ผู้เขียน หัวข้อ: หนังสือกล่าวโทษ สปสช. (ต่อ ปปช.) โดย พญ.เชิดชู-พญ.อรพรรณ์  (อ่าน 2786 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
๓  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓
เรื่อง  ขอกล่าวโทษ
เรียน เลขาธิการคณะกรรมการ ป.ป.ช.
   ด้วยข้าพเจ้า   แพทย์หญิงเชิดชู อริยศรีวัฒนา  อายุ ๖๔ ปี  อาชีพข้าราชการบำนาญ อยู่บ้านเลขที่ ๙๙๙/๓๘ หมู่ ๒ แขวงตลาดบางเขน เขตหลักสี่ กรุงเทพมหานคร  และแพทย์หญิงอรพรรณ์ เมธาดิลกกุล อายุ ๕๔ ปี
อยู่บ้านเลขที่ ๑๓๖/๖ หมู่ ๑๗ แขวงศาลาธรรมสพน์ เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร  มีความประสงค์จะขอกล่าวโทษ ผู้เป็นเจ้าหน้าที่ของรัฐและเคยเป็นเจ้าหน้าที่รัฐ ซึ่งดำรงตำแหน่งและเคยดำรงตำแหน่งคณะกรรม การหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และหรือในสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  ดังต่อไปนี้
   ข้อ๑. เมื่อระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕ จนถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๓ วันและเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด   ได้มีเจ้าหน้าที่ของรัฐประกอบด้วยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และเลขาธิการสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ  ได้ร่วมกันกระทำความผิดต่อกฎหมาย  โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเป็นผู้กำหนดอัตราเงิน เดือนบุคลากรได้เอง    โดยต่างก็รู้อยู่แล้วว่าไม่มีบทบัญญัติของกฎหมายใดให้อำนาจไว้        ปัจจุบันเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีเงินเดือนๆ ละ ๒๐๐,๐๐๐ บาท(สองแสนบาทถ้วน)  ส่วนบุคลากรคนอื่นๆ ก็จะมีเงินเดือนและค่าตอบแทนสูงกว่าข้าราชการหรือเจ้าหน้าที่รัฐในหน่วยงานของรัฐที่อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของรัฐบาล        เข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗
   ข้อ ๒. เมื่อระหว่างเดือนพฤศจิกายน ๒๕๔๕ จนถึงเดือนมกราคม ๒๕๕๓ วันและเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด   คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกันกระทำความ ผิดต่อกฏหมาย โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ  มีมติเห็นชอบ อนุมัติแผนการเงินให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไปทำงานวิจัย และงานประชาสัมพันธ์   โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใดกำหนดอำนาจ หน้าที่ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้กระทำการดังกล่าว          ทำให้ต้องสูญเงินไปนับหลายล้านบาทเข้าข่ายเป็นเจ้า
พนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๓. เมื่อระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๕๒ จนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ วันเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด  คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติและเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ได้ร่วมกันกระทำความผิด โดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ มีมติเห็นชอบอนุมัติแผนการเงินให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ไปทำโครงการ การจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ ระยะที่ ๒ (CMU Tract 2)  ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐    โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใดกำหนดอำนาจ หน้าที่ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้กระทำการดังกล่าว     ทำให้ต้องสูญเงินไปนับหลายล้านบาทเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๔. เมื่อระหว่างเดือนมกราคม ๒๕๕๒ จนถึงเดือนตุลาคม ๒๕๕๒ วันเวลาใดไม่ปรากฏแน่ชัด  ภายหลังที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพ
แห่งชาติ มีมติเห็นชอบอนุมัติแผนการเงินให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้ดำเนินงการ การจัดบริการหน่วยบริการปฐมภูมิที่มีแพทย์ ระยะที่ ๒ (CMU Tract 2)  ในปีงบประมาณ ๒๕๕๐  แล้ว   เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และรองสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ(นายประทีป ธรกิจเริญ)  ได้ร่วมกันบริหารโครงการดังกล่าว โดยรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใดกำหนดอำนาจหน้าที่ให้สำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ เป็นผู้กระทำการดังกล่าว     ทำให้รัฐต้องเสียหายไปหลายล้านบาทเข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๕. เมื่อวันที่ ๒๙ ธันวาคม ๒๕๕๐  นายแพทย์มงคล ณ สงขลา ขณะดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข และประธานคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ใช้อำนาจหน้าที่ในตำแหน่งในการออกข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ว่าด้วยพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐ ในข้อ ๑๒ โดยให้เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ มีอำนาจในการอนุมัติการจัดหาพัสดุประเภทยาเช่น  ยาต้านไวรัสเอดส์จากองค์การเภสัชกรรม   ในวงเงินครั้งละ ๑,๐๐๐,๐๐๐ ล้านบาท โดยรู้อยู่แล้วว่า ตนไม่มีอำนาจเช่นนั้น  และรู้อยู่แล้วว่าไม่มีกฎหมายใด ให้อำนาจเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพ เป็นผู้มีหน้าที่ซื้อยาให้แก่หน่วยบริการ
(โรงพยาบาล)             รายละเอียดปรากฎตามสำเนาข้อบังคับสำนักงานหลักประกันสุขภาพ ว่าด้วยพัสดุ (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๕๕๐     

การกระทำดังกล่าว เข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้อ ๖. เมื่อวันที่ ๓ กันยายน ๒๕๕๒  รองเลขาธิการสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ(นายประทีป ธรกิจเจริญ)  ได้อาศัยอำนาจในตำแหน่งรักษาการแทนรองเลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ ออกประกาศรองเลขาธิการสำนักงานหลัก ประกันสุขภาพแห่งชาติ เรื่อง การบริหารงานงบกองทุนหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ โดยกำหนดหลักเกณฑ์การจ่ายค่าจูงใจให้บุคลากรของผู้ให้บริการ  ทั้งๆที่ไม่มีอำนาจ หน้าที่ให้กระทำการเช่นว่านั้น   ทำให้รัฐเสียหาย เป็นเงินหลายร้อยล้านบาท   จึง      เข้าข่ายเป็นเจ้าพนักงานปฏิบัติ หรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ เพื่อให้เกิดความเสียหายแก่ผู้หนึ่งผู้ใด หรือปฏิบัติหรือละเว้นการปฏิบัติหน้าที่โดยทุจริต  ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา ๑๕๗

ข้าพเจ้าทั้งสองจึงขอกล่าวโทษบุคคลดังกล่าวข้างต้นว่า เป็นผู้กระทำความผิดทางอาญา   ขอท่านได้โปรดรับเรื่องกล่าวโทษฉบับนี้ไว้พิจารณาดำเนินการตามขั้นตอนของกฏหมายจนกว่าคดีจะถึงที่สุด
จึงเรียนมาเพื่อพิจารณาและมีคำสั่งต่อไป