ผู้เขียน หัวข้อ: 'ห้องผ่าตัดไฮบริด' แห่งแรกของกรมการแพทย์  (อ่าน 1339 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
ในปัจจุบันด้วยความก้าวหน้าของวิทยาการด้านการแพทย์ ทำให้การทำหัตถการด้วยการใช้สายสวนหลอดเลือดผ่านผิวหนัง (Percutaneous catheter-based intervention) แพร่หลาย และสามารถรักษาโรคต่างๆ ได้มากขึ้น และเป็นที่ยอมรับว่าให้ผลดีและปลอดภัยขึ้น สามารถรักษาผู้ป่วยโดยไม่ต้องผ่าตัดใหญ่ได้เป็นจำนวนมาก อย่างไรก็ตาม การทำหัตถการด้วยการใช้สายสวนหลอดเลือดผ่านผิวหนังในบางกรณี หรือบางโรค มีข้อจำกัดในบางจุด จึงไม่อาจทำให้เกิดความครบถ้วนหรือสมบูรณ์ในการรักษาได้ ซึ่งในระยะหลังเราพบถึงการเติมเต็มด้วยวิธีการผ่าตัดเสริมเข้าไปในจุดที่ยังขาดอยู่ ทำให้การรักษาเกิดความครบถ้วนหรือสมบูรณ์ขึ้น การผ่าตัดที่เสริมเข้าไปนั้น ก็เป็นการผ่าตัดที่เล็กลง ช่วยให้ลดความรุนแรงและผลแทรกซ้อนได้อย่างมาก เป็นผลดีแก่ผู้ป่วยอย่างยิ่ง ดังนั้นการทำหัตถการด้วยการใช้สายสวนหลอดเลือดผ่านผิวหนัง ร่วมกับการผ่าตัด หรือที่เรียกว่า Hybrid procedures นั่นเอง จึงเริ่มแพร่หลายมากขึ้นเช่นกัน


 
สถาบันโรคทรวงอก กรมการแพทย์ เป็นแห่งแรกในสังกัดกระทรวงสาธารณสุข ที่ได้มีการปรับปรุงห้องผ่าตัดให้สามารถผ่าตัดรักษาโรคเกี่ยวกับหัวใจได้อย่างครบถ้วน ทั้งวิธีผ่าตัดเล็กและผ่าตัดใหญ่ โดยใช้ชื่อห้องว่า Hybrid Operating Room หรือ "ห้องผ่าตัดไฮบริด"

Hybrid Operating Room  หรือ ห้องผ่าตัดไฮบริด สร้างขึ้นเพื่อใช้ในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยด้วยวิธีผสมผสาน ซึ่งอาจทำพร้อมกันหรือต่อเนื่อง โดยเฉพาะในกลุ่มโรคที่เกี่ยวเนื่องกัน เช่น การทำหัตถการที่ใช้สายสวนทางหลอดเลือด (Percutaneous catheter-based intervention) ร่วมกับ การทำผ่าตัดโดยวิธีทั่วไป (Surgical procedure) นั่นเอง เป็นห้องผ่าตัดที่ออกแบบพิเศษเป็นแห่งแรกของกรมการแพทย์ เพื่อใช้ในการรักษาผู้ป่วยกลุ่มโรคระบบหัวใจและหลอดเลือดที่มีความซับซ้อน โดยนำเทคโนโลยีทางการแพทย์ที่ทันสมัยของระบบห้องผ่าตัด อาทิ ห้องผ่าตัดแบบ Modular ซึ่งสามารถถอดแผ่นผนังแต่ละแผ่นออกได้เพื่อรองรับ Integrated system ในอนาคตโดยไม่เกิดความเสียหายใดๆ ต่อโครงสร้าง พื้นผิวของผนังห้องผ่าตัดเป็นชนิดป้องกันการสะสมของแบคทีเรีย พร้อมชุดป้องกันรังสีเอกซเรย์ โคมไฟผ่าตัด แอลอีดี ชุดศูนย์รวมอุปกรณ์และแก๊สทางการแพทย์แบบแขวนเพดาน เตียงผ่าตัด เครื่องมือผ่าตัด เครื่องดมยาสลบ ไฟส่องผ่าตัด และต้องเป็นห้องปลอดเชื้อ เพื่อป้องกันการติดเชื้อจากการผ่าตัด อุปกรณ์สำหรับการทำหัตถการสายสวนหลอดเลือดผ่านผิวหนัง ซึ่งได้แก่ อุปกรณ์เอกซเรย์ประสิทธิภาพสูง ที่สามารถสร้างภาพที่ละเอียดทันที อุปกรณ์วัดความดันเลือดจากสายสวนทันที และที่สำคัญ ต้องสามารถเคลื่อนที่ไม่ขัดขวางการผ่าตัดโดยทั่วไปอีกด้วย

