ผู้เขียน หัวข้อ: เคาะแล้ว...การจ่ายค่าตอบแทนของกระทรวงสาธารณสุข ฉบับปรับปรุงใหม่. เริ่ม ๑ มีนาคม  (อ่าน 11584 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด


ยังไม่นิ่ง...สำหรับรายละเอียดของการจ่ายค่าตอบแทน ฉบับปรับปรุงใหม่ มีการเปลี่ยนแปลงล่าสุด

การบริหารงบประมาณค่าตอบแทน
-ปี ๒๕๕๕ ให้เบิกจ่ายจากเงินบำรุง กระทรวง สธ.จะมีหนังสือสั่งการไป
-ปี ๒๕๕๖ งบประมาณ ๓,๐๐๐ ล้านบาท ให้ แบ่ง ๑ ใน ๓ เป็น P4P และ ๒ ใน ๓ เป็นเบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย
-ปี ๒๕๕๗ เสนอตั้งงบประมาณ คาดว่า ๖,๐๐๐-๘,๐๐๐ บาท

หลักการ
-ปรับ ฉ.๔ และ ๖ ปรับพื้นที่ ปรับอัตรา
-ตัด ฉ.๗ คงเหลือ รพศ/รพท. ๙ แห่ง
-เติม P4P ตั้งแต่ ๑ มีค.๕๖ ทุกแห่ง

นโยบาย งบปี ๕๗
-เงินเดือนทั้งหมด+ค่าจ้าง ตั้งที่เงินรายหัวประชากร UC
-ค่าตอบแทน ตั้งที่เงินรายหัวประชากร UC
-เติมเงินแก้ปัญหาเฉพาะหน้า รพ.ขาดสภาพคล่อง ๓ ปี
...

ข้อเสนอค่าตอบแทนพื้นที่พิเศษ(เบี้ยเลี้ยงเหมาจ่าย)
กลุ่ม รพศ/รพท.แบ่งเป็น ๓ ระดับ

๑.รพศ./รพท.พื้นที่ปกติ

๒.รพศ/รพท ยากลำบากในการบริหารบุคลากร
รพ.เกาะสมุย
รพ.ตะกั่วป่า
รพ.นราธิวาส
รพ.ปัตตานี
รพ.ยะลา
รพ.บึงกาฬ
รพ.สุไหงโก-ลก

๓.รพศ/รพท ยากลำบากในการบริหารบุคลากร มาก
รพ.เบตง
รพ.ศรีสังวาลย์
......................................................................

กลุ่ม รพช.แบ่งเป็น ๔ ระดับ
๑.รพช.พื้นที่ชุมชนเมือง (เขตเมือง ๑๓ แห่ง และรพช.ที่จะยกระดับเป็น รพท. ๒๐ แห่ง)
เขตเมือง ๑๓ แห่ง
รพ.บางกรวย
รพ.บางบัวทอง
รพ.บางใหญ่
รพ.ปากเกร็ด
รพ.พนัสนิคม
รพ.บ้านบึง
รพ.อ่าวอุดม
รพ.บางบ่อ
รพ.บางจาก
รพ.สามพราน
รพ.ป่าตอง
รพ.ถลาง
รพ.หางดง

รพช.ที่จะยกระดับเป็น รพท. ๒๐ แห่ง
รพ.บางละมุง
รพ.กบินทร์บุรี
รพ.บางพลี
รพ.แกลง
รพ.อรัญประเทศ
รพ.มาบตาพุด
รพ.ชุมแพ
รพ.กุมภวาปี
รพ.เดชอุดม
รพ.๕๐พรรษาฯ
รพ.วารินชำราบ
รพ.ปากช่องนานา
รพ.เทพรัตน์ นม.
รพ.สว่างแดนดิน
รพ.นางรอง
รพ.ปราสาท
รพ.ฝาง
รพ.จอมทอง
รพ.สิชล
รพ.ทุ่งสง

