ผู้เขียน หัวข้อ: WHO หวั่นอีก 10 ปีไม่มียาปฏิชีวนะใช้ เร่งหามาตรการควบคุม  (อ่าน 1938 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9721
    • ดูรายละเอียด
โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์ 9 กันยายน 2553 

ผอ.WHO เตือนทั่วโลกเฝ้าระวังระวังโรคโปลิโอ ด้าน “คกก.WHO เอเชียตะวันออกเฉียงใต้” หวั่นอีก 10 ปี ทั่วโลกไม่มียาปฏิชีวนะใช้ เร่งประชุมหารือเรื่องการเฝ้าระวังการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผล ของประชากร
       
       วานนี้ (8 ก.ย.) ในเวทีการประชุมคณะกรรมการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยที่ 63 ที่โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอราตัน ดร.มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก ระบุว่า โรคโปลิโอ เป็นปัญหาสำคัญที่ทุกประเทศควรให้ความสำคัญกับการเฝ้าระวัง และควรทำการหยอดวัคซีนให้แก่เด็กอย่างทั่วถึง เนื่องจากปัจจุบันยังพบโรคโปลิโอใน 4 ประเทศ คือ อินเดีย ไนจีเรีย อัฟกานิสถาน และปากีสถาน ที่สำคัญ ยังพบว่า มีการแพร่กระจายเชื้อไปยังประเทศอื่นๆ จากการอพยพย้ายถิ่น หรือการย้ายเข้ามาทำงาน ซึ่งจะพบมากตามชายแดนของประเทศอื่นๆ อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ มีการควบคุมโรคโปลิโอจนสามารถหยุดการแพร่กระจายเชื้อได้ระยะหนึ่ง โดยการหยอดวัคซีนให้แก่เด็ก ซึ่งจะช่วยลดปัญหาแขนขาไม่มีเรี่ยวแรง ขาลีบได้ แต่ปรากฏว่าช่วงหนึ่งกลับพบการแพร่กระจายของเชื้อ ทั้งในพม่า อินโดนีเซีย แต่ละประเทศควรมีการแนวทางป้องกันอย่างดี
       
       ด้านนพ.ราเจซ ปาเตีย ที่ปรึกษาขององค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า กลุ่มแพทย์มีความกังวลเรื่องของการใช้ยาปฏิชีวนะ ว่าในอีก 10 ปีข้างหน้าอาจไม่มีตัวยาปฏิชีวนะใหม่ๆ ออกมาให้ใช้ เนื่องจากเชื้อแบคทีเรียอาจทวีความรุนแรง จนเกิดการดื้อยา โดยสถิติ 10 ปีที่ผ่านมา มียาตัวใหม่ออกมาเพียง 2 ชนิด โดยแต่ละชนิดต้องใช้การลงทุนสูงถึงตัวละประมาณ 500 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขณะที่เมื่อผลิตออกมาก็สามารถใช้ได้เพียง 3-4 ปีก็พบการดื้อยาขึ้น อุตสาหกรรมยาจึงไม่ผลิตยาในกลุ่มนี้ แต่หันไปผลิตยาในกลุ่มโรคไม่ติดต่อ อย่างเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แทน
       
       ดร.ราเจซ กล่าวด้วยว่า สาเหตุของการใช้ยาปฏิชีวนะอย่างไม่เหมาะสมนั้นมาจากปัญหาหลายด้าน เช่น ปัญหาด้านเทคนิคการแพทย์ หรือเครื่องมือแพทย์ ปัญหาด้านการรักษาจากบุคลากรทางการแพทย์ ปัญหาจากพฤติกรรมการใช้ยาที่ไม่เหมาะสมของผู้ป่วยเอง เช่น ผู้ป่วยคิด และเข้าใจว่า ยาปฏิชีวนะนั้นค่อนข้างจะกินง่ายและสามารถรักษาอาการได้อย่างทันท่วงที ที่สำคัญมีราคาที่ไม่แพงมากนัก จึงเลือกที่จะบริโภคกันมาก ดังนั้น สิ่งที่ WHO ต้องทำอย่างเร่งด่วนคือการที่ต้องเร่งให้ความรู้เรื่องยาชนิดดังกล่าวมากขึ้น
       
