ผู้เขียน หัวข้อ: มหันตภัย30 บาทรักษาทุกโรค ตอนภัยต่อระบบธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี  (อ่าน 3770 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ธรรมาภิบาลคืออะไร?      
ก่อนที่จะกล่าวถึงว่าระบบ 30 บาททำให้เกิดมหันตภัยแก่ระบบธรรมาภิบาลในการบริหารสาธารณสุข ก็ต้องมาทบทวนก่อนว่า “หลักธรรมาภิบาล”คืออะไร (1) หลักธรรมาภิบาลหรือเรียกว่าการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี หรือ “Good Governance”    เป็นหลักการเพื่อการอยู่ร่วมกันในบ้านเมืองและสังคมอย่างมีความสงบสุข สามารถประสานประโยชน์และคลี่คลายปัญหาข้อขัดแย้งโดยสันติวิธีและพัฒนาสังคมให้มีความยั่งยืน
หลักธรรมาภิบาลประกอบด้วยอะไรบ้าง
หลักธรรมาภิบาลมีองค์ประกอบที่สำคัญ 6 ประการคือ

1.หลักนิติธรรม คือการตรากฎหมาย กฎ ระเบียบข้อบังคับและกฎกติกาต่างๆให้ทันสมัยและเป็นธรรม ตลอดจนเป็นที่ยอมรับของสังคมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง มีการปฏิบัติตามกฎหมายอย่างเสมอภาคและเป็นธรรม มิใช่กระทำกันตามอำเภอใจหรือตามอำนาจของบุคคล
2.หลักคุณธรรม คือการยึดถือและเชื่อมั่นในความถูกต้องดีงาม ทั้งผู้ปฏิบัติงานในองค์กรหรือสังคมและประชาชนถือปฏิบัติ  ได้แก่มีความซื่อสัตย์สุจริต ความเสียสละ ความอดทนขยันหมั่นเพียร และความมีระเบียบวินัย
3.หลักความโปร่งใส คือการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารอย่างตรงไปตรงมา และสามารถตรวจสอบความถูกต้องได้ โดยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสาร ที่ประชาชนสามารถเข้าถึงได้สะดวก ตลอดจนมีกลไกหรือระบบหรือกระบวนการตรวจสอบและประเมินผลที่มีประสิทธิภาพ ปราศจากการทุจริตคอรัปชั่นหรือมีผลประโยชน์ทับซ้อน
4.หลักความมีส่วนร่วม คือการทำให้ประชาชนมีส่วนร่วมรับรู้และร่วมเสนอความเห็นในการตัดสินใจสำคัญๆขององค์กรหรือสังคม และขจัดการผูกขาดโยทั้งภาครัฐและเอกชน
5.หลักความรับผิดชอบ ผู้บริหารทั้งนักการเมือง ข้าราชการหรือผู้บริหารองค์กรต้องตั้งใจปฏิบัติภาระกิจตามหน้าที่อย่างดียิ่ง โยมุ่งให้บริการแก่ผู้รับบริการ เพื่ออำนวยความสะดวกต่างๆ มีความรับผิดชอบต่อความบกพร่องในหน้าที่กางานที่ตนรับผิดชอบอยู่และพร้อมที่จะปรับปรุงแก้ไขได้ทันท่วงที
6.หลักความถูกต้อง ผู้บริหารต้องตระหนักว่ามีทรัพยากรค่อนข้างจำกัด ดังนั้นในการบริหารจัดการจำเป็นจะต้องยึดหลักความประหยัดและคุ้มค่า
ถ้าเรามาดูการบริหารจัดการของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) จะเห็นว่าได้ดำเนินการขัดต่อหลักธรรมาภิบาลทุกข้อดังนี้คือ

1.หลักนิติธรรม      
พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ตราออกมาถูกหลักนิติธรรม   นับได้ว่าพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ได้ออกมาสอดคล้องกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มาตรา 52ที่ บัญญัติไว้ว่า “ชนชาวไทยย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่ได้มาตรฐาน และผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดย ไม่เสียค่าใช้จ่ายตามที่กฎหมายบัญญัติ และการให้บริการสาธารณสุขของรัฐต้องเป็นไปอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ โดยจะต้องส่งเสริมให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นและเอกชนมีส่วนร่วมเท่าที่จะ กระทำได้ และมาตรา 80 บัญญัติว่า รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรมดังต่อไปนี้

 (2)ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพ ที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดการบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย    
บทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญข้างต้น เป็นการรับรองสิทธิในทางการสาธารณสุขของประชาชนไทย และเป็นการกำหนดหน้าที่ของรัฐในการจัดการด้านการสาธรณสุข  โดยให้รัฐให้ “ความคุ้มครอง”แก่บุคลากรสาธารณสุขที่ได้ปฏิบัติหน้าที่ให้บริการสาธารณสุข ที่ได้ทำตามมาตรฐานวิชาชีพ”
ในส่วนของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ถึงแม้จะออกมาก่อนรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550 แต่ในบทบัญญัติของพ.ร.บ.หลักประกันฯนี้มาตรา 5 ก็ได้รับรองสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญนี้เช่นกัน โดยมาตรา5 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้บัญญัติว่า บุคคลทุกคนมีสิทธิได้รับบริการสาธารณสุขที่ทีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพตามที่กำหนดโดยพระราชบัญญัตินี้
คณะกรรมการอาจกำหนดให้บุคคลที่เข้ารับบริการสาธารณสุขต้องร่วมจ่ายค่าบริการในอัตราที่กำหนดให้แก่หน่วยบริการในแต่ละครั้งที่เข้ารับบริการ เว้นแต่ผู้ยากไร้ หรือบุคคลที่รัฐมนตรีประกาศกำหนดไม่ต้องจ่ายค่าบริการ

