ผู้เขียน หัวข้อ: องค์กรแพทย์เดินสายแจงร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ  (อ่าน 1277 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
ศูนย์ข่าวเชียงใหม่ - ตัวแทนองค์กรแพทย์เดินสายแจง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ที่เชียงใหม่ หลังยื่นประกบร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ ยันหากร่างของรัฐผ่านอนาคต ปชช.เสียมากกว่าได้ ทั้งหมอไม่กล้าตรวจ-เอาเงินคนส่วนใหญ่ให้คนส่วนน้อย
       
       วันนี้ (3 พ.ย.) องค์กรแพทย์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ คณะแพทยศาสตร์มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ร่วมกับแพทยสภาและชมรมวิชาชีพต่างๆ ได้จัดการประชุมวิชาการและการประชาพิจารณ์ เรื่อง “(ร่าง) พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...” ขึ้น ณ ห้องประชุมชั้น 2 อาคารเรียนรวม คณะแพทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ การประชุมในครั้งนี้จัดขึ้นเพื่อให้บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขได้เข้าร่วมศึกษาปัญหาและผลกระทบ รวมถึงแนวทางการปฏิบัติงาน
       
       ภายหลังจาก “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...” ผ่านการพิจารณาจากคณะรัฐมนตรี และถูกนำเสนอเข้าสู่การพิจารณาของสภาผู้แทนราษฎรแล้ว ท่ามกลางความขัดแย้งของหลายฝ่ายที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับสาระสำคัญและข้อ บังคับใช้ของพรบ.ดังกล่าว โดยฝ่ายที่คัดค้านได้ยื่น “ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...” ต่อรัฐสภา เพื่อให้พิจารณาควบคู่กันกับร่าง พ.ร.บ.ที่รัฐบาลเป็นผู้เสนอ
       
       แพทย์หญิง เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) กล่าวงถึงการจัดประชุมและการประชาพิจารณ์ว่า ที่ผ่านมามีการประชุมเพื่อชี้แจงและทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาระสำคัญของ พ.ร.บ.ไปแล้ว ใน 32 จังหวัด และยังมีโรงพยาบาลอีกหลายแห่งที่ต้องการให้ไปชี้แจง เนื่องจากการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ของรัฐบาลนั้น จะส่งผลกระทบต่อการปฏิบัติหน้าที่ของแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เป็นอย่างมาก
       
       ทั้งนี้ จุดยืนของทางสหพันธ์ และหน่วยงานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง คือ คัดค้านการนำเสนอร่าง พ.ร.บ.ของรัฐบาล เนื่องจากเห็นว่าเป็นการนำเสนอโดยที่ยังไม่มีการพิจารณาให้ถี่ถ้วน และหากมีการบังคับใช้จะส่งผลให้เกิดปัญหาด้านการให้บริการทางการแพทย์ต่อ ประชาชน ทั้งจากกรณีที่แพทย์เกรงจะเกิดความผิดพลาดจากการรักษา จึงต้องมีการตรวจที่มากเกินความจำเป็น หรือการจัดสรรงบประมาณที่จะนำมาชดเชยให้กับผู้ที่ได้รับความเสียหาย ซึ่งจะต้องดึงมาจากงบประมาณในการดูแลรักษาผู้ป่วยของโรงพยาบาล เป็นเหมือนการนำเงินของคนส่วนใหญ่มาให้คนส่วนน้อย
       
       หรือในกรณีของเอกชนก็อาจผลักภาระในส่วนนี้ไปให้กับผู้ป่วยโดยตรง จึงจำเป็นที่จะต้องรวบรวมรายชื่อและเสนอร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ ประกบกับร่างของรัฐบาล เพราะร่างของรัฐบาลนั้นยังมีปัญหาในหลายๆ เรื่อง
       
       ประธาน สผพท.กล่าวต่อไปว่า กรณีนี้ยังมีความไม่ชอบมาพากลอีกหลายอย่าง ทั้งจากการเสนอความเห็นของคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ ในระบบบริการสาธารณสุขต่อประธานวิปรัฐบาล ซึ่งสรุปว่า มีหน่วยงานด้านสาธารณสุขเห็นด้วยในหลักการกับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ มากกว่าหน่วยงานที่ไม่เห็นด้วย ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้ว พบว่า หลายหน่วยงานไม่ได้เข้าร่วมประชุม หรือเข้าร่วมประชุมโดยที่ตัวแทนแสดงความคิดเห็น ซึ่งไม่ใช่มติของหน่วยงาน รวมไปถึงบทบาทของผู้ทรงคุณวุฒิด้านการแพทย์และสาธารณสุขหลายท่านที่สนับสนุน ร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่ในขณะเดียวกันก็มีแนวโน้มที่จะมีส่วนได้ส่วนเสียจากเรื่องดังกล่าวด้วย
       
       ศาสตราจารย์นายแพทย์ ไพฑูรย์ ณรงค์ชัย ประธานองค์กรแพทย์ โรงพยาบาลมหาราชนครเชียงใหม่ กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์และสาธารณสุขไม่ได้คัดค้านแนวคิดของร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว แต่อยากจะให้มีการพิจารณาให้รอบด้านก่อน เพราะผลเสียที่จะเกิดขึ้นในระยะยาวจะส่งผลกระทบกับประชาชน เช่นเดียวกับบุคลากรทางการแพทย์ ที่จะเกิดความไม่มั่นใจและเสียกำลังใจในการให้บริการ เพราะเกรงว่าจะมีความผิดพลาดในการรักษา
       
       ศ.นพ.ไพฑูรย์ กล่าวต่อไปว่า ในแง่กฎหมายแล้วสามารถนำพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 โดยเฉพาะมาตรา 41 ที่เกี่ยวกับการจ่ายชดเชยเบื้องต้นมาปรับใช้ได้ ส่วนการพิจารณาความผิดนั้น หากแพทย์รักษาผิดพลาดก็ต้องว่ากันไปตามความผิด แต่การเยียวยาทั้งที่ยังไม่รู้ว่ามีความผิดจริงหรือไม่ ในอนาคตจะทำให้แพทย์วิตกกังวลและไม่อยากเสี่ยงในการรักษา หรือต้องพึ่งพาเทคโนโลยีมากเกินไป ขณะที่โรงพยาบาลที่อยู่ห่างไกล แพทย์ก็อาจจะจะไม่กล้ารับผิดชอบผู้ป่วย และเลือกที่จะส่งผู้ป่วยให้โรงพยาบาลใหญ่ที่มีความพร้อมมากกว่าแทน


ASTVผู้จัดการออนไลน์    3 พฤศจิกายน 2553