ผู้เขียน หัวข้อ: "อัมมาร"ด่าเปิง"เมดิคัลฮับ" ไอเดียเลวที่สุด ทำระบบสาธารณสุขไทยป่วน  (อ่าน 1350 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
"ดร.อัมมาร" ด่า "เมดิคัลฮับ" เป็นนโยบาลที่เลวที่สุดของรัฐบาลที่คิดได้ ดูดหมอจาก รพ.รัฐไปเอกชน ทำระบบสาธารณสุขป่วน ค่าตัวหมอไต่เพดานไม่หยุด แนะเก็บภาษีคนไข้ต่างชาติแทน เพราะไทยไม่จำเป็นต้องต้อนรับ "อาคันตุกะขี้โรค" ด้วยวิธีนี้ ชี้แม้แต่ "ศิริราช" ยังต้องเน้นสร้างรายได้เพื่อให้หมออยู่ใน ระบบนานๆ
     ดร.อัมมาร สยามวาลา นักวิชาการเกียรติคุณ สถาบันวิจัยเพื่อการพัฒนาประเทศไทย (TDRI) กล่าวถึงกรณีที่กระทรวงสาธารณสุขเตรียมผลักดันร่างแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาให้ ประเทศไทยเป็นศูนย์กลางสุขภาพนานาชาติ หรือ เมดิคัลฮับ (Medical Hub) พ.ศ.2553-2557 ว่านโยบายเมดิคัลฮับเป็นนโยบายที่เลวที่สุดเท่าที่รัฐบาลคิดออกมา เพราะเป็น นโยบายที่ดึงดูดทรัพยากรด้านการรักษาพยาบาลของประเทศไปให้ชาวต่างชาติ ทั้งที่ปัจจุบันทั้งคนไทยรวมถึงคนชายขอบที่อยู่ในไทยกำลังขาดแคลนการรักษาพยาบาลอย่างแรง ซ้ำคนไข้ต่างชาติที่เข้ามาใช้บริการยังบิดค่าตัวของหมอเพิ่มขึ้น และกระทรวงสาธารณสุขเองในที่สุดจะพบว่าเงินค่าตอบแทนที่เพิ่มให้หมอไปนั้นไม่เพียงพอ แล้ว และต้องไล่ตามเพิ่มค่าตอบแทนไปเรื่อยๆ และในที่สุดระบบก็เป๋ เกิดความเสียหาย ดังนั้นจึงอยากถามกระทรวงสาธารณสุขพร้อมที่จะแข่งขันแบบนี้แล้วเหรอ
     ดร.อัมมารกล่าวว่า ขอยืนยันความคิดเดิมว่านโยบายเมดิคัลฮับ รัฐบาลควรที่จะหยุดหรือถอยหลังกลับไปเพราะเป็นนโยบายที่เดินมาผิดตั้งแต่ต้น แล้ว ส่วนที่ทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) กระทรวงสาธารณสุข เตรียมที่จะเปิดประชาพิจารณ์ร่างแผนยุทธศาสตร์นั้น จะมี ใครเข้าร่วมก็ได้ แต่ต้องมีฝ่ายของผู้ป่วยเข้าร่วมด้วย ไม่ใช่มีแต่เฉพาะเจ้าของโรงพยาบาลที่จะได้ประโยชน์การนโยบายเท่านั้น อีก ทั้งหากรัฐบาลยังต้องการเดินหน้าต้อนรับผู้ป่วยต่างชาติ ตนขอเสนอให้เก็บภาษีกับผู้ป่วยต่างชาติเหล่านี้เพื่อที่จะนำมาผลิตบุคลากร ทางการแพทย์ให้มากขึ้น แต่ทั้งนี้ตนก็ยังคัดค้านและเห็นว่าไม่ควรมีนโยบายเพื่อต้อนรับอาคันตุกะขี้ โรคเหล่านี้
     "วันนี้ผมอยากถามว่าขณะนี้คนไข้ไทยได้เวลาของหมอในโรงพยาบาลรัฐแค่ไหน คุณไป รอกี่ชั่วโมง และได้เจอหมอกี่นาที แต่ผมขอใช้คำว่ากี่วินาทีดีกว่า และแม้ว่ารัฐบาลจะสนับสนุนงบประมาณเพื่อผลิตหมอให้เพียงพอ แต่ผมก็ยังมองว่านโยบายนี้ก็ยังเลวอยู่ดี เพราะคนไทยต้องไม่ได้รักษากับแค่ หมอจบใหม่เท่านั้น แต่เราต้องการหมอที่เชี่ยวชาญในการรักษาที่ถูกดึงออกจากระบบด้วย" ดร.อัมมารกล่าว และว่า ทั้งนี้แม้ว่านโยบายนี้ได้เดินหน้าไปแล้ว แต่ก็ไม่ใช่นโยบายตายตัว ยังเปลี่ยนใจได้ เพราะวันนี้แม้แต่โรงพยาบาลศิริ ราชเองยังต้องมุ่งสู่การสร้างรายได้ให้กับหมอ เพื่อให้หมออยู่ในระบบได้ เลยบ้ากันใหญ่แล้ว ดังนั้นจะเห็นได้ว่านโยบายนี้ส่งผลต่อระบบรักษาพยาบาล.

ไทยโพสต์ 30 ตุลาคม 2553