   ประเภทและขอบเขตของบริการสาธารณสุขที่บุคคลจะมีสิทธิได้รับให้เป็นไปตามที่คณะกรรมการประกาศกำหนด
ซึ่งนับได้ว่า พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 ได้ออกมาตามหลัก”นิติธรรม” ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพ.ศ. 2550
แต่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับการเข้ามา “ใช้อำนาจ” ตามมาตรา 18
ทั้งนี้ตามการกำหนดคุณสมบัติ ที่มา และการเข้าสู่ตำแหน่งของ “กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ตามมาตรา13 แล้ว จะพบว่า กรรมการส่วนใหญ่ล้วนมิใช่ผู้มีความรู้ ความเชี่ยวชาญ หรือประสบการณ์ในการบริการสาธารณสุขเลย
โดยพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติฯ หมวด 2 มาตรา 13 กำหนดจำนวนและคุณสมบัติของ “คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ” ว่ามีจำนวนทั้งสิ้น 30 คน โดยมีรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานกรรมการหลักประกันฯ
ถ้ามาดูรายละเอียดขององค์ประกอบว่ามีการกำหนดคุณสมบัติของกรรมการเป็นอย่างไรบ้าง มาตรา 13(2) กำหนดให้มีกรรมการจากข้าราชการประจำตามตำแหน่ง 5 คน คือปลัดกระทรวงกลาโหม กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงมหาดไทย กระทรวงแรงงานและสวัสดิการสังคม กระทรวงสาธารณสุข กระทรวงศึกษาธิการและผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ
(3) เป็นกรรมการที่มาจากองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นรูปแบบต่างๆ 4 คน
(4) เป็นผู้แทนองค์กรเอกชนที่ไม่แสวงกำไรและดำเนินกิจกรรมในด้านต่างๆ องค์กรละ 1 คน โยคัดเลือกกันเองให้เหลือ 5 คน ได้แก่ งานด้านเด็กและเยาวชน งานด้านสตรี งานด้านผู้สูงอายุ งานด้านคนพิการหรือผู้ป่วยจิตเวช งานด้านผู้ติดเชื้อเอชไอวีหรือผู้ป่วยเรื้อรังอื่น งานด้านผู้ใช้แรงงาน งานด้านชุมชนแออัด งานด้านเกษตรกร งานด้านชนกลุ่มน้อย
(5) ผู้แทนผู้ประกอบอาชีพด้านสาธารณสุขจำนวน 5  คน ได้แก่ผู้แทนแพทยสภา สภาการพยาบาล สภาเภสัชกรรม ทันตแพทยสภา และสมาคมโรงพยาบาลเอกชนด้านละ 1 คน
(6) ผู้ทรงคุณวุฒิจำนวน 7 คน ซึ่งครม.แต่งตั้งจากผู้มีความเชี่ยวชาญทางด้านประกันสุขภาพ การแพทย์และสาธารณสุข การแพทย์แผนไทย การแพทย์ทางเลือก การเงินและการคลัง กฎหมายและสังคมศาสตรืด้านละ 1 คน

   โดยให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (เลขาธิการสปสช.) เป็นเลขานุการของคณะกรรมการ
 ซึ่งการเข้าสู่ตำแหน่งของกรรมการตาม (4) นั้นต้องเป็นองค์กรที่ดำเนินงานมาแล้วไม่น้อยกว่า 1 ปี และต้องมาลงทะเบียนกับสปสช.ก่อนครบกำหนด 15 วัน นับแต่วันที่มีเหตุให้มีการคัดเลือกกรรมการ

  ซึ่งเราจะเห็นว่ากรรมการตาม(4) นี้ ก็เป็นบุคคลในกลุ่มเอ็นจีโอที่ “คุ้นเคย”กับสปสช.มาแล้วทั้งสิ้น อยากจะเป็นกรรมการจากกลุ่มไหนก็ไปตกลงกันเองได้ เพราะเลือกกันมาเอง เราจึงอาจไม่ได้ผู้แทนจากสมาชิกขององค์กรนั้นอย่างแท้จริง เช่นบางคนมีอาชีพเภสัชกร แต่ได้รับการคัดเลือกมาเป็นผู้แทนเกษตรกร เป็นต้น
ส่วนกรรมการผู้ทรงคุณวุฒินั้น ก็อาจจะมาจากคนของรัฐมนตรีที่ดำรงตำแหน่งในขณะที่มีการคดเลือกกรรมการ ถ้ารัฐมนตรีเป็น “พวกเดียวกัน”กับกรรมการเก่าหรือเลขาฯสปสช.หรือกรรมการจากองค์กรเอกชน ก็จะไม่มีเสียงคัดค้าน แต่เราก็คงเห็นแล้วว่า ตอนที่นายวิทยา บุรณศิริเป็นรัฐมนตรีใหม่ๆนั้น มีการประท้วงจากกลุ่มกรรมการจากองค์กรเอกชนและชมรมแพทย์ชนบทในการเลือกกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิอย่างมากมายเพียงใด

