ผู้เขียน หัวข้อ: การบังคับให้แพทย์สั่งยาเพียงบางชนิดให้แก่ประชาชน เริ่มจากกระทรวงการคลัง แต่จะ  (อ่าน 2121 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
น.ส.สุภา  ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง ได้ลงนามในหนังสือเวียนถึงปลัดกระทรวงและหัวหน้าส่วนราชการต่างๆ ๓ ฉบับ คือ

๑. หนังสือที่กค.๐๔๒๒.๒/ว. ๑๑๑ การระบุเหตุผลการใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อประกอบการเบิกจ่าย
๒. หนังสือที่ กค ๐๔๒๒ / ว. ๑๑๕ การลงทะเบียนเบิกจ่ายตรงในกรณีป่วยโรคเรื้อรัง ๑ โรค ๑ โรงพยาบาล
๓.หนังสือที่กค. ๐๔๒๒.๒/ว.116 ห้ามผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการข้าราชการเบิกยากลูโคซามีนซัลเฟต ในการรักษาโรคข้อเข่าเสื่อม 

  ซึ่งในหนังสือฉบับที่ ๑นั้น กรมบัญชีกลางได้ “สั่ง” ให้สถานพยาบาลและส่วนราชการเบิกค่ายาโดยให้ใช้เฉพาะยาที่มีในบัญชียาหลักแห่งชาติ ส่วนถ้าแพทย์เห็นว่าผู้ป่วยจำเป็นจะใช้ยานอกบัญชียาหลักแห่งชาติแล้ว แพทย์จะต้อง “เริ่มต้น”จากการใช้ยาในบัญชียาหลักฯก่อน จะเปลี่ยนไปใช้ยานอกบัญชียาหลักได้ก็ต่อเมื่อมีข้อบ่งชี้ ถึง ๖ ประเด็นคือ

A. เกิดอาการไม่พึงประสงค์จากยาหรือแพ้ยา
B .ผลการรักษาไม่บรรลุเป้าหมายจากการใช้ยาในบัญชียาหลักครบตามมาตรฐานการรักษาแล้ว
C. ไม่มีกลุ่มยาในบัญชียาหลักให้ใช้
D. ผู้ป่วยมีภาวะหรือโรคที่ห้ามใช้ยาในบัญชียาหลักอย่างสัมบูรณ์ (absolute contraindication/serious/major drug interaction)
E. ยาในบัญชียาหลักมีราคาแพงกว่า
F. ผู้ป่วยยินยอมจ่ายเงินเอง

 การห้ามแบบนี้ กระทรวงการคลังไม่ได้ประกาศให้ผู้มีสิทธิในระบบสวัสดิการข้าราชการทราบ ถือเป็นการปกปิดข้อมูลที่แท้จริงที่ประชาชนมีสิทธิรับทราบ

และการที่กระทรวงการคลังมีคำสั่งห้ามแพทย์เลือกใช้ยาที่เหมาะสมที่สุดในการรักษาผู้ป่วย โดยให้ลองใช้ยา “เท่าที่มีในบัญชียาหลักก่อน” จนเกิดการแพ้ยา  อาการป่วยไม่ดีขึ้น หรือไม่มียาแบบเดียวกัน หรือมีข้อห้ามการบ่งใช้ยาในบัญชียาหลักเท่านั้น แพทย์จึงจะสั่งให้ผู้ป่วยได้ นอกจากจะเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วย ละเมิดการประกอบวิชาชีพเวชกรรมของแพทย์แล้ว ยังจะเป็นการทำลายมาตรฐานการแพทย์และสาธารณสุขไทยอย่างร้ายแรง ทั้งนี้เนื่องจากราชื่อยาในบัญชียาหลักแห่งชาติ ไม่ได้ครอบคลุมยาทุกชนิดที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพสูงในการรักษาผู้ป่วยในโรคที่ยุ่งยากซับซ้อน และกรรมการบริหารระบบยาที่รัฐบาลตั้งขึ้น ไม่มีผู้เชี่ยวชาญเฉพาะโรค ที่เป็นผู้เลือกยาที่เหมาะสมและทันสมัยที่สุดในการรักษาผู้ป่วยทุกโรค โดยที่กระทรวงการคลังอ้างว่ายานอกบัญชียาหลัก ไม่มีความคุ้มค่าทางเศรษฐศาสตร์ใน “บริบทที่เหมาะสมกับประเทศไทย”

เปรียบเหมือนกับจำกัดสิทธิประชาชนให้เดินทางโดยเกวียนเท่านั้น ห้ามเดินทางโดยรถยนตร์หรือเครื่องบิน โดยอ้างว่าแพงเกินไปทั้งๆที่ทั่วโลกเขาใช้กันอยู่เป็นปกติ  การเดินทางด้วยเกวียนก็อาจจะเสียเวลาในการเดินทางมากขึ้นเท่านั้น แต่การให้ใช้แต่ยาเก่าๆเดิมๆในบัญชียาหลักก็อาจทำให้ผู้ป่วยเสียหายจากโรคดื้อยา อาการป่วยไม่ตอบสนองต่อการรักษา และอาจทำให้ผู้ป่วยมีอาการรุนแรงขึ้นจนอาจถึงกับเสียชีวิตได้

ทั้งนี้กระทรวงการคลังยังได้กำหนดบทลงโทษไว้ว่า ถ้าโรงพยาบลใดจ่ายยานอกเหนือกฎเกณฑ์ของกระทรวงการคังแล้ว กระทรวงการคลังจะไปเรียกเก็บเงินคืนจากโรงพยาบาลนั้นๆอีกด้วย

