ผู้เขียน หัวข้อ: "โรคอะไร? คนไทยตายชั่วโมงละ 2 คน ไม่รู้ตัว..ไม่มีอาการมาก่อน !!!  (อ่าน 1227 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
อโรคยา ปรมาลาภา" ความไม่มีโรคเป็นลาภอันประเสริฐ เป็นคำสอน เป็นคำเตือนใจ ให้ทุกผู้ทุกนาม ซึ่งเราทุกคนย่อมรู้ ย่อมเข้าใจ ว่ามันเป็นจริงดังว่า การมีสุขภาพดี เป็นลาภที่ยิ่งใหญ่กว่าเงินทอง เพชรพลอยเสียอีก ทุกคนอยากได้มัน แต่ส่วนใหญ่แล้วไม่ได้ใส่ใจอย่างที่ควรจะเป็น กล่าวคือ รู้ เข้าใจ แต่เข้าไม่ถึง รู้ทั้งรู้ก็ยังไม่ตระหนัก จึงไม่มีการพัฒนาหรือปรับเปลี่ยนดูแลสุขภาพอย่างจริงจังเท่าที่ควร

การละเลยก็เหมือนกับการ "ประมาท" โดยเฉพาะเรื่องอาหารการกิน ขี้เกียจ ไม่ยอมออกกำลังกายปล่อยอารมณ์ตามใจตัวเอง เครียดตลอดเวลา บางคนยังสร้างปัจจัยเสี่ยงให้กับตัวเอง เช่น ไม่ดูแลร่างกาย

ให้เกิดความสมดุล ปล่อยตัวตามใจปาก "จนอ้วน"สูบบุหรี่ ดื่มเหล้า และอบายมุขอื่นๆ เป็นการสร้างพฤติกรรมสุขภาพที่ผิดๆ ล้วนนำมาซึ่งโรคภัยไข้เจ็บและเป็นภัยเงียบ‚กว่า 50% ไม่รู้ตัวมาก่อน ตายเฉียบพลันได้ทันทีเมื่อมีอาการ..เป็นสิ่งที่น่ากลัวสำหรับคนที่ประมาท

"โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน" หรือ Acute Coronary Syndrome หรือ Heart Attack คืออันตรายและภัยเงียบที่ผู้เขียนอ้างถึง ข้อมูลจากกรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า ปัจจุบันหลอดเลือดเป็นสาเหตุการป่วยและเสียชีวิตของคนไทยสูงเป็นอันดับ 3 รองจากมะเร็งและอุบัติเหตุจราจร โดยมีผู้เสียชีวิตปีละประมาณ 18,000 ราย สาเหตุส่วนใหญ่ประมาณร้อยละ 80 เกิดมาจากกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด จากปัญหาหลอดเลือดไปเลี้ยงหัวใจตีบตัน พบผู้ป่วยรายใหม่ปีละประมาณ 22,000 ราย และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น

การศึกษาของสมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ ร่วมกับสถาบันโรคทรวงอก และหน่วยงานอื่นๆ ทั่วประเทศ 17 หน่วยงาน พบว่า โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลันชนิดรุนแรง มีอัตราการตายสูงถึงร้อยละ 17 ซึ่งสูงกว่าต่างประเทศที่พบร้อยละ 7 หรือกว่า 2 เท่าตัว
 
กระทรวงสาธารณสุขยืนยันว่ามีผู้เสียชีวิตจากโรคนี้ชั่วโมงละ 2 คน ซึ่งตัวเลข 2 คนนี้ ผู้เขียนถือว่าเป็นตัวเลขที่สูง และมีความสำคัญยิ่ง เพราะคนตายมักอยู่ในวัยทำงานหาเลี้ยงครอบครัว มีคุณค่าต่อครอบครัว เพราะมันเป็นภัยเงียบ มักไม่รู้ตัวหรือมีอาการมาก่อน หากไม่ดูแลเฝ้าระวังสุขภาพ

ผู้เขียนอยากให้ทุกคนได้ปรับตัวหรือหันมาร่วมด้วยช่วยกันรณรงค์ป้องกันไม่ให้เกิดกับตัวท่าน หรือญาติพี่น้อง ช่วยกันลดอัตราการตายให้เป็นศูนย์หรือยืดอายุการเกิดโรคให้เกิดเมื่ออายุมากที่สุด ทั้งนี้ เพื่อรักษาทรัพยากรบุคคลอันมี "ค่า" เพื่อช่วยพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้ายิ่งยิ่งขึ้นไป โดยเฉพาะทรัพยากร "วัยทำงาน"