   และการเลือกกรรมการจากองค์กรเอกชนและผู้ทรงคุณวุฒินั้น ก็ไม่ได้เป็น “ผู้แทน”ขององค์กรนั้นจริงๆ หรือไม่ได้ผู้ทรงคุณวุฒิในสาขานั้นจริงๆ เช่นอาจจะได้เภสัชกรมาเป็นผู้แทนด้านเกษตรกร ได้หมอมาเป็นผู้ทรงคุณวุฒิด้านสังคม ฯลฯ ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่า “ใครเป็นพวกใคร”
  เมื่อเราดูรายชื่อ “ที่มาที่ไป” ของกรรมการแล้ว จะเห็นว่ากรรมการเหล่านี้ส่วนใหญ่ ไม่ได้มีคุณสมบัติในด้านการศึกษา คุณวุฒิ  ความเชี่ยวชาญหรือประสบการณ์ในการทำงานในด้านการแพทย์และสาธารณสุขเสียเป็นส่วนมาก ไม่ต้องกำหนดคุณวุฒิด้านการศึกษา ไม่ต้องวัดความรู้ แต่เข้ามาใช้ “อำนาจในการปกครอง”ในทางการบริการสาธารณะด้านสาธารณสุขแก่ประชาชนในระบบ 30 บาท ผ่านการ “ลงมติโดยเสียงข้างมาก” ในการกำหนดกฎเกณฑ์เกี่ยวกับการรับบริการสาธารณสุข ซึ่งมีผลกระทบอย่างมากต่อสุขภาพ ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตของประชาชน ตามที่กำหนดไว้ในมาตรา 18 ของพ.ร.บ.นี้ดังนี้
มาตรา 18 คณะกรรมการมีอำนาจหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1)   กำหนดมาตรฐานการให้บริการสาธารณสุขของหน่วยบริการ และเครือข่ายหน่วยบริการ และกำหนดมาตรการในการดำเนินงานเกี่ยวกับหลักประกันสุขภาพแห่งชาติให้มีประสิทธิภาพ
(2)   ให้คำแนะนำต่อรัฐมนตรีในการแต่งตั้งพนักงานเจ้าหน้าที่ ออกกฎกระทรวง และประกาศเพื่อปฏิบัติตามพ.ร.บ.นี้
(3)   กำหนดประเภทและขอบเขตในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นต่อสุขภาพและการดำรงชีวิตและอัตราค่าบริการของหน่วยบริการ
(4)กำหนดหลักเกณฑ์การดำเนินงานและบริหารจัดการกองทุน
(6) ออกระเบียบเกี่ยวกับการรับเงิน การจ่ายเงิน และการรักษาเงินกองทุน รวมทั้งการจัดหาผลประโยชน์ตามมาตรา 40   
(7) กำหนดหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ในกรณี ที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลโดยหาผู้กระทำผิดมิได้ หรือหาผู้กระทำผิดได้แต่ผู้รับบริการไม่ได้รับค่าเสียหายภายในระยะเวลาอันสมควรตามมาตรา  41
(10) กำหนดหลักเกณฑ์ เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานการบริการสาธารณสุข
(13) จัดประชุมเพื่อให้คณะกรรมการรับฟังความคิดเห็นโดยทั่วไปจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจำทุกปี

  ซึ่งจะเห็นได้ว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่ไม่ได้มีความรู้ ประสบการณ์ ความเชี่ยวชาญ หรือความเข้าใจอย่างถ่องแท้ในทางการแพทย์และ และไม่ได้ผ่านการสอบคัดเลือกมาจากทางราชการเหมือนข้าราชการ ไม่ต้องตรวจสอบคุณวุฒิใดๆ  แต่มี “อำนาจการพิจารณาในปกครอง” มีอำนาจในการออกกฎเกณฑ์ ประเภทของบริการและขอบเขตของการบริการสาธารณสุข ที่ประชาชนจะได้รับตามมาตรา 18 (1)
จึงน่าจะถือได้ว่า กรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่น่าจะมี “ความเหมาะสมหรือชอบธรรม” ในการที่จะมาใช้อำนาจตามมาตรา 5 ของพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ได้ให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติสามารถกำหนด “ประเภทและขอบเขตของการบริการสาธารณสุข” ที่ประชาชนจะได้รับและมาตรฐานของยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การรักษา จะเป็นไปในทิศทางใดก็ต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติกำหนดอีกด้วย    

คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินอกจากจะมีคุณสมบัติไม่เหมาะสมกับ “อำนาจหน้าที่”ดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการยังไม่ยึดหลัก “นิติธรรม” กล่าวคือ ไม่ปฏิบัติตามกฎหมายอีกด้วย ซึ่งจะชี้ให้เห็นดังต่อไปนี้ คือ                                                                                                                

คณะกรรมการได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา 18(10)และ (13)ที่ไม่ได้จัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเป็นประจำทุกปี ไม่ได้กำหนดหลักเกณฑ์เกี่ยวกับการรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการและผู้รับบริการเพื่อประโยชน์ในการปรับปรุงคุณภาพและมาตรฐานการบริการสาธารณสุข
   นอกจากนั้นในมาตรา 45 บัญญัติให้หน่วยบริการมีหน้าที่ดังต่อไปนี้

(1)   ให้บริการสาธารณสุขรวมทั้งให้วัคซีน ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์ในการรักษาที่ได้มาตรฐานและมีคุณภาพ โดยให้ความเสมอภาคและอำนวยความสะดวกในการให้บริการสาธารณสุขที่จำเป็นตลอดจนเคารพในสิทธิ์ส่วนบุคคล ในศักดิ์ศรความเป็นมนุษย์และความเชื่อทางศาสนา
ซึ่งจะเห็นได้ว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่ไม่มีความรู้ความเชี่ยวชาญและประสบการณ์ในการให้บริการสาธารณสุข มี”อำนาจในการกำหนดกฎเกณฑ์และมาตรฐานของ ยา เวชภัณฑ์ อุปกรณ์การรักษา” ซึ่งจะเป็นไปในทิศทางใดต้องเป็นไปตามกฎเกณฑ์ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

 และยังมีหน้าที่มาควบคุมการให้บริการให้มีคุณธรรม จริยธรรมอีกด้วย
 แต่หน่วยบริการจะสามารถจัดซื้อยาหรืออุปกรณ์ทางการแพทย์ที่ได้มาตรฐานตามต้องการของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญก็ไม่ได้ เนื่องจากสปสช.ไปจัดซื้อวัคซีนและยาหรืออุปกรณ์การแพทย์เอง ทั้งๆที่ไม่ใช่หน้าที่ (ดังที่จะกล่าวถึงต่อไป)