 โดยผู้ป่วยที่เคยได้รับยานอกบัญชียาหลักในการรักษาตัวอยู่แล้ว ก็ไม่ได้รับการบอกกล่าวจากกระทรวงการคลังเลย เมื่อมาได้รับยาอื่นที่ไม่ใช่ยาที่เคยได้รับ ก็จะเกิดความไม่พอใจแพทย์ผู้สั่งยา และเกิดกา “ต่อว่าต่อขานแพทย์”ทำให้แพทย์ปฏิบัติงานด้วยความยุ่งยาก ต้องเสียเวลาอธิบายให้ผู้ป่วยยอมรับ และยังทำให้ต้องปฏิบัติงานในการรักษาผู้ป่วยแบบฝืนความรู้และจริยธรรมที่ครูอาจารย์ได้อบรมสั่งสอนมาให้แพทย์เลือกยาที่เหมาะสมและดีที่สุดในการรักษาผู้ป่วยของตน

  การออกคำสั่งของกระทรวงการคลังในหนังสือข้อ ๒ เรื่องการลงทะเบียนรักษษผู้ป่วย ๑ โรคเรื้อรังต่อ ๑ โรงพยาบาลนั้น ทางกระทรวงการคลังได้ยอมที่ชะลอไว้ เพื่อเอาไปทบทวนใหม่ หลังจากที่ได้ทราบถึงความไม่เหมาะสมและไม่สะดวกต่อผู้ป่วยและโรงพยาบาล นับว่ากระทรวงการคลังไม่ตรวจสอบและประสานงานกับโรงพยาบาล หรือแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ หรือกระทรวงสาธารณสุขซึ่งเป็นหน่วยงานหลักในการรักษาผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการ ก่อนที่จะออกคำสั่งแต่อย่างใด

   ส่วนคำสั่งที่อ้างถึงในข้อ ๓ นั้น กระทรวงการคลังก็ฟังความจากข้อมูลการวิจัยของทางศัลยแพทย์จากสหรัฐเท่านั้น ไม่ได้รับฟังเหตุผลจากงานวิจัยของทางฝ่ายประเทศสหภาพยุโรป และความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านกระดูกและข้อคือราชวิทยาลัยออร์โธปีดิกส์แห่งประเทศไทย ที่ได้ระบุว่า ยากลูโคซามีนซัลเฟตนั้น มีผลในการรักษาอาการปวดจากโรคข้อเข่าอักเสบจากการเสื่อมของข้อเข่าได้ผลดี เป็นการรักษาแบบประคับประคองได้ ไม่ต้องรีบไปผ่าตัดเปลี่ยนข้อเข่าเทียม ซึ่งจะมีค่าใช้จ่ายสูงกว่าการใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟตอย่างแน่นอน

  และการที่กระทรวงการคลังห้ามใช้ยากลูโคซามีนซัลเฟต แต่ให้ใช้ยาNSAIDS แทนนั้น กลับจะทำให้ผู้ป่วยมีโรคแทรกซ้อนจากยา NSAIDS คืออากรปวดท้องจากเยื่อบุกระเพาะอาหารอักเสบซึ่งอาจรุนแรงถึงมีอาการเลือดออกในกระเพาะอาหารจนช็อคได้

  โดยสรุปก็คือ กระทรวงการคลังออกคำสั่งที่ไม่รอบคอบ ไม่ฟังความเห็นของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ไม่บอกให้ประชาชนผู้ที่มีส่วนได้เสียหรือจะได้รับผลกระทบรับทราบ อาจถือเป็นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ ไม่ได้ยึดถือผลประโยชน์และความปลอดภัยของชีวิตและสุขภาพของประชาชนในกลุ่มสวัสดิการข้าราชการ และยังปกปิดข่าวสารนี้ไม่ให้ประชาชนรับทราบ โยกระทรวงการคลังอ้างและยึดถือแต่การ “ประหยัดเงิน” มากกว่าคำนึงถึงสุขภาพของประชาชน การอ้างว่ากลูโคซามีนซัลเฟตเป็นเพียงอาหารเสริมนั้น ก็ขัดกับการที่คณะกรรมการอาหารและยา(อย.)ได้ขึ้นทะเบียนกลูโคซามีนซัลเฟตเป็นยา

ผู้เขียนได้ยินกระแสข่าวมาว่า ถ้าสามารถยกเลิกทะเบียนยาของกลูโคซามีนได้ และเอาไปเป็นอาหารเสริม ก็จะทำให้ใครบางคนได้รับผลประโยชน์ตอบแทนจากบริษัทที่ขายอาหารเสริมรายใหญ่ เพราะสามารถโฆษณาและทำยอดขายได้มากมายมหาศาล รายได้จากการขายกลูซามีนในแบบที่เป็นอาหารเสริมคงพุ่งพรวด ทำรายได้เพิ่มจนสามารถแบ่งเปอร์เซ็นต์งามๆให้ผู้ที่สามารถผลักดันได้สำเร็จอีกด้วย

พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธืผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)
ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
กรรมการแพทยสภา
๒ พ.ย. ๕๕

thailand

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 25
    • ดูรายละเอียด
-ขอสนับสนุน ให้ กรมบัญชีกลาง กระทรวงการคลัง

ยกเลิก มาตราการที่ริดรอนสิทธิ์ ของ แพทย์และข้าราชการ โดยทันที


หยุดทำร้าย ทำลายขวัญข้าราชการประชาชน และครอบครัว...


http://www.facebook.com/krkthai


###########################################
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 26 พฤศจิกายน 2012, 02:21:03 โดย thailand »