๒.รพช.พื้นที่ปกติ(๕๘๙ แห่ง)
๓.รพช.พื้นที่ทุรกันดาร และขาดแคลน ระดับ ๑(๖๕ แห่ง)
๔.รพช.พื้นที่ทุรกันดาร และขาดแคลน ระดับ ๒(๔๘ แห่ง)

ข้อมูลที่จัดเก็บจากพื้นที่ประกอบการพิจารณา
๑.ความยากลำบากในการเดินทาง : ระยะเวลาการเดินทางจากตัวจังหวัด
๒.City-Life effect : ระยะเวลาเดินทางจากอำเภอไปยังจังหวัด Reference City (กำหนด จังหวัดReference City จากจังหวัดที่มีรายได้จัดเก็บเองของ อปท.ในจังหวัดมากกว่า ๒๕๐ ล้านบาทต่อปี)
๓.ความเจริญ จำนวนร้าน เซเว่น อีเลพเว่น, จำนวนธนาคารพาณิชย์(ไม่นับธนาคารออมสิน,ธกส.), รายได้จัดเก็บเองของอปท.
......................................................................................
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 24 กุมภาพันธ์ 2013, 21:15:22 โดย admin »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
Re: ข้อเสนอค่าตอบแทนตามผลการปฏิบัติงาน P4P
« ตอบกลับ #1 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2013, 09:07:40 »
การคิดค่าคะแนนปฏิบัติงาน (Work Point System)

ค่าคะแนนประกันงานขั้นต่ำ ในเวลาราชการ กำหนดโดย OT base ดังนี้

แพทย์              ๒,๒๐๐   คะแนน
ทันตแพทย์         ๒,๒๐๐   คะแนน
เภสัชกร             ๑,๔๔๐   คะแนน
พยาบาลวิชาชีพ    ๑,๒๐๐   คะแนน
จพ.เทคนิค            ๙๖๐   คะแนน
...

วงเงินที่เบิกจ่าย

๑.คำนวนวงเงินที่เบิกจ่าย (ข้อมูลการเงินปีที่ผ่านมา)

-ค่าแรงต่อรายรับทั้งหมด
รพช.ไม่เกิน ๗๒%
รพท. ไม่เกิน ๖๕%
รพศ. ไม่เกิน ๕๓%
-ไม่เกินสัดส่วนค่าใช้จ่ายแต่ละประเภท ตามกลุ่ม รพ.ที่กำหนด

๒.วงเงินในข้อใดน้อยกว่าให้ใช้วงเงินตามข้อนั้น
...

สัดส่วนการเบิกจ่ายระหว่างวิชาชีพ

-รพศ/รพท กำหนดให้มีการแบ่งสัดส่วนวงเงินค่าตอบแทน P4P ตามกลุ่มลักษณะการปฏิบัติงาน

-รพช. อาจคิดรวมบุคลากรทั้งหมด หรือแบ่งสัดส่วนวงเงินค่าตอบแทน P4P ตามกลุ่มลักษณะการปฏิบัติงาน

-ตัวเลขสัดส่วนระหว่างวิชาชีพ กำหนดดังนี้

๑. แพทย์ มีสัดส่วน ๑
๒. ทันตแพทย์ มีสัดส่วน ๐.๗๕
๓. เภสัชกร มีสัดส่วน ๐.๓
๔. พยาบาลวิชาชีพ มีสัดส่วน ๐.๒๕
๕. นักเทคนิคการแพทย์/สหสาขา มีสัดส่วน ๐.๒
๖. ตำแหน่งเจ้าพนักงาน มีสัดส่วน ๐.๑
๗. งาน back office และอื่นๆ มีสัดส่วน ๐.๐๕
...