(4)จัดทำขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขระบบข้อมูลการให้บริการสาธารณสุข เพื่อสะดวกต่อการตรวจสอบคุณภาพ และบริการ รวมทั้งการขอรับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุข
ในการให้บริการสาธารณสุขแก่ผู้รับบริการและการจัดทำระบบข้อมูลการให้บริการสาธารณสุขให้หน่วยบริการปฏิบัติตามหลักเกณฑ์ที่คณะกรรมการและคณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานกำหนด

 นี่ก็เป็นการให้อำนาจแก่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯร่วมกับคณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐาน มา”สั่งการหรือมีอำนาจบังคับบัญชาแก่หน่วยบริการและบุคลากรด้านสาธารณสุข” ในการ “ทำงานด้านการบริการสาธารณสุข” ตามความรู้ความสามารถและความเชี่ยวชาญทางวิชาชีพเฉพาะ แต่ต้องทำตามกฎเกณฑ์ที่กำหนดโดยผู้ที่ไม่ใช่ผู้มีคุณสมบัติเหมือนกันดังกล่าว เปรียบเหมือนเอาภารโรง ไปควบคุมการจัดการเรียนการสอนของครูใหญ่ และยังให้ภารโรงไปควบคุมวิธีการสอนของครูน้อยอีกด้วย

 ทั้งนี้คณะกรรมการควบคุมคุณภาพมาตรฐานได้กำหนดที่มาตามมาตรา 48 รวมทั้งสิ้น 38 คน ซึ่งเป็นผู้ที่มีความรู้วิชาชีพทางสาธารณสุขอยู่ 25 คน ส่วนที่เหลือเป็นผู้ที่มาจากองค์กรเอกชน องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และผู้ทรงคุณวุฒิ
คณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน มีอำนาจหน้าที่ต่อไปนี้

มาตรา 50 (1) ควบคุมคุณภาพและมาตรฐานหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา 45
(4)เสนอแนะอัตราราคากลางของโรคทุกโรคต่อคณะกรรมการเพื่อประกอบการวางหลักเกณฑ์กำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการตามมาตรา 46

มาตรา 46 หน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการตามมาตรา 44 และหน่วยบริการตามมาตรา 44 และหน่วยบริการที่รับการส่งต่อผู้รับบริการ มีสิทธิได้รับค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขจากกองทุนตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขที่คณะกรรมการกำหนด
หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่งต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 18(13)ก่อน และอย่างน้อยต้องอยู่ภายใต้เงื่อนไขดังนี้

(1)อาศัยราคากลางที่เป็นจริงของโรคทุกโรคมาเป็นฐานตามข้อเสนอแนะของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานตามมาตรา 50(4)
(2) ครอบคลุมถึงค่าใช้จ่ายของหน่วยบริการในส่วนเงินเดือนและค่าตอบแทนบุคลากร
(3) คำนึงถึงความแตกต่างของภารกิจของหน่วยบริการ
(4) คำนึงถึงความแตกต่างในกลุ่มผู้รับบริการและในขนาดของพื้นที่บริการที่หน่วยบริการรับผิดชอบ

จะเห็นได้ว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ได้ทำตามบทบัญญัติในมาตรา 46วรรคแรก ที่กำหนดว่า หลักเกณฑ์การกำหนดค่าใช้จ่ายเพื่อบริการสาธารณสุขตามวรรคหนึ่งต้องผ่านการรับฟังความคิดเห็นตามมาตรา 18(13)ก่อน ทั้งนี้ เนื่องจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ละเลยการปฏิบัติตามมาตรา 18(13) มาตลอดระยะเวลา 10ปี ที่มีการดำเนินงานของระบบ 30 บาทเป็นต้นมา
ถือได้ว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ได้ยึดหลักนิติธรรมในการบริหารกล่าวคือ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพฯได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ กล่าวคือ ไม่ทำตามมาตรา18(13) และยังปฏิบัติมิชอบตามมาตรา 46 วรรคแรก คือกำหนดค่าใช้จ่ายโดยไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้ให้บริการมาพิจารณาด้วย    



story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
มาตรา 44บัญญัติไว้ว่าให้สำนักงานจัดให้มีการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการแล้วประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบ เพื่อดำเนินการลงทะเบียนเลือกเป็นหน่วยบริการประจำของตนตามมาตรา 6

  การขึ้นทะเบียนหน่วยบริการและเครือข่ายหน่วยบริการ รวมทั้งวิธีการประชาสัมพันธ์ให้เป็นไปตามหลักเกณฑ์ วิธีการ และเงื่อนไขตามที่คณะกรรมการกำหนด   

  ส่วนการขึ้นทะเบียนหน่วยบริการนั้น คณะกรรมการก็สามารถกำหนดได้เอง ว่า จะให้ประชาชนไปที่หน่วยบริการไหนก็ได้ จะเปลี่ยนหน่วยบริการปีละกี่ครั้งก็ได้ เพื่อให้ประชาชนได้รับความสะดวกสบาย (ไปโรงพยาบาลไหนก็ได้ตามใจชอบ จะไปโรงพยาบาลปีละกี่ครั้งก็ได้ตามใจชอบ จะจ่ายเงินค่าบริการหรือไม่ก็ได้ตามใจชอบ) ซึ่งเป็นผลให้เกิดความลำบากในการทำงานของหน่วยบริการในการที่จะติดตามผลการรักษาของผู้ป่วย และอาจทำให้ผู้ป่วยเบิกยาไปใช้ซ้ำซ้อนกัน (ถือว่าไม่ได้ยึดหลักการแห่งความประหยัดและถูกต้อง)
 การอ้างกฎหมายคือพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพพ.ศ. 2545นี้ อาจทำให้ผู้อ่านเข้าใจยากหรือยากต่อการทำความเข้าใจอยู่บ้าง

