ผู้เขียน หัวข้อ: จดหมายเปิดผนึก มาตรการกระทรวงการคลังเรื่องยา  (อ่าน 4205 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกรัฐมนตรีเรื่องมาตรการของกระทรวงการคลัง
๙๙๙/๓๘ วิภาวดีรังสิตซอย ๖๐หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐
๓๑ ตุลาคม  ๒๕๕๕

เรื่อง  ขอให้ดำเนินการบัญชาให้มีการบังคับการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามกฎหมายและรัฐธรรมนูญ

เรียน นายกรัฐมนตรี (นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร)   

อ้างถึง ๑.หนังสือที่ กค.๐๔๒๒.๒/ว.๑๑๐ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การระบุเหตุผลการใช้ยา   นอกบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย
          ๒. หนังสือที่ กค.๐๔๒๒.๒/ว.๑๔๖ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต
   ด้วยปรากฏว่ากระทรวงการคลังโดยนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ได้ออกหนังสือ(อ้างถึง๑ และ ๒) ถึงหัวหน้าส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ ในกำกับดูแลของรัฐบาล และสถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังรายละเอียดแจ้งอยู่แล้ว นั้น

เนื่องจากการกระทำและหรือมาตรการตามหนังสือ(ที่อ้างถึง ๑ และ ๒) มีผลโดยตรงเป็นการบังคับให้แพทย์ผู้ทำหน้าที่ในการตรวจรักษาผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการไม่สามารถใช้อัตวินิจฉัยในการรักษาผู้ป่วย ถึงขนาดกระทบต่อมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมของแพทย์ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ ด้านสาธารณสุข ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๐(๒) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  ในขณะเดียวกันก็กระทบต่อสิทธิของผู้ป่วย ตามมาตรา ๕๑ แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  และขัดนโยบายด้านการสาธารณสุขที่ท่านได้แถลงต่อรัฐสภาก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพโดยแพทย์ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงขอให้ท่านในฐานะผู้บังคับบัญชาของผู้ออกหนังสือ(ที่อ้างถึง ๑ และ ๒) ได้โปรดพิจารณาและสั่งยกเลิกหนังสือดังกล่าว และในระหว่างการพิจารณาเรื่องนี้ ขอให้ท่านมีคำสั่งระงับมาตรการตามหนังสือทั้งหมดไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่ยากต่อการเยียวยา โดยขอให้ท่านแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย.
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการเป็นกรณีเร่งด่วนที่สุด
               ขอแสดงความนับถือ

(พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา)
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสา(ธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
จดหมายเปิดผนึกถึงรัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง
๙๙๙/๓๘ วิภาวดีรังสิตซอย ๖๐หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐
๓๑ ตุลาคม  ๒๕๕๕

เรื่อง  ขอให้ยกเลิกมาตรการที่มีผลกระทบต่อประชาชนด้านสาธารณสุข

เรียน รัฐมนตรีว่าการกระทรวงการคลัง (นายกิตติรัตน์ ณ ระนอง)   

อ้างถึง ๑.หนังสือที่ กค.๐๔๒๒.๒/ว.๑๑๐ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การระบุเหตุผลการใช้ยา   นอกบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย
         ๒. หนังสือที่ กค.๐๔๒๒.๒/ว.๑๔๖ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต

   ด้วยปรากฏว่ากระทรวงการคลังโดยนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ได้ออกหนังสือ(อ้างถึง๑ และ ๒) ถึงหัวหน้าส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ ในกำกับดูแลของรัฐบาล และสถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังรายละเอียดแจ้งอยู่แล้ว นั้น

เนื่องจากการกระทำและหรือมาตรการตามหนังสือ(ที่อ้างถึง ๑ และ ๒) มีผลโดยตรงเป็นการบังคับให้แพทย์ผู้ทำหน้าที่ในการตรวจรักษาผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการไม่สามารถใช้อัตวินิจฉัยในการรักษาผู้ป่วย ถึงขนาดกระทบต่อมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมของแพทย์ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ ด้านสาธารณสุข ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๐(๒) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  ในขณะเดียวกันก็กระทบต่อสิทธิของผู้ป่วย ตามมาตรา ๕๑  แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  มิพักต้องกล่าวถึงเป็นการขัดต่อนโยบายด้านการสาธารณสุขที่นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรีได้แถลงต่อรัฐสภา ก่อนเข้าบริหารราชการแผ่นดิน ที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชน ได้รับบริการสาธารณสุข ที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยแพทย์ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

