ผู้เขียน หัวข้อ: การจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน P4P ประเด็นที่ต้องทบทวน  (อ่าน 5489 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด

ประเด็นที่หนึ่ง หลักการและวัตถุประสงค์
หลักการ p4p ที่ยอมรับได้ คือ
1. more work, more pay
2. hard work, more pay
3. equal work, equal pay
เห็นด้วยกับวัตถุประสงค์ของ p4p ที่จะสร้างแรงจูงใจ และเพิ่มประสิทธิภาพของงาน
แต่หลักเกณฑ์ที่กระทรวงฯนำเสนอออกมาตั้งแต่เริ่มจนถึงปัจจุบัน ผิดกับหลักการ และจะไม่บรรลุวัตถุประสงค์

ประเด็นที่สอง วงเงิน และสัดส่วน
การกำหนดกรอบวงเงินให้แต่ละโรงพยาบาลโดยพยายามอิงกับระเบียบฉบับเก่า(4-6-7)เป็นการง่ายที่จะบริหารแต่เป็นการสร้างปัญหาที่ยากที่จะคลี่คลาย และเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้หลักการและวัตถุประสงค์ของ p4p ผิดเป้าไป เป็นการติดกระดุมเม็ดแรกผิด
เมื่อมีกรอบวงเงิน ก็เลยต้องมีการแบ่งสัดส่วนระหว่างวิชาชีพ ซึ่งกลายเป็นเรื่องจำเป็นที่จะต้องติดกระดุมเม็ดที่สอง(ผิดตามเม็ดแรกไป) เป็นการสร้างความขัดแย้งเป็นลูกโซ่ลงไปทุกวิชาชีพ จึงมีการต่อรองเพื่อให้เพิ่มสัดส่วนของวิชาชีพของตัวเอง แต่ละวิชาชีพมุ่งผลประโยชน์ของวิชาชีพของตัวเป็นหลัก

ประเด็นที่สาม ช่างตัดเสื้อ
การให้แต่ละโรงพยาบาลและแต่ละวิชาชีพไปกำหนด หรือปรับเปลี่ยนวิธีการคิดคำนวณเองแล้วแต่บริบทของตัวเอง(ให้ไปตัดเสื้อผ้าเอง) ฟังแล้วก็ดูดี แต่ยิ่งทำให้ความขัดแย้งลุกลามไปในทุกสาขาวิชาชีพ จะเกิดความไม่เป็นธรรมภายใน และระหว่างโรงพยาบาล วิชาชีพใดหรือแพทย์สาขาใดมีเสียงดัง หรือมีกำลังภายในมากกว่าก็ดึงผลประโยชน์เข้าหาตัว มือใครยาวก็สาวเอาไป

ประเด็นที่สี่  ทำไปก่อน แล้วค่อยแก้
การปรับเปลี่ยนเรื่องใดๆที่เกี่ยวข้องกับผลประโยชน์ของหลายๆฝ่ายที่ยังมีความเห็นต่าง ไม่ใช่เรื่องง่าย ระเบียบที่ประกาศใช้ไปแล้ว จะแก้ไข เชื่อเถอะยากเย็นจริงๆ ดูการจะเปลี่ยนระเบียบในตอนนี้ดูซิ เจออะไรกันบ้าง

ข้อเสนอแนะ

1.กระทรวงฯ มีโรงพยาบาลในสังกัดโรงพยาบาลเดียว
2.กระทรวงฯเป็นผู้ตัดเสื้อ(ไม่มีกระดุม)เอง
3.เอาระเบียบ p4p ฉบับแรกของกระทรวงฯ(ฉบับ5)เป็นแบบอย่าง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 27 มีนาคม 2013, 03:42:10 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
Re: การจ่ายค่าตอบแทนตามภาระงาน P4P ประเด็นที่ห้า
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 27 มีนาคม 2013, 03:23:01 »
ประเด็นที่ห้า พื้นที่พิเศษ
หลักเกณฑ์ที่อ้างว่าใช้แบ่งพื้นที่ดูมีหลักการหลากหลาย  อ้างว่าผ่านการพิจารณาอย่างละเอียดรอบคอบแล้ว มีการวิจัยสนับสนุน

