ผู้เขียน หัวข้อ: ความคิดเห็นจากที่ประชุมคณะกรรมการทบทวนค่าตอบแทนฯ(ตัวแทนนอกกระทรวงสาธารณสุข)13มีค  (อ่าน 1903 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด


ตัวแทนจากสำนักงานตำรวจแห่งชาติ :

เห็นด้วยกับแนวคิดของกระทรวงสาธารณสุข ว่าตอนนี้ที่กระทรวงฯออกฉบับ 4 6 7 ทำให้โรงพยาบาลต่างจังหวัดได้รับเงิน พิสูจน์แล้วว่าเงินช่วยดึงบุคลากรได้.... เรื่องค่าตอบแทนสาขาอื่นเช่น อัยการ ศาล เค้าได้เต็มที่โดยไม่ต้องทำงาน แต่พวกหมอเรา ได้น้อย แต่ที่พวกเรายังอยู่กันได้เพราะว่า ทำเวชปฏิบัติส่วนตัว เปิดร้าน อะไรต่างๆ.... การปรับระบบเรื่องเงินก็พิสูจน์แล้วว่าทำให้คนให้อยู่ในระบบได้ส่วนหนึ่ง แต่ว่าแน่นอนสถานการณ์ต้องเปลี่ยนไป การจ่าย Flat rate อย่างเดียวไปเยอะๆ ก็ทำให้เกิดสภาพที่บางคนเลยไม่ต้องทำอะไร ส่งต่อให้คนส่วนที่ทำงานหนักอะไรต่างๆ วิธีการปรับแบบนี้ก็เป็นสิ่งที่สร้างแรงจูงใจ... โรงพยาบาลนอกสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข เราไม่ได้จ่าย P4P เราอาจต้องกลับไปคิด เราจ่ายเป็น OT ธรรมดา ถ้ากระทรวงฯมีอะไรก็พ่วงพวกเราไปด้วยนะครับ... เห็นด้วยกับแนวคิดของกระทรวงสาธารณสุข ในลักษณะที่เป็นเหตุเป็นผล คิดว่าจะเป็นประโยชน์

ตัวแทนจากสำนักงบประมาณ :

