ผู้เขียน หัวข้อ: "จุรินทร์"ดอดเคลียร์ใจหมอ3ชม.(ไทยโพสต์ 8 ตค 2553)  (อ่าน 1498 ครั้ง)

seeat

  • Sr. Member
  • ****
  • กระทู้: 470
    • ดูรายละเอียด
"จุรินทร์" แอบดอดเคลียร์ใจ "หมอค้าน" ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ นัดกินข้าวร้านอาหารชื่อดังใกล้ทำเนียบฯ นานกว่า 3 ชั่วโมง หลังกลุ่มหมอบุกสภา "หมอฐานปวงศ์" ฟุ้งคลายกังวล รมว.สธ.เอียงข้างเอ็นจีโอ เตรียมถกในกลุ่มเข้าประชุม 12 ต.ค.อีกรอบ ด้านปลัด สธ.เชื่อหมอไม่กล้าทิ้งคนไข้ รักษาแค่วันละ 50 คน
     นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) กล่าวถึงมาตรการเพื่อคัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ... ที่ทาง นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์ รพ.ศูนย์ รพ.ทั่วไป เสนอขึ้นป้ายหน้า รพ.ตรวจผู้ป่วยนอกไม่เกิน 50 คนต่อวันว่า ตนไม่เชื่อว่าจะเป็นอย่างนั้น คงเป็นความเห็นส่วนบุคคล คุณหมอคงไม่ทำ
     เมื่อถามว่า ตามมาตรฐานทางการแพทย์ ข้อเท็จจริงต้องตรวจให้ได้ 50 คนต่อวัน นพ.ไพจิตร์กล่าวว่า รายละเอียดเรื่องมาตรฐานว่าตรวจได้กี่คนต่อวันขอไปดูก่อน เท่าที่ได้พูดคุยกับหมอบางคนในกลุ่มนั้นก็บอกว่าเป็นแค่ความเห็นส่วนบุคคล
     ส่วนการนัดประชุมของคณะกรรมการสร้างเสริมความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณ สุข ในวันที่ 12 ต.ค.นั้น นพ.ไพจิตร์กล่าวว่า ยังไม่มีการเปลี่ยนแปลง และยังไม่มีใครแจ้งว่าจะไม่มาประชุม
     เมื่อถามถึงการรับประทานอาหารกับกลุ่มแพทย์ที่คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ นพ.ไพจิตร์รับว่าได้เดินทางไปจริง และว่า เป็นการให้ข้อมูลกับ รมว.สธ.เปิดช่องให้พบเพื่อเล่าให้ฟัง เป็นการฟังทั้งสองฝั่งและได้มีโอกาสได้ให้ข้อมูล
     ด้าน นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งสุวรรณ รองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และ สาธารณสุขแห่งประเทศไทย กล่าวว่า วันนี้ (7 ต.ค.) ได้เข้าพบ รมว.สธ.ที่รัฐสภา จากนั้นเวลา 13.00 ได้ร่วมรับประทานอาหารที่ร้านพูนสิน ข้างวัดตรีทศเทพวรวิหารกับ รมว.สธ. ปลัด สธ. และทีมที่ปรึกษา โดยมีตัวแทนแพทย์ 8 คน ซึ่งไม่ได้ยื่นเงื่อนไขหรือข้อตกลงใดๆ กับ รมว.สธ.ร่วมด้วย แต่เป็นการไปให้ข้อมูลที่คัดค้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายทางการแพทย์ฯ และขอยืนยันสนับสนุนร่างคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากระบบสาธารณสุข พ.ศ.. เสนอ ซึ่งทาง รมว.สธ.ได้รับว่าจะตั้งทีมกฎหมายมาศึกษากฎหมายอีกครั้ง
