ผู้เขียน หัวข้อ: ปัญหาในการประกอบวิชาชีพด้านการพยาบาล และสาธารณสุข  (อ่าน 14875 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เนื่องจากในปัจจุบันประชาชนมีการศึกษาดีขึ้น มีการใช้สื่อสารได้หลายช่องทาง
ประกอบกับสถานภาพทางสังคม เศรษฐกิจ สิ่งแวดล้อม การเมือง มีความผันผวนเปลี่ยนแปลงตลอดเวลา ทำให้เกิดผลกระทบ / ปัญหาในการประกอบวิชาชีพด้านการพยาบาล และสาธารณสุข ดังนี้

ก.ด้านผู้รับบริการ
1. มีกฎหมายคุ้มครองตามสิทธิผู้ป่วย ผู้รับบริการสามารถเลือกผู้ให้การรักษา / เลือกสถานสถานพยาบาลได้ ละต้องการเลือกการรักษาในสถานพยาบาลที่มีศักยภาพสูง ภาระงานจึงไปหนักที่รพท. และรพศ. ประกอบกับประชาชน / ผู้รับบริการมีความต้องการและมีความคาดหวังสูง จึงทำให้มีการเรียกร้องสิทธิมากขึ้น / ฟ้องร้องมากขึ้น .
2.พฤติกรรมสุขภาพ และอุปนิสัยการบริโภคอาหารของคนไทย ส่งผลกระทบต่อภาวะสุขภาพของประชาชน

ข.ด้านผู้ให้บริการ
1.ให้บริการตามมาตรฐานวิชาชีพ และจรรยาบรรณวิชาชีพ ด้วยความละเอียดอ่อน ถึงแม้งานจะหนัก ยุ่งยาก ซับซ้อน เพราะเป็นบริการที่ให้กับมนุษย์ซึ่งมีชีวิตจิตใจ โดยยึดผู้ป่วยเป็นศูนย์กลาง ทุกสิทธิบัตร และไม่เลือกชนชั้น ชาติ ศาสนา ลัทธิทางการเมือง ฯลฯ แต่เมื่อมีผู้รับบริการมาก ภาระงานหนัก บุคลากรทางการแพทย์มีจำนวนจำกัด จึงส่งผลกระทบให้คุณภาพ และประสิทธิภาพในการรักษาพยาบาลลดลงได้ .
2.ความเสี่ยงในเรื่องต่างๆ ส่งผลกระทบต่อบุคลากรสาธารณสุขอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ รวมทั้งมีปัจจัยต่างๆเข้ามามีอิทธิพลต่อบุคลากรโดยตรง เช่น

2.1การถูกร้องเรียน / ฟ้องร้อง ทำให้เสียสมาธิ และหมดขวัญกำลังใจในการทำงาน

2.2 ความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สิน เช่น
2.2.1ในยามวิกาลพยาบาลต้องเข้าเวร ออกเวร กลุ่มคนร้ายหรือมิจฉาชีพสามารถฉกฉวยโอกาสได้ง่าย อาจ ถูกชิงทรัพย์สิน ถูกทำร้ายร่างกาย ถูกข่มขืนแล้วฆ่าดังข่าวซึ่งเคยปรากฏบนหนังสือพิมพ์ / โทรทัศน์ 2.2.2เสี่ยงต่ออันตรายต่างๆที่จะเกิดขึ้นขณะนำส่งผู้ป่วย ( Refer ) จากสถานพยาบาลหนึ่งไปอีกสถานพยาบาลหนึ่ง ซึ่งเคยมีอุบัติเหตุ พยาบาลผู้นำส่งผู้ป่วย / เจ้าหน้าที่ได้รับบาดเจ็บ และสูญเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่
2.2.3ในยามบ้านเมืองไม่สงบสุข เช่น เกิดจลาจล สงคราม สงครามกลางเมือง ทำให้กระทรวงสาธารณสุข ต้องสูญเสียบุคลากรที่มีคุณค่าไปอย่างน่าเสียดาย เนื่องจากต้องเสียชีวิตขณะปฏิบัติหน้าที่ราชการ และเจ้าหน้าที่ปฏิบัติงานไม่สะดวก ผู้ป่วยไม่ปลอดภัย จำเป็นต้องย้ายโรงพยาบาล ดังปรากฏบนสื่อ /โทรทัศน์ / หนังสือพิมพ์ที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏบนสื่อต่างๆไปทั่วโลก

