ผู้เขียน หัวข้อ: 'ลงล็อกการเมือง'หมออรรถสิทธิ์นั่งรองเลขาสปสช.  (อ่าน 1091 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- อังคารที่ 5 มีนาคม 2556 00:00:08 น.
สาธารณสุข * ลงล็อกการเมือง "สปสช." ซุ่มเงียบเลือกรองเลขาฯ "หมออรรถสิทธิ์-หมอสัม ฤทธิ์" ได้เก้าอี้ตามคาด ร่อนผลคัดเลือกระบุ กกต.รับรองคุณสมบัติของรองเลขาฯ ใหม่ไร้ปัญหา ด้าน "หมอวิชัย" ชี้เป็นผลลัพธ์การแทรกแซงทางการเมือง วอนหลังจากนี้ให้สังคมช่วยจับตา ตรวจสอบการทำงานใกล้ชิด


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อวันที่ 4 มี.ค.56 สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) ได้ประกาศว่า คณะกรรมการ สปสช.ได้ประกาศผลการคัดเลือกผู้สมัครดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ สปสช. 2 ตำแหน่ง ปรากฏว่าผู้ได้รับการคัดเลือก ได้แก่ นพ.สัมฤทธิ์ ศรีธำรงสวัสดิ์ และ นพ.อรรถสิทธิ์ กาญจนสินิทธิ์ เนื่องจากคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) พิจารณาคุณสมบัติแล้วว่าไม่มีข้อใดที่ขัดกับข้อกำหนดการเข้าดำรงตำแหน่งดังกล่าว เพราะฉะนั้นขั้นตอนต่อไปอยู่ระหว่างการตั้งคณะกรรมการต่อรองค่าตอบแทนการทำงานของเลขาธิการคนใหม่ รวมถึงการเจรจากรอบการทำงานเพิ่มเติม ซึ่งคาดว่าน่าจะสามารถเรียกมาเจรจาได้ในเร็วๆ นี้

โดยก่อนหน้านี้มีกระแสข่าวว่าสาเหตุที่ทั้ง นพ.สัมฤทธิ์ และ นพ.อรรถสิทธิ์ ได้รับการคัดเลือกเป็นรองเลขาธิการ สปสช.นั้น เป็นใบสั่งของพรรคการเมือง ที่ต้องการมีตัวแทนเข้ามาดูแลกิจการของ สปสช. ซึ่งมีกองทุนมูลค่าหลายแสนล้านบาท

อย่างไรก็ตาม ผู้สื่อข่าวได้สอบถามไปยัง นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการ สปสช. ว่ากระแสข่าวรองเลขาฯ คนใหม่เข้ามาเพราะใบสั่งจะทำให้มีปัญหาในการทำงานต่อไปหรือไม่ นพ.วินัยกล่าวว่า ไม่คิดว่าตรงนี้จะเป็นปัญหา ซึ่งปัจจุบันภาระงานของ สปสช.มีมากขึ้น ทั้งงานประจำและงานใหม่ๆ ตามนโยบายของรัฐบาล เช่น การบูรณาการสามกองทุนด้านอุบัติเหตุ เอดส์ ไต รวมถึงการให้การรักษาโรคมะเร็งในอนาคต การจัดระบบสวัสดิการรักษาพยาบาลขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น การพัฒนาระบบเบิกจ่ายกลาง อีกทั้งความตื่นตัวของการสร้างหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้าในเวทีโลกมีสูงมาก ปัจจุบันสำนักงานหลักประกันสุขภาพเป็นแหล่งเรียนรู้และศึกษาดูงานด้านหลักประกันสุขภาพให้แก่ประเทศเพื่อนบ้านตามคำแนะนำขององค์การอนามัยโลก ขณะเดียวกัน สปสช.กำลังเร่งเรียนรู้จากประเทศเพื่อนบ้านที่มีความก้าวหน้าด้านระบบประกันสุขภาพมากกว่าเรา เช่น ประเทศญี่ปุ่น ดังนั้นการมีผู้บริหารจากภายนอกที่มีประสบการณ์และมุมมอง อื่นๆ มาเพิ่ม จะทำให้การทำงานของ สปสช.บรรลุเป้าหมายได้ดีขึ้น

ในเอกสารประกาศผลการคัดเลือกรองเลขาฯ สปสช.คนใหม่ ระบุถึงประวัติของ นพ. สัมฤทธิ์ จบการศึกษาระดับปริญญาโทและปริญ ญาเอกจาก  London  School  of  Hygiene  and Tropical  Medicine จาก  University  of  London เคยดำรงตำแหน่งรองนายแพทย์สาธารณสุขจังหวัด อดีตผู้เชี่ยวชาญพิเศษของ สปสช. ปัจจุบันดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการสำนักงานวิจัยเพื่อการพัฒนาหลักประกันสุขภาพไทย (สวปก.) มีประสบการณ์ด้านการบริหารระบบสาธารณสุข มีความเข้าใจในระบบประกันสุขภาพเป็นอย่างดี มีความชำนาญด้านภาษาที่สามารถใช้ในการติดต่อประสานงานกับต่างประเทศ และมีความชำนาญในการทำวิจัยโดยมีผลงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์ในระดับนานาชาติเป็นจำนวนมาก

ส่วน นพ.อรรถสิทธิ์ มีประสบการณ์ทั้งด้านสาธารณสุข นโยบายระหว่างประเทศและการเมืองในประเทศ โดยเป็นอดีตผู้อำนวยการโรงพยาบาลชุมชนที่ทำงานในชนบทมากกว่า 10 ปี อดีตเลขาธิการองค์การรัฐสภาอาเซียน (ASEAN Inter  Parliamentary  Organization :  AIPO) และอดีตรองประธานกรรมาธิการวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ซึ่งมีประสบการณ์และความรู้ความสามารถหลากหลายในการบริหารด้านสาธารณสุข เทคโนโลยีสารสนเทศ การเชื่อมประสานกับสภา ทั้งสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภา

ด้าน นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ กรรมการ สปสช. กล่าวว่า ตามหลักการแล้ว จริงๆ ตนคัดค้านมาตลอดทั้งในที่ประชุมและนอกที่ประชุม ว่าการคัดเลือกตำแหน่งรองเลขาฯ ครั้งนี้เป็นการแทรกแซงทางการเมือง เป็นการทำลายระบบ ซึ่งจะเห็นว่าทุกวันนี้อำนาจทางการเมืองเข้ามาแทรกแซงอยู่ในทุกหย่อมหญ้า อย่างไรก็ตาม ต่อไปคงต้องเป็นเรื่องภายในองค์กรว่าจะสยบยอมหรือไม่ ประชาชนจะยอมรับหรือไม่ ส่วนตัวคัดค้านมาตลอดอยู่แล้ว ประชาชนเองก็ต้องให้ความสนใจเรื่องนี้ด้วย จะให้ใครคนใดคนหนึ่งทำเรื่องนี้โดยลำพังไม่ได้.