ผู้เขียน หัวข้อ: เอ็นจีโอจี้รัฐดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เข้าสภา ขู่ชุมนุมใหญ่-ขีดเส้นตาย  (อ่าน 1584 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
เอ็นจีโอ จี้ภาครัฐเร่งนำ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายไปคุยในสภา ขีดเส้นตาย 30 ก.ย.ชี้ หากไม่คืบหน้าจะชุมนุมครั้งใหญ่ แย้มอาจเปิดเวทีชำแหละ พ.ร.บ.ฉบับหมอ 23 ก.ย.นี้ ด้าน“จุรินทร์” ยันรัฐบาลไม่แตะถ่วง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหาย ฯ เชื่อทันสมัยประชุม
       
       วันนี้ (21 ก.ย.) ที่โรงแรมทีเคพาเลซ แจ้งวัฒนะ กทม. นายนิมิตร์ เทียนอุดม ผู้ อำนวยการมูลนิธิเข้าถึงเอดส์ พร้อมด้วย ตัวแทนจากเครือข่ายผู้บริโภค เครือข่ายเพื่อนโรคไต เครือข่ายผู้ป่วยมะเร็ง เครือข่ายผู้ติดเชื้อเอชไอวี ประเทศไทย ร่วมกันแถลงข่าวถึงความคืบหน้าในการดำเนินการสนับสนุนร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ.....
       
       โดย นายนิมิตร์ กล่าวว่า ขณะนี้ทางเครือข่ายภาคประชาชนมีความเห็นว่าขั้นตอนของการผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ เพื่อให้เข้าสู่วาระที่ประชุมของสภานั้น มีความล่าช้าเกินปกติ ขณะที่กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) เองก็ยังไม่มีท่าทีว่าจะเรียกประชุมคณะกรรมการสร้างเสริมความสมานฉันท์ใน ระบบบริการสาธารณสุข เสียที แม้ว่าจะมีข่าวออกมาเร็วๆ นี้ ว่า จะประชุมภายในสัปดาห์นี้ก็ตาม แต่ทุกอย่างก็ยังเงียบ ดังนั้น ภาคประชาชนก็จำเป็นจะต้องเคลื่อนไหว เพื่อเรียกร้องสิทธิของตนเองเช่นกัน ดังนั้น ขอชี้แจงว่าภาคประชาชนจะต้องการให้วิปรัฐบาล และวิปฝ่ายค้าน เร่งนำร่าง พ.ร.บ.ดังกล่าวเข้าสู่ที่ประชุมสภา ภายในวันที่ 30 ก.ย.นี้ โดยคาดหวังว่า อย่างน้อยที่สุดขอให้สภาได้นำเข้าไปคุยกันบ้างส่วนเรื่องรายละเอียดอย่าง อื่นที่อาจมีการแก้ไขก็ปล่อยให้ค่อยเป็นค่อยไป ทั้งนี้ หากไม่เป็นไปตามคำเรียกร้องดังกล่าว อาจจะรวมตัวกันชุมนุมที่หน้ารัฐสภา ในวันที่ 5 ต.ค.นี้
       
       “ที่ผ่านมา เราไม่แน่ใจรัฐบาลจงใจทำให้ขั้นตอนทุกอย่างช้าลงหรือเปล่า บางฝ่ายระบุว่า พ.ร.บ.อยู่ในวาระเร่งด่วนลำดับที่ 10 บางฝ่ายบอกว่าอยู่ในวาระที่ 16 บ้าง 19 บ้าง ซึ่งจากข้อมูลที่ไม่ตรงกันทำให้เราตั้งข้อสงสัยว่า รัฐบาลอาจจงใจชะลอ พ.ร.บ.ไว้ ในขณะที่ทางระทรวงสาธารณสุขเองก็ยังดำเนินการล่าช้าในเรื่องของการเรียก ประชุมทั้ง 2 ฝ่าย ดังนั้น เราคิดว่า การตัดสินใจที่จะชุมนุมกันถือเป็นเครื่องมือสุดท้ายของ ที่จะสามารถกดดันรัฐบาลให้เห็น และได้ยินเสียงของประชาชนได้” นายนิมิตร์ กล่าว
       
       ผอ.มูลนิธิเข้าถึงเอดส์ กล่าวต่อไปว่า นอกจากนี้ ภาคประชาชนยังได้ดำเนินการเพื่อชี้แจงข้อดีข้อเสียของ พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ต่อกลุ่มประชาชนอย่างต่อเนื่อง สำหรับความคิดเห็นเกี่ยวกับ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบจากการรับบริการสาธารณสุข พ.ศ....ที่ กลุ่มแพทย์ร่วมล่ารายชื่อเพื่อเสนอเป็นกฎหมายคู่ขนานให้สภาพิจารณานั้น ทางภาคประชาชนจะได้พิจารณารายมาตราของร่าง พ.ร.บ.ฉบับดังกล่าวภายใน 23 ก.ย.นี้ โดยจะเชิญนักกฎหมายมาร่วมพิจารณาด้วย เนื่องจากในเบื้อง ต้นนั้นมีความเห็นแย้งในเนื้อหาบางประการ เช่น เนื้อหาที่ระบุว่าให้ผู้เสียหายที่ได้รับความช่วยเหลือตามร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้ได้รับผลกระทบฯแล้วต้องยุติการฟ้องร้องทั้งทางแพ่งและอาญา เพื่อลดการฟ้องร้องแพทย์และบุคลากรสาธารณสุข เป็นต้น ซึ่งหลักดังกล่าวนั้นเป็นการตัดสิทธิ์ของประชาชนจนเกินไป
       
       ด้านนายอัมพร ยลมานะ รองประธานชมรมเพื่อนโรคไต กล่าวว่า การกระทำที่ล่าช้าในเรื่องของการผลักดัน พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายนั้น ทำให้ภาคประชาชนเริ่มตั้งข้อสังเกตว่ารัฐบาลไม่มีความจริงใจต่อประชาชน ซึ่งมันแสดงให้เห็นว่าเสียงของประชาชนนั้นแผ่วเบาเกินกว่าจะบอกให้รัฐผลัก ดันกฎหมายที่มีประโยชน์แก่สังคมได้ ทั้งนี้ ตนยังเห็นว่า การที่รัฐบาลดำเนินการล่าช้าจนฝ่ายแพทย์ต้องเสนอร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่เข้าประกบนั้นอาจมีความเสี่ยงต่อการดำเนินการที่เป็นการลัด ขั้นตอนในการเสนอกฎหมาย เพราะรู้สึกว่าร่าง พ.ร.บ.ฉบับใหม่นี้มีขั้นตอนการรวบรวมรายชื่อเร็วกว่าปกติ
       
       ขณะที่ นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รัฐมนตรี ว่าการกระทรวงสาธารณสุข(สธ.) กล่าวว่า ได้มอบหมายให้ปลัด สธ. นัดวันเพื่อประชุมสรุปข้อคิดเห็นของฝ่ายต่างๆ โดยเร็วที่สุดแล้ว ซึ่งยังยืนยันว่าทุกฝ่ายควรมีการเจรจาเพื่อปรับความคิดเห็นให้สามารถไปด้วย กันได้ และยืนยันว่ารัฐบาลไม่มีนโยบายเตะถ่วงเรื่องดังกล่าวแต่อย่างใด แต่ในส่วนที่มีความเห็นไม่ตรงกัน ก็ควรต้องคุยกันในรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อให้ชัดเจนขึ่น สำหรับในส่วนของ สธ.เอง นั้นก็มีจุดยืนที่ชัดเจน โดยขณะนี้เชื่อว่าทุกฝ่าย เห็นตรงกันว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวเป็นประโยชน์ แต่ในรายละเอียดที่ยังทำให้เกิดความไม่สบายใจก็จะต้องปรับเข้าหากัน และเมื่อได้ความเห็นจากทั้งสองฝ่ายก็จะนำเสนอเข้าสู่สภาผู้แทนราษฎรต่อไป ซึ่งตนเชื่อว่า พ.ร.บ.ดังกล่าวจะเดินหน้าต่อไปได้แน่นอน และเชื่อว่าจะพิจารณาทันในสมัยการประชุมสภาฯนี้ ซึ่งเหลือเวลาอีกกว่า 2 เดือน ส่วนกรณีที่กลุ่มประชาชนจะเคลื่อนไหวนั้น ตนมองในแง่ดีว่า คงเป็นการแสดงความคิดเห็น เพราะอยากให้กฎหมายมีการพิจารณาโดยเร็ว

ASTVผู้จัดการออนไลน์    21 กันยายน 2553