ผู้เขียน หัวข้อ: กสพท.ลังเลใช้โอเน็ตเข้าแพทย์ปี57 ส่วนปีนี้หยวนๆไปก่อน/คณบดีวิทย์จุฬาฯชี้ต้องจัดสอบอีกครั้งในวิชาที่ม  (อ่าน 969 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
ข่าวทั่วไป หนังสือพิมพ์ไทยโพสต์ -- พุธที่ 13 กุมภาพันธ์ 2556 00:00:16 น.
กรุงเทพฯ * กสพท.เริ่มลังเลอาจไม่ใช้คะแนนโอเน็ตเป็นส่วนหนึ่งสอบคัดเลือกนิสิต/นักศึกษาแพทย์และทันตแพทย์ปีการศึกษา 2557 "อาวุธ" เผยแต่ปีนี้ยอมให้ใช้ไปก่อน เพราะตกลงกันไปตั้งแต่แรก ขณะที่คณบดีคณะวิทย์ จุฬาฯ ชี้จะต้องจัดสอบใหม่เฉพาะวิชาวิทย์ ด้าน "ชินภัทร" ให้กำลังใจ สทศ. เผยที่ผิดพลาดเพราะเปลี่ยนมาตรการคุมเข้มสอบใหม่ วอนสังคมให้โอกาสความผิดพลาดซ้ำซากของสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (สทศ.) ในการออกข้อสอบการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (โอเน็ต) ครั้งล่าสุดในการสอบวัดผลของนักเรียนระดับชั้น ม.6 ในวิชาวิทยาศาสตร์ จนทำให้ในที่สุด สทศ.ต้องประกาศให้คะแนนฟรี 24 คะแนน แก่นักเรียน 400,000 คน จนก่อให้เกิดเสียงวิพากษ์วิจารณ์การทำงานของ สทศ.มากมาย


ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ได้สอบถามความคิดเห็นไปยังกลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์แห่งประเทศไทย (กสพท.) ซึ่งเป็นกลุ่มที่นำคะแนนโอเน็ตเป็นส่วนหนึ่งในการใช้พิจารณาเข้าโรงเรียนแพทย์ นพ. อาวุธ ศรีสุกรี เลขาธิการ กสพท.กล่าวว่า ไม่กังวลในเรื่องดังกล่าว เพราะเด็กที่มาสมัครเข้าเรียนแพทย์ส่วนใหญ่เป็นเด็กเก่ง และมีน้อยมากที่คะแนนโอเน็ตไม่ผ่าน อีกทั้ง กสพท.ใช้คะแนนโอเน็ตมาเป็นส่วนหนึ่งในการพิจารณาคัดเลือกเข้าศึกษาต่อเท่านั้น ดังนั้นจึงไม่น่าจะมีผลกระทบอะไรมาก และถ้ามองในแง่ดีก็คงต้องถือว่าเป็น 24 คะแนนช่วยเด็ก และปีนี้จะไม่มีใครทำคะแนนในวิชาวิทยาศาสตร์ได้คะแนนเป็นศูนย์ ส่วนเรื่องมาตรฐานของข้อสอบนั้น โดยปกติ ก่อนจะมีการเปิดรับสมัครนักศึกษาแพทย์ของกลุ่ม กสพท. จะมีการหารือเพื่อทบทวนภาพ รวมของคะแนน และพิจารณาว่าจะใช้โอเน็ตเป็นองค์ประกอบในการคัดเลือกหรือไม่ ซึ่งมติที่ผ่านมาส่วนใหญ่จะเห็นว่ายังต้องใช้โอเน็ตอยู่ เพราะต้องการให้เด็กอยู่ในห้องเรียนจนจบการศึกษา

เลขาธิการ กสพท.กล่าวอีกว่า แต่ในการรับนักศึกษาแพทย์ในปีการศึกษา 2557 ของ กสพท. ซึ่งจะมีขึ้นในอีก 2 เดือนข้างหน้า คงจะต้องหยิบยกเรื่องดังกล่าวมาพิจารณา เพื่อจะทบทวนในเรื่องของคุณภาพข้อสอบ และพิจารณาว่าจะยังใช้คะแนนโอเน็ตเป็นองค์ประกอบหนึ่งในการคัดเลือกอยู่หรือไม่