หลักการดูดีแต่เป็นห่วงเรื่องใช้เงินงบประมาณ ประเด็นก็คือว่า ก่อนที่สภาจะเห็นชอบในหลักการ และหลักเกณฑ์ที่เปลี่ยนแปลง กำลังเปลี่ยน อาจจะต้องมีตัวเลขที่มาที่ไปว่า มีค่าใช้จ่ายที่เพิ่มขึ้นอย่างไร... ส่วนหลักการก็คงต้องอธิบายให้เกิดความชัดเจนว่า ขอมาแล้ว มันจะทำให้การทำงานของกระทรวงสาธารณสุขมีประสิทธิภาพเพิ่มขึ้น และเหมาะสมกับการทำงานของแพทย์ พยาบาล ทันตแพทย์.... ทั้งนี้ก็เป็นเรื่องที่ต้องตอบได้ด้วยว่า เมื่อใช้กระทรวงสาธารณสุขได้ ก็ต้องใช้ที่กระทรวงกลาโหม กระทรวงศึกษา หรือกระทรวงอื่นๆได้ด้วย อันนี้ ก็เป็นประเด็นที่จะเป็นลูกโซ่ ต่อไปว่าเมื่อปรับปรุงหลักเกณฑ์แล้ว ก็มีภาระงบประมาณ เพิ่มขึ้นที่กระทรวงสาธารณสุขแล้ว  กระทรวงก็ควร อาจจะรับได้ หรือรับไม่ได้ก็มาดูตัวเลขกันอีกที ส่วนที่จะไปกระทบกับกระทรวงอื่น ผมไม่แน่ใจว่า จะมีปัญหาลูกโซ่ไปยังกระทรวงอื่นสักเท่าไหร่... เพราะฉะนั้น ตอนแรกผมนึกว่าเกณฑ์ที่จะออกมาจะเป็นเกณฑ์กลาง โดยปกติแล้ว ทั่วไปกรมบัญชีกลางจะเป็นผู้ออก...ซึ่งเหตุผลที่กระทรวงชี้แจงต่อที่ประชุม ผมคิดว่ามีเหตุผลมีน้ำหนักเพียงพอ เพียงแต่ว่า เท่าที่เราเห็น มันยังเป็นแค่ตัวเลขที่ยังไม่ครบวงจร เราปรับลดระยะที่หนึ่งลด ครึ่งหนึ่ง ระยะที่สองก็ลดอีกส่วนหนึ่ง ระยะที่สามลดหมด แต่ว่าในส่วนที่เพิ่มขึ้น เราไม่เห็น คือ ไม่ใช่แค่สำนักงบประมาณไม่เห็น คนที่จะทำงานโดยเฉพาะในโรงพยาบาลต่างๆก็จะไม่เห็นว่า ตัวเองจะได้ในส่วนนี้อย่างไร เค้าจะไม่เห็น และก็จะเกิดความรู้สึกต่อต้านว่า เค้าถูกลดมาเป็นสเตปๆเลย แต่ที่เพิ่มขึ้นเค้าไม่รู้ว่าเค้าจะได้เท่าไหร่ ตรงนี้สำคัญ ผมไม่แน่ใจว่า เกณฑ์ตัวนี้มันอาจจะต้องมีการทดลองใช้กันหรือเปล่า มีการทดสอบเกณฑ์ ที่จะจ่ายตามปริมาณงานต่างๆที่ทำงานไป คือที่ผ่านมา ถ้าทำงานหนักนอกเหนือจากเงินเดือนปกติ ถ้าไม่ใช่วิชาชีพที่สลับซับซ้อนมาก ก็เหมาจ่ายเป็นรายเดือนให้ไป แต่ถ้ามันจำเป็นต้องทำงานหนักนอกเหนือจากเกณฑ์ปกติและก็เป็นงานที่สลับซับซ้อนก็จะต้องเป็นหน้าที่ที่จะต้องมีค่าตอบแทนเพิ่มขึ้นนอกเหนือจากเงินเดือน ปกติทั่วๆไปกรมบัญชีกลางจะเป็นผู้คิด ทีนี้ประเด็นนี้เราเริ่มมาจากระเบียบที่อิงกับเงินบำรุง ผมก็ไม่ได้บอกว่าระเบียบนั้นไม่ดี แต่เราจะยกเลิกระเบียบนั้น แล้วเอาระเบียบใหม่ เกณฑ์ใหม่ขึ้นมา เพราะฉะนั้นประเด็นนี้ในหลักการอาจจะต้องหารือกันว่า ควรจะให้ทางหน่วยงานกลางเป็นผู้คิดหลักเกณฑ์นี้ขึ้นมา หรือไม่อย่างไร หรืออย่างน้อยก็ที่สุด กระทรวงการคลังจะต้องเห็นชอบเกณฑ์นี้เสียก่อน โดยทั่วไปก็ต้องเป็นไปในลักษณะนี้

ตัวแทนจากกรมบัญชีกลาง :

กรมบัญชีกลางไม่ขัดข้องในเรื่องของหลักการ แต่ว่าในเรื่องของรายละเอียดคงจะต้องมาคุยกัน ทำความเข้าใจกัน เราจะจ่ายP4P เราจะจ่ายเท่าไหร่ เช่นจะต้องทำงานหนักแค่ไหนจึงจะได้... ถ้าเป็นระเบียบที่ใช้เงินงบประมาณแล้วต้องเป็นหลักเกณฑ์ที่กระทรวงการคลังเป็นผู้ออก

........................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 15 มีนาคม 2013, 14:01:48 โดย story »