ผู้เขียน หัวข้อ: "สหพันธ์บุคลากรทางการแพทย์" เรียกร้องถอน กม.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ปู่ชัยชี้แทรกแซง  (อ่าน 1543 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
สหพันธ์ บุคลากรทางการแพทย์ จี้ประธานสภาถอนกฎหมายคุ้มครองผู้เสียหายจากการปฏิบัติการทางการแพทย์ " ชัย" ชี้แทรกแซงกระบวนการรัฐสภาไม่ได้ แนะเสนอร่างกฎหมายประกบ

 

ผู้ สื่อข่าวรายงานจากรัฐสภา เมื่อเวลา  09.00 น. พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) เข้าพบนายชัย ชิดชอบ ประธานสภาผู้แทนราษฏร เพื่อยื่นหนังสือคัดค้านการเสนอร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับ บริการสาธารณสุข พ.ศ... โดยนำรายชื่อบุคลากรทางการแพทย์จำนวน 101,215 คน ที่ได้เข้าชื่อคัดค้านมามอบกับนายชัยด้วย โดย พญ.เชิดชู กล่าวว่า ขอให้ประธานสภาพิจารณาถอนร่างกฎหมายดังกล่าวออกไปทบทวน โดยขอให้มีการทำประชาพิจารณ์ร่างกฎหมายอย่างกว้างขวางก่อนเพื่อปรับปรุงร่าง กฎหมายให้เหมาะสมก่อนเข้าสู่กระบวนการของรัฐสภา ผู้ร้องเพิ่งทราบว่าร่างกฎหมายกำลังเข้าสู่กระบวนการพิจารณาทำให้เกิดความ ไม่สบายใจของบุคคลากรทางการแพทย์และผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยในจังหวัดร้อยเอ็ดที่แสดงความจำนงค์ที่จะม่ยอมให้มีการส่ง ตัวไปรักษาต่อที่โรงพยาบาลอื่นเนื่องจากไม่สามารถรับค่าใช้จ่ายในการบริการ ทางการแพทย์ได้ หากกฎหมายฉบันนี้ผ่านความเห็นชอบจะทำให้เกิดความเดือดร้อนกับผู้ป่วยยากไร้ อย่างแน่นอน

 

"เรา ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายเพราะเห็นว่ามันไม่เหมาะสม ข้อเรียกร้องคือขอให้ถอนร่างออกจากวาระการประชุม หรือชะลอ เพื่อประชาพิจารณ์ แล้วตั้งกรรมการตรวจสอบ ไม่ใช่รวบหัวรวบหางแล้วอ้างประชาชนเรียกร้อง เพราะประชาชนที่อ้างไม่ใช่ประชาชนทั้งหมดจริงๆ จากการประชาพิจารณ์ของเราเอง 25 จังหวัด ไม่เห็นด้วยกับร่างกฎหมายของรัฐบาล " พญ.เชิดชู กล่าว

 

ด้าน นายชัย กล่าวว่า เพื่อให้ถูกขั้นตอน สหพันธ์มีเอกสารร้องขอให้ชะลอร่างหรือไม่ เพราะเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเพิ่งเกิด ซึ่งเมื่อมาแสดงความจำนงพบตน ตนก็ให้พบ ยืนยันว่า ไม่ได้นิ่งนอนใจ ซึ่งร่างกฎหมายฉบับนี้ได้บรรจุเข้าสู่ระเบียบวาระแล้วทั้งหมด 7 ฉบับ  ร่างของรัฐบาลนั้นบรรจุไว้นานแล้ว เมื่อกฎหมายส่งมาถูกต้องตามขั้นตอนตนต้องบรรจุระเบียบวาระ โดยคาดว่ากฎหมายจะเข้าสู่การพิจารณาในวันที่ 20 ตุลาคม ผู้มาร้องวันนี้จะทำอะไรทัน ตนเป็นคนกลางเมื่อรัฐบาลเสนอมาสภาฯต้องทำตามกระบวนการ ขอแนะนำให้ผู้ร้องไปพบนายวิทยา บุรณศิริ ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคฝ่ายค้าน(วิปฝ่ายค้าน)และนายวิทยา แก้วภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล(วิปรัฐบาล)เพื่อแสดงเหตุผล ให้ถอนร่างออก หรือแจ้งกับคนที่มีอำนาจมากที่สุดคือนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ให้อภิปรายในสภาแสดงเหตุผลขอให้ชะลอการพิจารณาไปก่อนนั้นสามารถทำได้

