ผู้เขียน หัวข้อ: วิกฤติ กินผิดๆ ของคนไทย จัดการได้ต้อง 'กัน' ก่อน 'แก้'(กรุงเทพธุรกิจออนไลน์)  (อ่าน 1260 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
รัฐบาลควรจัดกิจกรรม หรือทุ่มเงินก้อน เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างถูกวิธีในรูปแบบของการ "ป้องกัน" มากกว่า "คอยตามรักษา"

ศูนย์วิจัยข้อมูลธุรกิจ กรุงเทพธุรกิจ สำรวจความเห็น หนุ่มสาวรุ่นใหม่ถึงไลฟ์สไตล์การใช้ชีวิตในสังคมปัจจุบัน โดยได้สอบถามไปยังนักเรียนในระดับมัธยมและอาชีวศึกษา 36% ปริญญาตรี  60% และ 4% ของกลุ่มตัวอย่างเรียนในระดับปริญญาโท

การลงสำรวจความเห็นกับคนรุ่นใหม่ครั้งนี้ ครอบคลุมพื้นที่กรุงเทพฯ และต่างจังหวัด สัดส่วน 50: 50  โดยเป็นหญิง 57 เปอร์เซ็นต์ และชาย 43 เปอร์เซ็นต์ ระหว่างวันที่ 30 กรกฎาคม - 14 สิงหาคม 2553 (โดยกลุ่มตัวอย่างสามารถเลือกตอบกิจกรรมยามว่างได้มากกว่า 1 ข้อ) พบว่า

39% ของคนรุ่นใหม่ ใช้เวลาว่างไปกับการท่องเว็บ

58% ใช้เวลาไปกับการดูโทรทัศน์/ฟังวิทยุ

45% เลือกที่จะอ่านหนังสือ

อีก 8% เน้นทำกิจกรรมทางศาสนา

จะเห็นได้ว่า พฤติกรรมการเปิดรับสื่อของเด็กรุ่นใหม่ในสื่อโทรทัศน์ และวิทยุ ยังคงนำโด่งมาเป็นอันดับหนึ่ง ตามมาด้วยสื่อเทคโนโลยีใหม่ๆ อย่างอินเทอร์เน็ต ซึ่งพฤติกรรม และความสนใจในการรับข่าวสารแต่ละช่องทางดังกล่าว ทำให้สินค้า และบริการ พร้อมใจกันทุ่มใช้เม็ดเงินเป็นหลักสิบล้านบาทต่อปีเพื่อสื่อสารการตลาดไปยัง กลุ่มผู้บริโภคที่คาดหวัง

ผลจากการอัดแคมเปญเชิงรุกเพื่อกระตุ้นความสนใจและยอดซื้อจากผู้บริโภคคน รุ่นใหม่ของผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้า/บริการซึ่งดำเนินมาอย่างเข้มข้นและต่อ เนื่องมาเป็นเวลานานนับสิบปี เริ่มส่งผลถึงพฤติกรรมการบริโภคคนไทยวันนี้......เปลี่ยนไป

ยอดขายของกลุ่มอาหารประเภทฟาสต์ฟู้ด ขนมขบเคี้ยว เครื่องดื่มน้ำอัดลม ฯลฯ ยังคงมีมูลค่าสูงต่อปี แม้ผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้ากลุ่มนี้จะเคยถูกตั้งคำถามถึงประเด็นผลกระทบต่อ สุขภาพอันเนื่องจากการบริโภคสินค้าดังกล่าว ทั้งจากวัตถุดิบ กระบวนการผลิต และสิ่งที่ถูกปรุงขึ้นด้วยไขมัน น้ำตาล และเกลือ ในระดับที่อาจส่งผลต่อสุขภาพหากบริโภคเป็นจำนวนมาก

ข้อมูลจากแผนยุทธศาสตร์สุขภาพดีที่จัดทำโดยกระทรวงสาธารณสุข มหาวิทยาลัยมหิดล และสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ได้ระบุว่า การบริโภคน้ำตาลต่อหัวในประเทศไทยเท่ากับ 33 กิโลกรัมในปี พ.ศ.2549 หรือเท่ากับ 20 ช้อนชาต่อคนต่อวัน เทียบกับปริมาณเฉลี่ยที่คนทั่วโลกรับประทานคือ 11 ช้อนชาต่อคนต่อวัน ซึ่งเป็นปริมาณที่เกินกว่าสิ่งที่แนะนำให้คนไทยบริโภคน้ำตาล 6 ช้อนชาหรือ 24 กรัมต่อวัน

ขณะที่ในกลุ่มเด็กอายุต่ำกว่า 5 ปีมีการบริโภคน้ำตาลโดยเฉลี่ยมากถึง 8 ช้อนชาหรือ 30.4 กรัมต่อวันหรือ 11 กิโลกรัมต่อปี

ตัวเลขอ้างอิงจาก กรมอนามัย ถึงผลสำรวจคนไทยโดยเฉลี่ยบริโภคเกลือโซเดียมที่ 4,352 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งก็มากกว่าปริมาณที่แนะนำให้คนไทยบริโภคที่ 2,400 มิลลิกรัมต่อวัน ทำให้เป็นเรื่องน่าห่วงว่าการบริโภคเกลือโซเดียมเกินควรเช่นนี้ อาจนำสู่โรคความดันโลหิตสูงและโรคไต ได้

