ผู้เขียน หัวข้อ: ฟ้องหมอไม่ได้แล้วจะฟ้องใคร?  (อ่าน 3067 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
ฟ้องหมอไม่ได้แล้วจะฟ้องใคร?
« เมื่อ: 14 พฤศจิกายน 2010, 23:00:00 »
บทความนี้เป็นบทความที่สืบเนื่องจากบทความเรื่อง “แพทย์กับ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่”และเรื่อง “แพทย์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐได้รับความคุ้มครอง” ขอให้ผู้อ่านได้อ่านบทความเรื่องดังกล่าวก่อน

ดังได้กล่าวแล้วว่าหากแพทย์ที่เป็นเจ้าหน้าที่ในหน่วยงานของรัฐปฏิบัติหน้าที่ใน การตรวจรักษาผู้ป่วยแล้วเกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย ผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องแพทย์ให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนได้โดยตรง หากจะฟ้องต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐที่แพทย์ผู้นั้นสังกัดอยู่ ( มาตรา5ของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539) แต่ ไม่ใช่ว่าผู้เสียหายมีทางเลือกทางเดียวคือต้องฟ้องหน่วยงานของรัฐเท่านั้น ผู้เสียหายยังมีทางเลือกอีกทางหนึ่งคือ ยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐตามมาตรา11

ผู้เขียนขอสรุปทางเลือกของผู้เสียหายในการเรียกร้องค่าสินไหมทดแทนจากการที่แพทย์ที่เป็นเจ้าหน้าที่รัฐทำละเมิดในการปฏิบัติหน้าที่ดังนี้

(1) ยื่นคำขอต่อหน่วยงานของรัฐที่ แพทย์ผู้นั้นสังกัดอยู่ ให้พิจารณาชดใช้ค่าสินไหมทดแทน โดยหน่วยงานของรัฐต้องออกใบรับคำขอให้แก่ผู้เสียหายไว้เป็นหลักฐาน หน่วยงานของรัฐต้องพิจารณาให้เสร็จภายใน 180 วัน(ขยายได้อีกไม่เกิน 180 วัน) เมื่อหน่วยงานของรัฐมีคำสั่งแล้วหากผู้เสียหายไม่พอใจ เช่น เห็นว่าค่าสินไหมทดแทนที่จ่ายให้น้อยเกินไป ก็มีสิทธิฟ้องคดีต่อศาลปกครองภายใน 90 วันนับแต่วันที่ได้รับแจ้งผลการวินิจฉัยของหน่วยงานของรัฐ (อ่านมาตรา11และ14ของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539) ข้อดีของทางเลือกนี้คือผู้เสียหายประหยัดทั้งเวลาและค่าใช้จ่าย(ไม่ต้องเสีย ค่าธรรมเนียมศาลและค่าทนายความรวมถึงค่าใช้จ่ายอื่นดังเช่นกรณีฟ้องร้องเป็น คดีต่อศาล )

หมายเหตุ  พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 มาตรา 41 ได้บัญญัติให้มีการกันเงินไว้เป็น “เงินช่วยเหลือเบื้องต้น”เพื่อจ่ายให้แก่ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหายที่เกิดขึ้นจากการรักษาพยาบาลของหน่วยบริการ “เงินช่วยเหลือเบื้องต้น”หมาย ถึงเงินที่จ่ายให้ผู้รับบริการหรือทายาทหรือผู้อุปการะเพื่อบรรเทาความเดือด ร้อนในกรณีที่ผู้รับบริการได้รับความเสียหายที่เกิดจากการรักษาพยาบาลของ หน่วยบริการ ( คือเฉพาะกรณีผู้ป่วยใช้สิทธิรับบริการในโครงการ 30 บาทฯ ) โดยไม่ต้องรอการพิสูจน์ถูกผิด

ต่อมาได้มีการออก “ข้อบังคับว่าด้วยหลักเกณฑ์ วิธีการและเงื่อนไขในการจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นกรณี ผู้รับบริการได้รับความเสียหายจากการรักษาพยาบาล”ปัจจุบันเป็นฉบับปรับปรุงแก้ไข พ.ศ.2549 ซึ่งผู้เขียนขอสรุปพอสังเขปดังนี้

