ผู้เขียน หัวข้อ: ปลัดสธ. เผยได้ข้อสรุปการประชุมร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯครบทั้ง 12 ประเด็น  (อ่าน 1795 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
ปลัดสธ. เผยได้ข้อสรุปการประชุมร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯครบทั้ง 12 ประเด็นแล้ว จะนำเสนอ รมต.จุรินทร์ วันที่ 18 ต.ค.นี้ 


ปลัด กระทรวงสาธารณสุข เผยได้ผลสรุปการหารือคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณส ุข ในร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ...........ครบ 12 ประเด็นตามที่หน่วยงานเกี่ยวข้องเสนอ อาทิ การเปลี่ยนชื่อร่างพรบ. ในเบื้องต้นขอเปลี่ยนเป็น ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายและผู้ให้บริการที่ได้รับผลกระทบจากการ รับบริการสาธารณสุข และเสนอไม่ให้ฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญาหลังจากที่ได้รับเงินชดเชยแล้ว แก้ไขคำนิยามผู้เสียหายให้ครอบคลุมถึงผู้ให้บริการด้วย โดยจะเสนอรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขในวันจันทร์ที่ 18 ตุลาคมนี้ 

วันนี้(15 ตุลาคม 2553) นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข ให้สัมภาษณ์ภายหลังประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธ ารณสุข เกี่ยวกับความเห็นและข้อเสนอแนะต่อร่างพรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริก ารสาธารณสุขพ.ศ....ที่ห้องประชุมสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ซึ่งเริ่มประชุมตั้งแต่เวลา 09.30 น. ต่อเนื่องจนถึงเวลา 16.00 น. ว่า การประชุมในวันนี้เป็นครั้งสุดท้าย ผู้เข้าร่วมประชุม ประกอบด้วย ผู้ประกอบวิชาชีพ คณะแพทยศาสตร์ต่างๆจากศิริราชพยาบาล โรงพยาบาลรามาธิบดี วชิรพยาบาล สมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์ โรงพยาบาลทั่วไป สภาวิชาชีพเภสัชกรรม สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ สภากายภาพบำบัด ผู้แทนแพทย์กรมแพทย์ทหารอากาศ ผู้แทนสมาคมโรงพยาบาลเอกชน และภาคประชาชนรวมกว่า 10 เครือข่าย โดยกลุ่มผู้แทนกระทรวงสาธารณสุข มีนายแพทย์สุพรรณ ศรีธรรมมา ผู้ตรวจราชการกระทรวงสาธารณสุข นายแพทย์วิศิษฎ์ ตั้งนภากร รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ นายแพทย์ธเรศ กรัษนัยรวิวงศ์ ผู้อำนวยการสำนักสถานพยาบาลและการประกอบโรคศิลปะ 

นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวว่า บรรยากาศการประชุมวันนี้ เป็นไปอย่างสมานฉันท์ ได้ข้อสรุปประเด็นที่ยังเห็นไม่ตรงกันและข้อเสนอแนะจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้อ งต่างๆเกี่ยวกับร่างพระราชบัญญัติฯ ซึ่งมีทั้งหมด 12 ประเด็น และได้ข้อสรุปแล้ว 5 ประเด็น ในการประชุมเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม ดังนี้

ประเด็นที่ 1. เรื่องชื่อร่างพระราชบัญญัติ ที่ประชุมเสนอให้แก้ไขชื่อเป็น ร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองผู้เสียหายและผู้ให้บริการที่ได้รับผลกระทบจากการ รับบริการสาธารณสุข

ประเด็นที่ 2. เรื่องของหลักการ แก้ไขเป็น ให้มีกฎหมายว่าด้วยการคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุข

ประเด็นที่ 3. เรื่องของคำนิยาม ได้เพิ่มคำนิยามผู้เสียหาย นอกจากผู้ป่วยแล้ว ให้ครอบคลุมถึงผู้ให้บริการด้วย

ประเด็นที่ 4. การคุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข เสนอให้แก้ไขมาตรา 6 โดยตัดคำว่ามาตรฐานวิชาชีพออก เพื่อให้เกิดการเดินหน้าในการดูแลผู้ป่วยได้ เนื่องจากต้องยอมรับว่า โรงพยาบาลมีทั้งอยู่ในพื้นที่ห่างไกล และอยู่ในตัวเมือง มาตรฐานอาจทำให้บริการมีปัญหาได้ 

ประเด็นที่ 5. เรื่องคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ ได้ขอให้ใช้องค์ประกอบคณะกรรมการในมาตรา 7 (2) ให้เพิ่มปลัดกระทรวงศึกษาธิการ คือผู้แทนของคณะแพทย์ศาสตร์ต่างๆ และปลัดกระทรวงกลาโหม คือผู้แทนกรมแพทย์ทหาร เพิ่มจากคณะเดิมที่มีปลัดกระทรวงสาธารณสุข ปลัดกระทรวงการคลัง ปลัดกระทรวงพัฒนาสังคมและความมั่นคงมนุษย์ อธิบดีกรมคุมครองสิทธิ์และเสรีภาพ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค และผู้อำนวยการสำนักงบประมาณ และที่ประชุมได้มีการตกลงความเข้าใจระหว่างประชาชนกับผู้ประกอบวิชาชีพ โดยขอให้เพิ่มคณะกรรมการในมาตรา 7 (3) โดยให้เพิ่มผู้แทนผู้ประกอบวิชาชีพอีก 4 คน และผู้แทนสถานพยาบาลอีก 2 คน และในมาตรา 7 (4) ให้มีผู้แทนองค์กรพัฒนาเอกชน ที่ทำงานด้านคุ้มครองสิทธิผู้บริโภคด้านบริการสาธารณสุขจำนวน 6 คน และให้มีผู้ทรงคุณวุฒิที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขแต่งตั้งจากผู้ที่ม ีความเชี่ยวชาญด้านการแพทย์และสาธารณสุขและด้านสังคมศาสตร์เพิ่มอีกด้านละ 3 คน 

นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า การประชุมหารือวันนี้ ได้เพิ่มข้อสรุปประเด็นที่เหลืออีก 7 ประเด็นคือ

ประเด็นที่ 6. เรื่องที่ตั้งของสำนักงานเลขานุการ ให้คงอยู่ที่เดิมคือที่กรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กระทรวงสาธารณสุข ประเด็นที่ 7. เรื่องกองทุนสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบริการสาธารณสุข ได้ข้อตกลงว่า จะขอให้มีการจ่ายเงินสมทบกองทุนเท่าเทียมกันและเป็นธรรม ระหว่างกองทุนสปสช. กองทุนสวัสดิการข้าราชการ กองทุนประกันสังคม สำหรับโรงพยาบาลเอกชนจะจ่ายเงินสมทบในอัตราใกล้เคียงทั้ง 3 กองทุน ส่วนคลินิกเอกชนให้มีบทเฉพาะกาลเบื้องต้นเพื่อให้มีการปรับตัวก่อน และหากเข้าร่วมโครงการในเบื้องต้นจะขอให้จ่ายเป็นค่าธรรมเนียมประจำปีแทน ส่วนอัตราการจ่ายนั้นคณะกรรมการจะเป็นผู้กำหนด 

ประเด็นที่ 8. เรื่องการพิจารณาจ่ายเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชย ได้ข้อสรุปว่า การพิจารณาจ่ายเงินจะไปร่วมกับประเด็นที่ 9 คือ จะให้มีการจ่ายเงินเบื้องต้น หลังจากนั้นจะมีคณะอนุกรรมการพิจารณาเงินชดเชยทั้ง 3 ฝ่าย โดยคณะอนุกรรมการจะมีสัดส่วนเท่ากัน ทั้งฝ่ายผู้ประกอบวิชาชีพ ฝ่ายองค์กรพัฒนาเอกชน และผู้แทนผู้ป่วย ส่วนเรื่องการจ่ายเงินชดเชย จะมีผู้ทรงคุณวุฒิทางด้านนิติศาสตร์เข้ามาดูด้านกฎหมาย เช่นเดียวกับมาตรา 41 ของพระราชบัญญัติหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า 

ประเด็นที่ 9. เรื่องการฟ้องคดีอาญาและบทกำหนดโทษ ได้เห็นชอบร่วมกันในการมีมาตราดังกล่าว และหากได้รับเงินชดเชยแล้ว ขอให้ยุติการดำเนินคดี แต่อย่างไรก็ตามเพื่อให้เกิดความสบายใจทั้ง 2 ฝ่ายในสัญญาประนีประนอม จะมีการกำหนดหลังจากรับเงินช่วยเหลือแล้ว ขอไม่ให้มีการฟ้องร้องทางแพ่งและอาญาอีก 

ประเด็นที่ 10. เรื่องการแต่งตั้งกรรมการในบทเฉพาะกาล ให้ตัดสิ่งที่เป็นกังวลออกไป โดยให้มีเฉพาะกรรมการในตำแหน่งซึ่งมี 8-9 ท่าน ตามที่กำหนดในพ.ร.บ. โดยให้ใช้กรรมการชุดนี้ได้เลยไม่ต้องแต่งตั้งใหม่ ประเด็นที่ 11. เรื่องการไกล่เกลี่ยและการสร้างเสริมความสัมพันธ์ระหว่างผู้ให้บริการกับผู้ รับบริการ ซึ่งมีในโรงพยาบาลทุกแห่งอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องมีมาตราในพ.ร.บ.ฉบับนี้ และประเด็นที่ 12. เรื่องการพัฒนาระบบความปลอดภัยและป้องกันความเสียหายแก่ผู้รับบริการ ได้ขอให้มีการกำหนด การรายงาน และมีการแจ้งไปยังหน่วยงานที่รับผิดชอบ เช่น โรงพยาบาลในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ให้ทำแผนการพัฒนาความปลอดภัยและป้องกันความเสียหาย เพื่อให้ได้ประโยชน์ต่อคนไข้ 

นายแพทย์ไพจิตร์ กล่าวต่อไปว่า การทำหน้าที่ของคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุข ถือว่าได้ดำเนินการตามอำนาจหน้าที่ตามที่รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขได้ แต่งตั้งและมอบหมายแล้ว โดยจะนำผลสรุปของทั้ง 3 กลุ่มคือ

1.กลุ่มแพทย์ที่ไมได้เข้าร่วมประชุมแต่ยื่นเอกสาร ว่าจะขอทำประชาพิจารณ์ก่อน

2. กลุ่มภาคประชาชนที่มายื่นหนังสือ

3. กลุ่มของคณะกรรมการสมานฉันท์ฯ ซึ่งจะได้นำเสนอนายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธานในวันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม 2553 นี้