นพ.อุกฤษฎ์ มิลินทางกูร เลขาธิการมูลนิธิหมอชาวบ้าน ซึ่งเป็นองค์กรไม่แสวงหากำไรได้ตีพิมพ์นิตยสารเพื่อผู้บริโภคด้านสุขภาพใน ชื่อเดียวกันกับองค์กร ว่า ผู้คนควรได้รับการสอนเกี่ยวการดูแลสุขภาพด้วยตนเองเบื้องต้น รวมถึงการทานอาหารเพื่อสุขภาพที่ดีและการออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ ที่สำคัญผู้บริโภคคนไทยควรได้รับข้อมูลความรู้เบื้องต้นเกี่ยวกับโภชนาการ เพื่อยกระดับไปสู่ "ผู้บริโภคฉลาดเลือก"

"การที่จะหยุดกระแสการตลาดที่โหมหนักจากอุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่ม เราจำเป็นต้องมีนักการสื่อสารเพื่อสุขภาพที่เป็นมืออาชีพและมีความสามารถ เสมอกันพอจะต่อกรกับคนที่บริษัทโฆษณาจ้างมาได้ เพื่อมาทำกิจกรรมรณรงค์ให้ความรู้แก่สาธารณชนอย่างมีประสิทธิภาพ" นพ.อุกฤษฎ์ กล่าว

โดยที่องค์กรภาครัฐควรดึงให้อุตสาหกรรมอาหารและเครื่องดื่มเข้ามามีส่วน ร่วมในทุกช่องทางการสื่อสารรวมถึงสื่อสังคมออนไลน์หรือโซเซียล มีเดีย (Social Media) ในการที่จะเข้าถึงผู้คนจำนวนมากและกว้างขวางขึ้น

"เราต้องส่งสารไปให้ถึงผู้บริโภคโดยเฉพาะเยาวชนที่ปกป้องตนเองไม่ได้ เริ่มจากพ่อแม่ผู้ปกครองที่ต้องคอยดูแลเด็กและกลุ่มนักเรียนตามโรงเรียน ต่างๆ เพื่อให้พวกเขาเติบโตเป็นผู้บริโภคที่ฉลาดและสามารถเลือกด้วยตัวเองว่าอะไร ดีสำหรับสุขภาพของพวกเขาและบุคคลรอบข้าง ที่สำคัญคือ การมีชุดนโยบายสาธารณะจัดทำโดยรัฐบาล ที่มีเนื้อหาครอบคลุมและส่งสารไปยังกลุ่มผู้เกี่ยวข้องทั้งหลายรวมถึง ผู้ผลิตสินค้าอาหาร นักโฆษณาและนักการตลาด โดยมีครอบครัวเป็นศูนย์กลางของการรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพที่มี ประสิทธิภาพ"

ความกังวลถึงสุขภาวะและพฤติกรรมบริโภคคนไทย ยังมีหลายภาคส่วนที่สะท้อน เช่นในส่วนของสำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค รายงานไว้ในเว็บไซต์องค์กรถึงการประมาณการว่ามีเด็กและเยาวชนอายุ 5-24 ปี จำนวน 21 ล้านคนในประเทศไทย จะมีเงินค่าขนมโดยเฉลี่ยที่ 800 บาทต่อเดือน นั่นหมายถึงเงินประมาณ 202,000 ล้านบาทต่อปี ซึ่งเป็นตัวเลขจูงใจสำหรับผู้ผลิตและจำหน่ายสินค้าในการดึงเด็กกลุ่มนี้มา เป็นตลาดเป้าหมาย

ความคิดเห็นจากหลายภาคส่วนบนเวที "วาระประเทศไทย : ซ่อม-สร้าง คุณภาพชีวิตคนไทย" เนื่องในโอกาสบริษัท เนชั่นมัลติมีเดีย กรุ๊ป จำกัด (มหาชน) ในวาระครบรอบ 40 ปีในปีต่างก็มองว่า รัฐบาลควรจัดกิจกรรม หรือทุ่มเงินก้อน เพื่อดูแลสุขภาพของประชาชนอย่างถูกวิธีในรูปแบบของการ "ป้องกัน" มากกว่า "คอยตามรักษา" 

นพ.สิทธิสัตย์ เจียมวงศ์แพทย์ เลขาธิการราชวิทยาลัยแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวแห่งประเทศไทย กล่าวว่า การดึงเอาแนวคิดของแพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวมาปฏิบัติอย่างจริงจังโดยรัฐบาล เพื่อสร้างเวชศาสตร์ป้องกัน มากกว่าการ "ตามแก้"

“แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวจะใช้วิธีแบบองค์รวมในการส่งเสริมสุขภาพและการ รักษาคน เราดูปัจจัยสถานภาพทางสังคมและเศรษฐกิจและลักษณะทางกรรมพันธุ์เมื่อทำการ รักษาคนไข้และคนในครอบครัวของเขาด้วย ซึ่งนี่ก็ต้องใช้ความรู้ที่รอบด้านในการช่วยผู้คนให้ดูแลสุขภาพของพวกเขาเอง หรือในการรักษาพวกเขา”  นพ.สิทธิสัตย์ กล่าว

