ผู้เขียน หัวข้อ: หมอชนบทออกแถลงการณ์ต้านมศว.เปิดหลักสูตรแพทย์ภาษาอังกฤษ-มติชน-4กพ. 2553  (อ่าน 3598 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
แถลงการณ์ชมรมแพทย์ชนบท
ต่อกรณี มศว.จะเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์ภาคภาษาอังกฤษ
อันจะส่งผลในทางลบต่อการแก้ปัญหาการขาดแคลนแพทย์ในชนบท

วันที่  3 กุมภาพันธ์ 2553
โดยนายแพทย์เกรียงศักดิ์  วัชรนุกูลเกียรติ ประธานชมรมแพทย์ชนบท
สืบ เนื่องจากการที่มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒได้มีความพยายามที่จะเปิดหลัก สูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ  โดยให้เหตุผลเพื่อให้การแพทย์ไทยสามารถก้าวทันกระแสโลกได้  โดยได้ผลักดันผ่านสภามหาวิทยาลัยไปแล้ว และอยู่ระหว่างขั้นตอนการอนุมัติขั้นสุดท้ายจากแพทยสภา ซึ่งหากอนุมัติก็จะสามารถรับนักศึกษาแพทย์ได้ในปีการศึกษา 2553 นี้
ท่ามกลางการคัดค้านของกลุ่มคณาจารย์คณะแพทยศาสตร์ในมหาวิทยาลัยศรีนครินทร์วิโรฒ และความคลุมเครือไม่ชัดเจนต่อนโยบายการผลิตแพทย์นานาชาติของประเทศไทย ไม่ถึงหนึ่งเดือนต่อมาแพทยสภาก็ได้อนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติของคณะ แพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒเป็นที่เรียบร้อยอย่างเงียบ ๆ เมื่อวันที่ 14 มกราคม 2553 และจะมีการรับรองมติการประชุมในเดือนกุมภาพันธ์2553 นี้  โดยมีการเปลี่ยนชื่อเรียกจากหลักสูตรนานาชาติมาเป็นหลักสูตรโปรแกรมภาษา อังกฤษ (English program)  เพื่อลดแรงต้านจากสาธารณะ  อย่างไรก็ตาม หลักสูตรนี้ก็จะเป็นจุดเปลี่ยนที่สำคัญของนโยบายการผลิตบัณฑิตแพทย์ในสถาบัน ของรัฐของประเทศไทย
แม้ว่าในเบื้องต้นหลักสูตรดังกล่าวจะระบุว่าผลิตบัณฑิตแพทย์เพียงแค่ปีละ 20 คน  รับเฉพาะสัญชาติไทย เรียนจบต้องใช้ทุน 3 ปี เช่นเดียวกับแพทย์ในหลักสูตรอื่น  อย่างไรก็ตามด้วยข้อเท็จจริงที่ว่า ค่าเล่าเรียนต่อปีของหลักสูตรนี้ที่มีราคาสูงถึงคนละ 1.2 ล้านบาทต่อปี ตลอด 6 ปีต้องใช้เงินเป็นค่าเล่าเรียนกว่า 7.2 ล้านบาท  ซึ่งยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอื่นๆอีกมากมาย  ซึ่งย่อมจะสะท้อนให้เห็นว่า  หลักสูตรนี้จะมีก็แต่ลูกหลานของคนมีเงินเท่านั้นที่มีโอกาสได้เข้าเรียนได้
ประกอบ กับมาตรการปกติในปัจจุบันที่บังคับให้ใช้ทุน 3 ปีนั้น  หากบัณฑิตแพทย์คนใดไม่ประสงค์จะใช้ทุน  ก็สามารถใช้เงินเพียง 4 แสนบาทเท่านั้น จ่ายคืนรัฐบาลเป็นการชดใช้ทุนแทน  ซึ่งคิดเป็นปริมาณเงินที่จ่ายเพื่อที่จะไม่ต้องใช้ทุนเพียง 5% ของค่าเทอมตลอดหลักสูตรภาษาอังกฤษนี้เท่านั้น  ซึ่งก็พอจะทำนายได้ว่า  ยากที่บัณฑิตแพทย์ที่พ่อแม่ผู้มีอันจะกินลงทุนลงเงินมามากขนาดนี้จะให้ลูก หลานบัณฑิตแพทย์ไปใช้ทุนยังโรงพยาบาลที่มีความขาดแคลนในชนบท  ใช้เงินอีกเพียง 4 แสนบาทในการชดใช้ทุนแทนการออกไปปฏิบัติงานในโรงพยาบาลชุมชนก็เป็นเรื่องที่ ไม่ยากเย็นเลยและ ที่สำคัญกว่านั้น  การผลิตบัณฑิตแพทย์ด้วยการเก็บค่าเทอมสูงถึง 1.2 ล้านบาท/ปีนั้น  เป็นเงินที่สูงมากนั้น  น่าจะเป็นการมุ่งเน้นการทำรายได้ให้กับคณะและผู้บริหารของคณะมากกว่าที่จะ เกิดประโยชน์ใดๆกับสังคมไทย  