ผู้เขียน หัวข้อ: การประชุมสมาชิกแพทยสภา เรื่อง ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธาร  (อ่าน 2057 ครั้ง)

khunpou

  • Full Member
  • ***
  • กระทู้: 111
    • ดูรายละเอียด
               การประชุมสมาชิกแพทยสภา
         เรื่อง ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ. ....



1 หลักการเหตุผล
ด้วยรัฐบาลได้นำร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ. ....   เสนอสู่
ครม.เมื่อวันที่ 7 เมษายน 2553 และครม.ได้ส่งร่าง พรบ.นี้เข้าสภาเพื่อให้สภาพิจารณาเพื่อตราเป็นกฎหมายใช้บังคับต่อไปเมื่อ 27 เมษายน 2553 ซึ่งสภาได้บรรจุวาระพิจารณาแล้ว กระทั่งมีแพทย์/ทันตแพทย์/พยาบาล/เภสัชกร/นักกายภาพบำบัด/นักเทคนิคการแพทย์/บุคลากรสาธารณสุขในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขทุกสาขา  ซึ่งเป็นผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง     ได้ออกมาทัดทาน/ทักท้วง เนื่องจาก ร่าง พรบ.ดังกล่าวหากเป็นกฎหมายแล้ว  จะกระทบกับประชาชนทั้งประเทศ และกระทบต่อการประกอบวิชาชีพแพทย์และวิชาชีพสุขภาพอื่นโดยตรง โดยได้เสนอให้รัฐบาลนำร่าง พรบ.ดังกล่าวมาทำประชาพิจารณ์ในผู้ที่เกี่ยวข้อง และในหมู่ประชาชนทั่วไปอันเป็นไปตามหนทางอันจำเป็นในระบอบประชาธิปไตย  และตามที่กฎหมายบัญญัติไว้   ทั้งนี้เนื่องจากก่อนนี้   รัฐบาลไม่ได้นำร่างพรบ.ที่ เสนอจะมาใช้บังคับมาให้ผู้เกี่ยวข้องและประชาชนทั่วไป   ได้มีโอกาสให้ความเห็นแต่อย่างใด
ในขณะเดียวกันมีคนกลุ่มหนึ่งได้อ้างประชาชน ได้ผลักดัน ร่าง พรบ.นี้อย่างผิดปกติวิสัย โดยไม่มีประชาชนกลุ่มอื่นใดได้แสดงความเห็นสนับสนุนโดยชัดเจน บุคคลเหล่านั้นอ้างตนเป็นผู้เสียหายฯนับว่าเป็นผู้มีส่วนได้เสีย ไม่ใช่เป็นประชาชนทั่วไป  แต่ได้อ้างว่าประชาชนทั่วไปต้องการร่าง พรบ.ฉบับนี้  และประชาชนทั่วไปจะได้ประโยชน์  ต่อมามีประชาชน กว่า 20,000 คน และ อสม.ออกมาคัดค้านร่าง พรบ.นี้แล้ว  ประกอบกับ แพทย์ ๙ องค์กรที่จัดตั้งตามประกาศของแพทยสภาได้จัดให้มีการประชาพิจารณ์เบื้องต้นในผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และ สาธารณสุข ในเดือนกันยายน 2553 นี้ กว่า 10 000  คน  พบว่าไม่เห็นชอบกับร่าง พรบ.นี้   
ด้วยแพทยสภามีสมาชิกที่มีฐานะทางนิตินัย เกี่ยวข้องกับ ร่าง พรบ.นี้ หากได้นำออกมาเป็น
กฎหมายบังคับใช้  ประกอบกับมีแพทยสภาสมาชิก จำนวนกว่า 50 คน ตามกฎหมาย ได้เสนอให้แพทยสภา จัดประชุมสมาชิกแพทยสภาในเรื่อง ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ. ... โดยการให้ข้อมูลเกี่ยวกับร่าง พรบ.นี้ และเพื่อจะได้มีมติของสมาชิกแพทยสภาตามกฎหมายร่าง พรบ.นี้ ทั้งนี้ตาม มาตรา 12 อนุ 2 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พศ. 2525 อันมุ่งหมายให้เกิดความสมดุลย์  และความสงบสุขของสังคมแพทย์ และ สังคมประเทศชาติสืบไป

2. วัตถุประสงค์
1. เสนอข้อเท็จจริง และข้อมูล เกี่ยวกับ ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ. ....  แก่   
    สมาชิกแพทยสภา
   2. รับฟังความคิดเห็นของสมาชิกแพทยสภาต่อร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ. ....   
3. เพื่อให้ได้ความคิดเห็นของสมาชิกแพทยสภา เสนอต่อกระทรวงสาธารณสุข  รัฐบาล  และรัฐสภา ตาม
    วัตถุประสงค์ของแพทยสภา ในมาตรา 7 อนุ 5 แห่งพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรม พศ. 2525






