ผู้เขียน หัวข้อ: หมอวอล์กเอาต์ ถก พ.ร.บ.คุ้มครอง ปลัด สธ.มึน นัดเคลียร์ 12 ตุลา  (อ่าน 1353 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
หมอ วอล์กเอาต์ จากเวทีประชุม คกก.เสริมสร้างฯ 2 ฝ่าย ปลัด สธ.กุมขมับขอนัดเคลียร์ 12 ต.ค.เอ็นจีโอขอบายไม่เข้าร่วมนัดหน้า เตรียมชุมนุมกดดันรัฐบาลครั้งใหญ่ 5 ต.ค.นี้
       
       วันนี้ (28 ก.ย.) ที่อาคารสำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข นพ.ไพจิตร์ วราชิต ปลัด กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เป็นประธานการประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุข จำนวนประมาณ 60 คน ประกอบด้วย เครือข่ายภาคประชาชน (เอ็นจีโอ) สภาการพยาบาล สภาเทคนิคการแพทย์ สภาเภสัชกรรม สภากายภาพบำบัด ทันตแพทยสภาและกลุ่มแพทย์ เพื่อหาข้อสรุปร่วมเกี่ยวกับร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.....
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทันทีที่ นพ.ไพจิตร์ กล่าวเปิดการประชุมจบ นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส นายก แพทยสมาคม ได้ประกาศกลางที่ประชุมว่า กลุ่มผู้แทนแพทย์ไม่พร้อมร่วมประชุมด้วย เนื่องจากการประชุมมีวาระซ่อนเร้นแอบแฝง โอยเฉพาะเครือข่ายภาคประชาชน พยายามที่จะผลักดันให้บังคับใช้กฎหมายโดยเร็ว แม้จะมีผู้คัดค้าน ทำให้กลุ่มแพทย์ไม่พอใจเป็นอย่างมาก
       
       นพ.วันชาติ กล่าวว่า การ ที่กลุ่มแพทย์ได้เดินออกจากห้องประชุม ถือเป็นการดำเนินการตามหลักประชาธิปไตยมีสิทธิทำเช่นนี้ได้ เนื่องจากแพทย์เป็นประชาชนธรรมดาคนหนึ่งเช่นกัน ทั้งนี้ เหตุผลที่ทำ เพราะเห็นว่าการประชุมมีวาระซ่อนเร้น โดยมีความพยายามจะผลักดันร่าง พ.ร.บ.มีผลบังคับใช้ให้ได้ แม้จะมีเสียงคัดค้านก็ตาม ซึ่งที่ผ่านมากลุ่มแพทย์ได้มีการยื่นเอกสารทักท้วงไปยัง รมว.สธ.นายกรัฐมนตรี และสภาผู้แทนราษฎร และเสียงส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยทำ แต่ก็ยังดึงดันให้เข้าสู่การพิจารณาของสภาอยู่เสมอ
       
       นพ.วันชาติ กล่าวต่อว่า ผู้แทนแพทย์จะเข้าร่วมประชุมกับคณะกรรมการเสริมสร้างฯต่อเมื่อมีการถอนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ออกจากสภาเท่านั้น ส่วนผลของการประชุมนี้จะส่งผลให้เกิดอะไร และกลุ่มแพทย์ได้มีการตั้งคณะกรรมการ 9 ฝ่ายของคณะทำงานในการประชาพิจารณ์ และรวมเป็นรายงานเสนอผู้มีส่วนเกี่ยวข้องต่อไป
       
       นพ.วันชาติ กล่าวอีกว่า รัฐบาลควรจะดำเนินการให้เป็นสวัสดิการประชาชน ด้วยการขยายมาตรา 41 ของ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติ พ.ศ.2545 ให้ครอบคลุมประชาชนคนไทยทุกคน โดยการแก้ พ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพฯ มาตรา 9 และ 41 เท่านั้น ซึ่งหากรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎรเห็นด้วยก็สามารถเดินหน้าได้ ด้าน นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวว่า จุดยืนองค์กรประชาชนต่อร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เห็นว่ากฎหมายฉบับเน้นพิสูจน์ว่า มีความเสียหายเกิดขึ้นจากการรับบริการหรือไม่ แม้แต่กรณีการรักษาที่ได้มาตรฐานแต่มีความเสียหายเกิดขึ้นจริง ดังนั้น สธ.ต้องเร่งผลักดันกฎหมายนี้โดยเร็วให้ทันการประชุมในสมัยนิติบัญญัตินี้
       
