ผู้เขียน หัวข้อ: วิปรัฐบาล ยัน พ.ร.บ.คุ้มครองฯไม่ทันประชุมสภาสมัยนี้ นัดถก 25 พ.ย.  (อ่าน 1209 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
วิป รัฐบาล ยัน พ.ร.บ.ไม่ทันประชุมสภาสมัยนี้ นัดถกอีกรอบ 25 พ.ย.พร้อม สรรหา คกก.กลั่นกรอง พ.ร.บ.ผู้ป่วยฯ สผพท.ยันควรทำประชาพิจารณ์ เอ็นจีโอวอน รัฐจริงใจ
       
       วาน นี้ (11 พ.ย.) ที่อาคารรัฐสภา คณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) โดยมี นายวิรัตน์ กัลป์ยาศิริ รองประธานวิปรัฐบาล เป็นประธานเรียกหารือระหว่างกลุ่มวิชาชีพแพทย์และเครือข่ายผู้ป่วยอย่างละ 4-5 คน เข้าชี้แจงครั้งที่ 2 หลังจากไม่ได้ข้อสรุปในการชี้แจงครั้งแรก เกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ...สำหรับฝ่ายวิชาชีพแพทย์ อาทินพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย(สผพท.) นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ แพทย์ศัลยประสาท โรงพยาบาลราชวิถี และผู้ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการบริการสาธารณสุข ฉบับฝ่ายแพทย์ นพ.วิสุทธิ์ ลัจฉเสวี ที่ ปรึกษาคณะกรรมาธิการสาธารณสุขสภาผู้แทนราษฎร เป็นต้น ส่วนเครือข่ายผู้ป่วยประกอบด้วย นายไพศาล ลิ้มสถิตย์ นักกฎหมายจากศูนย์กฎหมายสุขภาพและจริยศาสตร์ (กสจ.) มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ นายสัมภาษณ์ กูลศรีโรจน์ และ นายไพรัช ดำรงกิจถาวร ตัวแทนผู้เสียหายทางการแพทย์ ทั้งนี้การหารือเป็นไปด้วยความเคร่งเครียดและใช้เวลานานร่วม 3 ชม.
       
       นพ.ฐาปน วงศ์ กล่าวอีกว่า การชี้แจงครั้งนี้เป็นไปโดยกติกาทุกอย่างห้ามมีการโต้แย้งกัน ซึ่งทุกอย่างก็ผ่านพ้นไปด้วยดี เพียงแต่แต่ละฝ่ายยังไม่สามารถชี้แจงได้จนครบ ทางวิปรัฐบาลจึงนัดชี้แจงอีกครั้งในอีก 2 สัปดาห์ถัดจากนี้ ซึ่งทางฝ่ายวิชาชีพแพทย์ยินดี ไม่มีปัญหา เนื่องจากเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ เป็นเรื่องใหญ่ที่ต้องใช้ความละเอียดถี่ถ้วนในการรวบรวมข้อมูลของแต่ละฝ่าย ก่อนจะหยิบไปพิจารณาในขั้นกรรมาธิการสภาผู้แทนราษฎร อย่างไรก็ตาม ขณะเดียวกัน ยังคงยืนยันว่า ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวไม่มีความชัดเจนและครอบคลุมทุกฝ่าย อีกทั้งยังมีประเด็นความเห็นไม่ลงตัวอีกมาก สิ่งสำคัญต้องมีการประชาพิจารณ์รอบด้าน
       
       ผู้ สื่อข่าวถามว่า การเลื่อนนัดหารือไปอีกใน 2 สัปดาห์จะทันปิดสมัยประชุมสภาสิ้นเดือนพฤศจิกายนนี้หรือไม่ รองประธาน สผพท.กล่าวว่า ตนไม่ทราบ แต่จากการหารือในครั้งนี้ ทางวิปรัฐบาลระบุเพียงว่า เรื่องนี้ต้องทำอย่างรอบคอบมากที่สุดถึงการประชุมสมัยหน้าก็จะตามต่อไป ซึ่งตรงนี้ไม่แน่ใจว่าหมายความว่าอย่างไร อย่างไรก็ตาม หากร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวถูกหยิบยกเข้าวาระพิจารณาในการประชุมสภาฯ สมัยหน้าจริงก็ไม่แน่ใจว่า พรรคประชาธิปัตย์ (ปชป.) จะเป็นรัฐบาลอีกหรือไม่
       
       ด้าน นางปรียนันท์ ล้อเสริมวัฒนา ประธาน เครือข่ายผู้เสียหายทางการแพทย์ กล่าวว่า ในการเข้าพบวิปรัฐบาลครั้งนี้ ทางเครือข่ายฯได้แสดงจุดยืนถึงการผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯเหมือนในทุกครั้งที่ผ่านมา และมอบหมายให้นักกฎหมายเป็นผู้เจรจาในรายละเอียดของข้อสรุป 12 ประเด็นที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้นำเสนอ โดยนำเสนอในเนื้อหาที่เหมาะสมตามที่วิปรัฐบาลต้องการทราบ โดยผลการพบ วิป ได้ชี้แจงชัดเจนว่า ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายไม่ทันสมัยการประชุมสภาในสมัยนี้อย่างแน่นอน เนื่องจากปัญหาความขัดแย้งของเครือข่ายภาคประชาชน และเครือข่ายแพทย์ยังมี อยู่ อีกทั้งสภายังต้องเร่งพิจารณาเรื่องอื่นที่สำคัญกว่า ดังนั้น จึงขอเวลาในการนัดเจรจาอีกครั้งในวันที่ 25 พ.ย.2553 โดยขอพบตัวแทนชุดเดิมจากทั้งสองฝ่ายเพื่อหารือในปัญหา และหลักการของกฎหมาย ที่ยังเห็นต่างกัน ตลอดจนสรรหาตัวแทนจากฝ่ายแพทย์ผู้ให้บริการสาธารณสุข และภาคประชาชนฝ่ายละ 2 คน เพื่อเข้าไปเป็นคณะกรรมการกลั่นกรองร่างกฎหมาย
       
       “ยอมรับว่า การเข้าพบเป็นเวลา 3 ชั่วโมงในวันนี้ ทำให้เราผิดหวังเล็กน้อยกับการที่วิปออกมาชี้แจงว่า ร่างกฎหมายนั้นไม่ทันการประชุมในสมัยนี้ แต่ก็พร้อมที่จะหาทางออกของปัญหาตามความเหมาะสม และผลักดันให้กฎหมายเข้าสู่ที่ประชุมสมัยหน้าให้ได้ แต่อยากขอร้องรัฐบาล ว่า ให้มีความจริงใจกับการผลักดันต่อไป ไม่ใช่สัญญาแค่ลมปาก โดยอยากวอนรัฐบาลว่าขอให้เร่งนำเข้าที่ประชุมได้ภายในเดือนกุมภาพันธ์ 2554 เนื่องจากระยะเวลาในการดำเนินการนั้นนานมากแล้ว” นางปรียนันท์ กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์   12 พฤศจิกายน 2553