ผู้เขียน หัวข้อ: หมอจี้สภาผ่านพ.ร.บ.กู้เงินเดินหน้า SP2 สุดทนคนไข้ล้นนอนทางเดิน  (อ่าน 2521 ครั้ง)

ji

  • Staff
  • Newbie
  • ****
  • กระทู้: 21
    • ดูรายละเอียด
หมอจี้สภาผ่านพ.ร.บ.กู้เงินเดินหน้า SP2 สุดทนคนไข้ล้นนอนทางเดิน
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์  15 กุมภาพันธ์ 2553 10:07 น.
 
 ผอ.รพ.สรรพสิทธิประสงค์ วอนสภาเร่งผ่านพ.ร.บ.กู้เงิน จัดสรรงบไทยเข้มแข็งให้รพศ./รพท. เหตุไร้งบฯสร้างตึกผู้ป่วยมานานนับ 10 ปี ส่งผลผู้ป่วยล้นโรงพยาบาล อนาจต้องนอนระเบียงทางเดิน-หน้าห้องน้ำ อัตราการส่งต่อเพิ่ม 300 % ขณะที่แพทยชนบทจี้ “จุรินทร์” สั่งการเดินหน้าพ.ร.ก.กู้เงิน หลังทบทวนได้ข้อสรุปชัดเจน ด้านคณะกรรมการสอบสวนวินัย ประชุมนัดแรก ขอเวลาพิจารณา รอเอกสาร 4 พันหน้า ดูรอบคอบ
   
  นพ.มนัส กนกศิลป์ ผู้อำนวยการโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ จ.อุบลราชธานี กล่าวว่า ขอให้สภาผู้แทนราษฎรเร่งพิจารณาและผ่านร่างพ.ร.บ.ให้อำนาจกระทรวงการคลังกู้  เงินเพื่อฟื้นฟูเศรษฐกิจพ.ศ... วงเงิน 4 แสนล้านบาท ซึ่งกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) น่าจะได้รับการจัดสรรงบประมาณราว 75,000 ล้านบาท และในจำนวนนี้ประมาณ 20,796 ล้านบาท จะจัดสรรให้กับโรงพยาบาลระดับตติยภูมิ 115 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลศูนย์(รพศ.)และโรงพยาบาลทั่วไป(รพท.)ทั่วประเทศ 94 แห่ง และโรงพยาบาลสังกัดกรมการแพทย์ 21 แห่ง เพื่อใช้ในการพัฒนาปรับปรุงอาคารสถานที่และจัดซื้ออุปกรณ์ทางการแพทย์
   
  นพ.มนัส กล่าวต่อว่า ปัจจุบันรพศ./รพท.ต้องแบกรับภาระผู้ป่วยจำนวนมาก โดยเฉพาะผู้ป่วยในระยะช่วง 6 ปีที่ผ่านมานับตั้งแต่มีพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 รพศ./รพท.รับการส่งต่อผู้ป่วยจากโรงพยาบาลชุมชน(รพช.)เพิ่มขึ้นจากเดิมถึง 300 % โดยเป็นผ่าคลอดเพิ่มขึ้น 260 % และผ่าไส้ติ่งสูงขึ้น 160 % ซึ่งสภาพเช่นนี้เกิดขึ้นเหมือนกันในรพศ./รพท.ทั้ง 94 แห่งทั่วประเทศ ส่งผลให้อัตราการครองเตียงในโรงพยาบาลไม่เพียงแต่เต็มแต่ประสบกับปัญหาเตียง  ล้น
   
  นพ.มนัส กล่าวอีกว่า ในส่วนของโรงพยาบาลสรรพสิทธิประสงค์ ตึกที่มีอยู่มีอายุการใช้งานมานาน 30-40 ปี ปริมาณงานหอผู้ป่วยอายุรกรรม ปีงบประมาณ 2552 มีจำนวนผู้ป่วยเฉลี่ย 271 รายต่อวัน ขณะที่มีจำนวนเตียงเพียง 209 เตียง ผู้ป่วยที่เหลือไม่มีเตียง การส่งต่อจากโรงพยาบาลต่างๆเพิ่มขึ้นเกือบ 2 เท่า จากผู้ป่วย 36,784 รายในปี 2546 เป็น 59,074 รายในปี 2552 การส่งผู้ป่วยไส้ติ่งอักเสบเพิ่มขึ้น 3.2 เท่า ผู้ป่วยผ่าคลอดเพิ่ม 2 เท่าทั้งที่เป็นความสามารถที่โรงพยาบาลชุมชนสามารถดำเนินการได้ ดังนั้น หากโรงพยาบาลได้รับการจัดสรรงบฯไทยเข้มแข็งจำนวนประมาณ 1 พันล้านบาท จะใช้ในการก่อสร้างอาคารผู้ป่วยในที่มีเตียง 1,200 -1,500 เตียง เพิ่มจากปัจจุบันที่มี 1,062 เตียงถึงกว่า 100 เตียง รวมถึงใช้ในการสร้างที่พักเจ้าหน้าที่ด้วย
   