   แต่ผู้เขียน(ซึ่งก็ไม่ใช่นักกฎหมาย) ก็ต้องไปอ่านและพยายามทำความเข้าใจ เพื่อเอามาอ้างอิงในการวิพากษ์การทำงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ และสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(สปสช.) ทั้งนี้ เพื่อแสดงว่าผู้เขียนมิได้มีอคติกับการดำเนินงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ หรือสปสช.แต่ผู้เขียนได้วิพากษ์วิจารณ์ตามความเป็นจริงที่ได้เกิดขึ้นและกำลังดำเนินอยู่ ประกอบด้วยข้อกฎหมายและข้อเท็จจริง (Fact)

 2.หลักคุณธรรม     จะเห็นได้ว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ได้ยึดหลักคุณธรรม ยกตัวอย่างเช่น กำหนดรายการยาให้ผุ้ป่วยเพียงบางชนิดเท่านั้น จนอาจทำให้ผู้ป่วยตายไปโยยังไม่สมควรตาย เช่น การบังคับให้ผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้ายทุกคน ต้องล้างไตทางหน้าท้องเป็นวิธีแรก ไม่เช่นนั้นต้องจ่ายเงินเอง ทำให้ผู้ป่วยที่ยอมรับการรักษาในโครงการนี้ มีอัตราตายสูงถึง 40 % และในบางศูนย์ก็มีอัตราตายถึง 100% แสดงว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ได้ยึดหลักคุณธรรมลึความถูกต้องในการกำหนดหลักเกณฑ์รักษาผู้ป่วยไตวายระยะสุดท้าย

3.หลักความโปร่งใส คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ยึดหลักความโปร่งใส ตรงไปตรงมา แต่ปกปิดและบิดเบือนข้อเท็จจริง โยการบอกประชาชนว่ารักษาทุกโรค” แต่ไม่ได้บอกความจริงทั้งหมดว่า บางโรคก็ไม่ให้ยาตามที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญต้องการให้ยาที่เหมาะสมที่สุด แต่กำหนดกฎเกณฑ์บังคับให้พทย์ใช้ยาเพียงบางอย่างเท่านั้น หรือสปสช.จัดซื้อยาที่ไม่มีคุณภาพมาตรฐาน ทำให้ผู้ป่วยไม่หายจากการเจ็บป่วยเนื่องจากเชื้อโรคดื้อยา (ดังที่กล่าวแล้วในตอนที่ 6)

 ผู้เขียนขอยกตัวอย่างเปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆก็คือ สปสช.และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้โฆษณาประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนทราบว่า ให้เงินแก่โรงพยาบาลไปจัดอาหารโธจีนไว้เลี้ยงประชาชน ให้ประชาชนไปกินอาหารชั้นยอดได้ที่ทุกโรงพยาบาลทั่วประเทศ แต่สปสช.จ่ายเงินให้โรงพยาบาลไม่เพียงพอที่จะไปซื้ออาหารชั้นยอดแบบโต๊ะจีนได้ โรงพยาบาลได้รับเงินแค่ไปซื้ออาหารข้างถนนที่มีฝุ่นละออก มลภาวะ ปนเปื้อนริมถนน ประชาชนไปเห็นก็ไม่พอใจ แต่ความหิวทำให้ต้องกินอาหารเหล่านั้น แต่กินแล้วก็เกิดท้องร่วงท้องเดิน ประชาชนก็ต้องด่าโรงพยาบาล เพราะประชาชนเชื่อตามที่สปสช.ให้ข้อมูลว่า “สั่งให้จัดโต๊ะจีน ไม่ใช่ให้จัดน้ำพริก/ข้าวแกงข้างถนนแบบที่โรงพยาบาลจัด” และโรงพยาบาลจะชี้แจงอย่างไร ประชาชนก็ไม่ยอมรับฟังและไม่ยอมเข้าใจ

      4.หลักความมีส่วนร่วม   คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นจากผู้ที่ต้องทำงานให้บริการสาธารณสุขแก่ประชาชนในระบบ 30 บาทเลย ทั้งไม่ยอมจัดการประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นจากผู้ให้บริการตามที่มีบัญญัติไว้ในกฎหมาย และยังไม่รับฟังจากรายงานของหน่วยบริการ และยัง “บิดเบือนข้อมูลของหน่วยบริการอีก” ว่า ไม่ได้ขาดเงิน แต่มีเงินบำรุงเหลือเยอะ และทำบัญชีไม่ได้มาตรฐานเหมือนบัญชีของร้านโชห่วย ฯลฯ การที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ยอมจัดประชุมเพื่อรับฟังความเห็นของผู้ให้ผู้ให้บริการและผู้รับบริการนอกจากจะผิดหลักนิติธรรม(ผิดกฎหมาย ใช้อำนาจตามอำเภอใจ)แล้วยังไม่ยึดหลักการมีส่วนร่วม  และยังทำให้การบริการในระบบหลักประกันสุภาพไม่สามารถพัฒนามีคุณภาพมาตรฐานเพื่อความปลอดภัยของประชาชนอีกด้วย   
แต่เงินที่สปสช.จ่ายให้แก่โรงพยาบาลหรือหน่วยบริการนั้นมันไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายจริงที่หน่วยบริการต้องจ่ายไปในการ “ให้บริการสาธารณสุข”  ทำให้หน่วยบริการสาธารณสุขประสบปัญหาในการจัดหา ยา วัคซีน เวชภัณฑ์และอุปกรณ์ทางการแพทย์  ทั้งนี้เนื่องจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่ได้จัดประชุมรับฟังความคิดเห็นจากหน่วยบริการเพื่อกำหนด “ค่าใช้จ่าย”สำหรับหน่วยบริการให้เหมาะสมเพียงพอ

