ผู้เขียน หัวข้อ: โรคกระดูกพรุน!!  (อ่าน 793 ครั้ง)

ABBA

  • Hero Member
  • *****
  • กระทู้: 2105
    • ดูรายละเอียด
โรคกระดูกพรุน!!
« เมื่อ: 28 กันยายน 2012, 20:24:58 »
ในปัจจุบันผู้หญิงมีโอกาสเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดหัวใจมากที่สุด แต่ก็พบว่าผู้หญิงนั้นมีโอกาสเป็นโรคกระดูกพรุนได้ง่ายกว่าเมื่อมีอายุมากขึ้น จากข้อมูลขององค์การอนามัยโลก (WHO) โรคกระดูกพรุนเป็นโรคที่เป็นปัญหาด้านสุขภาพอันดับที่ 2 รองจากโรคระบบหัวใจและหลอดเลือด ประชากร 1 ใน 3 ผู้หญิง และ 1 ใน 8 ของผู้ชายที่มีอายุ 50 ปีขึ้นไป มีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะกระดูกหักจากโรคกระดูกพรุน มีการคาดการณ์ว่าจำนวนผู้หญิงที่มีการหักของกระดูกตะโพกจะเพิ่มขึ้นจาก 1.7 ล้านคนในปี ค.ศ. 1990 เป็น 6.3 ล้านคนในปี ค.ศ. 2050 เนื่องจากประชากรโลกมีอายุยืนมากขึ้น
   
โรคกระดูกพรุนคือภาวะที่ความหนาแน่นของกระดูกลดลง โดยธรรมชาติกระดูกจะมีความหนาแน่นมากที่สุดในช่วงอายุ 20-30 ปี จะพบว่าโอกาสที่ผู้หญิงจะเป็นโรคกระดูกพรุนนั้นสูงกว่าผู้ชาย โดยเฉพาะในช่วงที่ประจำเดือนหมดซึ่งเป็นช่วงที่ฮอร์โมนเอสโตรเจนลดลงและโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้น จึงทำให้กระดูกขาดความหนาแน่นลง ร่างกายของคนเราจะมีการสร้างกระดูกอยู่ตลอดเวลาเพื่อมาทดแทนกระดูกเก่าที่ถูกขับถ่ายออกไป การที่ร่างกายจะสร้างกระดูกขึ้นมาใหม่ได้ต้องการสารอาหารที่มีประโยชน์อย่างมากและต้องมีการออกกำลังกายเป็นประจำเพราะร่างกายควรได้รับธาตุแคลเซียมอยู่เป็นประจำอย่างน้อย 1,200 มิลลิกรัมต่อวัน ซึ่งอาจจะอยู่ในรูปแบบอาหารที่มีแคลเซียมสูง หรือแคลเซียมประเภทอาหารเสริมหรือทั้งสองอย่างรวมกันได้ แม้ว่าการรับประทานอาหารที่มีประโยชน์สามารถให้คุณค่าแคลเซียมที่ร่างกายต้องการได้เพียงพอแต่เพื่อความมั่นใจว่าร่างกายได้รับธาตุที่สำคัญเสริมสร้างกระดูกให้แข็งแรงก็ควรรับประทานอาหารเสริมที่มีแคลเซียมและธาตุแมกนีเซียมคู่กัน เพราะธาตุแมกนีเซียมกับวิตามินบี 6 จะช่วยให้ธาตุแคลเซียมได้ถูกดูดซึมเข้าไปในกระดูกได้อย่างสมบูรณ์
   
นอกจากนี้วิตามินดีก็เป็นอีกสารที่สำคัญที่ช่วยให้แคลเซียมถูกดูดซึมได้ดีขึ้น วิตามินดีสามารถรับได้เมื่อผิวหนังถูกแสงแดด แสงแดดจะไปกระตุ้นปฏิกิริยาใต้ผิวหนังที่จะไปกระตุ้นตับและไตนั้นผลิตวิตามินดีออกมา การที่ร่างกายขาดวิตามินดีจะทำให้เรานั้นขาดแคลเซียมได้ ซึ่งทำให้มีความเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็งลำไส้หรือมะเร็งที่เต้านมได้ หรืออาจทำให้เป็นโรคหัวใจหรือโรคกระดูกพรุนได้ เพราะฉะนั้นผู้เชี่ยวชาญจึงแนะนำให้รับประทานวิตามินดีเสริมในปริมาณ 1000-2000 IU ต่อวัน และต้องเป็นวิตามินดี 3 เท่านั้นไม่ใช่วิตามินดี 2 และควรอยู่ในแสงแดดให้ได้ 15-20 นาทีต่อวัน
   
การเป็นโรคกระดูกพรุนผู้ป่วยส่วนใหญ่จะไม่ทราบว่าเป็นโรคกระดูกพรุนจนกระทั่งกระดูกหัก โดยเฉพาะบริเวณกระดูกสันหลัง ข้อมือ ตะโพก กระดูกเชิงกราน และต้นแขน มักพบในสตรีหลังวัยหมดประจำเดือน ดังนั้นผู้หญิงที่อยู่ในวัยหมดประจำเดือน ควรได้รับการตรวจความหนาแน่นของกระดูกตั้งแต่เนิ่น ๆ จะสามารถลดผลกระทบจากโรคกระดูกพรุนได้ ชายสูงอายุต้องระวังเช่นเดียวกับหญิงสูงวัยไม่มีใครเก่งเกินใครต้องช่วยกันดูแลสุขภาพให้กันและกัน
   
ท่านที่มีคำถามหรือต้องการขอคำปรึกษาให้ส่งจดหมายมาที่ นสพ.เดลินิวส์ เลขที่ 1/4 ถนนวิภาวดีรังสิต หลักสี่ กทม. 10210 วงเล็บมุมซองด้วยว่าส่งต่อ ดร.คิว หรืออีเมล DrQcontactt@gmail.com