  “รัฐบาล มาถูกทางที่จะจัดสรรงบฯให้รพศ./รพท.เพราะโรงพยาบาลเหล่านี้ไม่มีการก่อสร้าง  อาคารผู้ป่วยมานานกว่า 10 ปีแล้ว ขณะที่มีจำนวนผู้ป่วยในเป็นจำนวนมากทุกโรงพยาบาลโป่งหมด ผู้ป่วยต้องนอนตามริมระเบียงทางเดิน หน้าลิฟต์ หน้าห้องน้ำ เพราะประชาชนเขาศรัทธาต่อโรงพยาบาลแม้ต้องมาเจอสภาพเช่นนี้ก็ขอเข้ามารักษา เพื่อให้มีหวังในการมีชีวิตรอด ถ้าสภาเร่งผ่านร่างพ.ร.บ.นี้และรัฐบาลเร่งจัดสรรงบประมาณ เชื่อมั่นว่าประชาชนที่เป็นคนยากไร้จะได้ประโยชน์อย่างแท้จริง เปลี่ยนจากนรกบนดินเป็นสวรรค์คนจนทันที” นพ.มนัสกล่าว
   
  ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ผู้อำนวยการโรงพาบาลชุมแพ จ.ขอนแก่น ในฐานะประธานชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงความคืบหน้าการพิจารณาของคณะกรรมการทบทวนความเหมาะสมและแก้ไขปัญหา โครงการไทยเข้มแข็งของกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) ที่มี นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด สธ. เป็นประธาน ว่า ขณะนี้ คณะกรรมการฯ ได้พิจารณารายละเอียดทั้งรายการครุภัณฑ์ และสิ่งก่อสร้างโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของ พ.ร.ก. วงเงิน 11,500 ล้านบาทเสร็จเรียบร้อยแล้ว โดยมีบางรายการที่ยกเลิก บางรายการปรับลดราคา บางรายการเพิ่มเติมเข้ามา ซึ่งจากการพิจารณาทำให้ลดงบประมาณลงได้ร้อยละ 20 หรือประมาณ 1,500 ล้านบาท แต่เนื่องจากขณะนี้ยังไม่มีการเดินหน้าโครงการ ทำให้ทุกอย่างหยุดชะงัก ยิ่งช้าก็ยิ่งด้อยโอกาสในการพัฒนา
   
  "อยาก ฝากนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรี สธ. ให้สั่งการเดินหน้าโครงการไทยเข้มแข็งในส่วนของ พ.ร.ก. เนื่องจากรายละเอียดรายการต่างๆ ของ พ.ร.ก. จะเป็นแบบอย่างให้ พ.ร.บ.วงเงินกว่า 60,000 ล้านบาทที่กำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของสภา ซึ่งหากรมว.สธ.คลายเรื่องนี้โดยเร็วได้จะเป็นผลงานที่ดี แต่หากจะเดินหน้าโครงการก็ต่อเมื่อได้ข้อสรุปของคณะกรรมการสอบสวนวินัยข้า ราชการชุดเลขาธิการ ก.พ. เป็นประธาน ถือว่าคนละส่วน ไม่ได้เกี่ยวข้องกัน เดินหน้าได้ทันที” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว
   
  ด้าน นางเบญจวรรณ สร่างนิทร เลขาธิการ ก.พ. ในฐานะประธานคณะกรรมการสอบสวนวินัยฯ กล่าวว่า ขณะนี้ได้รับเอกสารข้อมูลจาก สธ.เพียงบางส่วนเท่านั้น ซึ่งได้มีการประชุมครั้งแรกไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา แต่เป็นเพียงวางกรอบนโยบายกว้างๆ เท่านั้น ต้องรอข้อมูลที่ครบถ้วนก่อน ซึ่งไม่สามารถกำหนดระยะเวลาได้ว่าจะแล้วเสร็จเมื่อไหร่ เนื่องจากเอกสารมีกว่า 4,000 หน้า ต้องใช้เวลาในการพิจารณา