ผู้เขียน หัวข้อ: สรุปผลการสัมมนาร่างพรบ.คุ้มครองฯของบุคลากรทางการแพทย์ในเขตภาคเหนือ  (อ่าน 3020 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด

สรุปผลการสัมมนาร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...

ของบุคลากรทางการแพทย์ในเขตภาคเหนือ

3 พฤศจิกายน 53 ณ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

 

ผู้เข้าร่วมสัมมนาประมาณ 300คน จากคณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่ รพ.ชุมชน รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป ในเขตภาคเหนือ

ประกอบด้วย แพทย์ พยาบาล เภสัชกร ทันตะแพทย์ นักเทคนิคการแพทย์ นักกายภาพบำบัด

ผลการลงประชามติ ไม่เห็นชอบร่าง พรบ.นี้ 100% โดยมีความเห็นว่าไม่ควรมีร่างพรบ.นี้ 65% และเห็นว่าควรนำไปปรับปรุงก่อน 35%

 

ความเห็นอื่นๆ ได้แก่ ควรใช้กฎหมายเดิมที่มีอยู่แล้ว เช่น มาตรา 41 ตามพรบ.หลักประกันสุขภาพ, ร่างพรบ.นี้ไม่เป็นธรรมกับบุคลากรทางการแพทย์, คณะกรรมการควรเป็นผู้ที่มีความรู้ด้านสาธารณสุข, ร่างพรบ.นี้จะทำลายระบบสาธารณสุข, ร่างพรบ.นี้ยังไม่มีความชัดเจนและมีวาระซ่อนเร้น เป็นต้น

                                                                                                                                                                                                                    นพ.ภีศเดช สัมมานันท์

สรุปการสัมมนา
--------------------------

สรุปผลการสัมมนาร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...

ของบุคลากรทางการแพทย์ในเขตภาคเหนือ

 3 พฤศจิกายน 53 ณ คณะแพทยศาสตร์ ม.เชียงใหม่

 

 การช่วยเหลือผู้ได้รับผลกระทบจากการรักษาพยาบาลเป็นสิ่งดี  แต่การช่วยเหลือจะเป็นช่วยเหลือในรูปแบบใดต้องพิจารณาให้เหมาะสมไม่จำเป็นต้องพิจารณาแต่เรื่องการเงินอย่างเดียว

ชื่อของร่างพรบ. บ่งบอกถึงผู้ร่างมีอคติต่อบุคลากรทางการแพทย์ เพราะใช้คำว่าคุ้มครอง ซึ่งต้องการสื่อว่า ผู้ป่วยเป็นผู้ถูกรังแก เอารัดเอาเปรียบจากคนอีกกลุ่มหนึ่ง ซึ่งก็คือบุคลากรทางการแพทย์ เพราะเป็นผู้ทำให้ผู้ป่วยเสียหาย ทั้งๆที่ความจริงแล้วบุคลากรทางการแพทย์เป็นผู้ช่วยเหลือผู้ป่วย มิได้มีเจตนาร้ายต่อผู้ป่วย และความเสียหายส่วนเกือบทั้งหมดเป็นเหตุสุดวิสัย

“สถานพยาบาล” ที่อยู่ภายใต้ร่างพรบ.นี้ ประกอบไปด้วยทั้งสถานพยาบาลรัฐและเอกชน รวมทั้งคลินิค ร้านขายยา และสถานพยาบาลอื่นๆ (มาตรา 3)

บุคลากรที่อยู่ภายใต้การกำกับของร่างพรบ. มีทั้งแพทย์ พยาบาล ทันตะแพทย์ เภสัชกร เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัด แม้แต่ เจ้าหน้าที่อนามัย อสม. และอื่นๆ (มาตรา 3)

ร่างพรบ.นี้มีการตัดสินถูกผิดการประกอบวิชาชีพของบุคลากรด้านสาธารณสุข

แม้ว่าจะกล่าวไว้ใน “มาตรา 5” ว่า “ผู้เสียหายมีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้น ... ไม่ต้องพิสูจน์ความรับผิด”

แต่ “มาตรา 6”  กล่าวว่า “บทบัญญัติในมาตรา 5 มิให้ใช้บังคับในกรณีดังต่อไปนี้

                (1)           ความเสียหายที่เกิดขึ้นตามปกติธรรมดาของโรคนั้น ...