ตัวอย่าง การคำนวนวงเงินระหว่างวิชาชีพ รพท.แห่งหนึ่ง
วงเงิน P4P ๒๑,๐๐๐,๐๐๐ บาท/ปี(๑,๗๕๐,๐๐๐ บาท/เดือน)

ประเภทบุคลากร         สัดส่วน         จำนวนคน(คนxเดือน)         ยอดเงินต่อวิชาชีพ(บาท/คน)

แพทย์                        ๑               ๔๘๕                             ๑๕,๒๐๘.๕๗
ทันตแพทย์                ๐.๗๕             ๑๓๑                              ๑๑,๔๐๖.๔๓
เภสัชกร                    ๐.๓               ๑๙๖                               ๔,๕๖๒.๕๗
พยาบาลวิชาชีพ           ๐.๒๕           ๒,๙๕๕                             ๓,๘๐๒.๑๔
...

power

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 27
    • ดูรายละเอียด
Re: เคาะแล้ว...อย่าผิดซ้ำรอยเก่า อีกเลย
« ตอบกลับ #2 เมื่อ: 20 กุมภาพันธ์ 2013, 14:12:52 »
ถ้าแนวคิดของกระทรวงฯเป็นไปตามที่นำเสนอมา(ไม่เปลี่ยน)

-ระหว่างโรงพยาบาล
กลายเป็นว่า เป็นการจ่ายตามสภาวะเงินของโรงพยาบาล ไม่ได้เป็นการจ่ายตามภาระงานจริงๆ เพราะมีวงเงินตามรายได้หักรายจ่าย
นั่นคือ โรงพยาบาลที่มีสภาพการเงินที่ดีกว่า ถึงแม้ภาระงานน้อยกว่า ก็ได้ค่าตอบแทน มากกว่า ......อย่างนี้ไม่ใช่ P4P ตามหลักการ

-ภายในโรงพยาบาล
เมื่อมีวงเงินกำหนด แบ่งตามวิชาชีพ แม้ทุกคนพร้อมใจกันทำงานมากขี้นมีประสิทธิภาพมากขึ้น  แต่ก็ได้ค่าตอบแทนเท่าเดิม เพราะมีวงเงินเป็นกรอบการจ่าย
หรือทุกคนพร้อมใจกันทำงานน้อยลง ก็ยังได้ค่าตอบแทนเท่าเดิม
คนที่ทำงานมากขึ้น จะทำให้เพื่อนที่ทำงานเท่าเดิม ได้ค่าตอบแทนน้อยลง......อย่างนี้ไม่ใช่ P4P ตามหลักการ

อย่าผิดซ้ำรอยเก่า (ฉ.4-6-7 อีกเลย) ....บาปกรรม

หมอธรรมดาๆ

  • Verified User
  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 36
    • ดูรายละเอียด
 ;D   เวรกรรม  หลงทางและ ติดกับ  ยิ่งแก้เหมือนยิ่งยุ่ง ยิ่งหาทางออกเหมือนถูกบังไพร   ::)

cherdc

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 31
    • ดูรายละเอียด
จะเริ่ม   อาทิตย์หน้าแล้ว  นา       :(      :o        :'(     

watesutt

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 26
    • ดูรายละเอียด
 
     ยังไม่เห็นหนังสือราชการเลย ใครพอมีมาแบ่งปัน บ้างครับ จะได้เตรียมรับมือให้ทัน ตอนนี้ยังไม่รู้ว่า โรงพยาบาลของตัวเองอยู่ใน ระดับ ใดเลยครับ ทำไงดี   :'( :'( :'(

