ผู้เขียน หัวข้อ: เผยผลประชาพิจารณ์ระดับประเทศ 100 %ค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย  (อ่าน 1431 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
คณะทำงาน 9 คณะขององค์กรแพทย์ เผยผลประชาพิจารณ์ 1 ใน 3 ของประเทศ คัดค้าน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย
       
       วันนี้ (8 ต.ค.) ที่ พล.อ.ต.นพ.การุณ เก่งสกุล โฆษก คณะทำงานพิจารณาศึกษา พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการบริการสาธารณสุข พ.ศ.... เปิดเผยถึงผลการทำประชาพิจารณ์เบื้องต้นในกลุ่มแพทย์ 4 เหล่าทัพ โรงเรียนแพทย์ และประชาชน เกี่ยวกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ที่ดำเนินการโดยคณะทำงาน 9 คณะของแพทยสภาซึ่งเป็นผู้แทนแพทย์และบุคลากรสาธารณสุขทุกสังกัดจำนวน 80 คน ว่า หลังจากที่คณะทำงานได้ดำเนินการลงพื้นที่เพื่อทำประชาพิจารณ์สอบถวามความคิดเห็นของประชาชนและกลุ่มแพทย์เป็นเวลากว่า 6 สัปดาห์ นับตั้งแต่วันที่ 9 ส.ค.2553 นั้น พบในพื้นที่ 25 จังหวัด, ในกลุ่มแพทย์ 4 เหล่าทัพ, โรงเรียนแพทย์ 10 แห่ง พบไม่เห็นด้วยกับร่าง พ.ร.บ. 100 % ซึ่งการทำประชาพิจารณ์ครั้งนี้ ถือว่า เป็นการสำรวจความคิดเห็นถึง 1 ใน 3 ของประเทศ
       
       พล.อ.ต.นพ.การุณ กล่าวด้วยว่า ผลการทำประชาพิจารณ์ดังกล่าวนั้น ทางคณะทำงานฯ ได้ดำเนินการชี้แจงรายละเอียดของ พ.ร.บ.ในรายมาตรา แก่ผู้ลงความเห็นทุกท่าน ซึ่งส่วนใหญ่ก็รับรู้และเข้าใจในข้อเสียของ พ.ร.บ.ที่เห็นว่า มีถึง 25 มาตรา จาก 50 มาตราที่ต้องแก้ไข ซึ่ง
       
       “การทำประชาพิจารณ์ ครั้งนี้ สิ่งที่ปรากฏชัดเจน คือ มีประชาชนบางคนที่ครั้งหนึ่งเคยสนับสนุนกฎหมายนี้เช่นกัน แต่พอได้ศึกษาในรายมาตราแล้วก็พบว่ามีข้อเสียจริงๆ โดยเฉพาะในเนื้อหาของกฎหมายที่มีถึง 25 มาตราต้องแก้ไข ซึ่งหากมองแล้วโดยธรรมชาติของการจะออกกฎหมายแต่ละครั้งนั้นหากมีข้อบกพร่องถึงครึ่งหนึ่งของหลักการทั้งหมด ก็ไม่ควรจะได้รับการสนับสนุนอยู่แล้ว” พล.อ.ต.นพ.การุณ กล่าว
       
       ผู้สื่อข่าวถามว่า ผลการประชาพิจารณ์ครั้งนี้จะนำเสนอต่อที่ประชุม ของคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุข ที่จะมีขึ้นในวันที่ 12 ต.ค.หรือไม่ เพื่อจะได้ชะลอร่าง พ.ร.บ.ไว้ก่อน ได้รับคำตอบว่า เนื่องจากการทำประชาพิจารณ์ของคณะทำงานนั้นเป็นคนละส่วนกับการจัดประชุม คกก.เสริมสร้าง ดังนั้นจะเสนอหรือไม่และมีผลอย่างไรก็ไม่อาจทราบ
       
       ขณะที่ พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติ งานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.) กล่าว่า ข้อสรุปที่ได้ในวันนี้เป็นเพียงข้อสรุปเบื้องต้นดังนั้นอาจจะนำเสนอในแก่ ปลัดกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) บางส่วนก่อนเท่านั้น ส่วนจะใช้ไปประกิบการประชุม คกก.เสริมสร้างฯ หรือไม่ก็แล้วแต่ท่านปลัด อย่างไรก็ตามตนเห็นว่าจะเป็นการดีมาก หากการทำประชาพิจารณ์ครั้งต่อไปนั้น สธ.ให้งบประมาณในการสนับสนุน และระหว่างรอรับฟังผลประชาพิจารณ์อย่างเสร็จสมบูรณ์ก็ควรชะลอ ร่าง พ.ร.บ.ก่อน
       
       นพ.อุสาห์ พฤฒิจิระวงศ์ รองประธาน สผพท. กล่าวว่า ในการออกกฎหมายเพื่อประโยชน์ของส่วนรวมนั้นไม่ควรเร่งรีบ แต่ควรจะค่อยเป็นค่อยไป และประชาพิจารณ์ให้ครบถ้วนทั้งในกลุ่มแพทย์ผู้ให้บริการและประชาชนผู้รับบริการ


โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์    8 ตุลาคม 2553