ผู้เขียน หัวข้อ: อาจารย์หมอ มศว.โวย แพทยสภา ข่มขู่คุกคาม-ไทยรัฐ-วันพุธที่ 3 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2553  (อ่าน 2830 ครั้ง)

pradit

  • Global Moderator
  • Sr. Member
  • *****
  • กระทู้: 322
    • ดูรายละเอียด
จากกรณี แพทยสภาได้มีมติอนุมัติในหลักการ ของหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ แทนหลักสูตรแพทย์ศาสตร์นานาชาติ ที่เสนอโดยคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ตั้งแต่เมื่อวันที่ 14 ม.ค.และจะมีการรับรองมติในการประชุมวันที่ 12 ก.พ. ท่ามกลางเสียงคัดค้านว่าจะส่งผลต่อการผลิตแพทย์ที่จะไปรักษาคนไทยในชนบท โดยเฉพาะกลุ่มคณาจารย์ 6 ท่าน จากคณะแพทยศาสตร์ มศว ได้ออกมาคัดค้านการอนุมัติหลักสูตรดังกล่าวนั้น

นพ.สุธีร์ รัตนะมงคลกุล อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทย์ศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว ) กล่าวเมื่อวันที่ 3 ก.พ.  ว่า เมื่อวันที่ 30 ม.ค.  ผู้บริหารของแพทยสภาได้ส่งอีเมล์ถึงกรรมการแพทยสภาที่มาจากการเลือกตั้ง และ ศ.นพ.สมเกียรติ วัฒนศิริชัยกุล คณบดีคณะแพทยศาสตร์ มศว ที่เป็นกรรมการโดยตำแหน่ง เพื่อขอแนวทางปฏิบัติ ต่อกลุ่มคณาจารย์ 6 คนจากคณะแพทยศาสตร์ มศว ที่นำเสนอบทความบทบาทแพทยสภากับการผลิตบัณฑิตแพทย์เพื่อคนไทย โดยระบุว่า เป็นการกล่าวหาแพทยสภาที่ไม่ถูกต้องนัก จากนั้นคณบดีคณะแพทยศาสตร์ มศว ยังได้มีการเผยแพร่อีเมล์ดังกล่าว ไปยังหัวหน้าภาควิชาทุกคนของคณะแพทย มศว พร้อมกับข่าวที่กลุ่มสถาบันแพทยศาสตร์สนับสนุนหลักสูตรดังกล่าวด้วย

อาจารย์ ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทย์ศาสตร์ มศว กล่าวต่อว่า การที่มีการเวียนอีเมลล์ฉบับดังกล่าวที่ระบุว่า "เพื่อขอแนวทางปฏิบัติ" ในการดำเนินการกับแพทย์ที่คัดค้าน  เหมือนเป็นการขู่ และคุกคามว่าอย่ามายุ่ง หรือคัดค้านหลักสูตรนี้ เพราะอาจจะถูกดำเนินการอะไรบางอย่าง เพื่อให้เกิดความกลัวหรือไม่ แม้ว่าในหนังสือดังกล่าวจะไม่ได้บอกว่า จะฟ้องร้องหรือสอบสวนใดๆ แต่ก็ไม่ได้กลัว เพราะหากกล้าพูดต้องกล้ารับผิดชอบต่อคำพูด

นพ.สุธี ร์ กล่าวอีกว่า การแสดงออกครั้งนี้ ไม่ได้เป็นการว่ากล่าวตัวบุคคล แต่เป็นการแสดงความเห็นทางวิชาการเท่านั้น หากหนังสือดังกล่าวมาจากแพทยสภาจริง จะสะท้อนถึงวุฒิภาวะของแพทยสภามากกว่า เพราะหากเป็นคนที่มีวุฒิภาวะก็ควรจะเชิญให้กลุ่มแพทย์ทั้ง 6 คน ที่ไม่เห็นด้วยเข้าให้ข้อมูล หรือ รับฟังความคิดเห็น อย่างไรก็ตามหากมีการฟ้องร้องจริงคงต้องหาคนช่วย เพราะเป็นอาจารย์แพทย์แสดงความคิดเห็นทางวิชาการ จึงไม่เคยคิดถึงเรื่องนี้ และการอนุมัติหลักสูตรแพทยศาสตร์ ภาษาอังกฤษ ถือเป็นการเลี่ยงทุกวิธีทางที่จะให้หลักสูตรดังกล่าวออกมาให้ได้มากกว่า

"คง ต้องพิจารณาว่ามีการเปลี่ยนหรือปรับหลักสูตรอย่างไรหรือไม่ แต่หากเป็นหลักสูตรเดิมก็ถือว่า ไม่เป็นไปตามเจตนารมณ์ของมหาวิทยาลัยที่ต้องการหลักสูตรนานาชาติ เพื่อให้ชาวต่างชาติเข้ามาเรียน ดังนั้น หลักสูตรดังกล่าวควรมีการนำกลับเข้ามาที่คณะกรรมการพิจารณาหลักสูตร เพื่อปรับปรุงใหม่ให้เหมาะสม ไม่ใช่เป็นการพูดคุยกันระหว่างแพทยสภากับคณบดีแพทย์ มศว เท่านั้น" อาจารย์ประจำภาควิชาเวชศาสตร์ป้องกันและสังคม คณะแพทยศาสตร์ มศว กล่าว

ด้าน นายชัยรัตน์ แสงอรุณ กรรมการมูลนิธิ และที่ปรึกษาศูนย์ทนายอาสาของมูลนิธิเพื่อผู้บริโภค กล่าวว่า ขณะนี้  มูลนิธิเพื่อผู้บริโภค และศูนย์ทนายอาสา กำลังเกาะติดเรื่องนี้อย่างเต็มที่ เพราะถือว่าเป็นการแสดงความเห็นที่เกี่ยวพันกับผู้บริโภคโดยตรง หากแพทยสภาจะเอาผิด หรือดำเนินการทางกฎหมายกับคณาจารย์ทั้ง 6 คนที่ออกมาคัดค้านหลักสูตรฯ ดังกล่าว  ศูนย์ฯพร้อมให้ความช่วยเหลือทางกฎหมายอย่างเต็มที่

ขณะที่ นพ.พงศ์เทพ วงศ์วัชรไพบูลย์ เลขาธิการมูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวว่า การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติ จริงๆ แล้วเท่ากับการเปิดโรงเรียนแพทย์เอกชนในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ ใช้ทรัพยากรของรัฐ อาจารย์ของรัฐ เพื่อหารายได้เข้ามหาวิทยาลัย การเปิดหลักสูตรแพทยศาสตร์นานาชาติควรทำในโรงเรียนแพทย์เอกชน ไม่ใช่มาทำในโรงเรียนแพทย์ของรัฐ เพราะไม่ใช่ภารกิจของรัฐบาล

เลขาธิการ มูลนิธิแพทย์ชนบท กล่าวด้วยว่า เรื่องนี้ไม่เป็นการสนับสนุนการกระจายแพทย์ไปสู่ชนบท แต่จะทำให้ช่องว่างทางสังคม คือ คนรวยที่ลูกสอบแพทย์ไม่ได้จะสมัครมาเรียน แพทย์ในหลักสูตรนานาชาตินี้มากขึ้น เพราะไม่ต้องส่งลูกไปเรียนแพทย์ที่ต่างประเทศแล้ว