       ขณะที่ นพ.ไพจิตร์ วราชิต สธ.กล่าวว่า เจตนารมณ์กฎหมายเป็นที่แน่ชัดว่าแต่ละฝ่ายคิดเหมือนกัน แต่ยืนยันว่า สิ่งที่คิดไม่เหมือนกันจำเป็นต้องมีการหารือกัน ซึ่งตนจะทำหน้าที่สรุปความคิดเห็นทั้งสองฝ่ายเพื่อนำเสนอต่อ รมว.สธ.เพื่อนำเข้าสู่กระบวนการของรัฐสภา โดยทราบว่าในวันที่ 8 ต.ค.นี้ จะมีการสรุปความเห็นที่ได้จากการประชาพิจารณ์ของกลุ่มแพทย์ จึงจะนัดประชุมร่วมกันอีกครั้งในวันที่ 12 ต.ค.นี้ เพื่อให้ได้รายละเอียดที่เป็นข้อสรุปทั้งสองฝ่ายมาหารือ แต่หากเห็นว่าจะไม่สามารถประชุมร่วมกันได้อีก ก็จะทำหน้าที่สรุปความเห็นจากทั้งสองฝ่ายเพื่อนำสู่กระบวนการต่อไป ซึ่งตามเจตนารมณ์ของ รมว.สธ.อยากให้นำกฎหมายเข้าสภาให้ทันวาระที่ 2 โดยเชื่อว่า จะสามารถนำเข้าได้ก่อนวันที่ 30 ต.ค.อย่างแน่นอน
       
       ด้านนพ.ธันย์ สุภัทร์พันธุ์ ผู้ อำนวยการ รพ.รามาธิบดี กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ รพ.รามาฯ ได้ติดตามข้อมูลจากทั้งสองฝ่าย เห็นควรว่า ต้องมีการทบทวน ทำความเข้าใจ ในบางมาตรา 6(1) และ 6(2) ซึ่งจากข้อมูลทุกฝ่าย ทราบว่า พ.ร.บ.จะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงความสัมพันธ์ระหว่างแพทย์ กับผู้ป่วย จากระบบอุปถัมภ์ เป็นพันธสัญญา จึงไม่สามารถหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้าได้ ในขณะที่แม้จะรักษาตามมาตรฐาน แต่ก็สามารถเกิดสิ่งที่ควบคุมไม่ได้ขึ้นได้ จึงจำเป็นต้องหาทางเตรียมพร้อม บริหารจัดการผลกระทบจาก พ.ร.บ. และก้าวข้ามปัญหาร่วมกัน เพื่อนำไปสู่การมีมติเห็นชอบในหลักการของ พ.ร.บ.ให้สามารถปฏิบัติได้จริง โดยยึดหลักการที่คำนึงถึงผู้มีส่วนได้ส่วนเสียทุกฝ่าย
       
       ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในช่วงภายหลังการประชุมหารือที่ไม่สามารถหาข้อยุติได้ น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า การ ประชุมในครั้งนี้สะท้อนชัดเจนว่า สธ.ไม่สามารถดำเนินการเพื่อหาทางออกของปัญหาได้ และการที่กลุ่มแพทย์ไม่ให้ความร่วมมือในการประชุมโดยการแสดงท่าทีไม่เหมาะสม และเดินออกจากห้องประชุมไป ทางเครือข่ายเอ็นจีโอไม่พอใจ จึงเห็นควรว่า ในการนัดประชุมครั้งหน้าวันที่ 12 ต.ค.จะไม่เข้าร่วม และจะดำเนินการรวมตัวเพื่อชุมนุมครั้งใหญ่ในวันที่ 5 ต.ค.นี้
       
       “เรา ให้เวลา สธ.มามากแล้ว และให้เวลากลุ่มแพทย์ได้แสดงความคิดเห็นอย่างเต็มที่ แต่ก็ไม่สามารถดำเนินการเป็นรูปธรรมในการหาทางออกที่ดีได้ จึงขอแสดงจุดยืนในกลุ่มเอ็นจีโอด้วยกันว่าจะไม่เข้าร่วมประชุมครั้งหน้า แต่จะรวมตัวกันชุมนุมเพื่อผลักดัน พ.ร.บ.ต่อไป” น.ส.สารี กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    28 กันยายน 2553