ผู้เขียน หัวข้อ: สปสช.เร่งบริการโรคหัวใจ-มะเร็ง  (อ่าน 2473 ครั้ง)

story

  • Staff
  • Hero Member
  • ****
  • กระทู้: 9745
    • ดูรายละเอียด
สปสช.เร่งบริการโรคหัวใจ-มะเร็ง
« เมื่อ: 06 กันยายน 2010, 16:52:51 »
เมื่อวันที่ 5 ก.ย. นพ.วินัย สวัสดิวร เลขาธิการสำนักงานหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ (สปสช.) เปิดเผยว่า ในการพัฒนาระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า สปสช. ได้ สนับสนุนการพัฒนาเครือข่ายบริการตติยภูมิ เฉพาะด้าน ซึ่งเป็นบริการรักษาพยาบาลระดับสูงเพื่อส่งเสริมให้เกิดการกระจายการเข้าถึง บริการตติยภูมิของประชาชน ที่เป็นไปตามความจำเป็นและสภาพปัญหาของพื้นที่ โดยใช้แนวทางการจัดสรรเงินที่ผูกโยงกับผลงานและคุณภาพ รวมถึงการจัดสรรงบประมาณ ในลักษณะงบลงทุนเพื่อพัฒนาศักยภาพบริการ รวมถึงสภาพปัญหาและความจำเป็นของพื้นที่ ทั้งนี้ผลจากการสนับสนุนเครือข่าย และมีเครือข่ายเข้าร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า พบว่าประชาชนเข้าถึงบริการมากขึ้น ข้อมูลการใช้บริการตติยภูมิเฉพาะด้านซึ่งเป็นโรคค่าใช้จ่ายสูงมีแนวโน้ม เพิ่มขึ้น
   
จากข้อมูลการรับผู้ป่วยไว้รักษาในหน่วยบริการระดับสูงตั้งแต่ปี 2548-2553 พบว่ามีโรคที่ผู้ป่วยใช้บริการมากที่สุดประกอบด้วย 1.โรคกล้ามเนื้อหัวใจตายเฉียบพลัน มีอัตราเพิ่มขึ้น 13% 2.โรคหลอดเลือดสมอง มีอัตราเพิ่มขึ้น 42% 3.พบว่ามีผู้ป่วยเข้ารับการผ่าตัดหัวใจชนิดเปิด เพิ่มขึ้น 5% และ 4.มีผู้ป่วยเข้าใช้บริการในโรคที่เกี่ยวกับการทำหัตถการหัวใจเพิ่มขึ้น 76% ขณะที่ข้อมูลผู้รับบริการโรคมะเร็ง ด้วยวิธีการผ่าตัด เคมีบำบัด และรังสีรักษานั้น มีอัตราเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2550-2552 จำแนกเป็นผู้ป่วยนอก เพิ่มขึ้น 45% และผู้ป่วยในเพิ่มขึ้น 31% โดยมีเครือข่ายตติยภูมิที่เข้าร่วมในระบบหลักประกันสุขภาพถ้วนหน้า คือ
1.เครือข่ายตติยภูมิเฉพาะทางโรคหัวใจและหลอดเลือด 62 แห่ง
2.เครือข่ายตติยภูมิเฉพาะทางโรคมะเร็ง 30 แห่ง
3.เครือข่ายบริการทารกแรกเกิด 22 แห่ง และ
4.เครือข่ายบริการเจ็บป่วยฉุกเฉินใน รพ. 35 แห่ง
   
“เป้าหมายที่สำคัญของการเป็นส่วนหนึ่งในการพัฒนาระบบบริการตติยภูมิ ก็เพื่อเป็นหลักประกันด้านคุณภาพการรักษาพยาบาลสำหรับประชาชน เมื่อเจ็บป่วยเบื้องต้น ก็เข้าสู่แนวทางการรักษาโรคที่มีค่าใช้จ่ายสูงทางตามระบบบริการปฐมภูมิใกล้ บ้านใกล้ใจ เมื่อเกินศักยภาพก็ส่งต่อมายังหน่วยบริการทุติยภูมิและตติยภูมิตามลำดับ ทำให้หน่วยบริการแต่ละแห่งได้ดำเนินการได้เต็มศักยภาพที่ตนเป็นอยู่ ไม่ใช่เป็นรพ.ศูนย์ แต่ยังต้องกังวลกับการดูแลรักษาพยาบาลเบื้องต้น ตรงนี้ให้หน่วยบริการปฐมภูมิรับผิดชอบ ส่วนระดับ รพ.ศูนย์ก็ดูแลโรคยากและซับซ้อน จะทำให้ประชาชนเข้าถึงบริการและผู้ให้บริการไม่ทำงานหนักโดยไม่จำเป็นด้วย” นพ.วินัย กล่าว.

เดลินิวส์
วันจันทร์ ที่ 06 กันยายน 2553