หมอธรรมดาๆ

  • Verified User
  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 36
    • ดูรายละเอียด
http://www.mcot.net/site/content?id=513f0690150ba0e65d0001b3#.UUCAwzdu30c
 ;D เหอๆ มันเอาแล้ว ไม่ได้เกินความคาดหมาย
ชาวสมาพันธ์ว่ายังไง ชนรมเค้าเคลื่อนแล้ว
ปรับ ฉ 4 และ 6 ตัด ฉ 7 ทำ P4P เหอะๆๆท่าจะมหากาพย์ ลองของใหม่ท่าน รมต ท่านปลัด  ท่าจะงานเข้าซะแล้ว 555
ทำ P4P เท่าที่ลองมาแล้วยังไม่เห็นข้อดีที่ชัดเจนแต่อย่างใด  เห็นแต่ปัญหาและความวุ่นวาย
1.ทั้งยุ่งยากและวุ่นวายเสียเวลา เกือบครึ่งเดือนแรกเสียเวลาวุ่นวายตั้งแต่ระดับบุคคล หน่วยงาน กลุ่มภารกิจ  เกือบครึ่งเดือนหลังเสียเวลาระดับองค์กรไม่เป็นอันได้ทำอะไรกัน เสียทั้งเวลาเสียทั้งสมองน่าจะได้เอาเวลาเอาสมองไปพัฒนาส่วนอื่นที่จะเป็นประโยชน์กับผู้รับบริการดีกว่าไหม ได้ไปยืนดูคนหน้างานที่มีงานบริการผู้ป่วยที่ทำก็แทบไม่ทันแล้วต้องมาลงข้อมูลส่งกัน มันช่างน่าสงสาร ค่าตอบแทนที่ได้มาก็ใช่ว่าจะมากมายอะไรหนักหนา
2.ไม่มีระบบที่ยุติธรรมเพียงพอที่จะสะท้อนงานได้อย่างแท้จริงตามที่กล่าวอ้างตามทฤษฏี มีตัวอย่างที่เห็นชัดๆแบบสุดโต่ง มีวิชาชีพหนึ่่งไม่มีผู้ป่วยในดุแล มีแต่ผู้ป่วยนอก ตรวจผู้ป่วยนอกวันละ เฉลี่ย 10-20 ราย แต่ได้ค่าตอบแทนมากกว่า คนที่ตรวจวันละเกือบร้อยหรือร้อยกว่าๆและมีคนไข้ในดุแลด้วย แบบนี้ก็เป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้ แต่ แต่ แต่ มันก็คงจะพูดยากนะครับเรื่องแบบนี้มัน sensitive มีแนวโน้มที่จะไม่พอใจและเกิดความแตกแยกตามมา คงไม่ต้องไปพูดถึงเรื่องทำงานเป็นทีมอะไรล่ะนะ มันมีแต่สิ่งที่สนับสนุนให้คนทำงานแตกแยกกัน น่าสงสารคน รพท รพศ รพช จริงๆ (เฉพาะคนกลุ่มนี้จริงๆใน สธ.)
3.ค่าตอบแทนที่ได้มันไม่มากพอที่จะมาขับงานจนเกิดผลได้ (ความจริงมันไม่ใช่ค่าตอบแทนตามเจตนารมณ์เดิมแบบที่เราต่อสู้มา มันคนละเรื่องกัน)
4.คนใช้และผู้บริหารไม่เข้าใจ้แนวคิดของมันและนำมันไปใช้แบบผิดๆแทนที่มันจะเกิดประโยชน์มันจึงเกิดโทษมากกว่า
5. ยังไม่ได้กล่าวถึงแหล่งที่มาของเงินนะ อันนั้นมันอีกยาว ถ้าเป็นแบบระเบียบข้างต้นนี้
เรายังจะเดินกันต่อหรอ  ปล่อยให้ระเบียบนี้ออกมาหรอ  กล้าทำโพลป่าวว่าเอาไม่เอา (คนละแบบกับการทำนายผลผู้ว่า กทม นะ ฮาาาาา) เอาแค่นี้ก่อนวันนี้ ท่านสมาชิกจะว่ากันอย่างไร

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ประชุมค่าตอบแทนสาธารณสุข 13 มีนาคม 2556
http://www.youtube.com/watch?v=E35L02iVVh8