ผู้เขียน หัวข้อ: October Go Pink ปี 3 แพทย์ชวนหญิงไทยตรวจมะเร็งเต้านมก่อนสาย  (อ่าน 1013 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
โรงพยาบาลสมิติเวช สุขุมวิท จัดกิจกรรมรณรงค์ป้องกันมะเร็งเต้านม หรือ Pink Ribbon ประจำเดือนตุลาคมของทุกปีถูก ด้วยแคมเปญ "October Go Pink" เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักและพร้อมใจป้องกันโรคร้าย หลังจาก ปัจจุบัน พบหญิงไทยเป็นมะเร็งเต้านมอายุน้อยลงเรื่อยๆและเสียชีวิตจากโรคดังกล่าวมากขึ้น

แพทย์หญิงสมสิริ สกลสัตยาทร กรรมการผู้จัดการและเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สมิติเวช จำกัด (มหาชน) ในฐานะประธานเปิดงานเผยว่า กว่า 2 ปี ที่มะเร็งเต้านมกลายเป็นโรคร้ายแรงอันดับหนึ่งสำหรับผู้หญิงแทนที่มะเร็งปากมดลูก น่าตกใจว่าผู้หญิงไทยที่ป่วยเป็นโรคนี้แล้วเสียชีวิตมีอายุน้อยลงเรื่อย ๆ จากเดิม 40 ปี ถึงตรวจพบ แต่ปัจจุบันนี้ ไม่ถึง 30 ปีก็ป่วยและเสียชีวิตด้วยโรคมะเร็งเต้านม และยังพบด้วยว่าผู้หญิงที่มีอายุตั้งแต่ 20 ปีขึ้นไปมีซีสต์ที่เต้านมมาก ในเบื้องต้นอาจเป็นแค่ก้อนแคลเซียมธรรมดา แต่ในระยะยาวมีสิทธิ์พัฒนาการเป็นมะเร็งได้จากปัจจัยเสี่ยงในชีวิตประจำวัน ขอแนะนำให้ผู้หญิงที่มีเต้านมโตเต็มวัย หรือมีอายุประมาณ 20 ปีขึ้นไป เข้ารับการตรวจหามะเร็งเต้านมกับสถาบันการแพทย์ควบคู่ไปกับการตรวจด้วยตัวเอง เพราะบางครั้งการตรวจหาด้วยตัวเองอาจไม่แม่นยำพอ

ด้าน?นพ.วิชัย วาสนสิริ? กล่าวว่า สาเหตุการเกิดมะเร็งเต้านมที่แท้จริงทางการแพทย์ยังไม่ทราบว่าเกิดจากสาเหตุใดกันแน่ เราจึงมาดูในเรื่องปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้เซลล์เกิดการเปลี่ยนแปลงแทน อย่างไรก็ดี เมื่อวิเคราะห์ตามหลักกายวิภาคแล้ว มะเร็งเต้านมมักจะเกิดในสองส่วนด้วยกันคือ ท่อน้ำนมและกระเปาะสร้างน้ำนมที่มีเซลล์เยื่อบุอยู่ข้างใน หากเซลล์ที่ว่ามีการพัฒนาตัวเองแต่ไม่ออกนอกผนังท่อหรือผนังกระเปาะ เราเรียกว่าระยะศูนย์ แต่เมื่อไรที่ลุกลามออกข้างนอกเราจึงจะเรียกมะเร็ง ปัจจัยเสี่ยงที่ทำให้ผู้หญิงเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมมีทั้งที่เปลี่ยนแปลงได้และเปลี่ยนแปลงไม่ได้ ปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไม่ได้ได้แก่ 1.อายุมาก 2.กรรมพันธุ์ 3.ผู้ที่มีประจำเดือนมาเร็วก่อนอายุ 12 ปี และผู้มีประจำเดือนหมดช้าหลังอายุ 55 ปี และ 4.กลุ่มที่ต้องให้ฮอร์โมนวัยทอง โดย 2 ประการหลังเป็นเพราะผู้หญิงสัมผัสกับฮอร์โมนเอสโตรเจนมากเกินควร

"ส่วนปัจจัยที่สามารถเปลี่ยนแปลงได้ก็คือ 1.การเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ จะช่วยให้เต้านมผลิตฮอร์โมนโปรแลคตินมาแทนที่ฮอร์โมนเพศหญิงเอสโตรเจน 2.มีบุตรคนแรกก่อนอายุ 30 ปี เพราะระหว่างตั้งครรภ์ร่างกายผู้หญิงไม่ต้องผลิตฮอร์โมนเอสโตรเจน 3.ไลฟ์สไตล์ที่ดี กินอาหารที่มีประโยชน์ 4.งดดื่มแอลกอฮอล์ และ 5.ฟิตแอนด์เฟิร์มด้วยการออกกำลังกาย เนื่องจากฮอร์โมนเอสโตรเจนมาจากไขมัน"

โดยในปีนี้ นอกจากการให้ความรู้เรื่องการตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเองแล้ว ทางโรงพยาบาลยังมีกิจกรรมเพื่อสังคม ทั้งการรับบริจาคเส้นผมเพื่อผลิตเป็นวิกผม ก่อนนำมอบให้กับสถาบันมะเร็งแห่งชาติ การถักหมวกจากเส้นไหมจีนธรรมชาติไม่ก่อให้เกิดเอฟเฟ็กต์ เพื่อมอบให้แก่ผู้ป่วยที่เกิดผลข้างเคียงหลังจากรักษาด้วยเคมีบำบัดที่เริ่มเป็นปีแรก การเคาน์ดาวน์ตัดผมสุดรักสุดหวงเพื่อร่วมบริจาคจากเซเลบริตี้ชื่อดัง เกรซ มหาดำรงค์กุล และการเดินแบบผมจากเหล่ารองนางสาวไทยและดีเจจาก เมท 107 เรดิโอ

ในส่วนของการบริจาคเส้นผม ช่างผมดัง มาร์ค ธาวิน เผยว่า ผู้ที่ต้องการบริจาคเส้นผมเพื่อช่วยผู้ป่วยผมร่วงหลังจากได้รับคีโมว่า ความยาวที่เหมาะแก่การบริจาคผมต้องยาวตั้งแต่ 7-8 นิ้วขึ้นไป และต้องเป็นผมบริสุทธิ์ ไม่ผ่านการทำสี ดัด หรือแม้แต่ทำทรีตเม้นท์ภายใน 6 เดือนก่อนการบริจาค เพราะอาจทำให้เกิดเอฟเฟ็กต์ต่อผู้ป่วยได้ นอกจากนี้ ยังต้องเป็นเส้นผมที่มีสุขภาพดี ไม่แห้งกระด้างแตกปลาย เนื่องจากเวลานำไปทำวิกแล้วจะไม่มีน้ำมันเคลือบผมตามธรรมชาติไปหล่อเลี้ยง ถ้าเป็นสภาพผมแย่จะทำให้เหมือนวิกปลอมและมีอายุการใช้งานไม่นาน