ผู้เขียน หัวข้อ: แฉ!2ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองฯแท้จริงประโยชน์ตกที่ใคร?  (อ่าน 1480 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9739
    • ดูรายละเอียด
เดือดขึ้นอีกครั้ง! จนดูคล้ายไม่มีวันมีจุดเห็นร่วมเกี่ยวกับร่างกฎหมายคุ้มครองผู้ป่วย เมื่อกลุ่มแพทย์วอล์กเอาท์ไม่ร่วมประชุม 2 ฝ่ายส่วนกลุ่มเอ็นจีโอประกาศไม่เข้าร่วมประชุมนัดหน้า 12 ตุลาคม2553 แต่เลือกชุมนุมใหญ่หน้ารัฐสภา5 ตุลาคมนี้

หลังเชื่อว่ากระทรวง สาธารณสุข(สธ.) ไม่สามารถเป็น "คนกลาง" ประสานรอยร้าวได้ ทั้ง 2 ฝ่ายจึงเลือกเดินเกม กดดันรัฐบาล ธงของกลุ่มเอ็นจีโอนำโดย"น.ส.สารีอ๋องสมหวัง" เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค ชัดเจนว่าสนับสนุน ร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุขพ.ศ.... สภาผู้แทนราษฎรต้องเร่งพิจารณาขณะที่กลุ่มแพทย์คัดค้านร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้และสภาต้องถอนพร้อมกับชูร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ ได้รับผลกระทบจากระบบบริการสาธารณสุขพ.ศ.... ที่ยกร่างโดย"นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ" ศัลยแพทย์ประสาท รพ.ราชวิถีที่อยู่ระหว่างสภาตรวจสอบรายชื่อประชาชน 1 หมื่นคนที่ยื่นเสนอกฎหมายเมื่อต้นเดือนกันยายนปีนี้

ความจริงร่างพ.ร.บ.คุ้มครองฯ ถูกบรรจุในวาระของสภามีอีก 5 ฉบับรวมเป็น 7 ฉบับ แต่ที่นำไปสู่ความขัดแย้งมี 2 ฉบับนี้แม้ร่าง 2 พ.ร.บ.มีเจตนารมณ์ลดการฟ้องร้องสร้างความสัมพันธ์ที่ดีระหว่างผู้ให้และผู้ รับบริการสาธารณสุข แต่เนื้อหาสาระต่างกัน

หลักการสำคัญของร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ(ฉบับเอ็นจีโอ) จะให้การคุ้มครองคน ไทยทุกคนไม่ว่าจะใช้สิทธิการรักษาพยาบาลระบบใดในสถานพยาบาลรัฐและเอกชน และกินเรียบทั้งแพทย์ ทันตแพทย์ พยาบาล เภสัช เทคนิคการแพทย์ กายภาพบำบัดและอื่นๆ ตามที่จะกำหนดในอนาคต

หัวใจอยู่ตรงที่มาตรา5 ผู้เสียหายจะได้รับเงินช่วยเหลือเบื้องต้นและเงินชดเชยโดยไม่ต้องพิสูจน์ ความรับผิดแต่ยกเว้นความเสียหายที่หลีกเลี่ยงไม่ได้จากการให้บริการตาม มาตรฐานวิชาชีพ โดยให้อำนาจชี้ขาดแก่ "คณะกรรมการสร้างเสริมความสัมพันธ์ที่ดีในระบบบริการสาธารณสุข" ที่จะมีขึ้น และประกอบด้วยผู้รู้การรักษาพยาบาลเพียง 4 คนรวมปลัดสธ.จาก18 คน

การชดเชยจะมีเฉพาะการให้เงินเมื่อผู้เสียหายยินยอมรับเงินชดเชย ให้ทำสัญญาประนีประนอมยอมความ และผู้ให้บริการสามารถนำไปเป็นหลักฐานเมื่อมีการฟ้องคดีอาญาได้ หากมีการฟ้องศาล จะไม่มีสิทธิยื่นขอความช่วยเหลือตามร่าง พ.ร.บ.นี้ต่อเมื่อศาลพิพากษายกฟ้อง อาจพิจารณาจ่ายเงินให้ผู้เสียหายได้ และหลังเสร็จสิ้น กลับพบความเสียหายเกิดขึ้น มีสิทธิยื่นขอเงินชดเชยได้อีกภายใน 3 ปีนับแต่วันที่รู้ถึงความเสียหายหลายฝ่ายจึงเกรงชดเชยไม่มีที่สิ้นสุด