มีตัวอย่างของโรคนี้ที่เกิดขึ้นกับคนมีชื่อเสียงระดับชาติ ซึ่งผู้เขียนขออนุญาตนำมาเป็นตัวอย่าง เพื่อเป็นวิทยาทานและเป็นความรู้ คือสองพี่น้อง "ย.โย่ง" คุณเอกชัย นพจินดา และ "น้องหนู"

คุณธราวุธ นพจินดา ซึ่งทั้งสองท่านเสียชีวิตด้วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน หรือที่เราเรียกกันว่าหัวใจวาย ด้วยวัย 44 และ 56 ปี ตามลำดับ

และรายล่าสุดคือ นักร้องลูกทุ่งเจ้าของเสียงเพลง "รักสิบล้อ ต้องรอสิบโมง" คุณไพรเวศ วงศ์ธนบัตร สมาชิกสตริงคอมโบรุ่นเก๋ารอยัลสไปรท์ เสียชีวิตในวัย 65 ปี ด้วยอาการเดียวกัน



ในฐานะที่ผู้เขียนเป็นนักการแพทย์และการสาธารณสุข คิดว่าแม้เสียชีวิตเพียง 1 คน

ก็ถือว่าเป็นอัตราที่สูงแล้ว ก่อนจะเข้าสู่เรื่องของการป้องกัน ก็ขอทำความเข้าใจและให้รู้จักโรคนี้เสียก่อนว่าโรคนี้ คืออะไร มีสาเหตุเกิดจากอะไร? ปัจจัยเสี่ยงมีอะไรบ้าง? อาการและการวินิจฉัยโรค ตลอดจนการรักษาจะทำได้อย่างไรบ้าง? และหากเป็นโรคนี้แล้ว โรงพยาบาลของรัฐมีช่องทางการเตรียมพร้อมรับมืออย่างไร?

"โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน"

มีสาเหตุมาจากการตีบตัน แคบลงของหลอดเลือดแดง เนื่องจากมีไขมันและคอเลสเตอรอลไปเกาะที่ผนังของหลอดเลือด โดยผู้ป่วยจะมีอาการแสดงออกเมื่อมีการตีบตันมากกว่า 50 เปอร์เซ็นต์ขึ้นไป ในลักษณะเจ็บแน่นหน้าอกเวลาออกแรงมากๆ เครียด หรือหลังจากทานอาหารมื้อหนัก ส่วนมาก 75 เปอร์เซ็นต์ของผู้ป่วยจะเจ็บบริเวณกลางหน้าอก คล้ายมีอะไรบีบรัดหรือกดทับและอาจร้าวไปที่คอ กราม ไหล่ซ้าย หรืออาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น เหงื่อออก หน้ามืด อาเจียน ซึ่งอาการเจ็บดังกล่าวหากนั่งพักจะหายไปเอง

การสะสมของไขมันในผนังหลอดเลือดเกิดขึ้นตั้งแต่ "วัยเด็ก" เป็นปื้นสีเหลืองและจะมากขึ้นเรื่อยๆ หากเรายังคงมีพฤติกรรมรับประทานอาหารที่มีไขมันและคอเลสเตอรอลสูง จึงสะสมเพิ่มจนกลายเป็นแอ่งไขมันในผนังมีเปลือกหุ้มไว้บางๆ

เมื่อเปลือกหุ้มไขมันนี้ปริแตกออกทำให้ไขมันข้างใต้ออกมาสัมผัสเม็ดเลือดแดง และจับกันเป็นกลุ่ม เกิดการอุดตันหลอดเลือดทันที ทำให้เกิดภาวะ "หัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน"

ปัจจัยเสี่ยงที่เป็นพื้นฐานการก่อให้เกิดโรคนี้ ส่วนหนึ่งเกิดจากพฤติกรรมสุขภาพ ชอบกินของมัน ของเค็ม ไม่กินผัก ขาดการออกกำลังกาย มีภาวะอ้วนลงพุง สูบบุหรี่จัด ดื่มเหล้าหนัก มีความเครียด นอกจากนี้ยังมีความเสี่ยงในกลุ่มผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ

อย่างไรก็ตาม อาการที่น่ากลัวสำหรับโรคนี้คือ กลุ่มคนที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน แต่มาเสียชีวิตกะทันหัน เช่น เล่นกีฬาแล้วเสียชีวิต ส่วนใหญ่เป็นผู้ชายวัยทำงานที่ร่างกายแข็งแรงดีไม่เคยมีโรค จึงต้องเฝ้าระวังเพราะคนที่มีอาการจะทราบและดูแลตัวเองดี แต่คนที่ไม่มีอาการจะไม่ค่อยสังเกตตัวเองจึงเสียชีวิตอย่างกะทันหัน