   แต่แทนที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจะไม่ยอมจัดประชุมรับฟังความคิดเห็นดังกล่าวแล้ว คณะกรรมการหลักฯและสปสช.ยังไม่ฟังเสียงสะท้อนจากหน่วยบริการที่ได้ปรากฏในสื่อมวลชนอย่างต่อเนื่องว่า หน่วยบริการยังมีเงินเหลือเฟือโดยการอ้างว่า “โรงพยาบาลมีเงินบำรุงเพิ่มขึ้น” และกล่าวหาว่าโรงพยาบาลจ่ายเงินตอบแทนบุคลากรมากขึ้นจึงทำให้เงินไม่พอ อ้างว่าระบบบัญชีโรงพยาบาลเชื่อถือไม่ได้ เหมือนบัญชีร้านโชห่วยบ้าง และไม่ประหยัดในการซื้อยาและเครื่องมือแพทย์บ้าง

  ซึ่งโดยข้อกล่าวหาเรื่องการซื้อยาและอุปกรณ์ที่สปสช.กล่าวหาว่าโรงพยาบาลไม่ประหยัดนี้ ทำให้สปสช. “รวบอำนาจการซื้อยา อุปกรณ์ทางการแพทย์ วัคซีน และเวชภัณฑ์อื่นๆ “ มาทำเอง ซึ่งไม่ถูกต้องตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ เพราะไม่ได้มีบทบัญญัติในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติในมาตราใดๆเลยที่ให้สปสช.จัดซื้อเอง สปสช.มีหน้าที่ “จ่ายค่าบริการสาธารณสุขให้แก่หน่วยบริการเท่านั้น” แต่สปสช.ก็รวบอำนาจมาดำเนินการเอง เพราะมีเงินอยู่ในมือ และอ้างว่าสปสช.จัดซื้อประหยัดเงินงบประมาณไปถึง 4 พันล้านบาท
แต่สปสช.ก็จัดซื้อยา และเครื่องมือแพทย์ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐาน เช่นการซื้อเล็นส์แก้วตาเทียม การซื้อสเต็นท์ (Stent) ที่ใช้รักษาผู้ป่วยเส้นเลือดหัวใจตีบ ที่แพทย์ผู้เชี่ยวชาญชี้ว่าไม่เหมาะสมและไม่ได้มาตรฐาน และเสียไปโดยไม่ได้ใช้อีกเป็นจำนวนมาก
 รวมทั้งสำนักงานตรวจเงินแผ่นดิน (สตง.) ก็ชี้ว่าสปสช.ได้ผลประโยชน์ตอบแทนโดยมิชอบจากองค์การเภสัชกรรม ที่จัดซื้อโดยผ่านองค์การเภสัชกรรม และซื้อยาขององค์การเภสัชกรรมอีกด้วย

  ซึ่งผลการตรวจสอบบสปสช.ของสตง.นี้ได้เป็นข่าวแพร่หลายในสื่อมวลชนทั่วไป แต่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ที่มีหน้าที่ตามม.19 ให้คณะกรรมการมีหน้าที่ควบคุมดูแลสำนักงานให้ดำเนินกิจการให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ที่กำหนดไว้ ทุกเรื่อง รวมทั้งการควบคุมดำเนินงานและการบริหารงานทั่วไป ตลอดจนออกระเบียบ ข้อบังคับ ประกาศ หรือข้อกำหนดเกี่ยวกับการบริหารงานทั่วไป การบริหารบุคคล งบประมาณ การเงินและทรัพย์สิน การติดตามประเมินผล และการดำเนินอื่นของสำนักงาน
ซึ่งน่าจะถือว่า คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา  19 นี้มานานแล้ว นับว่าผิดหลักนิติธรรมอีกด้วย

5.หลักความรับผิดชอบ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติไม่เคยออกมารับผิดชอบในสิ่งที่ตนกำหนดขอบเขตการรักษา มีแต่โฆษณาว่ารักษาทุกโรค ทั้งๆที่ความจริงมิได้เป็นเช่นนั้น เช่นการให้ยารักษามะเร็ง ก็กำหนดให้ใช้เพียงยาก. หรือข. แต่ยาค.หรือง.ที่มีประสิทธิภาพในการรักษาดีกว่า ทันสมัย และรักษาหาย คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพห่งชาติก็ไม่อนุญาตให้แพทย์ใช้รักษาผู้ป่วย เนื่องจากราคาสูงเกินไป สปสช.ไม่สามารถจ่ายให้ได้ แต่ถึงแม้ประชาชนจะยอมจ่ายเงินเอง สวปสช.ก็”บังคับให้โรงพยาบาลเอาเงินไปคืนให้ผู้ป่วย” และผู้ป่วยก็ไม่ได้รับยาจากโรงพยาบาล(เพราะโรงพยาบาลไม่มีเงินซื้อยา) และประชาชนก็ไปซื้อยาเองไม่ได้ เพราะเป็นยาควบคุมเฉพาะที่มีจำหน่ายในโรงพยาบาลเท่านั้น ทำให้ประชาชนขาดโอกาสในการรักษาและถูกละเมิดสิทธฺในการ “รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐาน”