2.3 เสี่ยงติดเชื้อโรคต่างๆ เช่น ไข้หวัด 2009 , TB , AIDS ฯลฯ เพราะการทำงานในชีวิตประจำวันของพยาบาล ต้องอยู่กับผู้ป่วยตลอด 24 ชั่วโมง

2.4 มีปัญหาครอบครัว เนื่องจากต้องเข้าเวรเช้า บ่าย ดึก มีเวลาอยู่บ้านไม่แน่นอน ลูกไม่มีคนดูแล สามีไปมีผู้หญิงอื่น บ้านถูกงัดแงะ ฯลฯ และอาจเป็นปัญหาของสังคมได้หากไม่ได้รับการแก้ไข

3.ความก้าวหน้าทางวิชาชีพ ซึงเป็นปัญหามากที่สุดในขณะนี้

3.1 การบรรจุตำแหน่งเป็นข้าราชการของพยาบาลประจำการจบใหม่
3.1.1 การบรรจุ ไม่มีความหวังที่แน่นอนว่าจะได้รับการบรรจุแต่งตั้งเข้าทำงานเมื่อไร ไม่มีความมั่นคงในอาชีพ ทำให้มีการสมองไหล /ลาออก / เปลี่ยนงานบ่อย จึงมีความเสี่ยงต่อผู้ป่วยทางด้านมาตรฐานการดูแล / คุณภาพการรักษาพยาบาล ต้องรับพยาบาลใหม่มาทดแทนเรื่อยๆ เนื่องจาก
ผู้ที่มีความชำนาญในงานจะโดนเอกชนดึงตัวได้ง่ายเนื่องจากงานเบากว่า ค่าตอบแทนสูงกว่า และมีเป็นจำนวนมากในแต่ละปี จึงต้อง Trainคนใหม่อยู่เป็นประจำ
ไปประกอบอาชีพอื่น เช่น ครู ตัวแทนประกันชีวิต ธุรกิจขายตรง อาหารเสริมสุขภาพ เลขาฯ.......( ทั้งในกระทรวงสาธารณสุข และนอกกระทรวง ) ฯลฯ
ไปทำงานต่างกระทรวง / ทบวงมหาวิทยาลัยของรัฐ เช่น ทำงานเทศบาล อาจารย์มหาวิทยาลัย ฯลฯ
3.1.2 ควรมีมาตรฐานเดียวกันในการบรรจุของพยาบาลที่สำเร็จการศึกษาจากทุกสังกัดเข้าทำงานในกระทรวงสาธารณสุข ควรใช้ระบบการคัดเลือกแข่งขัน หรือวิธีลำดับที่การสอบได้ใบประกอบวิชาชีพ ผู้ที่สอบได้ก่อนได้รับการบรรจุก่อน และให้ยกเลิกโควตาการบรรจุนักเรียนทุน เพราะเป็นการปิดกั้นคนเก่งจากสถาบันอื่น(ทบวงมหาวิทยาลัยและเอกชน)เข้าสู่ระบบของกระทรวงสาธารณสุข หรือเมื่อเข้ามาทำงานแล้วก็อยู่ได้ไม่นานเพราะไม่ได้บรรจุ เนื่องจากปัจจุบันนักเรียนทุนได้รับบรรจุก่อน เป็นการเหลื่อมล้ำในวิชาชีพเดียวกัน
3.1.3 มีพยาบาลจำนวนมากเป็นคนท้องถิ่น มีความต้องการจะกลับมาดูแลที่บ้านเกิด แต่กระทรวงไม่มีแผนการบรรจุคนรองรับ ในขณะที่ปริมาณคนไข้มากขึ้นทุกขณะ ความแน่นอน ความมั่นคงในอาชีพไม่มี ทำให้เกิดความท้อแท้