การเรียนแพทย์ต้องมีการฝึกเย็บแผลผ่าตัดจริงกับผู้ป่วย  ซึ่งส่วนใหญ่ก็คือผู้ป่วยทั่วไปที่ไม่ได้มีฐานะร่ำรวยที่มาเป็นเสมือนผู้ เสียสละให้นักศึกษาแพทย์ฝึกฝนความเชี่ยวชาญ  จนเมื่อเก่งแล้วจบการศึกษาแล้วก็หวังว่าจะได้เป็นที่พึ่งของประชาชนคนธรรมดา ต่อไป  แต่การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์โปรแกรมภาษาอังกฤษครั้งนี้ กลับเป็นการตอบสนองกระแสการผลิตแพทย์เพื่อการพานิชย์อย่างชัดเจน   
มศว.เป็น มหาวิทยาลัยของรัฐ  เป็นองค์กรที่ควรจะเป็นแบบอย่างในการผลิตแพทย์เพื่อดูแลคนไทย  โดยเฉพาะคนไทยในชนบทที่ยังขาดแคลนแพทย์อยู่อีกมาก  มศว.มิต้องเป็นห่วงการแพทย์เชิงพานิชย์ว่าจะไม่มีแพทย์ที่เก่งภาษาอังกฤษมา เข้าสู่ระบบ  เพราะสภาวะที่เป็นอยู่ในปัจจุบันก็มีภาวะสมองไหลจากชนบทสู่เมือง จากโรงพยาบาลรัฐสู่โรงพยาบาลเอกชน และจากประเทศไทยสู่ประเทศตะวันตกอยู่แล้ว โดยที่มีต้องไปผลิตแพทย์เป็นการเฉพาะเพื่อป้อนตลาดระดับบน
มศว.ใน อดีตได้ผลิตแพทย์ที่มีอุดมการณ์ในการดูแลประชาชนในชนบทอย่างทุ่มเทหลายคน  ที่โดดเด่นมากคือ นายแพทย์วรวิทย์  ตันติวัฒนทรัพย์  แพทย์มศว.รุ่น 1 ซึ่งจบแล้วก็อาสาไปทำงานดูแลประชาชนที่ยากไร้ในพื้นที่ชายแดนที่กันดารที่สุดที่โรงพยาบาลอุ้มผาง  จังหวัดตาก  จนถึงปัจจุบันเป็นเวลากว่า 20 ปี  นี่คือต้นแบบและภารกิจที่ คณะแพทย์ มศว. ควรทำมากกว่าหลักสูตรแพทย์ภาษาอังกฤษที่ไม่ได้มีไว้เพื่อการตอบสนองความต้อง การของสังคมไทย
ชมรม แพทย์ชนบทเห็นว่า  การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์โปรแกรมภาษาอังกฤษดังกล่าว มีความรีบเร่งในการอนุมัติหลักสูตรโดยขาดความรอบคอบและขาดการตรวจสอบจาก สาธารณะถึงข้อดีข้อเสียอย่างถี่ถ้วน  การผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองการแพทย์พานิชย์นั้นจะส่งผลในเชิงลบต่อระบบการ กระจายแพทย์ในระยะยาว และการอนุมัติในครั้งนี้จะส่งผลให้มหาวิทยาลัยอื่นๆเอาเป็นแบบอย่างได้ จนเชื่อว่าจะส่งผลกระทบอย่างกว้างขวาง  ต่อไปในอนาคตมหาวิทยาลัยแพทยศาสตร์ของรัฐอาจสนใจผลิตแพทย์หลักสูตรภาษา อังกฤษมากกว่าหลักสูตรปกติก็เป็นได้ เพราะมีผลประโยชน์และสร้างรายได้ให้กับมหาวิทยาลัยมากกว่าหลักสูตรการผลิตแพทย์เพิ่มเพื่อชาวชนบท  ซึ่งรัฐบาลสนับสนุนค่าเทอมเพียงปีละ 3 แสนบาทเท่านั้น
ชมรมแพทย์ชนบทขอเชิญชวนคณาจารย์ชาวศรีนครินทรวิโรฒ  ศิษย์เก่าของ คณะแพทย์ มศว. รวมทั้งนิสิตแพทย์ทุกคน  ได้ร่วมแสดงความคิดเห็นคัดค้านการตัดสินใจที่มุ่งประโยชน์ของคนส่วนน้อยใน ครั้งนี้  และขอเชิญร่วมชื่นชมและเป็นกำลังใจกับอาจารย์ 6 ท่านที่กล้าออกมาสะท้อนความไม่ชอบธรรมในครั้งนี้ต่อสาธารณะ
ดังนั้นชมรมแพทย์ชนบทจึงขอเรียกร้องต่อสภามหาวิทยาลัยของมหาวิทยาลัยศรีนคริน ทรวิโรฒ  ได้ทบทวนการจัดการเรียนการสอนในหลักสูตรนี้  และขอให้แพทยสภายุติการอนุมัติหลักสูตรดังกล่าว เพื่อไม่ให้เกิดความเสียหายในระยะยาว 
วันนี้ แพทยสภามีแนวทางในการแก้ปัญหาสมองไหลจากชนบทสู่เมือง และการแก้ปัญหาความขาดแคลนแพทย์ในชนบทอย่างไร  สิ่งนี้คือภารกิจของแพทยสภามากกว่าการไปผลิตแพทย์เพื่อตอบสนองการแพทย์พานิชย์อย่างเช่นหลักสูตรนี้