1) ไม่ ครอบคลุมถึงความเสียหายที่เกิดจากการดำเนินไปตามพยาธิสภาพ หรือเหตุแทรกซ้อนของโรคที่เป็นไปตามสภาพปกติธรรมดาของโรคนั้นอยู่แล้ว ซึ่งโรคนั้นได้รับการวินิจฉัยและรักษาตามมาตรฐานทั่วไป (ข้อ5)

2) มีการกำหนดอัตราของเงินช่วยเหลือเบื้องต้น แยกตามระดับความรุนแรงของความเสียหาย ซึ่งสูงสุดไม่เกิน 2 แสนบาท( ข้อ6  )

3) ผู้มีสิทธิยื่นคำร้องขอรับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น คือ ผู้รับบริการที่ได้รับความเสียหาย  หรือทายาท หรือผู้อุปการะ หรือตัวหน่วยบริการเอง (ข้อ7)

4) ยื่นคำร้องได้ที่

            - สำนักงานสาขาของสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติในจังหวัดนั้น

            - หน่วยรับเรื่องร้องเรียนตามมาตรา 50(5) แห่ง พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.

  2545

- สำนักงานสาธารณสุขจังหวัด

5) ต้องยื่นคำร้องดังกล่าวภายใน 1 ปีนับแต่ทราบความเสียหาย ( ข้อ7 )

6) พิจารณาคำร้องขอโดยคณะอนุกรรมการ ซึ่งต้องพิจารณาและทำคำวินิจฉัยให้เสร็จภายใน 30 วัน นับแต่ วันที่ได้รับคำร้องขอ( ข้อ8 )

7) สิทธิอุทธรณ์คำสั่ง( ข้อ10 ) เมื่อผู้ยื่นคำร้องขอได้ทราบคำวินิจฉัยของคณะอนุกรรมการแล้ว หากไม่เห็นด้วยก็สามารถยื่นอุทธรณ์ต่อคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐาน บริการสาธารณสุข โดยยื่นตามสถานที่ตามข้อ 4) ภายใน 30 วันนับแต่ได้ทราบผลการวินิจฉัย

8) คำวินิจฉัยของคณะกรรมการควบคุมคุณภาพและมาตรฐานบริการสาธารณสุข ถือเป็นที่สุด ( ข้อ11 ) ............แต่ผู้เขียนเห็นว่าหากผู้ยื่นคำร้องไม่พอใจ คำวินิจฉัยดังกล่าว สามารถฟ้องเป็นคดีต่อศาลปกครองได้ โดยอาศัยมาตรา11และ14ของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539

(2) ฟ้องหน่วยงานของรัฐ ที่แพทย์ผู้นั้นสังกัดอยู่ ให้รับผิดใช้ค่าสินไหมทดแทนแก่ตน(ฟ้องศาลเป็นคดีละเมิด) ซึ่งการฟ้องคดีดังกล่าวต้องฟ้องต่อศาลยุติธรรมไม่ใช่ศาลปกครอง เพราะได้มีคำวินิจฉัยของศาลปกครองสูงสุดชัดเจนแล้วว่า การ ที่แพทย์ปฏิบัติหน้าที่ในการตรวจรักษาผู้ป่วย แล้วเกิดความเสียหายแก่ผู้ป่วย คดีละเมิดดังกล่าวอยู่ในอำนาจของศาลยุติธรรมไม่ได้อยู่ในอำนาจของศาลปกครอง