3.2 ภาระงานและการปรับระดับตำแหน่ง
3.2.1 ภาระงาน และลักษณะงานที่ปฏิบัติ เป็นงานที่หนัก ยุ่งยาก ซับซ้อน มากกว่าวิชาชีพอื่น
เนื่องจากปฏิบัติงานกับชีวิตมนุษย์ที่มีชีวิตจิตใจ ต้องทำทั้งกลางวันคืน กลางคืน มีความเสี่ยงเรื่องความปลอดภัยในชีวิต และทรัพย์สิน และเมื่อเปรียบเทียบกับข้าราชการครูสอนนักเรียนวันละ 2-5 ชั่วโมง สัปดาห์ละ 10-25 ชั่วโมง แต่วิชาชีพพยาบาลทำงานวันเดียว 8-9 ชั่วโมง หรือสัปดาห์ละ 40-45 ชั่วโมง ซึ่งจะเห็นว่าหนักและเหนื่อยกว่าหลายเท่า
การทำ P4P เป็นการเพิ่มภาระงานให้กับพยาบาลผู้ปฏิบัติ เนื่องจากต้องปฏิบัติงานกับผู้ป่วยที่มีปัญหาทางด้านสุขภาพ ต้องแบ่งเวลาลงกิจกรรม P4P ที่ทำ แทนที่จะดูแลผู้ป่วยได้เต็มที่ จึงมีความเสี่ยงต่อการถูกฟ้องร้องเพิ่มมากขึ้น
3.2.2 การปรับระดับตำแหน่งของวิชาชีพพยาบาลไม่ควรยึดติดอยู่กับ ขนาดของโรงพยาบาล และจำนวน ผู้รับบริการ ควรให้ลื่นไหลเหมือนวิชาชีพครู ที่มีการเลื่อนตำแหน่งได้โดยไม่ยึดกับขนาดของโรงเรียน และจำนวนนักเรียน
3.2.3 ตำแหน่งหัวหน้าหอผู้ป่วย ควรมีในโครงสร้างที่ กพ. กำหนดไม่ใช่แค่ตำแหน่งภายในโรงพยาบาล เนื่องจากปฏิบัติงานจริงทั้งทางด้านบริหารจัดการ บริการและวิชาการ ซึ่งเป็นที่ทราบของบุคคลทั่วไปทั้งภายใน และภายนอกโรงพยาบาล
3.2.4 ควรเพิ่มตำแหน่งชำนาญการพิเศษ , เชียวชาญ เช่น หัวหน้าตึก / หัวหน้างานควรได้ตำแหน่งชำนาญการพิเศษ และหัวหน้าพยาบาลควรได้ตำแหน่งเชียวชาญ

3.3 ยังมีความเหลื่อมล้ำของความเจริญก้าวหน้าในต่างสาขาวิชาชีพของบุคลากรในกระทรวงสาธารณสุข

3.4 ถ้าหากไม่สามารถปฏิบัติได้ตามคำเรียกร้อง ควรแยกตัวออกจาก กพ.เป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขเองโดยเฉพาะ เนื่องจากมีความหลากหลายวิชาชีพ / อาชีพ ภายในกระทรวงซึ่ง กพ.เองก็ไม่ค่อยจะเข้าใจการทำงานของเจ้าหน้าที่ดีพอ เวลามีการจัดสรรงบประมาณเมื่อเทียบสัดส่วนแล้ว พยาบาลจะรับน้อยกว่าวิชาชีพอื่นโดยอ้างว่าพยาบาลมีมากงบประมาณมีน้อย ซึ่งไม่เป็นธรรมต่อวิชาชีพพยาบาล

