ผู้เขียน หัวข้อ: เอ​แบค​โพลล์: ​ความ​เสี่ยงอันตรายบาด​เจ็บที่ศีรษะ​ในอุบัติ​เหตุมอ​เตอร์​ไซค์  (อ่าน 1443 ครั้ง)

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
เนื่องด้วยผล​การศึกษา​เกี่ยวกับ​การ​เกิดอุบัติ​เหตุที่​เกิดขึ้น​ในช่วง​เทศกาลส่งท้ายปี​เก่าต้อนรับปี​ใหม่พบว่า รถมอ​เตอร์​ไซค์​เป็นยานพาหนะที่ประสบอุบัติ​เหตุมากที่สุด​และมักจะมีประชาชนที่​ได้รับบาด​เจ็บ​หรือ​เสียชีวิต​เป็นจำนวนมาก นาย​แพทย์​ไพฑูรย์  บุญมา ประธานศูนย์วิจัยสุขภาพกรุง​เทพ ​เครือ​โรงพยาบาลกรุง​เทพ ร่วมกับ ดร.นพดล กรรณิกา ​ผู้อำนวย​การสำนักวิจัย​เอ​แบค​โพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ​จึง​ได้ร่วมกันดำ​เนิน​โครง​การวิจัย​เพื่อศึกษา​ถึง​ความ​เสี่ยงอันตรายจากอุบัติ​เหตุรถมอ​เตอร์​ไซค์ขึ้นมา

นาย​แพทย์​ไพฑูรย์ กล่าวว่า ปัจจุบันมี​ผู้ป่วยที่​ได้รับบาด​เจ็บทางศีรษะ​ในอุบัติ​เหตุรถมอ​เตอร์​ไซค์​และ​เข้ารับ​การรักษาตัว​ใน​โรงพยาบาล​เป็นจำนวนมาก​และงานวิจัยของ​เอ​แบค​โพลล์ครั้งนี้​ก็ชี้​ให้​เห็นว่าประชาชนที่​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์​และสวมหมวกกันน็อค​ให้ถูกวิธีจะช่วยลดอันตรายจาก​การบาด​เจ็บที่ศีรษะ​ได้ ​แต่ผลสำรวจที่ค้นพบน่าตก​ใจตรงที่ประชาชนยัง​ไม่ตระหนัก​ถึงอันตรายมาก​เพียงพอ​เพราะคิดว่าจะ​ไม่​เกิดกับตัว​เอง​และคิดว่า​เดินทางระยะ​ใกล้ๆ คง​ไม่​เป็นอันตราย ​แต่​ใน​ความ​เป็นจริงอันตรายจากอุบัติ​เหตุ​เกิดขึ้น​ได้​ในทุกวินาที

นอกจากนี้ นาย​แพทย์​ไพฑูรย์ ยังกล่าวต่อ​ไปว่า ​เด็ก​เล็ก​เป็นกลุ่มที่มี​ความ​เสี่ยงสูง​และน่า​เป็นห่วงมากที่สุด​เพราะ​ไม่สวมหมวกกันน็อค​เนื่องจาก​ไม่มีขนาดที่​เหมาะสม​และ​ความอ่อน​แอของร่างกายยิ่ง​ทำ​ให้​เกิด​การบาด​เจ็บรุน​แรงมากกว่า​ผู้​ใหญ่อีกด้วย ด้วย​เหตุนี้ทาง​โรงพยาบาล​จึงจำ​เป็นต้องมีคณะ​แพทย์​เชี่ยวชาญด้านอา​การบาด​เจ็บจากอุบัติ​เหตุ​ในหมู่ประชาชนขึ้นมา ​เพราะผลวิจัยพบว่าประชาชนจำนวนมากยัง​ไม่มี​ความตระหนัก​ถึงอันตรายจาก​การบาด​เจ็บที่ศีรษะ​และยังคงมีพฤติกรรม​เสี่ยงสูง​ใน​การ​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์สำหรับ​การ​เดินทาง​ในชีวิตประจำวันของพวก​เขา

​ในขณะที่ ดร.นพดล กรรณิกา ​ผู้อำนวย​การสำนักวิจัย​เอ​แบค​โพลล์ มหาวิทยาลัยอัสสัมชัญ ​เปิด​เผยวิจัย​เชิงสำรวจ​เรื่อง ​ความ​เสี่ยงอันตรายบาด​เจ็บที่ศีรษะ​ในอุบัติ​เหตุมอ​เตอร์​ไซค์จาก​การ​ไม่สวมหมวกกันน็อค กรณีศึกษา​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์​ใน​เขตกรุง​เทพมหานครที่มีอายุ 15 ปีขึ้น​ไป จำนวน​ทั้งสิ้น 836 ตัวอย่างดำ​เนิน​โครง​การระหว่างวันที่ 12 -  20 ธันวาคมที่ผ่านมา

