ผู้เขียน หัวข้อ: รมว.สธ.อาเซียนออกปฏิญญากรุงเทพฯ12ข้อ  (อ่าน 1346 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9753
    • ดูรายละเอียด
รมว.สาธารณสุข เอเชียอาคเน่ย์ ร่วมประกาศ “ ปฏิญญากรุงเทพ 12 ข้อ ” เดินหน้าดูแลสุขภาพคนเมือง หลังพบประชากรย้ายถิ่นเข้าเมืองมากขึ้น 67% โผล่สารพัดปัญหา ทั้งสังคม สิ่งแวดล้อม มลภาวะและสุขภาพ ส่งผลต่อร่างกายและจิตใจ ขณะที่ “ องค์การอนามัยโลก ” คาดอีก 20 ข้างหน้า 6 ใน 10 ของประชากรทั่วโลกอาศัยในเขตเมือง

ที่โรงแรมรอยัล ออร์คิด เชอร์ราตัน   เมื่อวันที่ 7 ก.ย.   เวลา  08.00 น.   นายอภิสิทธิ์   เวชชาชีวะ   นายกรัฐมนตรี   พร้อมด้วย นายจุรินทร์ ลักษณวิศิษฏ์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ดร. มาการ์เร็ต ชาน ( Dr.Margaret Chan) ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลก   เปิดการประชุมรัฐมนตรีสาธารณสุขของประเทศสมาชิกองค์การอนามัยโลกภูมิภาค เอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ครั้ง 28   (28 th Meeting of  Ministers of Health of Countries of  WHO South- East Asia Region : HMM) และการประชุมคณะกรรมการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ สมัยที่ 63   (63 rd Session of WHO Regional Committee for South East-Asia : RC) จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 7-10 กันยายน 2553

 นายอภิสิทธิ์   กล่าวเปิดงานประชุม รมว.สาธารณสุขอาเซียนถึง ความสำคัญของสุขภาพว่า   เป็นสิทธิขั้นพื้นฐานของประชาชนทุกประเทศ จึงเป็นหน้าที่ของรัฐบาลในการสร้างและดูแลให้ประชาชนเข้าถึงการบริการสุขภาพ ที่มีคุณภาพ   อีกทั้งการดำรงชีวิตด้วยสุขภาพที่ดีเป็นยาวิเศษที่สุดที่พึงมี และการป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ดีกว่ารักษา ในช่วง 40 ปีที่ผ่านมา   ประเทศไทยบรรลุก้าวสำคัญในการพัฒนาด้านสุขภาพ โดยเฉพาะการลดการเสียชีวิตของแม่และเด็ก การพัฒนาระยะเวลาของการมีชีวิตอยู่หรืออายุคาดเฉลี่ย การต่อสู้กับโรคเอดส์   ( HIV ) และการบังคับใช้กระบวนการยุติธรรมเพื่อต่อต้านบุหรี่และแอลกอฮอล์ โดยไทยได้ลงทุนอย่างต่อเนื่องในระบบบริการสุขภาพเพื่อให้ประชาชนเข้าถึง บริการได้ 

 อย่างไรก็ตามไทยต้องเผชิญความท้าทายด้านสุขภาพทั้งการควบคุมปัจจัย เสี่ยงที่ก่อโรค และการแพร่ระบาดของโรคอุบัติใหม่ ที่เป็นภัยคุกคามที่สำคัญของสุขภาพมนุษยชาติ ขณะเดียวกันโลกก็ต้องเผชิญกับโรคใหม่ที่เกิดจากปัญหาการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิ อากาศ ดังนั้นต้องมียุทธศาสตร์ด้านนโยบายสุขภาพ ทั้งการวางแผนและดำเนินการร่วมกัน

 “ประเทศไทยยินดีที่จะร่วมแลกเปลี่ยนประสบการณ์และความรู้กับมิตรใน ภูมิภาค และองค์การอนามัยโลกเพื่อจัดการกับโรคติดต่อก่อนที่โรคจะคุกคามประชาชน โดยความร่วมมือกันนี้ต้องมีเวทีที่เข้มแข็ง และมีประสิทธิภาพ รวมถึงการเข้าร่วมอย่างกระตือรือร้นกับผู้มีส่วนได้ ส่วนเสีย เพื่อให้การดำเนินการได้รับความสำคัญในทุกมติ ”

 ด้านนายจุรินทร์   ลักษณวิศิษฎ์   รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข   กล่าวว่า การประชุมครั้งนี้จะมีการประกาศปฏิญญากรุงเทพ เรื่อง “ สุขภาพคนเมือง ”  เนื่องจากองค์การอนามัยโลกได้ให้ความสำคัญกับผลกระทบด้านสุขภาพจากการเติบโต ของเมืองอย่างรวดเร็ว   โดยทั่วโลกมีประชากรย้ายที่อยู่อาศัยเข้ามาอยู่ในเมืองมากขึ้นถึงร้อยละ 67 ของประชากรทั่วโลก ขณะที่อัตราการเติบโตของประชากรในเขตเทศบาลของไทย   มีการเติบโตขึ้นร้อยละ 36. 11 อย่างไรก็ตามกระทรวงสาธารณสุข ไม่ได้ให้ความสำคัญเพื่อดูแลแค่คนจนในเขตเมือง แต่ขยายถึงกลุ่มคนจนในเขตชนบทในการดูแลสุขภาพ เพื่อลดค่าใช้จ่ายรักษา 5 โรคเรื้อรัง   ประกอบด้วย   เบาหวาน หัวใจ   อัมพฤตอัมพาต   ความดันโลหิตสูงและมะเร็ง ซึ่งปัจจุบันไทยต้องสูญเสียค่าใช้จ่ายถึง 1 แสนล้านบาทต่อปี