3. วิธีการดำเนินงาน
   1. จัดประชุมสมาชิกแพทยสภา ตาม พรบ.วิชาชีพเวชกรรม พศ.2525 มาตรา 12 อนุ 2 
2. ดำเนินการจัดประชุมสมาชิกแพทยสภาตามพื้นที่ เป็น 18  เขตของเขตการสาธารณสุข หรือดำเนินการใน 5 พื้นที่ของประเทศ  ได้แก่ กทม.และปริมณฑล  และ 5ภาคคือ ภาคเหนือ ภาคใต้  ภาคอิสาน ภาคตะวันออก และภาคตะวันตก
   
4.สถานที่และวันเวลาจัดประชุม
ครั้งที่ 1 จัดประชุมที่ห้องประชุม ไพจิตรปวะบุตร ในเขต ๑  หรือ พื้นที่ กทม. และปริมณฑล 
         ในวันที่ 5 ตุลาคม 2553
ครั้งต่อไป จัดในเขต ๒ ถึง ๑๘ หรือ ในพื้นที่  5 ภาคตามระบุ  โดยจัดตามเหมาะสมภายในเดือนตุลาคม ถึง     
         พฤศจิกายน 2553 โดยใช้สถานที่ดังนี้
          1. ห้องประชุมของมหาวิทยาลัยที่มีคณะด้านการแพทย์ ด้านสุขภาพ และด้านสาธารณสุข
              หรือ  2.ห้องประชุมวิทยาลัยสาธารณสุข
              หรือ  3.ห้องประชุมโรงพยาบาลศูนย์/โรงพยาบาลทั่วไป

5. งบประมาณ  จากแพทยสภา

6. ผลที่คาดว่าได้รับ
สมาชิกแพทยสภา  ได้ทราบถึงข้อมูล ความเป็นมา และรายละเอียดเนื้อหาร่าง พรบ. และ ได้พิจารณา มีมติของสมาชิกแพทยสภา ต่อร่าง พรบ.นี้ เพื่อ แพทยสภา เสนอรัฐบาล รัฐสภา และผู้ที่เกี่ยวข้องตามอำนาจหน้าที่ของแพทยสภาอันเป็นองค์กรทางกฎหมายด้านแพทย์ของประเทศต่อไป  ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความสมดุลและความสงบสุขของสังคมแพทย์และสังคมประเทศชาติโดยรวม

      
กำหนดการและวาระประชุมสมาชิกแพทยสภา
เรื่อง ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ. ...
ห้องประชุม ไพจิตร ปวะบุตร
วันที่ 5 ตุลาคม 2553
……………………………………………

เวลาประชุม 9.00 – 15.30 น.

วาระการประชุม

วาระที่ 1    ประธานแจ้งเพื่อทราบ  และ สภาพปัญหาของร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ
                         สาธารณสุข พศ. ...  โดย ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา

วาระที่ 2    รายงานความเป็นมา และบทบาทหน้าที่ของแพทยสภา เกี่ยวกับ ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจาก
                         การรับบริการสาธารณสุข พศ. ...  โดย นพ.สัมพันธ์ คมฤทธิ์  เลขาธิการแพทยสภา

วาระที่ 3    สาระสำคัญ และรายละเอียดเนื้อหา ของ  ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการ
                         สาธารณสุข พศ. ... : สถานภาพของร่าง พรบ.นี้ และกิจกรรมของกลุ่มแพทย์เกี่ยวข้องกับ
                         ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พศ. ...
           พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา  ประธานคณะอนุกรรมการพิจารณาปรับเปลี่ยนเงินเดือนและค่าตอบแทน
     แพทย์ ของแพทยสภา
                         พญ.อรพรรณ์  เมธาดิลกกุล  สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฯ
                         พญ. พจนา กองเงิน  ประธานสมาพันธ์แพทย์ รพศ./รพท.
                         นพ.อุสาห์  พฤฒิจิรวงศ์  สหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์ฯ และ คณะ

วาระที่ 4    ความเห็นของสมาชิกแพทยสภาต่อ ร่าง พรบ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข
                         พศ. ...

วาระที่  5   เรื่องเกี่ยวกับแพทย์และแพทยสภาอื่นๆ เช่น กฎหมายที่กระทบกับการประกอบวิชาชีพเวชกรรม
                         และระบบการสาธารณสุขของประเทศ