ด้วยเหตุดังกล่าว จึงขอให้ท่านในฐานะผู้บังคับบัญชาของผู้ออกหนังสือ(ที่อ้างถึง ๑ และ ๒) ได้โปรดพิจารณาและสั่งยกเลิกเพิกถอนหนังสือดังกล่าว และในระหว่างการพิจารณาเรื่องนี้ ขอให้ท่านมีคำสั่งระงับมาตรการตามหนังสือทั้งหมดไว้ก่อนเป็นการชั่วคราวเพื่อหลีกเลี่ยงความเสียหายที่ยากต่อการเยียวยา โดยขอให้ท่านแต่งตั้งคณะกรรมการเพื่อศึกษาแนวทางแก้ไขปัญหาดังกล่าวด้วย.
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการเป็นกรณีเร่งด่วนที่สุด

               ขอแสดงความนับถือ

(พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา)
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)   
ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 ตุลาคม 2012, 22:44:12 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
จดหมายเปิดผนึกถึงประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ
๙๙๙/๓๘ วิภาวดีรังสิตซอย ๖๐หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐
๓๑ ตุลาคม  ๒๕๕๕

เรื่อง  ขอให้พิจารณาดำเนินการให้มีการยกเลิกมาตรการที่ละเมิดสิทธิผู้ป่วยและละเมิดสิทธิผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

เรียน  ประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ (ศจ.ดร.อมรา พงศาพิชญ์)   

อ้างถึง ๑.หนังสือที่ กค.๐๔๒๒.๒/ว.๑๑๐ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การระบุเหตุผลการใช้ยา   นอกบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย
         ๒. หนังสือที่ กค.๐๔๒๒.๒/ว.๑๔๖ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต
        

       ด้วยปรากฏว่ากระทรวงการคลังโดยนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ด้านรายจ่ายและหนี้สิน  ได้ออกหนังสือ(อ้างถึง๑ และ ๒) ถึงหัวหน้าส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ ในกำกับดูแลของรัฐบาล และสถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังรายละเอียดแจ้งอยู่แล้ว นั้น

เนื่องจากการกระทำและหรือมาตรการตามหนังสือ(ที่อ้างถึง ๑ และ ๒) มีผลโดยตรงเป็นการบังคับให้แพทย์ผู้ทำหน้าที่ในการตรวจรักษาผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการไม่สามารถใช้อัตวินิจฉัยในการรักษาผู้ป่วย ถึงขนาดกระทบต่อมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมของแพทย์ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ ด้านสาธารณสุข ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๐(๒) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  ที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชน ได้รับบริการสาธารณสุข ที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยแพทย์ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

       ในขณะเดียวกันก็กระทบต่อสิทธิของผู้ป่วย ตามมาตรา ๕๑  แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่บัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน
มิพักต้องกล่าวถึงว่า เป็นการละเมิดผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ไม่สามารถจะสั่งการรักษาผู้ป่วยตามข้อบังคับแพทยสภาหมวด 4 ข้อ 15 ที่ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับดีที่สุด

   คำสั่งของกระทรวงการคลังตามที่อ้างถึงนี้ เป็นการละเมิดแพทย์ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ไม่สามารถเลือกสั่งยาที่ดีและเหมาะสมที่สุด ในการรักษาผู้ป่วยของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนังสือที่อ้างถึง ๒ นั้น เป็นการบังคับให้แพทย์ต้องเลือกยาที่เลวที่สุดก่อน รอจนผู้ป่วยมีผลข้างเคียง อาการแทรกซ้อน อาการไม่พึงประสงค์จากยา หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาแล้ว แพทย์จึงจะสามารถเปลี่ยนมาใช้ยาที่เหมาะสมที่สุดได้ ถ้าแพทย์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามนี้แล้ว กรมบัญชีกลางจะไปเรียกเงินค่ายาคืนจากโรงพยาบาลและแพทย์ผู้สั่งใช้ยาอีกด้วย

  นับเป็นการละเมิดและบีบบังคับแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างรุนแรงที่สุดไม่ให้สามารถรักษาจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้  มิพักต้องกล่าวถึงว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยอย่างหนักหนาสาหัสเช่นเดียวกัน

