ผู้เขียน หัวข้อ: จ่าย 30บาทหรือไม่จ่าย จะแก้ปัญหาคุณภาพมาตรฐานการบริการสาธารณสุขหรือไม่?  (อ่าน 2143 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9742
    • ดูรายละเอียด
คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้มีมติที่จะให้ประชาชนในระบบหลักประกันสุขภาพแห่งชาติร่วมจ่ายเงินครั้งละ 30บาทเมื่อไปรับการตรวจรักษาตามสิทธิในโครงการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติโดยจะเริ่มในวันที่ 1 กันยายนที่จะถึงนี้ แต่อย่างไรก็ตามคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติยังมีข้อยกเว้นสำหรับประชาชนที่ไม่ต้องจ่าย 30บาทอยู่ถึง 20 กลุ่มและกลุ่มที่ 21 คือกลุ่มคนที่อยู่นอกเหนือจากผู้ได้รับการยกเว้นไม่ต้องจ่ายเงินแต่แสดงความประสงค์ว่า "ไม่ต้องการจ่ายเงิน"

  แต่ก็มีข่าวว่าน.ส.สุพัตรา นาคะผิว โฆษกกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพได้ออกมาแถลงข่าวที่มูลนิธิคุ้มครองผู้บริโภค คัดค้าน(แอนตี้)การร่วมจ่าย
30บาท ในระบบสุขภาพ ส่งผลกระทบถึงคนยากจนทำให้ประชาชนที่ไม่มีเงินจ่ายต้องเสียศักดิ์ศรีในการขอยกเว้นไม่จ่ายเงินและกล่าวว่าเป็นการขัดแย้งกับนโยบายลดความเหลื่อมล้ำในระบบสุขภาพที่สำคัญก็คือกล่าวหาว่าพรรคการเมืองต้องการนำเรื่องสุขภาพมาหาเสียงจากการมาใช้ชื่อ30บาทอีกครั้งหนึ่ง และกลุ่มนี้ได้อ้างเหตุผล 54 ข้อที่ไม่อยากจ่ายเงินพร้อมทั้งจะรวบรวมรายชื่อเพื่อคัดค้านการจ่ายเงิน 30บาททั้งจากกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพภาคเหนือ ภาคอีสาน และน.ส.บุญยืนศิริธรรม ประธานสหพันธ์ผู้บริโภคก็ร่วมคัดค้านการเก็บ 30 บาทด้วยในเวลาต่อมาไม่นาน ก็มีข่าวกลุ่คนรักหลักประกันสุขภาพภาคอีสาน 20จังหวัดได้ออกแถลงการณ์คัดค้านการจ่ายเงิน 30 บาทโดยอ้างว่าเป็นสิทธิตามรัฐธรรมนูญที่รัฐบาลจะต้องสนับสนุนงบประมาณเหมาจ่ายรายหัวโดยที่ประชาชนได้ร่วมจ่ายผ่านการเสียภาษีอยู่แล้วถ้าไปดูรายชื่อกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพกรุงเทพฯเข่นนายจอน อึ้งภากรณ์น.ส.สุพัตรา นาคะผิว นายนิมิตร์ เทียนอุดม น.ส.บุญยืน ศิริธรรมต่างก็เคยเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ และปัจจุบันนี้ นายนิมิตร์เทียนอุดม  และน.ส.บุญยืน ศิริธรรมต่างก็ยังดำรงตำแหน่งเป็นกรรมการหลักประกันสุขภาพแต่แพ้เสียงส่วนใหญ่ในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติที่มีมติให้เริ่มเก็บเงินค่าบริการครั้งละ30บาทในเดือนกันยายนนี้ก็เลยออกมาใช้ชื่อกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพคัดค้านมติของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพต่อไป

 สำหรับผู้เขียนที่ได้ติดตามการบริหารบ้านเมืองและการบริหารงานของคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติตลอดระยะ10ปีมานี้ ผู้เขียนขอแสดงความเห็นเกี่ยวกับการร่วมจ่าย 30บาทที่จะเริ่มใหม่ว่าคงจะทำความสับสนวุ่นวายให้กับเจ้าหน้าที่การเงินของโรงพยาบาลจนปวดหัวและเสียเวลาทำงานมากขึ้นเพราะจะต้องคอยตรวจสอบว่าจะเก็บเงินผู้มาใช้บริการได้หรือไม่เนื่องจากมีข้อยกเว้นถึง 21 ประเภท และประเภทสุดท้ายก็คือผู้ประสงค์จะไม่"ร่วมจ่าย"  ซึ่งตามความเห็นของผู้เขียนแล้ว การเก็บเงินเพียงครั้งละ 30บาทนี้คงไม่ทำให้รพ,ได้เงินเพิ่มซักเท่าไหร่ ที่เคยขาดเงิน ขาดสภาคล่อง
และไม่มีเงินจ่ายค่าน้ำ ค่าไฟและไม่มีเงินซื้อยาก็คงจะไม่มีเงินเหมือนเดิม เพราะในที่สุดแล้วคงมีคนประเภทที่ 21คือไม่ประสงค์จะจ่ายเงินเป็นจำนวนมากกว่าผู้ประสงค์จะจ่ายเงินอย่างแน่นอนเริ่มจากกลุ่มคนรักหลักประกันสุขภาพและกลุ่มสหพันธ์ผู้บริโภคตามที่ได้ออกแถลงการณ์ไว้แล้ว