4.ด้านสวัสดิการ
4.1 การบาดเจ็บ / การเจ็บป่วย / การสูญเสียชีวิตจาการทำงาน ควรกำหนดไว้ให้ชัดเจนในระเบียบด้านสวัสดิการของกระทรวงสาธารณสุข เหมือนกับข้าราชการตำรวจ / ทหาร
4.2 เงินเดือน และค่าตอบแทนน้อยเมื่อเทียบกับภาระงานไม่เพียงพอต่อการครองชีพ ต้องไปหาอาชีพอื่นมาเสริมรายได้ เช่น ตัวแทนประกันชีวิต ธุรกิจขายตรง อาหารเสริมสุขภาพ ฯลฯ
4.3 เงินประจำตำแหน่งทุกชนิด เช่น เงินพตส , รพช /รพท /รพศ ให้ไปรวมกับเงินเดือนเพื่อใช้คำนวณ บำเหน็จ บำนาญ ในยามเกษียณเหมือนข้าราชการทหาร ตำรวจ และตุลาการ
4.4 บ้านพักไม่เพียงพอบุคลากรทางการพยาบาลที่อยู่เวร รัฐควรให้งบประมาณในการสร้างบ้านพักให้เพียงพอและสัมพันธ์กับพื้นที่ของโรงพยาบาล เช่น โรงพยาบาลมีพื้นที่จำกัดแต่ให้งบประมาณสร้างอาคารไม่กี่ชั้น 4.5 ที่จอดรถไม่เพียงพอต่อบุคลากรและผู้รับบริการ รัฐควรให้งบประมาณในการสร้างอาคารจอดรถในโรงพยาบาลที่มีพื้นที่จอดรถอันจำกัด เช่น โรงพยาบาลพัทลุง ( ปัจจุบันไม่มีแม้แต่พื้นที่ให้สร้าง เพราะยังหาสถานที่ไม่ได้ )

5.สภาวะสุขภาพจิต หรือความเครียดของพยาบาล / แพทย์ / บุคลากรที่เกี่ยวข้อง สูงมากกว่าบุคลากรกระทรวงอื่น เนื่องจาก
5.1 ต้องดูแลรับผิดชอบชีวิตคนทั้งชีวิตตั้งแต่แรกรับจนกระทั่งจำหน่าย หรือจนวาระสุดท้ายแห่งชีวิตของผู้ป่วย 5.2 มีความเสี่ยงต่อการร้องเรียน / ถูกฟ้องร้องสูง 5.3 ปฏิบัติงานไม่เป็นเวลา เสี่ยงภัย เสี่ยงอันตราย เสี่ยงต่อชีวิตและทรัพย์สิน เสี่ยงมีปัญหาครอบครัว
5.4 เสี่ยงต่อการติดเชื้อต่างๆ. 5.5 เงินเดือน / ค่าตอบแทน ไม่เหมาะสมกับภาระงาน

6.,มีการแข่งขันทางการแพทย์สูง ทั้งโรงพยาบาลของรัฐและเอกชน ผู้ที่มีประสบการณ์ มีความรู้ความชำนาญในงานอาชีพ โอกาสถูกดึงตัวไปที่อื่นมีได้ง่าย

7.ผู้มี่มีพลังอำนาจ / มีอิทธิพล ส่งผลกระทบต่องานประจำของเจ้าหน้าที่ ทั้งด้านบวกและด้านลบ เช่น นักการเมือง / ข้าราชการการเมือง ข้าราชการชั้นผู้ใหญ่ ผู้บริหารระดับสูง และผู้มีอุปการคุณโรงพยาบาล