ในฐานะที่ท่านดำรงตำแหน่งประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ที่มีอำนาจหน้าที่ตามข้อ 1 ในการตรวจสอบและรายงานการกระทำหรือการละเลยการกระทำอันเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชน หรืออันไม่เป็นไปตามพันธกรณีระหว่างประเทศเกี่ยวกับสิทธิมนุษยชนที่ประเทศไทยเป็นภาคี และเสนอมาตรการแก้ไขที่เหมาะสมต่อบุคคลหรือหน่วยงานที่กระทำหรือละเลยการกระทำดังกล่าว เพื่อดำเนินการ ในกรณีที่ปรากฏว่าไม่มีการดำเนินการตามที่เสนอ ให้รายงานต่อรัฐสภาเพื่อดำเนินการต่อไป
  
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการในฐานะประธานกรรมการสิทธิมนุษยชนแห่งชาติ  ในการดำเนินการให้มีการยกเลิกเพิกถอนหนังสือของกระทรวงการคลังที่อ้างถึงทั้ง 2 ฉบับเป็นกรณีเร่งด่วนที่สุด ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วยและแพทย์ อันยากต่อการเยียวยาในภายหลัง

               ขอแสดงความนับถือ

(พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา)
ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมืองประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)   


« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 ตุลาคม 2012, 22:44:53 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกแพทยสภา
๙๙๙/๓๘ วิภาวดีรังสิตซอย ๖๐หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐
๓๑ ตุลาคม  ๒๕๕๕

เรื่อง  ขอให้พิจารณาดำเนินการให้มีการยกเลิกมาตรการที่ละเมิดผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

เรียน  นายกแพทยสภา (ศจ.นพ.อำนาจ กุสลานันท์)   

อ้างถึง ๑.หนังสือที่ กค.๐๔๒๒.๒/ว.๑๑๐ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การระบุเหตุผลการใช้ยา   นอกบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย
         ๒. หนังสือที่ กค.๐๔๒๒.๒/ว.๑๔๖ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต

   ด้วยปรากฏว่ากระทรวงการคลังโดยนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจด้านรายจ่ายและหนี้สิน ได้ออกหนังสือ(อ้างถึง๑ และ ๒) ถึงหัวหน้าส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ ในกำกับดูแลของรัฐบาล และสถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังรายละเอียดแจ้งอยู่แล้ว นั้น

เนื่องจากการกระทำและหรือมาตรการตามหนังสือ(ที่อ้างถึง ๑ และ ๒) มีผลโดยตรงเป็นการบังคับให้แพทย์ผู้ทำหน้าที่ในการตรวจรักษาผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการไม่สามารถใช้อัตวินิจฉัยในการรักษาผู้ป่วย ถึงขนาดกระทบต่อมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมของแพทย์ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ ด้านสาธารณสุข ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๐(๒) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช๒๕๕๐ที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุข ที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยแพทย์ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

       ในขณะเดียวกันก็กระทบต่อสิทธิของผู้ป่วย ตามมาตรา ๕๑  แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่บัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน
มิพักต้องกล่าวถึงว่า เป็นการละเมิดผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ไม่สามารถจะสั่งการรักษาผู้ป่วยตามข้อบังคับแพทยสภาหมวด 4 ข้อ 15 ที่ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับดีที่สุด
ในฐานะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกแพทยสภา ที่มีหน้าที่ตามที่บัญญัติไว้ในพระราชบัญญัติวิชาชีพเวชกรรมพ.ศ. 2525 ที่บัญญัติไว้ในมาตรา๗ (๑) ว่า แพทยสภามีวัตถุประสงค์..ในการควบคุมการประพฤติของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ให้ถูกต้องตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพเวชกรรม โดยการต้องรักษามาตรฐานในระดับดีที่สุดดังกล่าวแล้ว โดยแพทย์ทุกคน ย่อมได้รับการสั่งสอนอบรมจากครูบาอาจารย์ ให้เลือกใช้ยาที่ดีและเหมาะสมที่สุด (เรียกว่าครูสอนมาให้เลือก first line drug หรือ drug of choice) ตามการวินิจฉัยด้วยความรู้ ประสบการณ์และความเชี่ยวชาญในแขนงวิชาการของตนเอง หรือตามการปรึกษาแนะนำของผู้เชี่ยวชาญในด้านนั้นๆ

  แต่คำสั่งของกระทรวงการคลังตามที่อ้างถึงนี้ เป็นการละเมิดผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ไม่สามารถเลือกสั่งยาที่ดีและเหมาะสมที่สุด ในการรักษาผู้ป่วยของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนังสือที่อ้างถึง ๒ นั้น เป็นการบังคับให้แพทย์ต้องเลือกยาที่เลวที่สุดก่อน รอจนผู้ป่วยมีผลข้างเคียง อาการแทรกซ้อน อาการไม่พึงประสงค์จากยา หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาแล้ว แพทย์จึงจะสามารถเปลี่ยนมาใช้ยาที่เหมาะสมที่สุดได้ ถ้าแพทย์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามนี้แล้ว กรมบัญชีกลางจะไปเรียกเงินค่ายาคืนจากโรงพยาบาลและแพทย์ผู้สั่งใช้ยาอีกด้วย