ห้องผ่าตัดไฮบริดเหมาะที่จะใช้รักษาผู้ป่วยที่จำเป็นต้องรักษาด้วยวิธีสายสวนทางหลอดเลือด และมีความเสี่ยงสูงที่อาจจะต้องผ่าตัดแก้ไขหากเกิดข้อผิดพลาด เช่น การใช้สายสวนรักษาเส้นเลือดใหญ่โป่งพอง Endovascular aneurysmoraphy EVAR ซึ่งลดผลแทรกซ้อนจากการผ่าตัดได้มาก การเปลี่ยนลิ้นหัวใจโดยใช้สายสวน Tran Arterial Valvular Implantation (TAVI) โดยไม่ต้องผ่าตัดเปิดหัวใจ สำหรับผู้ป่วยที่มีปัจจัยเสี่ยงสูงต่อการผ่าตัดใหญ่ หรือการรักษาที่ต้องใช้การรักษาร่วมกันเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษา เช่น การรักษาการเต้นของหัวใจผิดปกติ Electrophysiology เป็นต้น

คุณสมบัติของห้องผ่าตัดไฮบริด ช่วยให้กระบวนการในการวินิจฉัยเกิดขึ้นได้ครั้งเดียว ลดเวลาในการดูแลรักษาผู้ป่วยที่มีความซับซ้อน ทำให้ผู้ป่วยฟื้นตัวเร็ว นอกจากนี้ยังมีการทำงานร่วมกับระบบเอกซเรย์ สามารถรู้ขนาดและตำแหน่งของอวัยวะเพื่อสร้างภาพ 3 มิติ ทำให้การวางแผนการรักษาได้ง่ายและมีประสิทธิภาพมากขึ้น สามารถส่งสัญญาณภาพพร้อมเสียงจากห้องผ่าตัดไปยังห้องประชุม เพื่อประโยชน์ในการแลกเปลี่ยนความรู้จากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญทั้งในและนอกประเทศได้ การทำงานร่วมกันแบบระหว่างเตียงผ่าตัดและเครื่องถ่ายภาพเอกซเรย์ ช่วยให้แพทย์ทำการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยซับซ้อนได้สะดวกและมีประสิทธิภาพมากขึ้น เตียงผ่าตัดสามารถเปลี่ยนพื้นเตียงได้ ทำให้การผ่าตัดรักษามีความหลากหลายมากขึ้น และรองรับเทคนิคใหม่ๆ ในอนาคต สำหรับที่มีความซับซ้อนด้านอื่นๆ

สำหรับห้องผ่าตัด Hybrid Operating Room ในสถาบันโรคทรวงอกได้รับงบประมาณจากกรมการแพทย์กว่า 48 ล้านบาท ขณะนี้พร้อมใช้งานได้แล้ว นับได้ว่าเป็นห้องผ่าตัด Hybrid Operating Room ของสถาบันโรคทรวงอกที่ทันสมัยที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศ ไทยและแห่งแรกของกระทรวงสาธารณสุข