8.ด้านขวัญกำลังใจ
จากข้อ 1- 7 เป็นสิ่งที่เข้ามามีบทบาท หรือมีอิทธิพลต่อขวัญกำลังใจในการทำงานประจำของพยาบาล เช่น การออกเวร การโอน การย้าย ไม่เป็นไปตามกฎระเบียบของกลุ่มการพยาบาล ทำให้บั่นทอนจิตใจและความรู้สึกของเจ้าหน้าที่เป็นอย่างมาก เกิดอาการเสียขวัญหมดกำลังใจ มีความท้อแท้ อันเป็นสาเหตุทำให้เกิดการย้าย / การโอน / การลาออก / Early Retire เพิ่มขึ้นเรื่อยๆอย่างเป็นวัฏจักร หรือเกิด อาการสมองไหล บุคลากรสูญหายไปจากกระทรวงสาธารณสุขอย่างน่าเสียดาย

ค.ภาครัฐ

1.จัดให้มีสถานพยาบาลเป็นเครือข่ายสุขภาพ เพื่อให้บริการแก่ประชาชนครอบคลุมทุกพื้นที่ทั่วประเทศ ( ใกล้บ้าน ใกล้ใจ ) : โรงพยาบาลของรัฐ ( รพสต./รพช./รพท./รพศ. ) ทบวงมหาวิทยาลัย และเอกชน แต่ระบบการบริหารจัดการ / การให้บริการส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค ของรัฐยังไม่ดีเท่าที่ควร จึงทำให้มีผู้ป่วยไปล้นที่ รพท. / รพศ.

2.การจัดสรรงบประมาณให้โรงพยาบาลทั้ง 3 กองทุน ในระบบสวัสดิการข้าราชการ ระบบหลักประกันสังคม และระบบหลักประกันสุขภาพภาพแห่งชาติ ยังไม่เพียงพอต่อค่าใช้จ่ายของโรงพยาบาล

3.การสร้างมิตรสัมพันธ์ / เครือข่ายสุขภาพ กับกระทรวงอื่นๆ / ทบวงมหาวิทยาลัย / หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชนเพิ่มมากขึ้น เพื่อลดต้นทุนและภาระงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข
เช่น -กระทรวงศึกษาธิการ /สถานศึกษา / สถาบันการศึกษา
: อาจเริ่มต้นตั้งแต่การเข้าไปมีส่วนร่วมกำหนดหลักสูตรการเรียนการสอนเรื่องที่เกี่ยวข้อง เช่น การส่งเสริมสุขภาพ การป้องกันโรค เพศศึกษา ยาเสพติด ฯลฯ
: การร่วมกิจกรรมกับครู นักเรียน โรงเรียนต่างๆในพื้นที่รับผิดชอบ
- กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ : วิถีชีวิตของชาวบ้านทางด้านการเกษตรปลูกผักปลอดสารพิษ หลักเศรษฐกิจพอเพียง การนำทฤษฎีใหม่ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมาใช้เป็นต้นแบบ และกระทรวงสาธารณสุขควรมีการเชิดชู เทิดพระเกียรคิที่พระองค์ท่านมีโครงการต่างๆมากมายทั่วประเทศ ซึ่งเท่ากับให้บริการเชิงรุก โดยการส่งเสริมสุขภาพ และป้องกันโรคแก่ประชาชน
-กระทรวงมหาดไทย : องค์การบริหารส่วนจังหวัด เทศบาล ตำบล ฯลฯ
-กระทรวงอื่นๆอื่นๆ : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม , กระทรวงวัฒนธรรม ,กระทรวงการท่องเที่ยว และกีฬา ฯลฯ