  คนทั้งสองกลุ่มนี้ต่างก็อ้างว่าประชาชน"มีสิทธิ์ตามรัฐธรรมนูญ"ที่จะได้รับการรักษาโดยไม่ต้องจ่ายเงินเพราะประชาชนเสียภาษีไปแล้ว แต่ถ้าไปดูรัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้อยู่ในปัจจุบันคือรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยปีพ.ศ. 2550 มาตรา 51 เขียนไว้ว่า"บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับบริการสาธารณสุขที่เหมาะสมและได้มาตรฐานและผู้ยากไร้มีสิทธิได้รับการรักษาพยาบาลจากสถานบริการสาธารณสุขของรัฐโดยไม่เสียค่าใช้จ่าย"ซึ่ง จะเห็นได้ว่ารัฐธรรมนูญฉบับที่ใช้กันอยู่ในปัจจุบันเขียนไว้ว่า"ผู้ยากไร้เท่านั้นที่ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่าย"

  แต่รัฐบาลยุคปฏิวัติโดยคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพในยุคคมช.ได้ประกาศให้คน48 ล้านคน ได้รับบริการสาธารณสุขโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเลย
ถือว่ามีเอกสิทธิเหนือกว่าผู้ประกันตนในระบบประกันสังคมที่ต้องถูกหักเงินเดือน 5% ทุกเดือนและเหนือกว่ากลุ่มข้าราชการที่ต้องเสียสละทำงานหนัก เงินเดือนน้อยจึงจะได้รับการรักษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายเหมือนประชาชนในกลุ่มหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ

  กลุ่มคนรักหลักประกันฯก็รู้อยู่แก่ใจว่าเงินรายหัวที่มอบให้แก่โรงพยาบาลนั้นมันไม่พอที่จะใช้จ่ายในการตรวจรักษาสุขภาพประชาชนเนื่องจากแกนนำของพวกเขาเกือบทุกคนต่างก็เคยเป็นและกำลังเป็นกรรมการในคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติอยู่แล้วและเป็นผู้มีส่วนในการลงมติให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติออกกฎระเบียบในการรักษาและการจ่ายยาให้แก่ผู้ป่วยได้เป็นบางชนิดเท่านั้น มีผลทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถได้รับยาที่เหมาะสมและทันสมัยที่สุดสำหรับรักษาอาการป่วยของตน

 อาจจะมีเหตุผลโต้แย้งมากมายที่บอกว่าการใช้ยาสามัญก็สามารถรักษาอาการป่วยได้เพื่อเป็นการประหยัดเงินของประเทศชาติ แต่ความเป็นจริงใ
ปัจจุบันก็คือมียาที่เป็นต้นแบบอีกหลายชนิดที่มีการค้นคว้าวิจัยใหม่สำหรับรักษาที่มีอาการรุนแรง ยุ่งยากซับซ้อน ที่ยาเดิมๆไม่สามารถรักษาได้
และประเทศไทยยังไม่มีความสามารถหรือเทคโนโลยีที่จะผลิตเป็นยาสามัญได้(และสปสช.ไม่อนุญาตให้แพทย์นำยาเหล่านี้มาใช้ในการรักษาผู้ป่วย
(โดยไม่กำหนดไว้ในบัญชียาหลักแห่งชาติ) เช่นยารักษาโรค มะเร็ง บางชนิดยารักษาโรคหัวใจบางอย่างและฯลฯทำให้ผู้ป่วยพลาดโอกาสในการที่จะได้รับยาที่มีคุณภาพเหมาะสมกับอาการป่วยและพลาดโอกาสที่จะหายจากโรคและการที่จะมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น หรือยาสามัญจากองค์การเภสัช ก็เป็น
ยาที่ได้รับการยกเว้นไม่ต้องตรวจสอบคุณภาพยาจนทำให้ยาบางชนิดไม่มีคุณภาพมาตรฐานที่น่าเชื่อถือได้(ยาบางอย่างก็มีลวดแถมไปด้วย ฯลฯ)
และรายการยาในบัญชียาหลักที่บังคับให้ใช้ในการรักษาผู้ป่วยในระบบหลักประกันสุขภาพนั้นก็ยังขาดการทบทวนให้ครบถ้วนและทันสมัย
จนทำให้ผู้ป่วยสูญเสียโอกาสในการที่จะได้รับยาที่เหมาะสมที่สุดที่จะรักษาอาการป่วยและทำให้หายจากโรค