                (2)           ความเสียหายซึ่งหลีกเลี่ยงมิได้ ...

                (3)           ความเสียหายที่เมื่อสิ้นสุดกระบวนการให้บริการสาธารณสุข  แล้วไม่มีผลกระทบต่อการดำรงชีวิต...”

        ซึ่งหมายความว่า จะให้เงินช่วยเหลือก็ต่อเมื่อความเสียหายนั้นไม่เข้าข่ายข้อแม้ตาม มาตรา 6 คือ ความเสียหายนั้นต้องไม่ได้เกิดขึ้นตามปรกติ หรือความเสียหายนั้นต้องหลีกเลี่ยงได้ หรือความเสียหายนั้นต้องไม่สามารถหายได้เป็นปรกติ  แสดงว่าก่อนการจ่ายเงินช่วยเหลือต้องมีการตัดสินมาตรฐานการรักษาพยาบาลของบุคลากรทางการแพทย์ หรือสถานพยาบาลก่อน

สัดส่วนคณะกรรมการและอนุกรรมการ ไม่เป็นธรรม

ในร่างพรบ.นี้มีคณะกรรมการและอนุกรรมการต่างๆ ได้แก่ “คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข”  “คณะอนุกรรมการพิจารณาให้เงินช่วยเหลือเบื้องต้น” “คณะอนุกรรมการประเมินเงินชดเชย” และ “คณะกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์” (มาตรา 7 12 และ 13) ซึ่งมีอำนาจหน้าที่กำหนดนโยบายและมาตรการคุ้มครองผู้เสียหาย พัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย พิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือ เป็นต้น

แต่คณะกรรมการและอนุกรรมการเหล่านี้ กลับประกอบไปด้วยผู้ประกอบบุคลากรทางการแพทย์เป็นส่วนน้อย หรือไม่มีเลย ทั้งๆที่มีหน้าที่ในการกำหนดมาตรฐานทางด้านสาธารณสุข และพิจารณามาตรฐานการประกอบวิชาชีพของบุคลากรทางการแพทย์ และสถานพยาบาล

ดังนั้นถ้าตัดสินว่ามีการกระทำความผิด บุคลากรทางการแพทย์ก็ไม่ได้รับความยุติธรรม เพราะคณะกรรมการและอนุกรรมการที่ตัดสินถูกผิดส่วนใหญ่ไม่มีความรู้ทางด้านการแพทย์ แต่ผลการตัดสินสามารถนำไปเป็นมูลฟ้องต่อศาลแพ่ง ศาลอาญา และอื่นๆได้

ใช้จ่ายงบประมาณของประเทศอย่างไม่เหมาะสม

“มาตรา 16  ให้ประธานกรรมการ กรรมการ ประธานกรรมการวินิจฉัยอุทธรณ์การรมการวินิจฉัยอุทธรณ์ ประธานอนุกรรมการ หรืออนุกรรมการ ได้รับเบี้ยประชุม ค่าพาหนะ ค่าเบี้ยเลี้ยง ค่าเช่าที่พัก และประโยชน์ตอบแทนอื่น...

“มาตรา  20  ให้จัดตั้งกองทุนขึ้น... เรียกว่า “กองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข”...

                คณะกรรมการอาจจัดสรรเงินจากกองทุนที่ได้รับ...เป็นค่าใช้จ่ายในการบริการของสำนักงาน ...ได้แต่ไม่เกินร้อยละสิบต่อปี...”

“มาตรา 22  กองทุนประกอบด้วย

                (1)  เงินที่โอนมาจากเงินตามมาตรา  41 แห่งพรบ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

                (2)  เงินที่สถานพยาบาลจ่ายสมทบ

                (3)  เงินอุดหนุนจากรัฐบาล

                ...