ข้อสังเกต

            1) ตามความเห็นของคณะกรรมการกฤษฎีกา “หน่วยงานของรัฐ” ต้องอยู่ในฐานะที่เป็นเจ้าของทรัพย์สินได้ กล่าวคือ จะต้องมีฐานะเป็น “นิติบุคคล”ฉะนั้นหากหน่วยงานใดไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคลก็ไม่ถือว่าเป็น “หน่วยงานของรัฐ”ตามความหมายของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ผลก็คือผู้เสียหายก็ไม่สามารถฟ้องหน่วยงานดังกล่าวได้ ตัวอย่างเช่น ปกติแล้วสถานีอนามัยและโรงพยาบาลในสังกัดรัฐไม่มีฐานะเป็น“หน่วยงานของรัฐ”เพราะไม่ได้เป็นนิติบุคคล (ยกเว้นรพ.บ้านแพ้วเพราะมีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้ รพ.บ้านแพ้ว เป็นหน่วยงานของรัฐตาม พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่) ดังนั้นในกรณีที่เจ้าหน้าที่ในสถานีอนามัยหรือในโรงพยาบาลรัฐทำละเมิดต่อผู้ ป่วย ผู้เสียหายไม่สามารถฟ้องสถานีอนามัยหรือโรงพยาบาลดังกล่าวได้ ต้องฟ้องหน่วยงานเหนือขึ้นไปที่มีฐานะเป็นนิติบุคคล เช่น ฟ้องกระทรวงสาธารณสุข(กรณีที่เจ้าหน้าที่ที่ทำละเมิดอยู่ในสังกัดของกระทรวง สาธารณสุข) สรุปให้เข้าใจง่ายๆก็คือหากผู้เสียหายจะฟ้องหน่วยงานใด ผู้เสียหายต้องพิจารณาเสียก่อนว่าหน่วยงานนั้นมีฐานะเป็นนิติบุคคลหรือไม่ ถ้าไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล หน่วยงานนั้นก็ไม่ใช่“หน่วยงานของรัฐ”ตามความหมายของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 จากนั้นก็ต้องพิจารณาต่อไปอีกว่าแม้หน่วยงานนั้นจะเป็นนิติบุคคลแต่เข้าข่ายเป็น “หน่วยงานของรัฐ”ตามพ.ร.บ.นี้หรือไม่

อนึ่ง ท่านอาจารย์ เพ็ง  เพ็งนิติได้สรุปนิยามของคำว่า“หน่วยงานของรัฐ”ตามความหมายของ พ.ร.บ.ความรับผิดทางละเมิดของเจ้าหน้าที่ พ.ศ. 2539 ไว้ดังนี้

“ราชการส่วนกลาง” ได้แก่ กระทรวง ทบวง กรม และส่วนราชการที่เรียกชื่ออย่างอื่นและมีฐานะเป็น

   กรม ซึ่งต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคล

“ราชการส่วนภูมิภาค” ได้แก่ จังหวัด (อำเภอไม่มีฐานะเป็นนิติบุคคล)

“ราชการส่วนท้องถิ่น” ได้แก่ เทศบาล กรุงเทพมหานคร  เมืองพัทยา อบต. อบจ.

“รัฐวิสาหกิจ” ที่ตั้งขึ้นโดย พ.ร.บ.หรือ พระราชกฤษฎีกา

“หน่วยงานอื่นของรัฐ” ที่มีพระราชกฤษฎีกากำหนดให้เป็นหน่วยงานของรัฐตามพ.ร.บ.นี้ เช่น

  โรงพยาบาลบ้านแพ้ว  สำนักงาน กกต.

  ***โดยหน่วยงานดังกล่าวข้างต้นต้องมีฐานะเป็นนิติบุคคลด้วย         

2) “ผู้เสียหาย”ตามความหมายของพ.ร.บ.ฉบับนี้คณะกรรมการกฤษฎีกาได้ให้ความเห็นไว้ว่าหมายถึงบุคคลดังต่อไปนี้

                  ก. บุคคลหรือนิติบุคคลที่ไม่ใช่หน่วยงานของรัฐที่ได้รับความเสียหายเสียหายจากเจ้าหน้าที่ของรัฐ

                  ข. เจ้าหน้าที่ของรัฐที่ได้รับความเสียหายจากการกระทำละเมิดของเจ้าหน้าที่รัฐคนอื่นไม่ว่า เจ้าหน้าที่ผู้ทำละเมิดจะสังกัดหน่วยงานเดียวกันกับเจ้าหน้าที่ผู้ได้รับความเสียหายหรือสังกัด หน่วยงานของรัฐแห่งอื่นก็ตาม

3) กฎหมายดังกล่าวไม่ตัดสิทธิผู้เสียหายในการฟ้องแพทย์เป็นจำเลยในคดีอาญา หรือใช้สิทธิในการร้องเรียนต่อแพทยสภา

 

ก.ค.2549

นพ.พิทูร ธรรมธรานนท์
พบ. นบ.
เนติบัณฑิตไทย