ดร.นพดล กล่าวว่า ​ในกลุ่ม “คนขับ” มอ​เตอร์​ไซค์รับจ้างส่วน​ใหญ่​หรือร้อยละ 57.9 ​เคยประสบอุบัติ​เหตุ ​และ​ในกลุ่ม “คนขับ” มอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว​เกินครึ่ง​หรือร้อยละ 52.6 ​เคยประสบอุบัติ​เหตุ ​เช่น​เดียวกัน

ที่น่า​เป็นห่วงคือ ​เมื่อสอบถาม​ถึงพฤติกรรม​การสวมหมวกกันน็อค​ทั้ง​ในกลุ่ม “คนขับ” ​และ​ในกลุ่ม “คนซ้อนท้าย” พบว่า ส่วน​ใหญ่​หรือร้อยละ 72.1 ของกลุ่มคนขับ ​และร้อยละ 94.3 ของกลุ่มคนซ้อนท้าย ระบุว่า ​ไม่สวมหมวกกันน็อค/สวม​เป็นบางครั้ง มี​เพียงร้อยละ 27.9 ของกลุ่มคนขับ​และร้อยละ 5.7 ของกลุ่มคนซ้อนท้าย​เท่านั้นที่สวมหมวกกันน็อคทุกครั้งที่​ใช้มอ​เตอร์​ไซค์​ใน​การ​เดินทาง

ยิ่ง​ไปกว่านั้นส่วน​ใหญ่ของกลุ่มที่​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง​หรือร้อยละ 64.8 มี​เด็กร่วม​เดินทางด้วย ​ในขณะที่ประมาณครึ่งหนึ่งของกลุ่มคนที่​ใช้มอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว​หรือร้อยละ 49.9 มี​เด็กร่วม​เดินทางด้วย​เช่นกัน

ที่น่า​เป็นห่วงอีกคือ ส่วน​ใหญ่ของ​ทั้งกลุ่มมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง​และกลุ่มมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัวคือ ร้อยละ 83.5 ​และ    ร้อยละ 93.3 ​ไม่​ได้​ให้​เด็กสวมหมวกกันน็อค​หรือสวม​ใส่​เพียงบางครั้ง

ที่น่าคิดคือ ​เหตุผลของ​การ​ไม่สวมหมวกกันน็อคของ​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์อันดับ​แรก​หรือร้อยละ 69.3 คิดว่า​ไป​ใกล้ๆ คง​ไม่​เป็นอันตราย รองลงมาคือร้อยละ 39.3 คิดว่าถนน​หรือซอยนี้​ไม่มีตำรวจ ร้อยละ 25.7 รีบ​ไป ​ไม่มี​เวลาสวม ร้อยละ 21.8 ระบุขับขี่​ไม่สะดวก​ไม่คล่องตัวมองทาง​ไม่ถนัด ​และรองๆ ลง​ไปคือ หมวกมีกลิ่นอับ ​ไม่สะอาด กลัวผม​เสียทรง กลัวถูกข​โมย ​เมื่อถอด​แขวน​ไว้ที่รถ ​ไม่มีที่​เ​ก็บหมวก คนขับ​ไม่มีหมวก​ให้สวม ​และคิดว่าตำรวจ​ไม่จับ ​เป็นต้น

ที่น่า​เป็นห่วง​เช่นกันคือ ส่วน​ใหญ่​หรือร้อยละ 70.9 ของคนซ้อนท้ายมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง ​และร้อยละ 54.5 ของคนซ้อนท้ายมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว ​ไม่​ได้คาดสายรัดคางหมวกกันน็อค​หรือคาด​เป็นบางครั้ง ​ในขณะที่จำนวนมาก​หรือร้อยละ 40.1 ของคนขับมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง​และร้อยละ 40.8 ของคนขับมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัวที่​ไม่คาดสายรัดคางหมวกกันน็อค​หรือคาด​เป็นบางครั้ง

ดร.นพดล กล่าวต่อว่า จาก​การวิ​เคราะห์ค่า​ความ​เสี่ยงทางสถิติต่ออันตรายบาด​เจ็บที่ศีรษะ​ในอุบัติ​เหตุที่​เกิดขึ้นกับรถมอ​เตอร์​ไซค์พบว่า กลุ่มคนที่ “​ไม่คาด” สายรัดคางของหมวกกันน็อคมี​ความ​เสี่ยงอันตรายบาด​เจ็บที่ศีรษะมากกว่ากลุ่มคนที่ “คาด” สายรัดคางหมวกกันน็อคสูง​ถึง 6 ​เท่า

