ผู้เขียน หัวข้อ: หมอรุมกะซวกกม.คุ้มครอง(ไทยโพสท์ 18 กันยายน 2553)  (อ่าน 1735 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
 ประชา พิจารณ์ ร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ วงแทบแตก "หมอวิชัย โชควิวัฒน์" โดนรุมด่า เจ้าตัวกัดฟันชี้แจงยันหลักการดีไม่ใช่กฎหมาย "ล่อหมอ" รุมจวก สธ.ทำตัวเป็นร้านสุกี้ คนไข้ได้แค่เศษเนื้อ นายกแพทยสภาซ้ำเปิดข้อมูล 1 ใน 3 ผู้ป่วยได้รับเงินชดเชยแล้วยังฟ้อง สธ.ต่อ ด้านประชาพิจารณ์กลุ่มหมอขออีก 3 สัปดาห์ไม่เกิน 8 ต.ค.ได้ข้อสรุป เสนอขยาย ม.41 ท่าเดียว

     นพ.ไพจิตร์ วราชิต กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) แพทยสภาจัดการประชุมประชาพิจารณ์เฉพาะกลุ่มแพทย์ ในหัวข้อ "วิเคราะห์ เจาะลึกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากบริการสาธารณสุข" โดย นพ.วิชัย โชควิวัฒน์ อดีตกรรมการแพทยสภา กล่าวว่า กฎหมายฉบับนี้หากดูที่หลักการเป็นกฎหมายที่ดี มีแค่รายละเอียดที่ห่วงใยบาง ประการ ก็ควรเข้าไปแก้ไขชั้นกรรมาธิการ และมีเวทีอีกมากที่จะแก้ไขกฎหมายฉบับนี้ให้ดีที่สุด เพราะไม่มีกฎหมายฉบับใดที่ออกมาแล้วดีที่สุดในโลกแม้แต่รัฐธรรมนูญ

     ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ในการอภิปรายของ นพ.วิชัย ได้มีแพทย์ลุกขึ้นอภิปรายและโจมตีร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ อย่างดุเดือด จน นพ.วิชัย กล่าวว่า ถ้าเป็นคนอื่นคงไม่มีใครมาชี้แจงเวทีแบบนี้ พร้อม กล่าวย้ำกฎหมายฉบับนี้ไม่ใช่กฎหมาย "ล่อหมอ" เพราะไม่มีมาตราใดที่จะเป็นผลร้ายต่อหมอ ตรงกันข้ามกลับช่วยประนีประนอมไม่ ต้องใช้ พ.ร.บ.รับผิดทางละเมิด ที่มีระบบกล่าวหาต้องพิสูจน์ถูกผิดใช้ระยะเวลานาน หลายปี แต่ขั้นตอนตามร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ใช้เวลาเพียง 27 วันเท่านั้น

      นพ.ชัย วัน เจริญโชคทวี ผอ.วิทยาลัยแพทยศาสตร์ กทม.และวชิรพยาบาล กล่าวว่า ร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้มีหลักการที่สวยหรู ต้องการให้เกิดความสัมพันธ์ที่ดีระหว่าง ผู้ให้และผู้รับบริการ แต่ได้เปลี่ยนบุคลากรของ สธ.ให้เป็นเหมือนร้านสุกี้ ส่วนผู้ป่วยก็เปลี่ยนให้เป็นผู้รับบริการเขียนว่าหมอเป็นอันตรายได้มากกว่า วัตถุอันตราย เพราะระบุลงโทษจำคุกถึง 6 เดือน ส่วนผู้ป่วยที่จะได้รับเงินชดเชยก็ได้รับเพียงเศษเนื้อ คนที่ได้เงินจริงคือ ผู้ที่ยกมือโหวตตัดสินว่าหมอทำผิดหรือไม่ โดยที่คนกลุ่มนี้ไม่ได้มีผู้เชี่ยวชาญรวมอยู่ด้วย มีอำนาจการใช้เงินมากกว่านายกรัฐมนตรีเสียอีก และเห็นว่าไม่ว่าจะมีร่าง พ.ร.บ.ฉบับนี้หรือไม่ ก็ไม่ช่วยให้ลดการฟ้องร้องลงได้

     ศ.นพ.สมศักดิ์ โล่ห์เลขา นายกแพทยสภา กล่าวว่า ตั้งแต่ปี 2539-2553 มีคดีแพ่ง 134 คดี คดีอาญา 14 คดี คดีแพ่งผู้บริโภค 67 คดี ทุนทรัพย์ในการฟ้องคดี 884 ล้านบาท โดยมีคดีผู้บริโภค ตั้งแต่ 23 ส.ค.-7 ก.ย.2553 46 คดี ได้มีการไกล่เกลี่ย 14 คดี เหลือ 32 คดี ใช้เงินในการไกล่เกลี่ยตาม ม.41 ตามหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ 14 คดี 3.12 ล้านบาท ในปี 2547-ปัจจุบัน มี 37 คดี จาก 109 คดี ที่มีผู้ฟ้องร้อง สธ. ดังนั้นแม้ว่าผู้ที่ได้รับความเสียหายจะได้รับเงินชดเชยเบื้องต้นตาม ม.41 ไปแล้วยังมีการฟ้องร้องต่อถึง 1 ใน 3 ของจำนวนผู้ฟ้องร้องคดีทั้งหมด

     วันเดียวกันเมื่อเวลา 17.30 น. พล.อ.ต.นพ.การุณ เก่งสกุล ผู้ทรงคุณวุฒิกองทัพอากาศ กรมแพทย์ทหารอากาศ ในฐานะโฆษกคณะทำงานพิจารณาและศึกษาร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายจากการรับบริการสาธารณสุข กล่าวภายหลังการประชุมว่า ภายหลังจากที่คณะทำงาน 9 คณะ ได้ออกทำประชาพิจารณ์ในจังหวัดต่างๆ ประมาณ 10 จังหวัด ในบุคลากรทางการแพทย์ประมาณ 10,000 คน พบว่าส่วนใหญ่ต่างคัดค้านในร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองผู้เสียหายฯ ฉบับรัฐบาล เพราะเห็นว่ายังมีปัญหาซ่อนเร้น โดยบางคนเสนอให้ถอนร่าง พ.ร.บ.นี้ และบางคน เห็นควรให้มีการยกร่างใหม่ทั้งหมด เนื่องจากมีมาตราที่ต้องแก้ไขจำนวนมาก โดยเน้นที่การดูแลประชาชนให้ดีที่สุด และต้องมีกลไกดูแลผู้ปฏิบัติงาน

     "ขณะนี้เรายังไม่ได้ข้อสรุป คณะทำงานขอเวลาอีก 3 สัปดาห์ คาดว่าในวันที่ 8 ตุลาคมนี้ จะได้ข้อสรุปทั้งหมดเพื่อเสนอผู้เกี่ยวข้องต่อไป ยืนยันว่าเราไม่ได้คิดเตะ ถ่วงเวลา เพราะการทำประชาพิจารณ์บุคลากรทางการแพทย์กว่า 300,000 คน ไม่ใช่เรื่องง่าย และที่ผ่านมาเราได้เร่งรัดอย่างเต็มที่แล้ว" โฆษกคณะทำงานกล่าว.