                เงินและทรัพย์สินตามวรรคหนึ่งไม่ต้องส่งคลังเป็นรายได้แผ่นดิน”

เท่ากับจะมีกองทุนมหาศาลอยู่เป็นหมื่นเป็นแสนล้าน และไม่ต้องส่งคืนคลัง กองทุนจะเพิ่มขึ้นทุกปีและตรวจสอบยาก น่าเป็นห่วงที่คณะกรรมการสามารถกำหนดเงินเดือน และค่าตอบแทนอื่นๆได้เองตามสบาย และอาจนำเงินกองทุนนี้ไปใช้แสวงหาผลประโยชน์แอบแฝงอย่างอื่นได้ เช่น ซื้อหุ้นจากบริษัทของพวกพ้องตนเอง นำไปลงทุนอย่างไม่คุ้มค่าแต่ได้รับผลประโยชน์ตอบแทนเป็นการส่วนตัว เป็นต้น

มีการเลือกปฏิบัติกับบุคลากรทางการแพทย์

ตาม “มาตรา 21”  สถานพยาบาลไม่ว่าสถานพยาบาลของรัฐหรือเอกชน รวมทั้งคลินิค ร้านขายยา และสถานพยาบาลอื่นๆ จะต้องจ่ายเงินเข้าสมทบในกองทุนนี้ และหากไม่ปฏิบัติตามก็จะมีการปรับในอัตราร้อยละสองต่อเดือน หรือถึงร้อยละยี่สิบสี่ต่อปี

แสดงว่าสถานพยาบาลทั้งหมดทั้งของรัฐ และเอกชน ต้องรับภาระในการจ่ายเงินเข้ากองทุนนี้ ทั้งๆที่ผู้มีสิทธิได้รับเงินช่วยเหลือคือคนทั้งประเทศ แต่บุคลากรทางด้านการแพทย์ซึ่งเสียสละตนเองเพื่อผู้ป่วยอย่างเต็มความสามารถอยู่แล้ว กลับถูกผลักภาระให้ต้องมารับผิดชอบในสิ่งที่ตนเองไม่ได้ก่อขึ้นอีก ทั้งภาระทางด้านการเงินซึ่งต้องจ่ายให้กองทุนนี้ และภาระด้านความรับผิดชอบทางกฎหมาย 

ผลเสียต่อส่วนรวม

ปัญหา แก่ประชาชน ได้แก่ หากผู้ประกอบวิชาชีพไม่กล้าปฏิบัติงานเต็มความสามารถเพราะไม่กล้าเสี่ยง โรคต่างๆที่เคยได้รับการรักษาด้วยวิธีหนึ่งก็อาจจะต้องเปลี่ยนไปรักษาด้วย วิธีอื่นที่มีความเสี่ยงน้อยกว่าแม้ว่าผลของการรักษาจะดีน้อยกว่าด้วยก็ตาม อาจมีการส่งต่อมากขึ้นจนคนไข้ไปแออัดอยู่ตามรพ.ใหญ่ๆ   เป็นต้น

ปัญหาต่อประเทศชาติ เช่น ถ้าคนเรียนแพทย์ ทันตะแพทย์ เภสัชกร ฯลฯ น้อยลง หรือลาออกเพิ่มขึ้น ก็จะไปซ้ำเติมปัญหาการขาดแคลนบุคลากรเข้าไปอีก ยังไม่นับปัญหาการเงินระดับประเทศที่ต้องคอยป้อนเงินเข้าสู่กองทุนนี้ทุกปี จนประเทศชาติต้องสูญเสียเงินเป็นหมื่น เป็นแสนล้าน เป็นต้น

นพ.ภีศเดช สัมมานันท์

รพ.นครพิงค์ เชียงใหม่

คณะทำงาน พิจารณาร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ. ... ของแพทยสภา

ผู้สรุปผลการสัมมนา

golfpy007

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 1
    • ดูรายละเอียด
    • สถานที่ท่องเที่ยว
 :)  :)  :)  :)

มาเก็บเกี่ยวนะครับ อิอิ
สถานที่ท่องเที่ยว สถานที่ท่องเที่ยว

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
แค่เข้ามาเก็บเกี่ยวก็ดีใจแล้ว
ช่วยกันเข้ามาเยอะๆ ข่าวสารจะได้เกิดประโยชน์

today

  • Staff
  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 263
    • ดูรายละเอียด
ทางเชียงใหม่แสดงจุดยืนไม่เห็นด้วยกับ พรบ.
แล้วทาง รามา ยังยืนยันแบบเดิมอยู่หรือไม่