การแบ่งพื้นที่ครั้งแรก เป็นดังนี้
รพท.พื้นที่ขาดแคลนบุคลากร
รพท.ระดับ ๒.๑-พื้นที่ขาดแคลนบุคลากร
๑.รพ.เกาะสมุย ๒.รพ.ตะกั่วป่า ๓.รพ.นราธิวาส ๔.รพ.ปัตตานี ๕.รพ.ยะลา ๖.รพ.บึงกาฬ ๗.รพ.กระทุ่มแบน

รพท.ระดับ ๒.๒-พื้นที่ขาดแคลนบุคลากรอย่างมาก
๑.รพ.สุไหงโก-ลก ๒.รพ.เบตง ๓.รพ.ศรีสังวาลย์

รพช.ในพื้นที่ชุมชนเมือง ๕๐ โรงพยาบาล

ต่อมามีการแก้ไข ดังนี้

๒.รพศ/รพท ยากลำบากในการบริหารบุคลากร
รพ.เกาะสมุย รพ.ตะกั่วป่า รพ.นราธิวาส รพ.ปัตตานี รพ.ยะลา รพ.บึงกาฬ รพ.สุไหงโก-ลก

๓.รพศ/รพท ยากลำบากในการบริหารบุคลากร มาก
รพ.เบตง รพ.ศรีสังวาลย์

รพช.พื้นที่ชุมชนเมือง  ๓๓ โรงพยาบาล (เขตเมือง ๑๓ แห่ง และรพช.ที่จะยกระดับเป็น รพท. ๒๐ แห่ง)

ประเด็นความไม่โปร่งใสเรื่องการจัดพื้นที่มีมานานแล้ว (ประกาศพื้นที่ทุรกันดาร ฉบับปัจจุบันที่ใช้อยู่) คำถามคือทำไมมีการเปลี่ยนแปลงเรื่องพื้นที่ ทั้งๆที่ในที่ประชุมครั้งแรกก็มีการถามเรื่องความโปร่งใส แล้วคณะกรรมการก็ยืนยันว่าพิจารณาดีแล้ว
ทำไมรพท.เล็กๆบางแห่งที่อยู่ชายแดนไม่ถูกจัดเข้า ทำไมกระทุ่มแบน หายไป สุไหง-โกลกถูกเปลี่ยนพื้นที่(ไหนว่าพิจารณาถี่ถ้วนแล้วไง)
ทำไม รพช.พื้นที่ชุมชนเมือง ลดจาก ๕๐ เหลือ ๓๓ โรง (ไหนว่ามีการวิจัยรองรับ ถูกต้องแน่นอน)
บวกลบเลขผิด หรือพิมพ์ผิด หรือเป็นเพราะเหตุผลอื่น

ความเชื่อถือในความโปร่งใสของคณะกรรมการเป็นที่น่ากังขา ประเด็นไม่ได้อยู่ที่ว่าจะขอแก้ไขให้เหมาะสม แต่อยู่ที่ว่าต้องมีการเปิดเผยข้อมูลดิบในการให้คะแนน(ที่ใช้ในการตัดสินว่าโรงพยาบาลใดอยู่ในพื้นที่แบบไหน)
๑.คะแนนความยากลำบากในการเดินทาง
๒.คะแนน city-life effect
๓.คะแนนความเจริญของพื้นที่ 
ของแต่ละโรงพยาบาลว่าได้คะแนนแต่ละหมวด หมวดละเท่าไหร่ และรวมแล้วลำดับของโรงพยาบาลทั้งหมดเป็น ranking อย่างไร นี่คือ ความโปร่งใสที่แท้จริง ความโปร่งใสที่ผู้บริหารจะต้องแสดงให้เห็น

rabb

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 157
    • ดูรายละเอียด
เรื่องพื้นที่ของ รพศ/รพท
ทำไมบึงกาฬ และตะกั่วป่า ถูกจัดอยู่พื้นที่พิเศษ
แต่เชียงคำ และแม่สอด ที่อยู่ชายแดนไม่ได้

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ความแน่นอน คือความไม่แน่นอน