4.การกำหนดวาระการดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการโรงพยาบาล เพื่อความต่อเนื่องในการพัฒนาโรงพยาบาล ไม่ให้ส่งผลกระทบต่อเจ้าหน้าที่ และผู้รับบริการ เช่น กำหนดวาระไว้ 4 ปี และต้องอยู่อย่างน้อย 2 ปี จึงย้ายไปปฏิบัติงานโรงพยาบาลใหม่ได้
ผลกระทบต่อผู้ประกอบวิชาชีพด้านพยาบาล และสาธารณสุขไทย
จากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาทั้งหมด ทำให้ส่งผลกระทบต่อพยาบาล / เจ้าหน้าที่ / บุคลากรสาธารณสุข และผู้รับบริการ ทั้งทางตรงและทางอ้อม เช่น บุคลากรที่ให้บริการไม่เพียงพอต่อภาระงาน ผู้รับบริการได้รับการรักษาพยาบาลล่าช้า ไม่ครบถ้วน ฯลฯ ถึงแม้ว่าแต่ละปีจะมีบุคลากรใหม่เข้ามาสมัครทำงาน แต่บุคลากรที่มีประสบการณ์ มีความรู้ ความชำนาญ ที่ปฏิบัติงานอยู่ก่อนก็ลาออกทุกปี ทำอย่างนี้เป็นวัฏจักรเรื่อยมา กลายเป็นปัญหาซ้ำซากที่กระทรวงสาธารณสุขแก้ไม่ตก ผลลัพธ์สุดท้ายความเสียหายก็จะมาตกที่ประชาชน หรือผู้ป่วย หรือผู้รับบริการอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ ถ้าหากไม่ได้รับการแก้ไขก็จะเป็นปัญหาเช่นนี้ตลอดไป

สรุป / ความคิดเห็น
จากเหตุผลทั้งหมดที่กล่าวมาทั้งหมด ย่อมส่งผลกระทบต่อพยาบาล / เจ้าหน้าที่ / บุคลากรสาธารณสุข และผู้รับบริการ ได้ทั้งในด้านบวกและด้านลบ.....เราจะเลือกด้านไหน...?
แต่สิ่งที่เป็นน้ำทิพย์ประโลมใจให้พยาบาล / บุคลากรสาธารณสุขปฏิบัติงานในสังกัดกระทรวงสาธารณสุขได้นาน
1.ความก้าวหน้าทางวิชาชีพพยาบาล การปรับระดับตำแหน่งให้ลื่นไหล เหมือนวิชาชีพครู โดยไม่ต้องยึดติดกับจำนวนเตียง / ปริมาณผู้รับบริการ
2.สวัสดิการเงินทุกประเภทจากการปฏิบัติงาน ( ยกเว้นค่าล่วงเวลา )
ตำรวจ ควรนำมารวมในการคำนวณเงิน บำเหน็จ บำนาญ เป็นสวัสดิการยามเกษียณ
ครู ซึ่งรายได้ลดลงไม่พอใช้จ่าย และกรณีเสียชีวิต / บาดเจ็บจากการทำงาน
เหมือนตำรวจ
3.มีมาตรฐานเดียวกันในการบรรจุพยาบาลเข้าทำงานในกระทรวงสาธารณสุขทุกสังกัด
4.ลดความเสี่ยงด้านต่างๆ และหรือแยกข้าราชการก.สาธารณสุขออกจาก กพ. เป็นข้าราชการกระทรวงสาธารณสุขโดยเร็ว
5.ปรับการจัดสรรงบประมาณ ทั้ง 3 กองทุนให้โรงพยาบาลต่างๆอย่างเพียงพอ / พึ่งพาตนเองได้
6.เร่งสร้างมิตรสัมพันธ์ / เครือข่ายสุขภาพกับกระทรวงอื่นๆ / ทบวงมหาวิทยาลัย / หน่วยงานที่เกี่ยวข้องทั้งภาครัฐและเอกชน เพื่อลดต้นทุนและภาระงานของเจ้าหน้าที่กระทรวงสาธารณสุข

นางณภัสสร ประชุมทอง
พยาบาลวิชาชีพ โรงพยาบาลพัทลุง

thailand

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 25
    • ดูรายละเอียด
หยุดทำร้าย ทำลายขวัญข้าราชการประชาชน และครอบครัว...


http://www.facebook.com/krkthai


###########################################

nurse33

  • Newbie
  • *
  • กระทู้: 4
    • ดูรายละเอียด
พยาบาลรุ่นเก่าก็คนนะค่ะ ไม่ใช่ควาย