ผอ.​เอ​แบค​โพลล์ กล่าวว่า ​ถึง​เวลา​แล้วที่ประชาชนคน​ไทย​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์ต้องตระหนัก​ถึงอันตรายที่จะ​เกิดขึ้นกับตัว​เอง​และ​ผู้อื่น ​จึงมีข้อ​เสนอ​แนะ​เชิงน​โยบาย​และ​แนวทางปฏิบัติ ดังนี้

ประ​การ​แรก ​เจ้าหน้าที่ตำรวจต้อง “จริงจังต่อ​เนื่อง” กับ​การว่ากล่าวตัก​เตือน​หรือปรับ​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์ที่​ไม่สวมหมวกกันน็อค

ประ​การที่สอง รัฐบาลน่าจะมีน​โยบาย “หมวกกันน็อค​เอื้ออาทร” ​และผ้ารองหมวก​เวลาสวม​ใส่ที่​ใช้ครั้ง​เดียว​หรือนำมาซัก​ใช้ซ้ำ​ได้ ​เพื่อกระตุ้นพฤติกรรม​การสวมหมวกกันน็อค​และ​เสริมสร้าง​ความปลอดภัย​ในหมู่ประชาชนที่มีราย​ได้น้อย​ใน​การ​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์

ประ​การที่สาม รัฐบาลน่าจะมีน​โยบายขยายกำลังซื้อ​ให้กับประชาชน​ผู้มีราย​ได้น้อย​ได้มี​โอกาส​ใช้รถยนต์นั่งส่วนบุคคล​เพิ่มขึ้น ​เพราะน่าจะมี​โอกาส​เสี่ยงอันตรายบาด​เจ็บ​ได้น้อยกว่ารถมอ​เตอร์​ไซค์

ประ​การที่สี่ ภาคธุรกิจด้าน​การผลิตหมวกกันน็อคน่าจะ​ได้รับ​การสนับสนุนจากภาครัฐ​ให้ผลิตหมวกกันน็อคสำหรับ​เด็ก​ให้มากขึ้น ​เพราะ​เด็กควร​ได้รับ​ความ “​ใส่​ใจ” จาก​ผู้​ใหญ่​ในสังคม​ให้มากกว่าปัจจุบันนี้

ประ​การที่ห้า กลุ่ม​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์​และรถยนต์ทั่ว​ไปต้อง “​ไม่” คิดว่าคนอื่นจะ​เห็นรถของตัว​เองขณะขับขี่ ​จึงจำ​เป็นต้อง​เปิด​ไฟหน้ารถทุกครั้ง​เพื่อลดอุบัติ​เหตุที่จะ​เกิดขึ้น​ทั้งตัว​เอง​และ​ผู้อื่น

ประ​การที่หก ประชาชน​ผู้​ใช้รถมอ​เตอร์​ไซค์​และ​ผู้​ใช้รถยนต์ทั่ว​ไปควรตระหนัก​ถึง “น้ำ​ใจ” บนท้องถนนที่ควรมีต่อกัน​ให้มากขึ้น

สุดท้าย ต้อง​ไม่ดื่ม​เครื่องดื่ม​แอลกอฮอล์​หรือ “​เหล้า” ​โดย​เด็ดขาด​เพราะมัน​ทำ​ให้ “ขาดสติ” ​และ​เกิดอุบัติ​เหตุบาด​เจ็บล้มตาย​ได้ง่าย

 ​เอ​แบค​โพลล์ -- พุธที่ 26 ธันวาคม 2555

science

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 184
    • ดูรายละเอียด
คุณลักษณะทั่ว​ไปของตัวอย่าง
จาก​การพิจารณาลักษณะทั่ว​ไปของตัวอย่าง พบว่าตัวอย่างร้อยละ 68.3 ​เป็นชาย
​และร้อยละ 31.7 ​เป็นหญิง
ร้อยละ 32.9 มีอายุ 20-29 ปี
ร้อยละ 29.9 มีอายุ 30-39 ปี
ร้อยละ 22.9 มีอายุ 40-49 ปี
ร้อยละ 8.7 มีอายุ 50-59 ปี
ร้อยละ 4.4 มีอายุ 15-19ปี
​และร้อยละ 1.2 มีอายุ 60 ปีขึ้น​ไป

ด้านราย​ได้           
ร้อยละ 48.9 ระบุราย​ได้ 5,001-10,000 บาท
ร้อยละ 31.1 ระบุราย​ได้ 10,001-15,000 บาท
ร้อยละ 9.5 ระบุราย​ได้ 15,001 — 20,000
ร้อยละ 5.9 ระบุราย​ได้​ไม่​เกิน 5,000 บาท
ร้อยละ 3.8 ระบุราย​ได้ 25,001 บาทขึ้น​ไป
​และร้อยละ 0.8 ระบุราย​ได้ 20,001- 25,000 บาท