  นับเป็นการละเมิดและบีบบังคับแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างรุนแรงที่สุด  มิพักต้องกล่าวถึงว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยอย่างหนักหนาสาหัสเช่นเดียวกัน

  ด้วยเหตุดังกล่าว จึงขอให้ท่านในฐานะนายกแพทยสภาผู้มีหน้าที่ให้คำปรึกษาหรือข้อเสนอแนะต่อรัฐบาลเกี่ยวกับปัญหาการแพทย์และการสาธารณสุขของประเทศ และเป็นตัวแทนของผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมในประเทศไทย ตามมาตรา ๗(๕,๖) แห่งพ.ร.บ.วิชาชีพเวชกรรม พ.ศ. ๒๕๒๕ ได้นำเรื่องดังกล่าวนี้เข้าพิจารณาร่วมกับกรรมการแพทยสภา เพื่อดำเนินการให้มีการยกเลิกเพิกถอนหนังสือของกระทรวงการคลังที่อ้างถึงโดยด่วน ทั้งนี้เพื่อปกป้องคุ้มครองประชาชนให้ได้รับการรักษาตามมาตรฐานการแพทย์ที่ดีมี่สุด และเพื่อปกป้องศักดิ์ศรีของวิชาชีพแพทย์ ที่เป็นวิชาชีพอิสระ ไม่ต้องวินิจฉัยรักษาผู้ป่วยภายใต้ข้อบังคับที่ขัดต่อมาตรฐานการประกอบวิชาชีพ อันเป็นอำนาจหน้าที่ตามวัตถุประสงค์ของแพทยสภาดังกล่าวแล้ว
จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการเป็นกรณีเร่งด่วนที่สุด ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วยและแพทย์ อันยากต่อการเยียวยาในภายหลัง

               ขอแสดงความนับถือ

(พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา)
กรรมการแพทยสภา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)   
ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
« แก้ไขครั้งสุดท้าย: 31 ตุลาคม 2012, 22:43:24 โดย story »

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
จดหมายเปิดผนึกถึงนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
๙๙๙/๓๘ วิภาวดีรังสิตซอย ๖๐หลักสี่ กทม. ๑๐๒๑๐
๓๑ ตุลาคม  ๒๕๕๕

เรื่อง  ขอให้พิจารณาดำเนินการให้มีการยกเลิกมาตรการที่ละเมิดสิทธิผู้ป่วยและละเมิดสิทธิผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม

เรียน  นายกแพทยสมาคมแห่งประเทสไทย (นพ.วันชาติ ศุภจัตุรัส)   

อ้างถึง ๑.หนังสือที่ กค.๐๔๒๒.๒/ว.๑๑๐ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การระบุเหตุผลการใช้ยา   นอกบัญชียาหลักแห่งชาติเพื่อใช้ประกอบการเบิกจ่าย
          ๒. หนังสือที่ กค.๐๔๒๒.๒/ว.๑๔๖ ลงวันที่ ๒ ตุลาคม ๒๕๕๕ เรื่อง การห้ามเบิกค่ายากลูโคซามีนซัลเฟต
          ๓. http://www.mat.or.th/eng/introduction.php Inception of the Orgation.
         
        ด้วยปรากฏว่ากระทรวงการคลังโดยนางสาวสุภา ปิยะจิตติ รองปลัดกระทรวงการคลัง หัวหน้ากลุ่มภารกิจ ด้านรายจ่ายและหนี้สิน  ได้ออกหนังสือ(อ้างถึง๑ และ ๒) ถึงหัวหน้าส่วนราชการ  รัฐวิสาหกิจ ในกำกับดูแลของรัฐบาล และสถานพยาบาลที่กระทรวงการคลังกำหนด ดังรายละเอียดแจ้งอยู่แล้ว นั้น
เนื่องจากการกระทำและหรือมาตรการตามหนังสือ(ที่อ้างถึง ๑ และ ๒) มีผลโดยตรงเป็นการบังคับให้แพทย์ผู้ทำหน้าที่ในการตรวจรักษาผู้ป่วยในระบบสวัสดิการข้าราชการไม่สามารถใช้อัตวินิจฉัยในการรักษาผู้ป่วย ถึงขนาดกระทบต่อมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรมของแพทย์ อันเป็นการกระทำที่ขัดต่อแนวนโยบายแห่งรัฐ ด้านสาธารณสุข ที่บัญญัติไว้ในมาตรา ๘๐(๒) แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐  ที่มุ่งส่งเสริมให้ประชาชน ได้รับบริการสาธารณสุข ที่มีมาตรฐานและมีประสิทธิภาพ โดยแพทย์ซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย

       ในขณะเดียวกันก็กระทบต่อสิทธิของผู้ป่วย ตามมาตรา ๕๑  แห่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช ๒๕๕๐ ที่บัญญัติไว้ว่าบุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐาน
มิพักต้องกล่าวถึงว่า เป็นการละเมิดผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ไม่สามารถจะสั่งการรักษาผู้ป่วยตามข้อบังคับแพทยสภาหมวด 4 ข้อ 15 ที่ว่า ผู้ประกอบวิชาชีพต้องรักษามาตรฐานของการประกอบวิชาชีพเวชกรรมในระดับดีที่สุด
ในฐานะที่ท่านดำรงตำแหน่งนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ที่มีวัตถุประสงค์ตั้งแต่ต้นตามสิ่งที่อ้างถึง๓ ที่จะแสวงหาความร่วมมือจากสมาชิกและองค์กรภาครัฐและองค์กรวิชาชีพ ในการที่จะส่งเสริมให้แพทย์ทุกคนสามารถประกอบวิชาชีพได้ตามจริยธรรมและมาตรฐานทางการแพทย์ในระดับนานาชาติทั้งในปัจจุบันและอนาคต

  แต่คำสั่งของกระทรวงการคลังตามที่อ้างถึงนี้ เป็นการละเมิดแพทย์ซึ่งเป็นผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรม ที่ไม่สามารถเลือกสั่งยาที่ดีและเหมาะสมที่สุด ในการรักษาผู้ป่วยของตน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในหนังสือที่อ้างถึง ๒ นั้น เป็นการบังคับให้แพทย์ต้องเลือกยาที่เลวที่สุดก่อน รอจนผู้ป่วยมีผลข้างเคียง อาการแทรกซ้อน อาการไม่พึงประสงค์จากยา หรือไม่ตอบสนองต่อการรักษาแล้ว แพทย์จึงจะสามารถเปลี่ยนมาใช้ยาที่เหมาะสมที่สุดได้ ถ้าแพทย์ผู้ใดไม่ปฏิบัติตามนี้แล้ว กรมบัญชีกลางจะไปเรียกเงินค่ายาคืนจากโรงพยาบาลและแพทย์ผู้สั่งใช้ยาอีกด้วย

  นับเป็นการละเมิดและบีบบังคับแพทย์ผู้ประกอบวิชาชีพเวชกรรมอย่างรุนแรงที่สุดไม่ให้สามารถรักษาจริยธรรมแห่งการประกอบวิชาชีพเวชกรรมได้  มิพักต้องกล่าวถึงว่าเป็นการละเมิดสิทธิผู้ป่วยอย่างหนักหนาสาหัสเช่นเดียวกัน

จึงเรียนมาเพื่อโปรดพิจารณาดำเนินการในฐานะนายกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย ทำการแทนมวลสมาชิกของพทยสมาคม  ในการดำเนินการให้มีการยกเลิกเพิกถอนหนังสือของกระทรวงการคลังที่อ้างถึงทั้ง 2 ฉบับเป็นกรณีเร่งด่วนที่สุด ก่อนที่จะเกิดความเสียหายต่อผู้ป่วยและแพทย์ อันยากต่อการเยียวยาในภายหลัง

               ขอแสดงความนับถือ

(พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา)
สมาชิกแพทยสมาคมแห่งประเทศไทย
ประธานกลุ่มพิทักษ์สิทธิพลเมือง
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย (สผพท.)   


thailand

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 25
    • ดูรายละเอียด
Re: จดหมายเปิดผนึก มาตรการกระทรวงการคลังเรื่องยา
« ตอบกลับ #5 เมื่อ: 01 พฤศจิกายน 2012, 01:00:29 »
พวกเราต้องช่วยกันครับ ผนึกกำลังภาคประชาชน...

สนับสนุนการเรียกร้องสิทธิ์ที่พวกเราพึ่งจะได้...


http://www.thaihospital.org/board/index.php?topic=6346.0

ครั้งนี้เราไม่ยอมครับ