ผู้เขียน หัวข้อ: ความสัมพันธ์ระหว่างหมอกับคนไข้(นายแพทย์อำพล จินดาวัฒนะ)  (อ่าน 1529 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
หมอกับคนไข้ เหมือนน้ำกับเรือ หรือเสือกับป่า
ต้องพึ่งพาอาศัยอิงกันแบบแยกกันไม่ได้ หมอได้รับการ
ยอมรับว่าเป็นคนมีความรู้ความสามารถมากกว่าคนไข้ และ
เป็นคนมีเมตตากรุณา มีคุณธรรม จริยธรรม และมนุษย-
ธรรมเป็นที่ตั้ง คนไข้คือคนที่มีความทุกข์ความเดือดร้อน
ต้องพึ่งพาอาศัยหมอ ในขณะเดียวกัน ถ้าไม่มีคนไข้ หมอก็
ไม่มีแหล่งศึกษาเรียนรู้ให้มีความรู้ความสามารถและไม่มี
อาชีพให้ทำ
ความสัมพันธ์ระหว่างกันจึงเป็นความสัมพันธ์ที่
ต้องอาศัยการเข้าอกเข้าใจกัน มีความไว้เนื้อเชื่อใจ หรือมี
ความไว้วางใจซึ่งกันและกัน เรื่องเงินทองค่ารักษาพยาบาล
หรือเรื่องสิทธิในการรักษาพยาบาล เป็นเพียงส่วนประกอบ
เท่านั้น ต้องระวังไม่ให้กลายเป็นเรื่องหลักไปเสีย
เป็นความจริงที่ว่า ในการรักษาพยาบาลซึ่งมีเป้า-
หมายคือทำให้คนไข้หายจากการเจ็บป่วย แต่ยิ่งทำมากก็ยิ่ง
มีความเสี่ยงที่จะเกิดปัญหาแทรกซ้อนอันไม่พึงประสงค์ขึ้น
มาได้ เช่น ติดเชื้อ มีโรคแทรกซ้อน บาดเจ็บ พิการ หรือเสีย-
ชีวิต เป็นต้น ซึ่งสาเหตุอาจมาจากผลแทรกซ้อนจากหยูกยา
หรือหัตถการที่ใช้ หรือจากระบบที่บกพร่องที่จุดใดจุดหนึ่ง
หรือจากความผิดพลาดคลาดเคลื่อนของหมอ คนไข้ หรือผู้-
เกี่ยวข้อง หรือจากเหตุอันสุดวิสัย ก็เป็นไปได้ทั้งนั้น
ทั้งหมอและคนไข้ ไม่มีใครอยากให้เกิด
ปัญหาแทรกซ้อนที่ไม่พึงประสงค์ แต่เมื่อมีผลเสียหาย
เกิดขึ้นแล้ว คนไข้ที่ได้รับผลเสียหายและญาติก็ต้องมี
ความทุกข์ทรมานเพิ่มขึ้นจากการเจ็บป่วยเดิม หมอก็
ทุกข์ด้วย เพราะไม่มีหมอคนไหนอยากให้คนไข้ของตัว
ได้รับความเสียหายหรือมีปัญหาแทรกซ้อน
สิ่งที่ช่วยเหลือกันในยามที่มีความทุกข์อันไม่พึง-
ประสงค์ที่เกิดก็คือ การมีระบบเยียวยาช่วยเหลือผ่อนหนัก
เป็นเบาให้กับคนไข้หรือญาติ โดยหมอเองก็ไม่ควรจะต้อง
เดือดร้อนไปวิ่งหาทรัพย์สินเงินทองจำนวนมาก ๆ มาให้
ความช่วยเหลือเยียวยาสิ่งที่เกิดขึ้น ไม่ว่าปัญหานั้น ๆ จะ
เกิดจากเหตุใดก็ตาม
ทสี่ ำคญั อกี อยา่ งกค็ อื การชว่ ยเหลอื ควรดำเนนิ -
การอย่างทันท่วงที ไม่ควรปล่อยให้คนไข้ต้องไปฟ้องร้อง
เพื่อให้ศาลพิสูจน์ว่าปัญหาเกิดจากอะไร หรือใครผิดใคร
ถูก ซึ่งเสียเวลาและค่าใช้จ่ายอีกมาก และทำให้ทั้งสอง
ฝ่ายกลายเป็นคู่ขัดแย้งกัน เป็นทุกข์ด้วยกันทุกคน
เมื่อคนไข้ได้รับการเยียวยาความเสียหายที่เกิด
ขึ้น แม้ไม่สามารถเรียกสิ่งที่เสียหายกลับคืนมาเป็นปกติ
ได้ แต่ก็ทำให้ทุกข์น้อยลง ซึ่งหากหมอเป็นฝ่ายช่วยดูแล
ให้คนไข้ได้รับการช่วยเหลือเยียวยาอย่างรวดเร็ว ก็
เป็นการแสดงความเห็นอกเห็นใจในฐานะเพื่อมนุษย์ของ
กันและกัน ทั้งสองฝ่ายยังคงรักษาสัมพันธภาพที่ดีต่อ
กันเอาไว้ได้ ไม่ต้องกลายเป็นคู่ขัดแย้ง ฟ้องร้องกันแบบ
ตาต่อตา ฟันต่อฟัน
กระทรวงสาธารณสุขพยายามที่จะออก พ.ร.บ.-
คุ้มครองความเสียหายที่เกิดจากบริการสาธารณสุข เพื่อ
ตั้งกองทุนไว้ช่วยเหลือเยียวยาคนไข้ที่ได้รับผลแทรกซ้อน
อันไม่พึงประสงค์เมื่อไปรักษาพยาบาล ซึ่งเป็นการต่อ-
ยอดจากการดำเนินการตามมาตรา 41 ของ พ.ร.บ. หลัก-
ประกันสุขภาพ เพื่อหวังใช้เป็นเครื่องมือช่วยเหลือทั้งคน-
ไข้ที่เกิดผลแทรกซ้อน และช่วยให้หมอไม่ต้องเดือดร้อน
หากคนไข้ของตัวเองเกิดปัญหาแทรกซ้อนขึ้น คนไข้ก็ได้
รับการพิจารณาช่วยเหลือเยียวยาอย่างเหมาะสมและ
รวดเร็ว หมอก็ไม่ต้องกลัวถูกฟ้อง สามารถทำหน้าที่ดูแล-
รักษาคนไข้ตามวิชาชีพของตนได้อย่างสบายใจ ความ
สัมพันธ์ที่ดีต่อกันก็ไม่สั่นคลอน
แต่กลับมีฝ่ายหมอส่วนหนึ่งมองการออกกฎ-
หมายนี้ไปในทางร้าย ตรงข้ามกับเจตนารมณ์และสาระ
สำคัญของร่างกฎหมายนี้ มองว่าจะทำให้หมอถูกฟ้อง
ร้องมากยิ่งขึ้น จนถึงขั้นชวนกันออกมาเคลื่อนไหว
ต่อต้านร่างกฎหมายนี้กันอย่างเอาเป็นเอาตาย
“ดอกบัว” ถูกมองว่าเป็น “กงจักร” ไป
อย่างน่าเสียดาย

หมออนามัย/ก.ย.-ต.ค. 2553