ศ.ดร.สุพจน์ หารหนองบัว คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย กล่าวว่า การนำคะแนนโอเน็ตปีนี้ไปใช้เพื่อการสอบคัดเลือก คงต้องดูว่าการตัดคะแนนของผู้สอบคัดเลือกนั้นมีช่วงห่างของแต่ละคนเป็นเท่าไร และคะแนนที่เพิ่มมา 24 คะแนนจะมีผลมากน้อยเพียงใด โดยจะให้ ดร.สธน วิจารณ์วรรณลักษณ์ อาจารย์ภาควิชาฟิสิกส์ นำข้อมูลมาคำนวณดู อย่างไรก็ตาม การสอบโอเน็ตเป็นการทดสอบระดับชาติที่ไม่ควรเกิดปัญหาขึ้น ขณะที่ทางออกของเรื่องนี้ตนยังมองไม่เห็น นอกจากว่า สทศ.จะจัดสอบใหม่ในวิชาวิทยาศาสตร์

ขณะที่ ดร.สธนกล่าวว่า เท่าที่ดูข้อมูลผล กระทบที่เกิดขึ้น พบดังนี้ 1.กลุ่มเด็กซิล ซึ่งจะสอบแอดมิชชั่นใหม่ในปีนี้ จะมีคะแนนเฉลี่ยที่ต่ำกว่าเด็ก ม.6 ปีนี้ ขณะเดียวกันเด็กซิลก็ไม่มีทางทำอะไรได้ เพราะโอเน็ตสอบได้เพียงครั้งเดียว 2.ส่ง ผลให้คะแนนเฉลี่ยของโอเน็ตในภาพรวมของเด็กสูงขึ้น 3.คะแนนเฉลี่ยของแต่ละคณะที่ใช้คะแนน สอบวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้น ทั้งนี้ ส่วนตัวเห็นว่ากรณีที่ สทศ.ให้คะแนนฟรีทุกคน 24 คะแนน หากมองในอีกมุมหนึ่ง หากตัดคะแนนส่วนนี้ออกไป และให้คะแนนเต็มวิชาวิทย์ จาก 100 เป็น 76 คะแนน แล้วให้เทียบคะแนนเป็นบัญญัติไตรยางศ์ 100 ก็น่าจะพอลดผลกระทบของเด็กซิลกับเด็ก ม.6 ปีนี้ รวมทั้งเด็ก ม.6 ด้วยกันเองด้วย

นายชินภัทร ภูมิรัตน เลขาธิการคณะ กรรมการการศึกษาขั้นพื้ฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า เรื่องนี้คงต้องดูผลกระทบที่เกิดจากความผิดพลาดก่อนว่ามีมากน้อยแค่ไหน ถ้าเป็นความผิดพลาดในขอบเขตที่ไม่มากนักก็สามารถเดินหน้าต่อไปได้ เพราะนโยบายหลักคือการจัดการศึกษาที่มีคุณภาพ โดยใช้กระบวนการวัดและประเมินผลเป็นเครื่องมือสะท้อนผลการจัดการศึกษาที่เชื่อถือได้และเปรียบเทียบได้ เพราะฉะนั้นความผิดพลาดบางจุดก็ยังสามารถใช้วิธีการทางเทคนิคเข้ามาช่วยทำให้การสรุปผลอยู่ในระดับที่น่าเชื่อถือได้

"ส่วนที่มองกันว่าเป็นความผิดพลาดซ้ำซากนั้น ผมขอฟังรายงานโดยตรงในที่ประชุมบอร์ด สทศ.ก่อนว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมีกี่จุด และมีนั้น ผมขอฟังรายงานโดยตรงในที่ประชุมบอร์ด สทศ.ก่อนว่าความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมีกี่จุด และมีผลกระทบแค่ไหน อย่างไรก็ตาม การที่เกิดข้อผิดพลาดและมีการให้คะแนนเด็กทุกคน ซึ่งเป็นการยกประโยชน์ให้ผู้สอบนั้น ถือว่าเป็นความเสมอภาค แต่อำนาจการจำแนกของข้อสอบก็ลดลง ซึ่งอาจเป็นจุดเสีย แต่ก็ไม่ถือว่าเป็นข้อเสียทั้ง หมด แม้แต่เรื่องความน่าเชื่อถือที่หลายคนมองว่า สทศ.มีความน่าเชื่อถือลดลง ผมคิดว่าคงยังไม่สรุปเช่นนั้น เพราะสิ่งที่ สทศ.พยายามทำในปีนี้ โดยการออกข้อสอบหลายชุดเป็นข้อสอบคู่ขนาน เพื่อป้องกันการลอกข้อสอบก็ถือเป็นความพยายามที่ดี และปีนี้ก็เป็นปีแรกที่ สทศ.ดำเนินการ ความยุ่งยากจึงมีมาก ก็ต้องให้โอกาส สทศ.ก่อน" นายชินภัทรกล่าว.