ผู้เขียน หัวข้อ: มาช่วยกันหยุดการระบาดของบุหรี่  (อ่าน 761 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
มาช่วยกันหยุดการระบาดของบุหรี่
« เมื่อ: 08 ตุลาคม 2012, 18:36:42 »
 “เมื่อก่อนจะถามตัวเองเสมอว่า ทำไมจิตใจถึงไม่ผ่องใสเลยทั้งๆ ที่ตัวเองโชคดี มีทุกสิ่งทุกอย่างพร้อม ฐานะการเงินมั่นคง การงานก็เจริญก้าวหน้า จนเมื่อได้มีโอกาสปฏิบัติภายใต้คำชี้แนะของพ่อครูบัญชา ทำให้จิตใจแจ่มใสอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ทุกวันนี้ทั้งตัวเองและครอบครัวยังคงปฏิบัติอยู่ทุกวัน อย่างน้อยวันละ 30 นาที เป็นการอาบจิตให้สะอาดทุกวัน ล้างความสกปรกที่เข้ามาทางด้านจิตใจ ทางความคิด ทั้งที่รู้ตัวและไม่รู้ตัว ล้างความยึดติดความมีตัวตนของตนเอง ทิ้งทุกๆ วัน อย่างน้อยก็ไม่ทุกข์มากขึ้นนัก ทำให้ตัวเองและครอบครัวมีความแข็งแรงทั้งร่างกายและจิตใจไปพร้อมๆ กันงานเปิดตัวหนังสือ “สามชั่วโมงบรรลุธรรม” โดย พ่อครูบัญชา ตั้งวงษ์ไทย

เมื่อเทียบกับสหรัฐอเมริกาซึ่งเป็นมิตรประเทศ และเป็นผู้ผลิตบุหรี่รายใหญ่ของโลกแล้ว สังคมอเมริกันประสบความสำเร็จที่ดีมากในระดับต้นๆ ของโลกในการรณรงค์ให้ประชาชนเลิกบุหรี่ ดังจะเห็นได้จากสถิติการสูบบุหรี่ผู้ใหญ่ลดลงจาก 43% เมื่อปีค.ศ.1964 เหลือเพียง 19% เมื่อปี ค.ศ.2010

ความสำเร็จนี้ทำให้เกิดอาการตายใจ ซึ่งไม่ดีเนื่องจากบุหรี่ยังคงคร่าชีวิตชาวอเมริกันปีละ 4 แสนคน งานวิจัยตลอดทศวรรษที่ผ่านมาบ่งบอกว่าการจะลดละเลิกบุหรี่ได้จะต้องอาศัยกลยุทธ์หลายอย่างผนวกกันอย่างเข้มแข็ง ประกอบด้วยการรณรงค์ผ่านสื่อ,ขึ้นราคาบุหรี่ นโยบายการปลอดบุหรี่, และการให้ผู้อยากเลิกบุหรี่เข้าถึงบริการบำบัดเพื่อให้เลิกได้

วารสารแพทยสมาคมอเมริกันฉบับที่ 23/29 สิงหาคม พ.ศ.2555 ที่ผ่านมาเสนอให้ใช้มาตรการ 4 เสาหลัก ซึ่งสังคมไทยน่าจะพิจารณานำมาประยุกต์ใช้

ประการแรกคือการให้หลักประกันแก่ผู้ติดบุหรี่ในการเข้าถึงบริการบำบัด อย่างเช่นกองทุน Medicaid สร้างมาตรการให้หญิงตั้งครรภ์ที่ติดบุหรี่เข้าสู่การบำบัด, สนับสนุนเงินทุนสร้างฮอตไลน์ทางโทรศัพท์ เพื่อให้คำแนะนำแก่ผู้อยากจะเลิก, รัฐบาลขยายการรักษาข้าราชการที่ประสงค์จะเลิกบุหรี่ด้วยวิธีการใหม่ๆ ที่มีข้อมูลประจักษ์ทางการแพทย์

ประการที่สอง สร้างเสริมสุขภาพของประชาชนโดยการสกัดกั้น การเข้าถึงบุหรี่ของวัยรุ่น เพราะปรากฏว่าในแต่ละวันมีวัยรุ่นอเมริกันราว 4,000 ที่ลองสูบบุหรี่แล้วอย่างน้อย 1,000 คน กลายเป็นขี้ยาไปตลอดชีพ อย.สหรัฐจึงให้งบประมาณถึง 33 ล้านเหรียญ ให้แก่ 37 มลรัฐ เพื่อจำกัดช่องทางการจำหน่ายบุหรี่ และกระทรวงสาธารณสุขอนุมัติงบประมาณอีก 200 ล้านเหรียญ เพื่อเสริมการป้องกันไม่ให้สูบบุหรี่

เสาหลักที่สาม คือ การรณรงค์ผ่านสื่อระดับชาติ โดยศูนย์ควบคุมโรค (CDC) เริ่มโครงการประชาสัมพันธ์การบอกเล่าเคล็ดการเลิกบุหรี่จากขี้ยาเก่า (Tips from Former Smokers) เพื่อให้เห็นความทุกข์ทรมานของคนที่ตกเป็นเหยื่อของโรคภัยที่เกิดจากบุหรี่ โครงการประชาสัมพันธ์ครั้งนี้ก่อให้เกิดความตื่นตัวในหมู่ผู้สูบบุหรี่อีก 200,000 คน ที่โทรศัพท์ สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมจากเบอร์ 1-800-QUIT-NOW

อย.สหรัฐสั่งการให้ผู้ผลิตบุหรี่ต้องแสดงภาพผลกระทบทางลบต่อสุขภาพของผู้สูบบุหรี่ พร้อมข้อมูลเตือนโดยรัฐบาลกำลังอุทธรณ์คำพิพากษาของศาลซึ่งห้ามใช้มาตรการนี้ อันเป็นการคุ้มครองผู้ผลิตชั่วคราว

เสาหลักที่สี่ คือการเสนอรายงานการวิจัยอย่างต่อเนื่องถึงผลลบของการสูบบุหรี่ และเริ่มงานวิจัยใหญ่ที่สุดคือครอบคลุมผู้สูบบุหรี่ 55,000 คน เพื่อติดตาม และประเมินผลกระทบของบุหรี่

ท่านผู้อ่านที่เคารพครับ ผู้เสพย์ติดบุหรี่กลุ่มที่สมควรเลิกก่อนใครเลยก็คือผู้ที่มีเศรษฐฐานะไม่ดีหรือคนยากจนนั่นแหละ

ด้วยความปรารถนาดีจาก
พลตำรวจตรี นายแพทย์ชุมศักดิ์ พฤกษาพงษ์
อนุกรรมการจริยธรรมของแพทยสภา

แนวหน้า 8 ตุลาคม พ.ศ. 2555