ที่มาของเงินตั้งกองทุนได้จากเงินที่โอนจากมาตรา 41 แห่งพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ.2545 เงินอุดหนุนจากรัฐบาลและเงินที่สถานพยาบาลจ่ายสมทบซึ่งแน่นอนจะเรียกเก็บจาก ประชาชนผู้ใช้บริการเพิ่มขึ้นเบื้องต้นคาดการณ์ว่าสถานพยาบาลต้องจ่ายสมทบใน อัตราผู้ป่วยนอก 5 บาทต่อครั้งและผู้ป่วยใน 80 บาทต่อครั้งขณะที่เฉพาะโรงพยาบาลสังกัด สธ.มีอัตราผู้ป่วยใน200 ล้านครั้งต่อปีและผู้ป่วยใน 6.9 ล้านครั้งต่อปีรวมแล้วกองทุนนี้จึงน่าจะมีเงินจำนวนมากกว่าพันล้านบาท ผลประโยชน์มหาศาล

สำหรับร่างพ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ(ฉบับหมอ) มีจุดต่างคือมุ่งเน้นให้การคุ้มครอง2 ฝ่ายทั้งผู้รับและผู้ให้บริการสาธารณสุข และต้องมีการพิสูจน์ผิดหรือถูก แต่ไม่สนใจว่าใครทำ จึงจะให้การช่วยเหลือโดยมีคณะกรรมการชี้ขาดที่มีผู้แทนสภาวิชาชีพด้านสาธารณ สุข 6 วิชาชีพ

การเยียวยามากกว่าให้เงินจะรวมถึงการดำรงชีวิต หรือวิธีการอื่นๆ ตามที่คณะกรรมการเห็นสมควร เพื่อให้ผู้ได้รับผลกระทบมีคุณภาพชีวิตที่ดี และเมื่อรับการช่วยเหลือตามร่าง พ.ร.บ.นี้แล้วจะต้องยุติการฟ้องร้องเพื่อไม่ให้เกิดกรณี การจับปลาสองมือโดยเงินสมทบเข้ากองทุนจะได้จากมาตรา41 และเงินอุดหนุนจากรัฐบาลโดยกรมบัญชีกลาง ประชาชนไม่ต้องถูกเรียกเก็บเพิ่ม

แต่การคุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจะคุ้มครองเฉพาะผู้ที่เข้ารับหรือให้บริการในสถานพยาบาลของรัฐครอบคลุมผลกระทบเพียงภาวะความพิการหรือการสูญเสียสมรรถภาพทางร่างกายเท่านั้น

นอกจากนี้ผู้ให้บริการจะได้รับการคุ้มครองไม่ ต้องรับผิดทางอาญาและแพ่งกรณีที่ให้การรักษาพยาบาลในภาวะเร่งด่วนหรือกรณี ฉุกเฉิน เช่น เพื่อช่วยชีวิตผู้ป่วย หรือช่วยชีวิตทารกในครรภ์แล้วทำให้เกิดผลกระทบขึ้น ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ให้บริการกล้าที่จะรักษาพยาบาลผู้ป่วย ไม่ต้องกลัวถูกฟ้อง

ส่วนผู้รับบริการจะได้รับการคุ้มครองจาก การควบคุมการทำงานของผู้ให้บริการเป็นหลัก ได้แก่ การกำหนดเวลาการทำงานต่อเนื่องของบุคลากร เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยได้รับกระทบจากการทำงานในสภาพร่างกายที่ไม่พร้อมของ บุคลากร และการกำหนดจำกัด ชนิด ประเภทของการรักษาพยาบาลหรือหัตถการที่แต่ละวิชาชีพด้านสาธารณสุขจะทำได้ใน การดูแลรักษาผู้ป่วย เรียกว่า ห้ามมั่วไปทำในหน้าที่วิชาชีพอื่นเว้นเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย

ร่างพ.ร.บ.ทั้ง2 ฉบับมีประโยชน์กับประชาชน และมีส่วนที่ควรต้องปรับปรุง การดึงดันให้สภาผู้แทนราษฎรเร่งพิจารณากฎหมายนี้และมีผลออกมาบังคับใช้ ท่ามกลางความเห็นต่างระหว่างผู้ให้และผู้รับบริการและการไม่ยอมรับร่วมกัน จะไม่ทำให้เกิดการบรรลุเจตนารมณ์ของกฎหมาย ในการ "ลดความขัดแย้ง" ของผู้ป่วยกับแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข ตรงข้ามกลับยิ่งทำให้ความบาดหมางร้าวลึก!!

ถึงวันนี้ท่าทีของ นพ.ไพจิตร์วราชิต ปลัด สธ. ชัดเจนว่าจะรีบเสนอความเห็นของทั้ง2 ฝ่ายต่อรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข(รมว.สธ.) เพื่อเป็นใบเบิกทางให้สภาหยิบยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯขึ้นมาพิจารณาทันวันที่ 30 ตุลาคม2553 นี้

โจทก์หนักตกที่"จุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์" รมว.สธ. ต้องตัดสินใจ


คมชัดลึก วันศุกร์ที่ 1 ตุลาคม 2553