ผู้เขียน หัวข้อ: หมอระแวง หวั่นยำ 2 ร่าง พ.ร.บ.ผู้เสียหายฯแค่จัดฉาก ปูทางกลับใช้ของเก่า  (อ่าน 1274 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
 ที่ ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์ฯ จวกการเสนอยำ 2 ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย อาจเป็นแค่การสร้างฉาก หวั่นจะกลับไปใช้ร่าง พ.ร.บ.เดิม ด้านประธานแพทย์ชนบท ออกโรงหนุน 7 ร่างเก่า ชี้ ทางออกที่นัก กม.เสนออาจเป็นช่องทางกลุ่มหมอต่อรองเรื่อยๆ
       
       นพ.ศิริชัย ศิลปอาชา ที่ ปรึกษาสมาพันธ์แพทย์โรงพยาบาลศูนย์โรงพยาบาลทั่วไป (รพศ./รพท.) กล่าวถึงกรณีที่นักกฎหมายเสนอให้มีการผบูรณาการเนื้อหาบางส่วนใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....ฉบับรัฐบาล และ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการเข้ารับบริการสาธารณสุข พ.ศ...ฉบับที่ นพ.เมธี วงศ์ศิริสุวรรณ แพทย์ศัลยศาสตร์ด้านประสาท โรงพยาบาลราชวิถี เป็นผู้ยกร่าง ว่า ...โดยส่วนตัวแล้วตนเห็นดีด้วยในข้อเสนอ แต่ยังไม่มั่นใจได้มากนัก ว่า การเสนอแนะดังกล่าวในมุมนักกฎหมายนั้น เป็นไปเพื่อการสร้างฉากหรือเปล่า ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าหากกลุ่มแพทย์ยอมให้มีการเกลาเนื้อหาใน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ โดยเจรจาในเวทีหน้า หรือเวทีใดๆก็ตาม พ.ร.บ.ดังกล่าวฉบับน้องใหม่ก็อาจถูกปรับปรุงจนเนื้อหากลับไปตรงกับ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ดังเดิม ก็เท่ากับว่า ไม่มีการเปลี่ยนแปลงใดๆ เลย
       
       “ใครจะรับประกันได้บ้างว่า ข้อเสนอดังกล่าวไม่ใช่การสร้างฉาก เพราะปัจจุบันไม่ว่ากลุ่มแพทย์จะเคลื่อนไหวอะไรก็ตกเป็นที่วิพากษ์วิจารณ์ จากฝ่ายตรงข้ามมาตลอด แม้แต่ช่วงเวลาแห่งการเสนอกฎหมายเพื่อเข้าประกบในการพิจารณาของสภาฯ ก็ยังมีหลายฝ่ายพยายามจะดึงไปเชื่อมกับฉบับเก่า ซึ่งเจตนารมณ์นั่้นมีแต่จะมุ่งให้เกิดปมขัดแย้งระหว่างหมอกับคนไข้” นพ.ศิริชัย กล่าว
       
       นพ.ศิริชัย กล่าวด้วยว่า เชื่อว่า พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯ มีข้อดีที่เหมาะสมกับผู้ให้บริการและผู้รับบริการอย่างยิ่ง โดยเฉพาะในเรื่องของ การยกเว้นการฟ้องร้องในกรณีเกิดความผิดพลาดอันเนื่องมาจากเหตุฉุกเฉิน ซึ่งโดยหลักแล้วนั้นการช่่วยเหลือผู้ป่วยจากเหตุฉุกเฉินมักไม่สามารถทำได้ ภายใต้มาตรฐานที่ดีเยี่ยม ดังนั้น ความผิดพลาดก็ย่อมเกิดขึ้นได้ง่ายกว่าการรักษาแบบทั่วไป ซึ่งตนก็เห็นด้วยว่าควรงดเว้นการฟ้องร้องในกรณีดังกล่าว
       
       ด้าน นพ.เกรียงศักดิ์ วัชรนุกูลเกียรติ ประธาน ชมรมแพทย์ชนบท กล่าวถึงกรณีเดียวกันว่า ข้อเสนอของนักกฎหมายนั้นเป็นการชี้ให้เห็นทางออกร่วมกันได้ของทั้ง 2 ฝ่ายทั้งแพทย์ผู้ให้บริการสาธารณสุขและประชาชนผู้เข้ารับบริการสาธารณสุข แต่สิ่งที่น่ากังวล คือ ฝ่ายคัดค้านอาจใช้เป็นช่องทางในการต่อรองเรื่อยๆ โดยไม่มีท่าทีว่าจะยอมรับในหลักการของร่างใด การพบจุดอ่อนในหลายมาตราของ พ.ร.บ.น้องฉบับใหม่ที่กลุ่มแพทย์ล่ารายชื่อเพื่อเสนอเข้าประกบตามที่ปรากฏใน สื่อนั้นสะท้อนว่า ยังมีข้อบกพร่องเรื่อยๆ อยู่มาก นั่นหมายความว่า หากมีการย้อนไปแก้ไขก็จะยิ่งล่าช้า ส่วนการบูรณาการทั้ง 2 ร่างรวมกันนั้น ตนเกรงว่า ไม่นานปัญหาก็จะเกิดขึ้นอีก ดังนั้น คิดว่า การผลักดันร่างใดร่างหนึ่งใน 7 ฉบับเข้าที่พิจารณาของสภา นับเป็นทางออกที่ดี เพราะทั้้ง 7 ร่างมีเจตนารมณ์ที่คล้ายกัน ส่วนรายละเอียดนั้นก็รอแก้ไขหลังผ่านชั้นกรรมาธิการเช่นเดิม
       
       “การ กระทำตอนนี้เป็นเหมือนการถ่วงเวลาไว้เพื่อต่อรองเฉยๆ ซึ่งไม่เกิดประโยชน์อะไรเลย อยากฝากไว้ว่าแค่ทุกฝ่ายยอมรับตรงกันว่าความผิดพลาดในการบริการทางสาธารณสุข นั้นสามารถเกิดขึ่้นได้ ซึ่งหากความผิดพลาดเกิดขึ้นแล้วผู้ได้รับความเสียหายนั้นต้องการการเยียวยา ที่เหมาะสมก็เท่านั้น เรื่องการฟ้องร้องก็จะลดลง เพราะได้รับเยียวยาแล้ว ดีกว่าไปทนเสียเงินจำนวนมากกรณีที่มีการฟ้องร้องในชั้นศาล” นพ.เกรียงศักดิ์ กล่าว

ASTVผู้จัดการออนไลน์   27 กันยายน 2553