       ด้าน นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า การดื้อยานั้นสามารถเกิดขึ้นได้ในโรงพยาบาลที่คนไข้มีภูมิต้านทานต่ำ ซึ่งได้รับการรักษาด้วยยาต้านจุลินทรีย์มาระยะหนึ่งแล้วนั้น สามารถติดเชื้อข้ามกลุ่มกับเชื้อแบคทีเรียดื้อยาอย่างรุนแรง โดยพบประมาณร้อยละ 50 ที่เกิดภาวะดังกล่าวจนถึงขั้นเสียชีวิต ดังนั้น WHO จึงเรียกร้องให้มีนโยบายแก้ปัญหาต่างๆ เช่น การรักษาแบบผสมผสาน การจ่ายยาอย่างรอบคอบ การติดตามผู้ป่วยให้มีการรักษาแบบครบคอร์ส การฝึกด้านการควบคุมโรคติดต่อ การใช้ยาปฏิชีวนะอย่างสมเหตุสมผลในการปฏิการสัตวแพทย์ และระบบเฝ้าระวังที่มีประสิทธิภาพเพื่อตรวจสอบภาวะฉุกเฉินและการกระจายของการดื้อยา ซึ่งขณะนี้ WHO ร่วมมือกับประเทศสมาชิกในเรื่องกฎหมาย และนโยบายที่เกี่ยวข้องกับการใช้ยาอย่างสมเหตุสมผลและการจัดตั้งเครือข่ายห้องทดลองสำหรับการเฝ้าระวังและการมั่นใจต่อการใช้ยาอย่างรอบคอบ
       
       ขณะที่นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ให้สัมภาษณ์ภายหลังเป็นประธานเปิดการประชุมคณะกรรมการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยที่ 63 ว่า การประชุมในวันนี้ เป็นการประชุมคณะกรรมการบริหารจัดการภายในเกี่ยวกับการบริหาร การใช้งบประมาณ และโครงการที่น่าสนใจ โดยมีประเด็นที่ตนคิดว่ามีความสำคัยและน่าสนใจอยู่หลัก คือ กรณีทีมีผู้แทนกองทุนประชากรแห่งสหประชาชาติ (United Nations Population Fund : UNFPA) ได้รายงานความร่วมมือกับองค์การอนามัยโลก(WHO ) ในเรื่องของการเสนอให้มีการกำหนดตัวชี้วัดเกี่ยวกับเรื่องดูแลการอนามัยเจริญพันธุ์ของประชากร ซึ่งขณะนี้ประเทศไทยเองก็ถือว่ามีความก้าวหน้ามากแล้ว ในเรื่องดังกล่าว โดยมีการยกร่าง พ.ร.บ.คุ้มครองอนามัยเจริญพันธุ์ ซึ่งขณะนี้มีต้นร่างเสร็จเรียบร้อยแล้ว ซึ่งกำลังอยู่ระหว่างการพิจารณาของคณะอนุกรรมการในรายละเอียดเพิ่มเติม เพื่อรับฟังความคิดเห็น คาดว่าเมื่อเสร็จสิ้นแล้วจะได้นำเข้าสู่คณะกรรมการพัฒนาอนามัยเจริญพันธุ์ต่อไป
       
       รมว.สธ.กล่าวด้วยว่า นอกจากการหารือในเรื่องแผนการดำเนินงานดังกล่าวแล้ว ที่ประชุมยังมีการพูดคุยในเรื่องการต่อต้านโรคเอดส์ การต่อต้านโรคมะเร็ง และการใช้ยา การลดอัตราการตายของแม่และเด็ก ซึ่งประเทศไทยเองนั้นมีความก้าวหน้าในเรื่องของการแก้ไขปัยหาเอดส์ได้ดี ทั้งการมีมาตรการป้องกัน โดยมีการรักษาพยาบาลอย่างดี และมีการกำหนดตัวยาที่มีคุณภาพ โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย