ผู้เขียน หัวข้อ: สปสช.หนุนคนไทยใช้บริการแพทย์แผนไทยทั่วประเทศ  (อ่าน 854 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
ประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) กล่าวว่า หลังจากที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ ในปี 2550 ส่งเสริมบริการการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือกในสถานพยาบาล ร่วมกับกรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก กระทรวงสาธารณสุข โดยให้มีการจัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัวให้เฉพาะบริการแพทย์แผนไทย เพื่อสร้างแรงจูงใจในการบริการ เริ่มจากจากบริการนวด อบ และประคบสมุนไพรในสถานพยาบาล รวมถึงการจัดบริการเชิงรุกในชุมชนเพื่อการรักษาและฟื้นฟูผู้ป่วยอัมพฤกษ์ อัมพาต ผู้พิการ ผู้ป่วยโรคเรื้อรัง ก่อนจะขยายในปี 2553 เรื่องการฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอด ซึ่งมี 5 กิจกรรม ได้แก่ นวด ประคบ อบสมุนไพร ทับหม้อเกลือ และการให้คำแนะนำหลังคลอด และในปี 2554 สนับสนุนการบรรจุยาสมุนไพรเข้าบัญชียาหลักแห่งชาติ จาก 19 รายการ เป็น 71 รายการ ซึ่งในการสั่งการรักษานั้น สามารถสั่งการรักษาโดยแพทย์แผนปัจจุบัน ผู้ประกอบโรคศิลปะสาขาการแพทย์แผนไทยต่างๆ โดยมีการควบคุมคุณภาพและพัฒนาระบบการแพทย์แผนไทยอย่างต่อเนื่องและยั่งยืน

เลขาธิการ สปสช. กล่าวว่า ผลการดำเนินงานตั้งแต่ปี 2550 พบว่า อัตราการใช้บริการแพทย์แผนไทยมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นจาก 125,831 คน คิดเป็น 257,470 ครั้ง ในปี 2551 เพิ่มเป็น 889,225 คน คิดเป็น 3,914,113 ครั้ง ในปี 2554 ซึ่งเพิ่มขึ้นมากกว่า 14 เท่า ขณะที่การใช้ยาสมุนไพรบัญชียาหลักแห่งชาติมีจำนวนการสั่งใช้ 887,853 ครั้ง สำหรับการใช้บริการพบว่ามีการใช้บริการที่ รพ.สต.มากกว่าใช้บริการที่ รพ.ชุมชน โดยข้อมูลในปี 2554 มีการใช้บริการที่ รพ.สต.ร้อยละ 65.25 ใช้บริการที่ รพ.ชุมชนร้อยละ 30.81 นอกจากนั้นมีสถานพยาบาลที่มีนักการแพทย์แผนไทยประจำ 1,219 แห่ง แบ่งเป็นสถานพยาบาลประจำ 758 แห่ง สถานพยาบาลปฐมภูมิ 461 แห่ง สำหรับงบประมาณสนับสนุนนั้น ในปี 2556 ได้จัดสรรงบเหมาจ่ายรายหัว 7.20 บาทต่อประชากร รวมเป็น 349 ล้านบาทในการดำเนินการ

น.พ.วินัย กล่าวว่า จากผลความสำเร็จดังกล่าว กรมพัฒนาการแพทย์แผนไทยและการแพทย์ทางเลือก และ สปสช. จึงได้วางแผนยุทธศาสตร์ 5 ปี พ.ศ.2555-2559 เพื่อให้ประชาชนเข้าถึงบริการแพทย์แผนไทยมากขึ้น โดยจะมีมาตรการดำเนินการ คือ 1.ส่งเสริมให้มีนักการแพทย์แผนไทยในสถานพยาบาล 2.ส่งเสริมหัตถการแพทย์แผนไทยเพื่อการรักษาผู้ป่วยในสถานพยาบาล การฟื้นฟูร่างกายด้วยการแพทย์แผนไทยแก่ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดสมอง โรคเรื้อรัง ผู้พิการ ผู้สูงอายุในชุมชน และการฟื้นฟูสุขภาพแม่หลังคลอด 3.ส่งเสริมให้มีการใช้ยาสมุนไพรมากขึ้น รวมถึงการใช้ยาสมุนไพรทดแทนยาแผนปัจจุบันบางรายการ 4.สนับสนุนและร่วมมือกับกระทรวงสาธารณสุข ในการพัฒนาบริการแพทย์แผนไทย 5.สนับสนุนกลไกบริหารระดับจังหวัดในการพัฒนาการแพทย์แผนไทย 6.พัฒนาข้อมูลการกำกับ และติดตามประเมินผล