     "เป็นครั้งแรกที่ได้พบ ปกติไม่เคยได้รับการชี้แจงเรื่องร่างกฎหมายจากผู้รับ ผิดชอบโดยตรง แต่เมื่อได้พบกันวันนี้ก็ทำให้คลายปมมากขึ้นว่ามีเหตุผลเป็น อย่างไร รัฐมนตรีถึงทำอย่างนั้นไม่ทำอย่างนี้ ในช่วงที่ผ่านมาเราคลายกังวลขึ้น เพราะเราร้องขอมานาน" นพ.ฐานปวงศ์กล่าว
     เมื่อถามว่า แสดงว่าทางกลุ่มแพทย์ยืนยันจะเข้าร่วมประชุม 2 ฝ่ายในวันที่ 12 ต.ค.แล้วใช่หรือไม่ นพ.ฐาปนวงศ์กล่าวว่า เรื่องนั้นต้องปรึกษากันอีกครั้ง ว่าจะทำอย่างไร เพราะเป็นเรื่องใหญ่พอสมควร ว่าเราจะเข้าร่วมประชุมหรือไม่
     เมื่อถามว่า มาตรการที่ นพ.ศิริชัยเสนอให้ รพ.ขึ้นป้ายตรวจคนไข้วันละ 50 คนได้มีการพูดคุยหรือไม่ นพ.ฐาปนวงศ์กล่าวว่า ไม่มีใครพูดถึง ไม่แม้แต่มี ใครถามเรื่องนี้ เพราะเป็นความเห็นส่วนตัว ที่เขียนถึงมาตรฐานว่าควรเป็นอย่างไร ทุกคนมีสิทธิที่จะทำ แต่จะทำหรือไม่ เป็นอีกเรื่อง แต่เมื่อวานนี้ นพ.ศิริชัยน่าจะต้องปรึกษากับทางสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.ก่อนให้ข่าวนี้ เพราะเรื่องนี้ยังไม่มีการตกลงในระดับใหญ่ สมาพันธ์แพทย์ฯ สหพันธ์ฯ และแพทยสภา จะไม่ทำอะไรที่กระทบกับผู้ป่วยโดยรวม การพูดอย่างนั้นใครก็พูดได้ แต่ถ้าไม่มีทางออก การขึ้นป้ายก็ถือเป็นมาตรการที่นุ่มที่สุด ในช่วงนี้คงทำเพียงการเดินสายชี้แจง แต่ไม่ใช่การเคลื่อนไหวใหญ่ ยกเว้นจะมีสัญญาณว่ามีการผลักดันร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายอย่างรวดเร็วโดยไม่รอผลจากคณะทำงาน 9 กลุ่ม เพื่อทำประชาพิจารณ์ในกลุ่มบุคลากร
     ด้าน นพ.วัลลภ ไทยเหนือ อดีตปลัด สธ. กล่าวว่า มาตรการหมอชะลอการตรวจคนไข้ดังกล่าว ไม่เชื่อว่าหมอจะทำ แต่ถ้าจะให้ได้ตามมาตรฐานต้องตรวจคนไข้คนหนึ่งไม่ต่ำกว่า 5 นาที ดังนั้นวันหนึ่งก็ตรวจได้ไม่เกิน 50 คน ซึ่งเป็นไปไม่ได้ที่สภาพความเป็น จริงหมอเห็นคนไข้มายืนคอย นอนคอย แล้วจะไม่ตรวจไม่รักษาให้ แต่ถ้าจะต้องรักษาแล้วไม่ให้มีการฟ้องร้องก็ต้อง มีการส่งผลไปห้องปฏิบัติการ (ห้องแล็บ) ซึ่งทำให้เสียเงิน เสียเวลา จนบาง รพ. ผอ.รพ.ต้องลงมาช่วยตรวจคนไข้ด้วย ซึ่งสภาพเช่นนี้มีมานานก่อนจะมีเรื่องร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ด้วย ซึ่งทำให้เงินบำรุงที่ควรจะเหลือมาจ่ายเป็นค่าตอบแทน ต้องนำไปใช้เพื่อการส่งห้องแล็บป้องกันการผิดพลาด     "ทั้งสองฝ่ายก็มีเหตุผล ที่พูดออกมาก็คงเพื่อปกป้องตัวเอง เป็นการยก ตัวอย่างไม่ใช่ขู่ว่าถ้าตามมาตรฐานต้องเป็นอย่างไร ทางที่ดีควรรีบคุยกันว่า ควรจะออกมาเป็นอย่างไร จำเป็นหรือไม่ ข้อดีของร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้คือมีเงินชดเชย แต่ถ้าไม่พอใจมีสิทธิฟ้องแพ่งหรืออาญาได้ ซึ่งตรงนี้เหมือนเชิญชวนหรือไม่" อดีตปลัด สธ.ให้ความเห็น.