย ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมยวดี 29.นพ.เชี่ยวชาญ สระคูพันธ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเมืองสรวง 30.นพ.ปิยพงศ์ รัตนอาภา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสุวรรณภูมิ 31.นพ.อุปทิน รุ่งอุทัยศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเสลภูมิ 32.นพ.บุญมี โพธิสนาม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลศรีสมเด็จ 33.นพ.สุพัชร์ศักย์ พันธุ์ศิลา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองพอก และ 34.นพ.ธารา รัตนอำนวยศิริ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลอาจสามารถ
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายจังหวัดมหาสารคาม ประกอบด้วย 35.นพ.สมพงษ์ จันทร์โอวาท ผู้อำนวยการโรงพยาบาลแกดำ 36.นพ.หัสชา เนือยทอง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลโกสุมพิสัย 37.นพ.เจษฐา พัชรเวทิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกันทรวิชัย 38.นพ.สมชายโชติ ปิยวัชร์เวลา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเชียงยืน 39.นพ.อภิชัย ลิมานนท์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลบรบือ 40.นพ.ธีรพล ชลเดช ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพยัคฆภูมิพิสัย 41.นพ.ประพันธ์ สุนทรปกาสิต ผู้อำนวยการโรงพยาบาลวาปีปทุม และ 42.นพ.ชัยวุฒิ จันดีกระยอม ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยางสีสุราช
และผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนเครือข่ายจังหวัดกาฬสินธุ์ ประกอบด้วย 43.นพ.นพดล เสรีรัตน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสมเด็จพระยุพราชกุฉินารายณ์ 44.นพ.สุพัฒน์ ธาตุเพชร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลกมลาไสย 45.นพ.ชาญชัย จันทร์วรชัยกุล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลยางตลาด 46.นพ.วิโรจน์ กอบางยาง ผู้อำนวยการโรงพยาบาลเขาวง 47.นพ.สมานมิตร อัฐนาค ผู้อำนวยการโรงพยาบาลคำม่วง 48.นพ.สัญญา สุปัญญาบุตร ผู้อำนวยการโรงพยาบาลนามน 49.นพ.ประธาน ศรีจุลฮาด ผู้อำนวยการโรงพยาบาลร่องคำ 50.นพ.ธิติพงศ์ มณีวงศ์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสหัสขันธ์ 51.นพ.วิษณุกร อ่อนประสงค์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยเม็ก 52.นพ.ไพฑูรย์ อุไรชื่น ผู้อำนวยการโรงพยาบาลห้วยผึ้ง 53.นพ.ภาคี ทรัพย์พิพัฒน์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลหนองกุงศรี และ 54.นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมแพ จังหวัดขอนแก่น
    สำหรับเนื้อหาแถลงการณ์ ระบุว่า การทำงานในชนบทหรือใน รพ.ชุมชนนั้น เป็นการทำงานในภาวะที่มีความจำกัดหลายประการ และทำให้เกิดการสูญเสียโอกาสในด้านต่างๆ หลายด้าน ทำให้ รพ.ชุมชนขาดแคลนบุคลากรทุกระดับตลอดมา แต่ที่ผ่านมาก็ยังมีแพทย์และบุคลากรสหวิชาชีพจำนวนมากเสียสละทำงานในชนบทอย่างยาวนาน กระทั่งเกิดกรณีปัญหาการปรับลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย และปรับไปใช้ระบบ P4P แทน จนทำให้เกิดความขัดแย้งในหลายระดับ เครือข่ายแพทย์ รพ.ชุมชน 4 จังหวัด คือ ขอนแก่น ร้อยเอ็ด มหาสารคาม กาฬสินธุ์ จึงมีความเห็นร่วมกันดังนี้
1.สำหรับบริบทของ รพ.ชุมชน แพทย์ รพ.ชุมชน 4 จังหวัด ยังยืนยันที่ขอให้มีการจ่ายค่าตอบแทนแบบเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายเช่นเดิม อันจะเป็นหลักประกันสำคัญในการจูงใจให้วิชาชีพแพทย์ ทันตแพทย์ และวิชาชีพอื่นๆ ทำงานใน รพ.ชุมชนได้อย่างมีความสุข และเป็นกำลังสำคัญในการดูแลสุขภาพของประชาชนในพื้นที่ชนบท ส่วนค่าตอบแทนในระบบ P4P นั้น หาก รพ.ใดสนใจจะทำเพื่อการทดลองว่าได้ผลหรือไม่ ก็ควรเป็นไปตามความสมัครใจ และเพิ่มเติมด้วยเงินบำรุง ซึ่งจะสอดคล้องกับบริบทของ รพ.ชุมชน
2.แพทย์ รพ.ชุมชน 4 จังหวัดมิได้คัดค้านหาก รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไปจะนำค่าตอบแทนในระบบ P4P มาใช้ เพราะเป็นคนละบริบทกัน ลักษณะการทำงานที่ต่างกัน มีความเหมาะสมที่ต่างกัน พี่น้องสมาชิกของ รพ.ศูนย์/รพ.ทั่วไป สามารถตัดสินใจตามความเหมาะสมได้
3.ระบบบริการสุขภาพไทยมีความซับซ้อนและแตกต่างในหลายระดับ กระทรวงสาธารณสุขต้องเข้าใจถึงความแตกต่างนั้น และจัดระบบที่เหมาะสมเพื่อให้ทุกฝ่ายอยู่ได้ และเกิดความสามัคคีร่วมแรงร่วมใจกัน มิใช่เหมารวมทั้งประเทศ แล้วสร้างความขัดแย้งระหว่าง รพ.ใหญ่กับ รพ.เล็ก หรือระหว่างวิชาชีพต่างๆ ใน รพ.เดียวกัน
4.แพทย์ รพ.ชุมชน 4 จังหวัดยินดีหากจะมีการเพิ่มค่าตอบแทนให้สหวิชาชีพอื่นๆ เพื่อเป็นสร้างขวัญกำลังใจในการทำงานในชนบทมากยิ่งขึ้น แต่ไม่ควรเป็นการลดค่าตอบแทนของวิชาชีพหนึ่งไปเพิ่มวิชาชีพหนึ่ง เพราะจะเป็นการสร้างความแตกแยกใน รพ.ชุมชน ซึ่งต้องการความสามัคคีอย่างสูง แต่กระทรวงควรจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมพิเศษลงมา และ 5.แพทย์ รพ.ชุมชน 4 จังหวัด จึงขอเรียกร้องให้ผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุขหยุดการปรับลดเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่ายของ รพ.ชุมชน และทบทวนการนำระบบ P4P มาใช้ใน รพ.ชุมชน.


ไทยโพสต์