 ด้าน พญ.มาร์กาเร็ต ชาน ผู้อำนวยการใหญ่องค์การอนามัยโลก กล่าวว่า ปัจจุบันพบว่า มีประชากรที่อาศัยในเขตเมืองมากกว่าชนบท คาดว่าในปี 2573 ประชากร 6 ใน 10 คน จะอาศัยอยู่ในเขตเมือง โดยเฉพาะประเทศเอเชียและแอฟริกา เนื่องจากเมืองเป็นพื้นที่ทำให้สามารถเข้าถึงโอกาสต่างๆ ได้ ทั้งการศึกษา การรักษาพยาบาล การบริการต่างๆ แต่ในทางกลับกันเขตเมืองก็ถือพื้นที่เสี่ยงและอันตรายต่อสุขภาพเช่นกัน เช่น การปนเปื้อนอาหารและน้ำ มลภาวะทางอากาศและเสียงในระดับสูง ปัญหาสารเคมี โรคระบาด และภัยธรรมชาติ ขณะเดียวกันคนในเขตเมืองก็มีวิถีชีวิตที่ไม่ดีต่อสุขภาพ ส่งผลให้เกิดปัญหาโรคอ้วนและโรคเรื้อรังอื่นๆ และนับวันปัญหาเหล่านี้ก็ยิ่งเพิ่มมากขึ้น นอกจากนี้ปัญหาความยากจนในเขตเมือง รวมถึงปัญหาสิ่งแวดล้อมในชุมชนแออัด ยังเป็นต้นเหตุของปัญหาสุขภาพจิตเสื่อมโทรม ปัญหาอาชญากรรม ปัญหาความรุนแรง รวมทั้งปัญหาโรคระบาดที่มาจากความแออัดในเขตเมืองด้วย

 นพ.สำลี เปลี่ยนบางช้าง ผู้อำนวยการองค์การอนามัยโลกภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ กล่าวว่า นอกจากปัญหาโรคระบาดและโรคเรื้อรังในเขตเมืองแล้ว ปัญหาการดื้อยาเป็นปัญหาหนึ่งที่ต้องเฝ้าระวัง เนื่องจากปัจจุบันพบว่ามีการใช้ยารักษาโรคมากขึ้น โดยเฉพาะในกลุ่มยาปฏิชีวนะ ที่พบว่ามีการจ่ายยานี้ที่ไม่จำเป็นในโรคบางโรค โดยเฉพาะโรคไข้หวัดที่เกิดจากไวรัส ดังนั้นจำเป็นต้องรณรงค์ให้เกิดการใช้ยาอย่างสมเหตุผล ก่อนที่ปัญหาการดื้อยาจะเพิ่มมากขึ้น ซึ่งจะส่งผลกระทบต่อการรักษาโรคในอนาคต นอกจากนี้ยังควรเฝ้าระวังในเชื้ออื่นๆ เช่น แบคทีเรียอีโคไลที่ก่อให้เกิดโรคท้องร่วง ซึ่งล่าสุดสหรัฐและญี่ปุ่นพบการดื้อยาของเชื้อนี้แล้ว

 โดยการประชุมครั้งนี้   เป็นการประชุมประจำปีขององค์การอนามัยโลกในระดับภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียง ใต้   ซึ่งมีประเทศสมาชิก 11 ประเทศ ได้แก่ บังกลาเทศ   ภูฏาน เกาหลีเหนือ อินเดีย อินโดนีเซีย มัลดีฟส์ พม่า เนปาล   ศรีลังกา ไทย และติมอร์-เลสเต โดยประเทศสมาชิกหมุนเวียนกันเป็นเจ้าภาพ   สำหรับปี 2553 เป็นวาระที่ประเทศไทยเป็นเจ้าภาพจัดการประชุม   หัวข้อหลักในการประชุม คือ การเกิดชุมชนเมืองและสุขภาพ ( Urbanization and Health) โดยมีการประกาศปฏิญญากรุงเทพฯ ( Bangkok Declaration on Urbanization and Health) 12 ข้อร่วมกัน และยอมรับว่า การขยายเมืองอย่างรวดเร็ว การย้ายถิ่น ความเป็นอยู่และฐานะทางเศรษฐกิจ ล้วนส่งผลต่อสุขภาพคนในเขตเมือง โดยเฉพาะคนจน จึงเห็นควรให้มีการลดช่องว่างและความไม่เท่าเทียมกันในเขตเมือง การส่งเสริมการพัฒนาเมืองให้น่าอยู่ที่ต้องได้รับการดำเนินการอย่างเร่งด่วน ซึ่ง 11 ประเทศที่เข้าร่วมประชุมต้องตระหนักและเร่งดำเนินการ

คม ชัด ลึก วันอังคารที่ 7 กันยายน 2553