ผู้เขียน หัวข้อ: การปฏิรูประบบสุขภาพในสหรัฐอเมริกา/ นพ.พงศธร พอกเพิ่มดี  (อ่าน 2833 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
 “แม้ว่าระบบหลักประกันสุขภาพของไทยจะก้าวหน้ากว่าสหรัฐอเมริกาถึง 8 ปี แต่เป็นระบบที่ไม่มีความเสมอภาค สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีความแตกต่าง ทั้งชุดสิทธิประโยชน์ วิธีการจ่ายเงิน และงบประมาณที่ได้รับ”
 
     ในที่สุดประธานาธิบดี บารัค โอบามา ก็สามารถผ่านร่างกฎหมายการปฏิรูประบบสุขภาพครั้งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของสหร ัฐอเมริกา หลังจากที่เข้าดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้ไม่นาน การปฏิรูประบบสุขภาพครั้งนี้ ไม่ใช่เรื่องใหม่ ในอดีตประธานาธิบดี บิล คลินตัน ได้พยายามผลักดันเรื่องนี้มาก่อน แต่ไม่สำเร็จ เพราะไม่อาจต้านทานพลังของกลุ่มผลประโยชน์ต่างๆ อาทิ กลุ่มแพทย์ บริษัทยา บริษัทประกัน ได้ แต่ครั้งนี้โอบามาทำสำเร็จ
       
       สหรัฐ อเมริกาเป็นประเทศที่มีเทคโนโลยีทางการแพทย์ดีที่สุดในโลก แต่ก็มีค่าใช้จ่ายสุขภาพสูงที่สุดในโลกเช่นเดียวกัน ประมาณ 17% ของ GDP คือ ค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพของคนอเมริกัน (ประเทศไทยใช้เพียง 4%) แต่มุมด้านกลับ มีคนอเมริกันกว่า 45 ล้านคน ไม่มีหลักประกันสุขภาพ เป็นเด็กกว่า 8 ล้านคน กว่า 10 ล้านคนไม่มีหลักประกันสุขภาพ เพราะมีราคาสูงเกินจ่ายได้ และกว่าครึ่งหนึ่งของบุคคลที่ล้มละลายมาจากค่ารักษาพยาบาล
       
       ระบบสุขภาพของสหรัฐอเมริกาเน้นการรักษาพยาบาล ไม่เน้นการส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค ใช้เงินเพียง 4% ในการป้องกันโรค ในแต่ละปียังมีเรื่องฟ้องร้องแพทย์จำนวนมาก แพทย์ทุกคนจึงต้องมีประกันการฟ้องร้อง ทำให้ต้องเรียกเก็บค่ารักษาพยาบาลจากประชาชนเพิ่มขึ้นเพื่อไปทำประกัน ส่งผลให้ค่าใช้จ่ายด้านรักษาพยาบาลสูงขึ้น
       
       3 ยุทธศาสตร์แผนปฏิรูประบบสุขภาพที่สำคัญของประธานาธิบดีโอบามา ดังนี้
       
       ยุทธศาสตร์ที่ 1 การลดต้นทุนและเพิ่มประสิทธิภาพ จัดตั้งระบบข้อมูลสารสนเทศที่ทันสมัย รัฐบาลสหรัฐฯจะใช้เงินลงทุน ปีละ 10,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เป็นเวลา 5 ปี ระบบดังกล่าวจะเชื่อมต่อหน่วยบริการต่างๆ ทั่วประเทศ เพื่อให้ดูประวัติการรักษาผู้ป่วยได้ทันที คาดว่า จะช่วยประหยัดงบประมาณได้ปีละ 77,000 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปฏิรูปโครงสร้างการตลาด เพิ่มการแข่งขัน และช่วยแบกรับภาระค่าประกันสุขภาพให้กับนายจ้าง และลดภาระค่าใช้จ่ายจากโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูง
       
       กว่า 75% ของเม็ดเงินที่ใช้ในระบบสุขภาพสหรัฐอเมริกาถูกใช้ไปที่การดูแลรักษาผู้ป่วย
โ รคเรื้อรัง แผนยุทธศาสตร์ส่วนนี้จึงเน้นระบบการดูแลผู้ป่วยโรคเฉพาะอย่างครบวงจร เพื่อให้ได้รับการดูแลที่มีคุณภาพต่อเนื่อง รวมทั้งระบบติดตามดูแลผู้ป่วยที่บ้าน
       
      ยุทธศาสตร์ที่ 2 มีระบบหลักประกันสุขภาพในราคาที่ เหมาะสมสำหรับคนทุกคน ให้คนอเมริกันกว่า 45 ล้านคน เข้าถึงหลักประกันสุขภาพราคาเหมาะสม ทุกคนสามารถจ่ายได้ อาทิ 1) ให้บริษัทรับทำประกันสุขภาพให้ทุกคนโดยไม่คำนึงถึงสถานะสุขภาพ ความเจ็บป่วย 2) ครอบครัวและบริษัทเล็กๆ จะได้รับการยกเว้นภาษีเพื่อนำเงินจำนวนนี้ไปซื้อประกันสุขภาพ 3) เด็กและเยาวชนจะได้รับการดูแลจากการประกันสุขภาพของบิดามารดา และ 4) ขยายระบบสังคมสงเคราะห์ ให้ครอบคลุมกลุ่มคน
       
       ยุทธศาสตร์ที่ 3 เน้นงานสาธารณสุขและการป้องกัน โรค 1 ใน 3 ของคนอเมริกัน หรือกว่า 133 ล้านคน มีปัญหาโรคเรื้อรัง เช่น โรคหัวใจ มะเร็ง โรคหลอดเลือดสมอง และ
เบาหวาน ซึ่งเป็นสาเหตุการเสียชีวิต กว่า 2 ใน 3 ดังนั้น จะเน้นให้ได้รับการฉีดวัคซีนที่จำเป็น ดูแลโรคอ้วนในเด็ก ออกกำลังกาย อาหารที่เหมาะสม ทบทวนนโยบายที่มีผลเกี่ยวข้องกับสุขภาพ
       
       สำหรับบ้านเรา แม้ว่าระบบหลักประกันสุขภาพของไทยจะก้าวหน้ากว่าสหรัฐอเมริกาถึง 8 ปี แต่เป็นระบบที่ไม่มีความเสมอภาค สวัสดิการข้าราชการ ประกันสังคม และหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า มีความแตกต่าง ทั้งชุดสิทธิประโยชน์ วิธีการจ่ายเงิน และงบประมาณที่ได้รับ
       
       สวัสดิการ รักษาพยาบาลข้าราชการได้รับงบประมาณต่อหัว 5 เท่า ส.ส. ส.ว.ได้รับ 20 เท่า เมื่อเทียบกับคนไทยที่อยู่ใต้ระบบประกันสุขภาพ ทำให้ระบบขาดความเท่าเทียมและเสมอภาค ดังนั้นถึงเวลาที่ทุกคนควรร่วมกันผลักดันให้เกิดการปฏิรูประบบสุขภาพอีกครั้ ง นอกจากนั้น รัฐบาลจะต้องลงทุนด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ให้ความสำคัญกับการดูแลโรคเรื้อรังทั้งหลาย เน้นงานส่งเสริมสุขภาพป้องกันโรค สร้างสุขภาวะที่เหมาะสม สิ่งเหล่านี้จะส่งผลให้ประหยัดค่าใช้จ่ายด้านสุขภาพในระยะยาว และไม่เป็นภาระต่อสังคมในอนาคต

ASTVผู้จัดการออนไลน์ 21 กันยายน 2553