การขับเคลื่อนสำคัญคือการกระตุ้นนักการเมืองที่มีหน้าที่ดูแลรับผิดชอบ การสาธารณสุขให้ทำในสิ่งที่ถูกต้อง เพราะไม่เพียงการบอกให้คนไทยหันมารักษาสุขภาพเท่านั้น รัฐบาลยังต้องทำหน้าที่วางกรอบมาตรการข้อบังคับที่มีประสิทธิภาพด้วย ไม่อย่างนั้น บางคนก็อาจพยายามหาประโยชน์จากวิกฤติทางสุขภาพของประเทศเพื่อผลกำไร เห็นได้จากการโฆษณาของกลุ่มผลิตภัณฑ์อาหารเสริมที่มักถูกพูดขยายผลเกินกว่า ความจริงและทำให้ผู้บริโภคหลงผิดได้

ขณะที่ รศ.นพ.วิชัย เอกพลากร จากภาควิชาเวชศาสตร์ชุมชน คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล กล่าวว่า รัฐบาลควรจะใช้เงินมากกว่านี้ในการป้องกันโรคแทนที่จะใช้เงินแทบทั้งหมดไปใน การรักษาโรค

โดยเฉพาะสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่รับผิดชอบเรื่องการบริการสุขภาพดีถ้วนหน้าให้คนจำนวน 48 ล้านคนนั้น ไม่ได้ใช้เงินในการป้องกันโรคอย่างเพียงพอโดยใช้เงินในการนี้ เพียงประมาณ 5% ของงบประจำปีเท่านั้น

ด้าน รศ.ดร.สำอาง สืบสมาน ผู้เชี่ยวชาญเรื่องโภชนาการชุมชนจากมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช มองว่า  ประเทศไทยเคยใช้กลไกที่ดีในการสอดส่องหาทุพโภชนาการ แต่เมื่อรูปแบบของการขาดสารอาหารอย่างรุนแรงได้ถูกกำจัดไปแล้ว รัฐบาลก็ลดแนวการป้องกันลง

“นี่อธิบายได้ว่า เมื่อเราเผชิญกับกระแสเรื่องโรคอ้วนในเด็ก เราก็ไม่มีการเตรียมตัวรับมือเลย” สำอางกล่าว

การสำรวจสภาวะสุขภาพอนามัยของประชาชนไทยโดยการตรวจร่างกาย พ.ศ.2551-2552 ที่ได้รับมอบหมายให้ทำขึ้นโดยสถาบันวิจัยระบบสาธารณสุข (สวรส.) พบว่าเด็กจำนวน 540,000 คนหรือ 4.7% ของเด็กไทยอายุระหว่าง 1-14 ปีถูกจัดว่ามีน้ำหนักเกินและเป็นโรคอ้วน โดยมีค่าดัชนีมวลกาย (BMI) ที่ 25 และมากกว่านั้น และในจำนวนเด็กเหล่านี้ 135,000 คนมีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคเบาหวานชนิดที่ 2

“เราจำเป็นต้องพัฒนาภูมิคุ้มกันให้กับคนของเรา มาตรการซึ่งทำทีละชิ้นทีละส่วนนั้นไม่ได้ผล วิธีที่ดีที่สุดคือต้องใช้การแก้ปัญหาโดยใช้ชุมชนเป็นฐาน” รศ.ดร.สำอาง กล่าวและว่า  การจัดการปัญหาน้ำหนักเกินมาตรฐานและโรคอ้วนในเด็กนั้นมีความซับซ้อนมากกว่า สิ่งอื่น เช่น การขาดสารอาหารโปรตีนเพราะว่าบริษัทอาหารและเครื่องดื่มต่างๆ มีเงินทุนจำนวนมหาศาลที่พร้อมจะลงทุนทำการโฆษณาสินค้าของพวกเขา

โอกาสได้ชัยชนะจะมีมากขึ้นโดยการให้คนในชุมชนทำงานร่วมกันกับครอบครัวใน การดูแลเด็กและเยาวชนของพวกเขาเพื่อต่อกรกับการตลาดที่รุกหนักโดยบริษัท อาหารและเครื่องดื่มต่างๆ การส่งเสริมสุขภาพที่ได้ผลนั้นต้องรวมถึงการที่จะให้ความรู้แก่ผู้คนเพื่อ สร้างภูมิคุ้มกันต้านการบริโภคอาหารหรือเครื่องดื่มที่อาจไม่ดีกับสุขภาพของ ผู้คน
 
พอจะสรุปได้ว่า การดูแลสุขภาพของคนไทยยุคใหม่ ต้องรวมทุกภาคส่วน ทั้งรัฐบาล ชุมชน และครอบครัวเพื่อให้ความรู้ด้านสุขภาพอย่างถูกต้อง เพื่อนำไปสู่การบริโภคอย่างถูกวิธี

8 พฤศจิกายน 2553