 

"การ เอารายชื่อมาให้ผมถึงจะเป็นแสนก็ไม่มีประโยชน์ เพราะเป็นชื่อคัดค้านไม่ใช่ชื่อเสนอกฎหมาย หากเสนอร่างของประชาชนเข้ามาผู้ร้องจะมีสิทธิเป็นกรรมาธิการร่วมพิจารณา กฎหมายได้ การมายื่นรายชื่อยับยั้งแบบนี้ผมทำอะไรไม่ได้ เรื่องอยู่ในสภาแล้ว ขึ้นอยู่กับเสียงข้างมากในสภา จะให้ผมรอกฎหมายของท่านมาก่อนแล้วค่อยพิจารณา ผมคงรอไม่ได้ เพราะถ้ากระบวนการพิจารณามันถึงก็ต้องเอามาพิจารณา ตนไม่มีสิทธิทักท้วง" นายชัย กล่าว

 

จาก นั้น พญ.เชิดชู กล่าวว่า บุคลากรทางการแพทย์สูญเสียความมั่นใจในการทำงาน เพราะกฎหมายฉบับนี้พิกลพิการ ถ้ากฎหมายนี้ออก แพทย์อาจจะเลือกรักษาประชาชนที่แพทย์เห็นว่าปลอดภัย ประชาชนตาดำๆ ก็จะเดือดร้อน บุคลากรทางการแพทย์ก็มีทางเลือก ถ้าคนไข้จะตายมิตายแหล่มาถึงแพทย์ คงต้องส่งให้ไปตายที่อื่น ซึ่งไม่ได้ใจร้าย

 

ผู้ สื่อข่าวรายงานว่า เมื่อพ.ญ.เชิดชู กล่าวถึงตอนนี้ทำให้นายชัย กลาวตัดบทว่า “คุณหมอต้องใจเย็น คุณหมอมีจรรยาบรรณ เราต้องพูดด้วยหลักการกฎหมาย เราต้องดูเรื่องกฎหมาย ไม่ขู่ไม่อะไรใคร กฎหมายจะออกแบบไหน เราไม่มีสิทธจะมาบอกว่าเดี๋ยวจะไม่รักษา หรือจะตรวจแค่อย่างนั้นอย่างนี้ ผมไม่เห็นด้วย ผมเห็นแล้วทุเรศเพราะผมเป็นประชาชน เราต้องเอาความเป็นจริงมาพูด เอาหลักการเหตุผลมาพูดไม่ใช่เอาอารมณ์มาพูด ผมตามเรื่องนี้มาตลอด คณะผู้ร้องไปออกโทรทัศน์ผมก็ตามดู เมื่อมีความเห็นต่างกันก็ต้องมีคนกลางวินิจฉัย ต้องเป็นผู้ใหญ่ มีเหตุมีผล มันมีวิธ๊แก้ไขปัญหาได้ ผมให้เกียรติ”

ผู้สื่อข่าวรายงาน หลังจากนายชัยตัดบทได้เปิดโอกาสให้คณะผู้มาร้องพูดแสดงเหตุผล โดยนายชัยได้สรุปยืนยันว่ากระบวนการของกฎหมายดำเนินมาอย่างถูกต้องแล้วไม่สามารถทำอะไรได้ หากจะยับยั้งหรือชะลอ คงต้องขอจากผู้มีสิทธิ์ที่จะถอน แต่หากกฎหมายเข้าสู่การพิจารณาแล้วให้มีตัวแทนของฝ่ายที่ไม่เห็นด้วยมาเป็น กรรมาธิการเพื่อพิจารณาปรับปรุงให้เกิดประโยชน์ เรื่องนี้มีทางออกไม่ใช่ไม่มีทางออก

(มติชน)