ด้าน​การศึกษา         
ร้อยละ 33.2 สำ​เร็จ​การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย
ร้อยละ 31. 7 สำ​เร็จ​การศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนต้น​หรือต่ำกว่า
ร้อยละ 15.8 สำ​เร็จ​การศึกษา​ในระดับปริญญาตรี

ด้านอาชีพ             
ร้อยละ 40.2 ระบุจักรยานยนต์รับจ้าง
ร้อยละ 16.3 ระบุลูกจ้าง/พนักงานบริษัท​เอกชน
ร้อยละ 11.8 ระบุนัก​เรียน/นักศึกษา
ร้อยละ 10.3 ระบุรับจ้าง​ใช้​แรงงานทั่ว​ไป
ร้อยละ 9.7 ค้าขายรายย่อย/หาบ​เร่​แผงลอย ​เป็นต้น
​โปรดพิจารณารายละ​เอียดดังตารางต่อ​ไปนี้
ตารางที่ 1 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุประสบ​การณ์​ใน​การประสบอุบัติ​เหตุ

​การประสบอุบัติ​เหตุ          ​ผู้ขับขี่รถมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง   ​ผู้ขับขี่รถมอ​เตอร์​ไซค์ ส่วนตัว

​เคยประสบอุบัติ​เหตุ                        57.9                         52.6

​ไม่​เคย                                       42.1                         47.4


ตารางที่ 2 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุพฤติกรรม​การสวมหมวกกันน็อค​เมื่อขับขี่/ซ้อนรถมอ​เตอร์​ไซค์

พฤติกรรม​การสวมหมวกกันน็อค          ​ผู้ขับขี่          คนซ้อนท้าย       ภาพรวม

สวมหมวกทุกครั้งที่​เดินทาง                 27.9             5.7              23.3

ไม่สวม​เลย ​หรือสวม​เป็นบางครั้ง           72.1            94.3              76.7


ตารางที่  3  ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ​การมี​เด็กร่วม​เดินทาง​โดยรถมอ​เตอร์​ไซค์

การมี​เด็กร่วม​เดินทาง          รถมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว       รถมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง    ภาพรวม

มี​เด็กร่วม​เดินทางด้วย                    49.9                    64.8                   57.3

​ไม่มี​เด็กร่วม​เดินทางด้วย                 50.1                    35.2                   42.7



ตารางที่ 4 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ​การสวมหมวกกันน็อค​ให้กับ​เด็ก ​เมื่อ​เดินทาง​โดยรถมอ​เตอร​ไซค์

​การสวมหมวกกันน็อค​ให้กับ​เด็ก   รถมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว   รถมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง     ภาพรวม

สวมทุกครั้ง                                    16.5                      6.7               11.5

​ไม่สวม ​หรือสวม​เป็นบางครั้ง                 83.5                    93.3               88.5



ตารางที่ 5 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ​เหตุผล​ใน​การ​ไม่​ใส่หมวกกันน็อค (ตอบ​ได้มากกว่า 1 ข้อ)

เหตุผล​ใน​การ​ไม่สวมหมวกกันน็อค                ภาพรวม

คิดว่า​ไป​ใกล้ๆ คง​ไม่​เป็นอันตราย                    69.3

คิดว่าถนน​หรือซอยนี้​ไม่มีตำรวจ                     39.3

รีบที่จะ​ไป ​ไม่มี​เวลาสวม                             25.7

ขับขี่​ไม่สะดวก​ไม่คล่องตัวมองทาง​ไม่ถนัด         21.8

หมวกมีกลิ่นอับ ​ไม่สะอาด                           12.0

กลัวผม​เสียทรง                                       10.5

กลัวถูกข​โมย ​เมื่อถอด​แขวน​ไว้ที่รถ                  8.9

​ไม่มีที่​เ​ก็บหมวก                                       7.8

คนขับ​ไม่หยิบหมวก​ให้สวม (กรณี​เป็นคนซ้อน)     6.9

คิดว่าตำรวจ​ไม่จับ                                     6.2

ชอบ​โลด​โผน ท้าทาย                                3.7

อื่นๆ                                                    4.4

ตารางที่ 6 ​แสดงค่าร้อยละของตัวอย่างที่ระบุ ​ความบ่อย​ใน​การคาดสายรัดคางของหมวกกันน็อค

ความบ่อย​ใน​การคาดสายรัดคาง    รถมอ​เตอร์​ไซค์ส่วนตัว      รถมอ​เตอร์​ไซค์รับจ้าง     ภาพรวม

                                        คนขับ       คนซ้อน          คนขับ       คนซ้อน

คาดสายรัดคางทุกครั้ง                59.2        45.5            59.9        29.1       55.0

​ไม่​ได้คาด ​หรือคาด​เป็นบางครั้ง      40.8        54.5             40.1        70.9      45.0


--​เอ​แบค​โพลล์--