ผู้เขียน หัวข้อ: กลุ่มหมอไม่หยุดร่อนอีเมลฟ้อง “มาร์ค” ขู่ฟ้องศาล รธน.ละเมิดสิทธิบุคลากรแพทย์  (อ่าน 1512 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
กลุ่มแพทย์ ร่อน จม.เปิดผนึก จี้ “มาร์ค” ขอให้ทำประชาพิจารณ์ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ทั้งประเทศ ขู่หากดันเข้าสภา พร้อมเคลื่อนไหว 3 มาตรการเพื่อกดดัน หาก กม.นี้คลอดจะฟ้องศาลรัฐธรรมนูญ
       
       พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ขณะ นี้ได้ส่งอีเมลเป็นจดหมายเปิดผนึก ร้องเรียนไปยัง นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี นายกรณ์ จาติกวณิช รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง และ นายวิทยา แก้วภราดัย ประธานคณะกรรมการประสานงานพรรคร่วมรัฐบาล (วิปรัฐบาล) เพื่อเรียกร้องขอความเป็นธรรมกรณีการดำเนินการของกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายฯ เนื่องจากก่อนหน้านี้ นายกรัฐมนตรี ได้มอบหมายให้ สธ.เป็นผู้ประสาานงานสร้างความเข้าใจระหว่างผู้รับบริการและผู้ให้บริการ สาธารณสุข แต่ที่ผ่านมา นอกจาก สธ.จะไม่รับผิดชอบ หรือสนับสนุนให้บุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขและข้าราชการ สธ.ได้ทำประชาพิจารณ์เพื่อรับฟังความคิดเห็นจากบุคลากรสาธารณสุขและประชาชน ทั่วไปเกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. .... แล้ว ผู้บริหาร สธ.ยังพยายามขัดขวางไม่ให้ข้าราชการในกระทรวง อำนวยความสะดวกในการจัดทำประชาพิจารณ์โดยห้ามใช้อาคารสถานที่ และห้องประชุมของโรงพยาบาล จัดการประชุมเพื่อทำความเข้าใจ และทำประชาพิจารณ์ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ อีกด้วย เพราะผู้บริหารระดับสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) หรือผู้อำนวยการโรงพยาบาลบางแห่ง ไม่กล้าอนุญาตให้ใช้ห้องประชุมของโรงพยาบาลจัดการประชุม แต่ยอมจ่ายเงินให้ไปจัดที่โรงแรมแทน จึงไม่ทราบว่าเป็นเพราะถูกสั่งห้ามจากผู้บริหารระดับสูงใน สธ.ด้วยหรือไม่
       
       “แม้พวกเราบุคลากรผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุข จะไม่ได้รับการสนับสนุนจากผู้บริหารกระทรวงสาธารณสุข ในการจัดประชุมเพื่อรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรที่มีต่อร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ พวกเราก็ได้เสียสละเวลา กำลังกาย และกำลังทรัพย์ของพวกเราเอง ในการไปจัดทำประชาพิจารณ์เกี่ยวกับ พ.ร.บ.ฉบับนี้ในหลายๆ จังหวัด และยังประสานงานไปยังอีกหลายๆ จังหวัด เพื่อจะรับฟังความคิดเห็นของผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขให้ครบ ทุกจังหวัด เพื่อจะนำผลการประชาพิจารณ์มาเสนอต่อรัฐบาลและสาธารณชนทั่วไป” พญ.เชิดชู กล่าว
       
       พญ.เชิดชู กล่าวด้วยว่า สำหรับข้อร้องเรียน ประกอบด้วย
1.ขอให้นายกรัฐมนตรี กำชับรัฐมนตรี สธ.อย่าขัดขวางการทำประชาพิจารณ์ เนื่องจากที่ผ่านมา มีโรงพยาบาลบางจังหวัดในแถบภาคอีสาน ไม่สามารถทำประชาพิจารณ์ในหมู่แพทย์และบุคลากรสาธารณสุขได้ เพราะกังวล และถูกสั่งห้ามผ่านสายโทรศัพท์ ดังนั้น จึงอยากให้เปิดใจและให้ทุกจังหวัดทำประชาพิจารณ์ได้อย่างเปิดเผยและตรงไปตรงมา

2.ขอให้รัฐบาลทำประชาพิจารณ์ในหมู่ประชาชนทุกคนทุกสาขาวิชาชีพ เพื่อความโปร่งใส และ

3.หากรัฐบาลไม่ดำเนินการทำประชาพิจารณ์ก็ควรรอผลการประชาพิจารณ์ของ 9 คณะชุดทำงานจากผู้แทนองค์กรแพทย์ 80 คนก่อน แต่หากยังมีการดึงดันนำร่างกฎหมายนี้สู่การพิจารณา ทางกลุ่มแพทย์ที่ได้รับผลกระทบจะมีการเคลื่อนไหวโดยจะใช้ 3 มาตรการ ที่เคยกล่าวไว้ก่อนหน้านี้ อันประกอบไปด้วย

1.ตรวจวินิจฉัยอย่างละเอียด จำกัดผู้ป่วยไม่เกินห้องตรวจละ 30-50 คน

2.ตรวจวินิจฉัยแบบกระชับพื้นที่ คือ จะไม่รับผู้ป่วยจนล้นโรงพยาบาล เพราะถือเป็นการดำเนินการต่ำกว่ามาตรฐานวิชาชีพ และสุดท้าย

3.มาตรการการหยุดงาน ซึ่งเป็นสิทธิที่พึงทำได้ เพราะปัจจุบันแพทย์ในโรงพยาบาลจังหวัด โรงพยาบาลชุมชน ต่างทำงานอย่างหนักตกสัปดาห์ละ 90-100 ชั่วโมง สุดท้ายหากมีการประกาศใช้กฎหมายฉบับนี้ จะยื่นฟ้องต่อศาลรัฐธรรมนูญ ฐานละเมิดสิทธิผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ เพราะกฎหมายฉบับนี้เปรียบเหมือนศาลเตี้ย จ่ายเงินชดเชยแล้วหากไม่พอใจยังฟ้องศาลได้อีก

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    11 ตุลาคม 2553