สถานการณ์ของโรค "โรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน" เป็นปัญหาสาธารณสุขของคนทั่วโลกรวมถึงประเทศไทย ข้อมูลจากสถาบัน

โรคทรวงอก กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ระบุว่า 45% ของการเสียชีวิตเฉียบพลัน เป็นอาการจากโรคหลอดเลือดหัวใจ ในขณะที่ข้อมูลของต่างประเทศพบว่า 80% มีสาเหตุจากโรคหลอดเลือดหัวใจ 15% มีสาเหตุจากกล้ามเนื้อหัวใจพิการ และหัวใจเต้นผิดจังหวะตั้งแต่เกิด และ 5% ไม่ทราบสาเหตุ

ข้อมูลจากองค์การอนามัยโลก (WHO) ในปี 2553 มีผู้เสียชีวิตจากโรคหลอดเลือดหัวใจเป็นจำนวนถึง 7.2 ล้านคน หรือคิดเป็น 12.2% ของสาเหตุการตายทั้งหมดในคนไทยอัตราตายจากโรคหัวใจและหลอดเลือด ความดันโลหิตสูง และหลอดเลือดสมอง พบประมาณปีละ 37,000 ราย อัตราการนอนในโรงพยาบาลของผู้ป่วยโรคหัวใจ ต้องการเตียงเฉลี่ยวันละ 1,185 คน โดยเป็นกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดวันละ 470 คน เสียชีวิตชั่วโมงละ 2 คน

การเสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจ (Sudden Cardiac Death) คือการเสียชีวิตที่เกิดขึ้นภายใน 1 ชั่วโมง หลังจากเกิดอาการของโรคหัวใจ เช่น อาการแน่นหน้าอก หอบเหนื่อย ใจสั่น ประมาณครึ่งหนึ่งจะเสียชีวิตแบบเฉียบพลัน พบอุบัติการณ์สูงขึ้นในผู้สูงอายุและในรายที่เป็นโรคหัวใจ และพบว่าครึ่งหนึ่งของผู้เสียชีวิตเฉียบพลันจากโรคหัวใจที่ไม่เคยมีอาการมาก่อน

สำหรับผู้ป่วยโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดเฉียบพลัน จะมีอัตราเสียชีวิตสูงกว่าผู้อื่นประมาณ 4-6 เท่า

อาการสำคัญที่ควรต้องรู้จักและสังเกตให้ได้คือ อาการแน่นหน้าอกที่รุนแรงเหมือนมีของหนักทับ

เหงื่อออก ใจสั่น ปวดร้าวไปกรามลามไปสะบักหลังหรือแขนซ้าย จุกคอหอย บางรายอาจจุกลิ้นปี่คล้ายโรคกระเพาะอาหาร หรือกรดไหลย้อน เหนื่อยง่ายขณะออกแรง เป็นลมหมดสติ ในรายที่รุนแรงมีโอกาสเสียชีวิตทันที ได้ประมาณร้อยละ 30-40 ดังนั้น

จึงจำเป็นต้องได้รับการตรวจวินิจฉัย โดยรวดเร็ว ถูกต้องและทันเวลา...ถ้าหากท่านมีอาการดังกล่าวให้รีบไปโรงพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุด

การตรวจวินิจฉัย : ต้องตรวจด้วยเครื่องไฟฟ้า (EKG) เท่านั้น และเมื่อพบระบบคลื่นหัวใจผิดปกติ ชนิด ST elevation "แพทย์" เร่งด่วน จะตัดสินใจให้การรักษาที่เหมาะสม ทั้งนี้ การรักษาทำได้ 3 วิธีคือ 1)การให้ยาละลายลิ่มเลือด 2)การใช้ลูกโป่งขยายหลอดเลือด (Balloon) 3) การผ่าตัดเบี่ยงทางเดินหลอดเลือด (By pass)

สำหรับผลการรักษาผู้ป่วย จะดีขึ้นเร็ว ช้า ดีมาก ดีน้อย แค่ไหน? ขึ้นอยู่กับพยาธิสภาพของหลอดเลือด

ผู้ป่วย ระยะเวลาที่ผู้ป่วยมาพบหมอ รวมถึงสถานพยาบาลที่ให้บริการที่มีความพร้อมอยู่เสมอ เพื่อให้ได้การรักษาที่ดี ผู้ป่วยจะต้องได้รับการรักษาภายใน 12 ชั่วโมง หลังจากเริ่มมีอาการเจ็บหน้าอก