   เปรียบเทียบให้เข้าใจง่ายๆก็คือ รัฐบาลบอกให้ประชาชนเดินทางฟรีโดยไม่ต้องจ่ายเงิน  แต่ให้เกินทางด้วยรถเมล์ร้อนเท่านั้น ใครจะไปรถปรับอากาศ หรือเครื่องบิน ก็ไม่ไห้ไป เพราะรัฐบาลไม่มีเงินจ่าย แต่ก็ไม่ยอมให้ประชาชนจ่ายเงินเองด้วย โดยไม่บอกให้ประชาชนทราบว่า แท้ที่จริงแล้วยังมีวิธีการเดินทางที่สะดวก สบาย และรวดเร็วกว่าเดินทางด้วยรถเมล์ร้อน ทำให้ประชาชนไม่สามารถเลือกการเดินทางได้
แสดงถึงความไม่สุจริต ไม่โปร่งใส และไม่รับผิดชอบการกระทำของตนเอง   และละเมิดสิทธิประชาชน   

6.หลักความถูกต้อง จะเห็นได้ว่าคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ได้ยึดหลักความถูกต้องในการบริหารงาน กล่าวคือคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาตินอกจากจะไม่มีความรู้ความเข้าใจในการบริการสาธารณสุขแล้ว ยังไม่รับฟังความคิดเห็นของผู้ให้บริการซึ่งเป็นผู้เชี่ยวชาญในการรักษา แต่ใช้ “อำนาจในการถือสิทธิ์ที่มีเงินในมือ” กำหนดว่าจะรักษาผู้ป่วยตามโครงการพิเศษ (ที่เรียกว่า Vertical program หรือโครงการรักษาโรคเฉพาะ)    และจัดสรรงบประมาณเพิ่มเติมให้หน่วยบริการที่ร่วมรักษาผู้ป่วยในโครงการนั้นๆ ทำให้เงินงบประมาณที่ควรจะต้องจัดสรรให้แก่หน่วยบริการอื่นๆลดลงจนไม่เพียงพอที่จะจัดบริการที่มีคุณภาพมาตรฐานแก่ประชาชนได้

นอกจากนี้ คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังไม่ดำเนินการสอบสวนลงโทษเลขาธิการสปสช. ที่สำนักงานตรวจเงินแผ่นดินชี้ว่าบริหารสำนักงานและบริหารกองทุนผิดพลาดถึง 7 ประเด็น

และคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ยังมีคำสั่งให้เลขาธิการสปสช.มีอำนาจสั่งจ่ายเงินงบประมาณได้เองถึงครั้งละ 1,000 ล้านบาท โดยนำไปใช้ในการซื้อยาและเวชภัณฑ์ ทั้งๆที่ไม่ได้มีการกำหนดไว้ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯว่าให้สปสช.มีหน้าที่ซื้อยาและเวชภํณฑ์ นับเป็นการทำผิดกฎหมายอีกด้วย และคณะกรรมการหลักประกันฯยังไม่ตรวจสอบเลขาธิการสปสช.ที่เอาเงินกองทุนไปซื้อยาแล้วได้ผลประโยชน์ตอบแทน เอามาใช้จ่ายโดยมิชอบ ตามที่สตง.ชี้มูล

   โดยสรุป บทความนี้ชี้ให้เห็นว่า การบริหารงานในการให้บริการสาธารณะด้านสาธารณสุขตามพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไม่ได้ยึดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ไม่ยึดหลักนิติธรรม คุณธรรม ไม่มีความโปร่งใสตรงไปตรงมา ไม่ยึดหลักความถูกต้องความประหยัดและ ความรับผิดชอบ ทั้งๆที่มีหน้าที่บริหารกองทุนที่มาจากงบประมาณภาษีอากรของประชาชน ที่จะต้องยึดหลักธรรมาภิบาลเพื่อให้เกิดผลงานที่เหมาะสม เพื่อให้มีความปลอดภัยต่อสุขภาพและคุณภาพชีวิตของประชาชนจนทำให้เกิดมหันตภัยแก่สุขภาพ ความเป็นอยู่และคุณภาพชีวิตชองประชาชนดังกล่าวแล้ว

จึงสมควรที่ผู้บริหาร ประชาชน และผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ต้องรีบดำเนินการเพื่อยุติปัญหาการขาดหลักธรรมาภิบาลในการบริหารกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและสปสช.โดยด่วน ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความปลอดภัยแก่ประชาชนในระบบ 30 บาทโดยทั่วถึงกัน

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
18 ก.ย. 55


เอกสารอ้างอิง
(1) http://www.ocn.ubu.ac.th/service/luktam.pdf หลักธรรมาภิบาล
(2)   พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ. 2545
(3)   การสาธารณสุขไทยกับอุปสรรคทางกฎหมาย โดยนายสุกฤษฎิ์ กิติศรีวรพันธุ์ นบ. ป.บัณฑิตกฎหมายมหาชน ทนายความ จากหนังสือวารสารอาชีวเวชศาสตร์และสิ่งแวดล้อม ปีที่21 ฉบับที่ 4 ตุลาคม-ธันวาคม 2554 หน้า 20-22
(4)   รายงานสถานการณ์เงินหน่วยบริการสังกัดสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จัดทำโดยกลุ่มประกันสุขภาพ แผนพัฒนาการคลังและเศรษฐกิจสุขภาพ สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข ISBN 978-616-11-0439-9

mildkoid

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 9
    • ดูรายละเอียด
ประวัติบาคาร่าในฝรั่งเศส

