ผู้เขียน หัวข้อ: แพทย์ชนบทเตือนฝ่ายหนุน-ค้านร่างกม.คุ้มครองฯ หยุดเดินเกมซื้อเวลา  (อ่าน 1504 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
กรณี ปัญหาความขัดแย้งในร่างพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ. ...ระหว่างกลุ่มแพทย์สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเ ทศไทย (สผพท.) และเครือข่ายภาคประชาชนที่ได้รับผลกระทบจากการรับบริการทางการแพทย์ จน นำไปสู่การเคลื่อนไหวกดดันรัฐบาลและสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งล่าสุด เครือข่ายภาคประชาชนฯ กดดันให้นำร่างดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณาของสภาโดยเร็ว ไม่เช่นนั้นจะนัดรวมพลบริเวณรัฐสภา ในวันที่ 5 ตุลาคมนี้ ขณะที่ สผพท.ออกมาขู่ในทำนองหากมีการผลักดันเข้าสภา จะนัดหยุดงาน จนเป็นเหตุให้หลายฝ่ายออกมาวิพากษ์วิจารณ์ถึงความไม่เหมาะสมนั้น
 
 
เมื่อวันที่ 26 กันยายน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธาน ชมรมแพทย์ชนบท ให้สัมภาษณ์ว่า ทั้งสองฝ่ายควรมีสติในการพิจารณาว่าควรจะดำเนินการอย่างไร เพื่อไม่ให้ส่งผลกระทบต่อประชาชนโดยรวม ซึ่งหากใครทำอะไรที่ส่งผลให้ประชาชนเดือดร้อน สังคมก็จะรับรู้เองว่าพวกเขาเป็นเช่นไร อย่างไรก็ตาม ประเด็นที่แพทย์จะรวมพลนัดหยุดงานประท้วง คงเป็นความเห็นส่วนตัวหรือเป็นเพียงกลุ่มใดกลุ่มหนึ่งเท่านั้น เพราะขณะนี้ยังไม่มีฝ่ายใดออกมาเห็นด้วย เรื่องนี้ต้องพิจารณาอย่างรอบคอบ เพราะผลลัพธ์ย่อมไม่คุ้มค่าแน่นอน 
 
 
ทางที่ดีที่สุด ควรหันหน้าเข้าหากัน และเจรจาให้ได้ข้อสรุปร่วมกันจะดีกว่า เพราะในเมื่อร่าง พ.ร.บ.อยู่ในวาระการพิจารณาแล้ว ก็ควรให้เป็นไปตามขั้นตอน เนื่อง จากโดยหลักการทุกฝ่ายต่างเห็นพ้องและมีเจตนารมณ์เดียวกัน ส่วนประเด็นที่ต้องการปรับแก้ก็สามารถหารือและแก้ไขกันได้ อย่างไรก็ตาม เชื่อว่าทั้งหมดเป็นเพียงเกมซื้อเวลา สังคมไม่ควรตกเป็นเหยื่อกับเรื่องนี้     
 
 
น.ส.สารี อ๋องสมหวัง เลขาธิการ มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ได้นัดประชุมร่วมคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ในระบบบริการสาธารณสุข ในวันที่ 28 กันยายนนี้ ซึ่ง เครือข่ายประชาชนมี 4 ประเด็นที่จะหารือ คือ
1.นิยามของคำว่า "ความเสียหาย" จะจำแนกอย่างไร
2.โครงสร้างของคณะกรรมการดูแลกองทุนจะต้องมีสัดส่วนอย่างไร เพื่อให้เกิดความเป็นธรรม
3.กองทุนดังกล่าวจะรวมโรงพยาบาลเอกชนด้วยหรือไม่ และ
4.สำนักงานคณะกรรมการที่จะตั้งขึ้นเพื่อดูแลกองทุนนี้ควรเป็นอิสระหรือไม่ อย่าง ไรก็ตาม หากรัฐบาลให้ความมั่นใจว่าจะเดินหน้าผลักดันร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้ให้มีการพิจารณาในขั้นกรรมาธิการสภาฯ โดยเร็วที่สุด เครือข่ายฯจะหยุดการเคลื่อนไหว โดยจะไม่ชุมนุมประท้วงที่รัฐสภา ในวันที่ 5 ตุลาคม 
 
 
ด้าน นพ.ฐาปนวงศ์ ตั้งอุไรวรรณ รองประธาน สผพท. กล่าวว่า การนัดหยุดงานของกลุ่มแพทย์ เป็นเพียงมาตรการหนึ่งในการกดดันรัฐบาลไม่ให้พิจารณาร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าว เนื่องจากเป็นกฎหมายที่ไม่เป็นธรรม และไม่ได้ผ่านความเห็นชอบจากทุกฝ่าย อย่างไรก็ตาม แนวทางการเคลื่อนไหวโดยนัดหยุดงานต้องรอความชัดเจนจากการประชุมคณะกรรมการเสริมสร้างความสมานฉันท์ฯของ สธ.ก่อน ซึ่ง สผพท.ยังคงยืนยันให้ถอนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯทุกฉบับที่อยู่ในวาระการพิจารณา และเริ่มต้นใหม่ในการพิจารณาร่างกฎหมายที่ได้รับความเห็นชอบจากทุกฝ่ายและจา กทุกคนทั่วประเทศ และในวันที่ 28 กันยายนนี้ สผพท.จะแถลงข่าวถึงแนวทางการเคลื่อนไหวอีกครั้ง
 

ขณะที่ นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์ เลขาธิการแพทยสภา กล่าวว่า สิ่งสำคัญระหว่างการเจรจา ต้องการันตีว่าจะไม่นำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่การพิจารณา โดยต้องรอให้การเจรจาได้ข้อยุติเสียก่อน 
 
 
ส่วนที่มีกลุ่มหนึ่งพาดพิงว่า แพทยสภาปลุกระดมแพทย์ให้ต่อต้านร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับความเสียหายฯ ขอยืนยันว่า ไม่เป็นความจริง แพทยสภาไม่สามารถดำเนินการเช่นนั้นได้ การที่แต่ละฝ่ายออกมาแสดงความคิดเห็นนั้น เป็นเรื่องของกลุ่มนั้นๆ ไม่เกี่ยวข้องกับแพทยสภา

วันที่ 26 กันยายน พ.ศ. 2553 มติชนออนไลน์