และการให้ยาละลายลิ่มเลือดควรได้รับภายใน 30 นาที ส่วนการใส่บัลลูน ควรจะใส่ภายใน 90 นาที ผู้ป่วยจะปลอดภัย และผลการรักษาจะดีที่สุด นั่นคือ "รอดตาย" หายป่วยและพอจะปฏิบัติงานได้ตามปกติประจำวัน



ทั้งหมดนี้ ผู้เขียนต้องการให้ "พวกเรา" ได้รู้จักโรค อาการสำคัญของโรค และการรักษา ทั้งนี้เพื่อให้เกิดความตระหนัก แต่ไม่ให้ตระหนก หรือ "กลัว" เพราะเราสามารถป้องกันได้ โดยใช้หลักการ "ปิงปองจราจรชีวิต 7 สี" คือ สีขาว สีเขียวเข้ม

สีเขียวอ่อน สีเหลือง สีส้ม สีแดง และสีดำ ในการดูแลสุขภาพป้องกันเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ด้วย "3 อ." คือ กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ลดหวาน มัน เค็ม ออกกำลังกายเป็นนิจ วันละ 30 นาที อาทิตย์ละอย่างน้อย 3 วัน สร้างอารมณ์ให้เบิกบาน แจ่มใสอยู่เสมอ ไม่เครียด ลดอ้วน เลิกเหล้า บุหรี่ ทั้งหมด

สีขาว คนปกติ ความดันอยู่ที่ 120/80 น้ำตาล <100mg/dl ใช้ "3 อ." ต่อเนื่องจะไม่เป็น สีเขียวอ่อน (กลุ่มเสี่ยง) สีเหลือง (ป่วยระดับ 1) สีส้ม (ป่วยระดับ 2) สีแดง (ป่วยระดับ 3) สำหรับคนที่ป่วยระดับรุนแรงมาก สีแดง (ระดับ 3) เป็นโรคความดัน>180/120 mgh เบาหวาน รุนแรง > 183mg/dl ซึ่งกินยาคุมอาการตามแพทย์สั่ง รณรงค์ให้ใช้ "3 อ." เต็มที่อย่างต่อเนื่อง จะลดเป็นสีส้ม สีเหลือง สีเขียวอ่อน สีเขียวเข้ม (ปกติ กินยาคุมอาการ)

อย่างไรก็ตาม ในกรณีเกิดโรคแทรกซ้อน (สีดำ) เป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือดแล้ว สถานบริการสาธารณสุขทุกจังหวัด ทุกอำเภอ มีระบบบริการช่องทางด่วน เรียกว่า "Stemi fast track" ไว้คอยบริการเพื่อให้การช่วยเหลืออย่างทันท่วงทีผ่านระบบสายด่วน

"1669" ซึ่งนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีกระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญกับเรื่องนี้เป็นอย่างมาก ทั้งนี้มุ่งหวังเพื่อช่วยเหลือชีวิตให้รอดปลอดภัยจากโรคดังกล่าว

ขอเชิญชวนให้แพทย์ พยาบาล เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อสม. และคนไทยทั่วประเทศได้ร่วมกันรณรงค์เพื่อสร้างความตระหนักใส่ใจในการดูแลสุขภาพด้วย "3 อ." ซึ่งเป็นวัคซีนชีวิตและยาวิเศษ อย่างจริงจัง สม่ำเสมอ ต่อเนื่อง คนที่อ้วนอยู่ก็ขอให้ลดน้ำหนัก คนสูบบุหรี่ กินเหล้า ก็ขอให้เลิกเสีย จะได้ห่างไกลโรคนี้ อยากให้เราช่วยกันตั้งเป้าหมาย และมุ่งมั่นร่วมกันสู่กันทำสู่ความสำเร็จ

ขอให้ลดการตายจากโรคนี้ชั่วโมงละ 2 คน เป็น 1 คน หรือเป็น "0" เพื่อคนไทย อายุยืน ไม่ต้องเจ็บตัว ไม่ต้องผ่าตัด ลดค่าใช้จ่ายที่ต้องสูญเสียไป ซึ่งปี 2551 สำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ประมาณการค่าใช้จ่ายโรคหัวใจสูงถึง 155,000 ล้านบาท หากเราช่วยกัน ชาติจะประหยัดงบประมาณได้ และนำ

งบประมาณส่วนนั้นไปพัฒนาคุณภาพชีวิตของเราต่อไป

และทุกอย่างจะเกิดขึ้นและสำเร็จได้ก็ด้วย "มือเราเอง"..สุขภาพของเราไม่ได้อยู่ในมือของใคร แต่อยู่ใน "มือของท่าน" เอง...นะครับ

มติชน