ผู้เขียน หัวข้อ: มหิดลร่วมเอกชน-พัฒนาวัคซีนเข็มเดียวป้องกันโรคจากยุง เน้นไข้เลือดออก 4 สายพันธุ์  (อ่าน 954 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
วันที่ 28 พ.ย. ที่สำนักงานอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล ศาลายา นพ.รัชตะ รัชตะนาวิน อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหิดล และนายวิฑูรย์ วงศ์หาญกุล กรรมการผู้จัดการบริษัท ไบโอเนท-เอเชีย จำกัด ร่วมลงนามความร่วมมือการพัฒนาและผลิตวัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะ

โดย นพ.รัชตะ กล่าวว่า ปัจจุบันนักวิจัยของมหาวิทยาลัยมหิดล สามารถพัฒนาผลิตวัคซีนป้องกันโรคจากเชื้อไวรัสที่มียุงเป็นพาหะได้ แต่เป็นการผลิตวัคซีนในระดับห้องทดลอง ยังไม่สามารถผลิตเชิงอุตสาหกรรมได้ จึงต้องมีความร่วมมือดังกล่าว เพื่อให้ผลงานวิจัยนำไปสู่การใช้ได้จริง โดยความร่วมมือครั้งนี้เป็นความร่วมมือ ของระหว่างนักวิจัยมหิดล สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ(สวทช.) มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ และบริษัท ไบโอเนทฯ เพื่อมุ่งไปที่การผลิตวัคซีนป้องกันโรคที่มียุงเป็นพาหะ คือ ไข้เลือดออก และไข้สมองอักเสบ โดยเฉพาะไข้เลือดออกจัดเป็นโรคที่ไทยพบทุกปี ซึ่งยังไม่มีวัคซีนป้องกัน

ศ.นพ.ประเสริฐ เอื้อวรากุล ผู้อำนวยการสถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล มหิดล กล่าวว่า วัคซีนไข้เลือดออกนั้น จะเป็นวัคซีน 4 สายพันธุ์ในเข็มเดียว คือ เด็งกี่ 1 เด็งกี่ 2 เด็งกี่ 3 เด็งกี่ 4 โดยพัฒนามาจากไวรัสลูกผสม เรียกว่าเป็นชนิดเชื้อเป็นอ่อนฤทธิ์ที่ไม่ก่อโรค นำมาตัดต่อสารพันธุกรรม ขณะนี้ทดลองในลิง คาดว่าในเดือนธันวาคมน่าจะทราบผล ก่อนจะขยายการทดลองในมนุษย์ต่อไป ส่วนวัคซีนไข้สมองอักเสบชนิด Japanese Encephalitis มหิดลอยู่ระหว่างพัฒนาตัวเชื้อกล้า ซึ่งเป็นเชื้อเริ่มต้นในการพัฒนาและผลิตวัคซีนต่อไป

นพ.สุธี ยกส้าน หัวหน้าศูนย์วิจัยและพัฒนาวัคซีน สถาบันชีววิทยาศาสตร์โมเลกุล กล่าวว่า โรคไข้เลือดออกไม่ได้แสดงอาการทุกคน โดยจะพบ 1ใน3 อีก 2 รายจะไม่แสดงอาการ ซึ่งขึ้นอยู่กับร่างกายคน ที่สำคัญยังพบในผู้ใหญ่ แต่มักคิดว่าไม่ใช่โรคนี้ จึงไม่สนใจจนอาการหนัก อย่างไรก็ตาม ในแต่ละปีจะพบผู้รับเชื้อปีละ 150,000-300,000 ราย เสียชีวิตประมาณ 2 รายต่อ1,000 ราย โดยค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพตกคนละ 150-250 ดอลลาร์สหรัฐ

" อาการของไข้เลือดออก ไม่จำเพาะอาการมีได้หลายอย่าง ในเด็กอาจจะมีเพียงอาการไข้และผื่น ในผู้ใหญ่ที่เป็น ไข้เลือดออก อาจจะมีไข้สูง ปวดศีรษะ ปวดตามตัว ปวดกล้ามเนื้อ หากไม่คิดว่าเป็น โรค ไข้เลือดออก อาจจะทำให้การรักษาช้า ผู้ป่วยอาจจะเสียชีวิต" นพ.สุธี กล่าว