  ผู้เขียนขอเปรียบเทียบให้ฟังว่า ประเทศไทยยังสร้างเครื่องบินเองไม่ได้แต่ประเทศไทยยอมสั่งซื้อเครื่องบินมาใช้ในการเดินทาง/ขนส่ง/ต่อสู้ข้าศึกศัตรู/ป้องกันประเทศเพราะถือเป็นความจำเป็นเพื่อความสะดวกสบาย และความปลอดภัยของประชาชนแล้วทำไมเราไม่ใช้แค่รถยนต์หรือช้าง/ม้าเหมือนเมื่อก่อนล่ะ?แต่ทำไมเราไม่เปิดโอกาสให้ผู้ป่วยได้รับยาที่เหมาะสมทันสมัยและมีประสิทธิภาพสูงๆในการรักษาชีวิตและสุขภาพของประชาชนล่ะ?ทำไมเราจึงต้องคอยอาศัยงบประมาณที่จำกัดจำเขี่ยจากงบประมาณรายหัวที่ไม่เพียงพอที่จะซื้อยาและเทคโนโลยี่ที่ทันสมัยและมีประสิทธิภาพในการรักษาผู้ป่วยของเราล่ะ? ทำไมประชาชนจึงรู้สึกว่าจะ"เสียศักดิ์ศรีที่จะได้รับการรักษาฟรีโดยมีมาตรฐานที่ดีกว่าเดิมล่ะ" ?ทำไมเราพอใจเพียงยอมรับที่รัฐบาลจัดให้นั่งเกวียนหรือรถเมล์ร้อนแทนที่จะได้นั่งเครื่องบินตามความสามารถที่ประเทศไทยควรทำได้โดยการจัดสรรเงินเข้าสู่ระบบเพิ่มขึ้น ในเมื่อรัฐบาลมีงบประมาณไม่เพียงพอทำไมเราไม่ให้ประชาชนที่ไม่ยากจนมีส่วนร่วมรับผิดชอบในการจ่ายเงินเข้าสู่ระบบมากขึ้นล่ะ? อย่าลืมว่าที่เปรียบเทียบเรื่องรถยนต์กับเครื่องบินนั้นเป็นเพียงความสะดวกสบายและความรวดเร็วในการเดินทางเท่านั้นแต่การตรวจรักษาและให้ยาผู้ป่วยนั้นมีความสำคัญในการช่วยรักษาสุขภาพและชีวิตพลเมืองด้วยทำไมเราจึงไม่ให้ความสำคัญกับชีวิตและสุขภาพเท่ากับการเดินทางล่ะ?

  ผู้เขียนเห็นว่า
รัฐบาลควรจะต้องสั่งให้คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติหันมาระดมสมองและรับฟังความคิดเห็นของบุคลากรทางการแพทย์ ที่เป็น
"ผู้ให้บริการสาธารณสุข"อย่างจริงจังตามที่บัญญัติไว้ในพ.ร.บ.หลักประกันสุขภาพแห่งชาติพ.ศ. 2545 มาตรา 18(13) เพื่อที่จะได้พัฒนาคุณภาพมาตรฐานการบริการะด้านสาธารณสุขของระบบ30 บาทให้ก้าวหน้าทัดเทียมกับคุณภาพมาตรฐานการดูแลรักษาผู้ป่วยในโรงพยาบาลเอกชน(ใหญ่ๆ)
ของไทย (ไม่ต้องไปเปรียบเทียบกับของประเทศที่พัฒนาแล้วเพราะถูกทิ้งห่างอีกไกล)

  คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติได้ละเว้นการปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรา18(13)มาหลายปี กล่าวคือ ไม่ยอมรับฟังความคิดเห็นจากโรงพยาบาลที่เป็น"ผู้ให้บริการสาธารณสุข"แก่ประชาชนเลยว่า งบประมาณที่จัดสรรให้แก่"สถานบริการ"นั้นมีไม่พอจนทำให้โรงพยาบาลหลายแห่งไม่มีเงินจ่ายค่าน้ำค่าไฟและไม่มีเงินซื้อยาที่เหมาะสมเพื่อมารักษาประชาชนทำให้ประชาชนเสี่ยงอันตรายและเสี่ยงต่อความเสียหายจากการบริหารจัดการในระบบ30บาทมาตลอดเวลา 10 ปีที่ผ่านมาโดยที่คณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติก็ไม่เคยคิดที่จะแก้ไขงบประมาณที่เพิ่มขึ้นทุกปีก็เอาไปจัดเพิ่มบริการบางอย่างไปเรื่อยๆในขณะที่งบประมาณการรักษาผู้ป่วยส่วนใหญ่ก็ยิ่งขาดแคลน ทำอย่างไรคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติจึงจะลุกขึ้นมาทำหน้าที่นี้(รับฟังความเห็นจากผู้ปฏิบัติงานและช่วยแก้ไขปัญหาการขาดงบประมาณ)เสียที หรือต้องให้ประชาชนไปฟ้องร้องว่าละเลยการปฏิบัติหน้าที่เสียก่อนจึงจะทำ?

 แต่ผู้เขียนอาจจะคาดหวังมากเกินไปที่จะให้ประชาชนมาฟ้องร้องคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติเพราะประชาชนยังคาดหวังแต่จะได้รับการรักษาฟรีทั้งๆที่ไม่ทราบว่าการรักษาฟรีที่ว่านี้มีคุณภาพมาตรฐานที่เหมาะสมหรือไม่? ฉะนั้นปัญหาสำคัญในระบบหลักประกันสุขภาพในขณะนี้ไม่ใช่ปัญหาว่าจะให้ประชาชนจ่าย 30 บาทหรือไม่แต่ปัญหาที่จำเป็นจะต้องแก้ไขอย่างเร่งด่วนที่สุดก็คือปัญหาคุณภาพการรักษาผู้ป่วย
ที่ไม่ได้คุณภาพมาตรฐานที่ดีที่สุดเนื่องจากคณะกรรมการหลักประกันสุขภาพแห่งชาติออกระเบียบกำหนดมาตรการคุมเข้มในการใช้ยาเพียงบางชนิด
 และควบคุมวิธีการรักษาเพียงบางอย่างเท่านั้นซึ่งมีผลให้ผู้ป่วยถูกละเมิดสิทธิในการที่จะได้รับการรักษาและยาที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ
 
พญ.เชิดชู อริยศรีวัฒนา
ประธานสหพันธ์ผู้ปฏิบัติงานด้านการแพทย์และสาธารณสุขแห่งประเทศไทย
25 ส.ค. 55

เอกสารอ้างอิง
1.http://www.manager.co.th/QOL/ViewNews.aspx?NewsID=9550000101383
ปลุกแอนตี้ร่วมจ่าย 30 บาท ชี้ไม่ก่อประโยชน์
แค่เครื่องมือหวังผลทางการเมือง
2.http://www.naewna.com/local/19562
กลุ่มรักประกันสุขภาพ, อีสาน, คัดค้าน, นโยบายรัฐ, เก็บค่ารักษา30บาท,
               3.http://thaipublica.org/2011/09/commission-report/
                  เปิดรายงานอนุกรรมาธิการวุฒิสภา ทำไมรพ.ขาดทุน
-บริษัทยาฟ้อง-ค้างค่าน้ำ-ค่าไฟ
4. 10 ปีประกันสุขภาพถ้วนหน้า โรงพยาบาลรัฐขาดทุนถ้วนหน้ากว่า 7,000 ล้านบาท
http://thaipublica.org/2011/09/10-years-healthcare/
5.นพ.เจตน์ ศิรธรานนท์ ย้ำ"งบสาธารณสุขมีปัญหา บีบสปสช.ปล่อยเงินค้างท่อ
17,000 ล้านอุ้มรพ.ขาดสภาพคล่อง
http://thaipublica.org/2011/10/health-budget-problems/
6.นพ.ดำรัส โรจนเสถียร แจงข้อเท็จจริงไตวายเรื้อรังเพิ่ม 800คน/เดือน
จี้สปสช.ทบทวนล้างไตทางช่องท้องชี้เสียชีวิตสูงกว่า 6,000 คน
http://thaipublica.org/2012/03/capd-first-policy-high-risk-of-infection/
7. กรรมาธิการสาธารณสุขแนะสปสช.ทบทวนหลักเกณฑ์ล้างไตทางช่องท้อง
ติงควรเคารพการวินิจฉัยของแพทย์
http://thaipublica.org/2012/03/capd-first-policy-high-risk-of-infection/
8. มหันตภัย 30 บาทรักษาทุกโรค
https://www.facebook.com/churdchoo.ariyasriwatana?sk=notes