แม้ว่าต้นกำเนิดที่แท้จริงของบาคาร่าจะยังเป็นที่ถกเถียงกันอยู่แต่เป็นที่ แน่ชัดแล้วว่ารูปแบบและลักษณะของเกมบาคาร่าที่ใช้เล่นในปัจจุบันมีต้นกำเนิด มาจากประเทศฝรั่งเศส บาคาร่านั้นเป็นที่นิยมอย่างมากในหมู่ชนชั้นสูงของฝรั่งเศสในช่วงศตวรรษที่ 16 – 17 จากนั้นก็เริ่มแพร่กระจายอย่างรวดเร็วมีการเล่น บาคาร่า ทั้งในบ้านและราชวัง ในช่วงการปกครองของพระเจ้านโปเลียน (Napoleon) มีการเล่นบาคาร่าในคลับการพนันนอกกฎหมายหลายแห่ง แต่ในปัจจุบันการเล่นบาคาร่าในบ่อน คาสิโน กลายเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมายไปแล้วที่ประเทศกัมพูชา มีเกมต่างๆที่ได้รับความนิยมแนะนำให้ผู้เล่นได้เลือกเล่นมากมายและด้วยเทคโนโลยีที่ทันสมัยผู้เล่นสามารถเล่นผ่านออนไลน์หรือผ่านทาง GclubIphone ได้ที่ Gclub iphone มีเกม คาสิโนออนไลน์ ที่พร้อมให้เล่นได้ตลอด 24 ชม. มีทั้งเกม บาคาร่าออนไลน์แบ่งเป็น Baccarat และ Baccarat Online ที่มีกติกาการเล่นคล้ายกับเกม ป๊อกเด้งออนไลน์ เกม Gclub Online แม้ว่าผู้เล่นจะพิมพ์คำว่า Gclub  ,G club, G club Online ก็สามารถเล่นGclub ได้เพราะเป็นเกมเดียวกัน แต่อาจจะมีเป็นบางครั้งที่ เล่นสล็อตไม่ได้ผู้เล่นก็สามารถเปลี่ยนมาเล่น เกม คาสิโนออนไลน์ แบบอื่นๆแทนได้ ในช่วงต้นศตวรรษที่ 19 บาคาร่าเป็นเกม G club ที่ได้รับความนิยมสูงสุดในคาสิโนเมืองริเวียร่า (Riviera) ของฝรั่งเศส ในตอนนั้นมีเกมบาคาร่าด้วยกันสองรูปแบบ คือ เชอแมงเดอเฟร์ (ChemindeFer) และ บาคาร่าอันบาค (En-Banque) ข้อแตกต่างของบาคาร่าทั้งสองรูปแบบอยู่ที่ผู้แจกไพ่และจำนวนผู้เล่นในเกม ในบาคาร่าแบบ เชอแมงเดอเฟร์ ผู้เล่นที่วางเดิมพันสูงสุดจะเป็นผู้แจกไพ่และเป็นเจ้ามือ ผู้เล่นที่วางเดิมพันสูงสุดรองลงมาจะเป็นตัวแทนของผู้เล่นที่เหลือในการเล่น แข่งขันกับเจ้ามือ ส่วนในบาคาร่าอันบาค บ่อนจะเป็นเจ้ามือเองและมีดีลเลอร์ทำหน้าที่แจกไพ่ให้ผู้เล่น ลักษณะของโต๊ะเล่นบาคาร่าจะเป็นโต๊ะคู่ที่ออกแบบให้มีที่นั่งสำหรับผู้เล่น ด้านซ้ายและด้านขวาของเจ้ามือฝั่งละห้าคน ผู้เล่นหนึ่งคนจากฝั่งซ้ายและอีกหนึ่งคนจากฝั่งขวาจะเป็นตัวแทนผู้เล่นแต่ละ ฝั่งที่จะเล่นแข่งกับเจ้ามือ  กฎการเรียกไพ่และการอยู่ แต้มทั้งฝ่ายเจ้ามือและผู้เล่นจะเหมือนกันในเกมบาคาร่าทั้งสองแบบ

ขอขอบคุณ http://www.thaihospital.org ที่ให้ความกรุณาในการเผยแพร่

ulyinglu

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
ไม่ได้แพงเกินไปสำหรับ โรนัลโด้ ที่สามารถเรียกเงินก้อนนี้คืนได้สบายๆ จากการขายเสื้อแข่งอย่างเป็นทางการ ในอนาคต ดูบอลสด เรามีเวลามากพอที่จะทำความรู้จักกัน และให้นักเตะใหม่ได้ปรับตัวเข้ากับทีม เราเป็นทีมใหญ่ที่นักเตะรู้จักกัน ทุกคนมีความสุขในกันและกัน นั่นแหละสิ่งสำคัญของทีมๆ นี้ ทุกคนสู้ไปด้วยกัน ผลบอลภาษาไทย ด้วยเหตุนี้การจะกลับไปคว้าแชมป์ในระยะหลังของเครื่องจักรสีแดงจึงลำบากมากขึ้น ข่าวฟุตบอล เพราะแต่ไหนคอบอลเมืองเบียร์ มักต้องกลํากลืนกับการถูกเหน็บว่ามีนักเตะเล่นฟุตบอลแข็งเหมือนหุ่นยนต์ คล้ายสภาพจิตใจผู้คนดอยทช์ที่ขึ้นชื่อในความตรงไม่ยอมคดเคี้ยวสร้างภาพมายาอยู่เสมอ สยามกีฬา รายการที่สดใหม่อยู่เสมอ ทำให้คุณไม่เสียความหวังทุกแมทช์สำคัญๆ ที่ท่านต้องการติดตาม อย่างไรก็ตาม แค่ 3 นาทีต่อมา เจ้าบ้านก็มาได้ประตูตีเสมอ เมื่อ เจฟฟ์ คาเมรอน วางบอลยาวจากแดนหลังขึ้นมาข้างหน้า แดเนียล แอ็กเกอร์ กองหลังลิเวอร์พูล ขึ้นโหม่งไม่ดีบอลเลยมาถึง โจนาธาน วอลเตอร์ส เกี่ยวบอลหลุดเข้าเขตโทษก่อนแปด้วยขวาเข้าไปให้ สโต๊ค ตามมาตีเสมอ 1-1 ทันควัน

hadaysu40

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด